Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 177,687
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,872
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 174,254
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 174,160
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 171,589
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,671
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 169,617
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,997
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 162,248
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 159,457
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 159,385
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 158,577
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 69,076
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 63,823
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,883
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,673
17 Industrial Provision co., ltd 40,765
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 39,420
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 37,366
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,678
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 34,575
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,895
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 32,326
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 32,163
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 28,575
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 27,588
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,955
28 AVERA CO., LTD. 23,678
29 เลิศบุศย์ 22,664
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 21,443
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 21,328
32 Electronics Source Co.,Ltd. 21,024
33 แมชชีนเทค 20,944
34 มากิโน (ประเทศไทย) 20,191
35 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 20,134
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,940
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 19,563
38 SAMWHA THAILAND 19,465
39 วอยก้า จำกัด 19,216
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 18,665
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 18,475
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 18,372
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 18,367
44 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 18,330
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 18,204
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 18,178
47 Systems integrator 17,758
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,721
49 Advanced Technology Equipment 17,559
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 17,515
26/08/2553 09:43 น. , อ่าน 6,056 ครั้ง
Bookmark and Share
เร่งยื่นศาลปลดล็อกมาบตาพุด หลังบอร์ดสิ่งแวดล้อมล้อมคอก 11 กิจการรุนแรง
โดย : Admin

ไทยรัฐออนไลน์
26 สิงหาคม 2553
 

 







 

อุตสาหกรรมมอบอัยการส่งข้อมูลมติบอร์ด สวล.กำหนด  11 กิจการรุนแรงต่อศาลฯ ปลดล็อกลงทุนมาบตาพุดวันนี้ย้ำภาพลงทุนชัดเจน  ขณะที่เอกชนยังต้องรอศาลชี้ชะตาก่อนเดินหน้าโครงการชี้กรอบเวลาทำ  EIA-HIA  ไม่ชัดเจน  หวั่นใช้เวลาร่วม  2  ปี กว่าจะเห็นหน้าเห็นหลัง...

 

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ผู้ช่วย รมว.อุตสาหกรรม ในฐานะประธานศูนย์ประสานงานการลงทุนเพื่อแก้ ปัญหามาบตาพุด  (OSOS)  เปิดเผยหลังการหารือกับผู้ประกอบการ  76  โครงการ  ที่ถูกคำสั่งระงับกิจการจากกรณีปัญหามาบตาพุดว่า ได้มอบให้อัยการที่เป็นตัวแทน 8 หน่วยงาน รัฐที่ถูกฟ้อง  นำข้อมูลกรณีมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติที่เห็นชอบ 11 โครงการ  หรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง  ทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม  ทรัพยากรธรรมชาติ  และสุขภาพ  ซึ่งถือเป็นข้อมูลใหม่เสนอต่อศาลปกครองกลางในวันที่  26  ส.ค.นี้  ที่จะมีการพิจารณานัดไต่สวนครั้งแรกเพื่อสืบโจทก์และพยาน


"เรื่องนี้ต้องรอประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ชัดเจนกว่านี้  และได้ มอบให้ผู้ประกอบการทำหนังสือถึง OSOS เพื่อที่จะดูว่าเข้าข่ายรุนแรงหรือไม่ อย่างไรก็ตาม  กิจการทั้งหมดก็พร้อมที่จะทำรายงานผลกระทบด้านสุขภาพ  หรือเอชไอเอ  และเอกชนส่วนใหญ่ยังมีข้อกังวลในการทำเอชไอเอ โดยเฉพาะกรอบเวลา  ซึ่งอาจมีผลต่อการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ส่วนกิจการรุนแรงที่ประกาศมาไม่กังวลหากจะมีกิจการใดย้ายฐานการผลิตออกจากไทยโดยไม่คำนึงถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและชุมชน"


นายบวร วงศ์สินอุดม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ อาวุโสปฏิบัติการ  บริษัท  ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น  จำกัด  (มหาชน)  (PTTAR)  กล่าวว่า  การประกาศกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนรุนแรงออกมาถือว่าได้สร้างความชัดเจนต่อทั้งนักลงทุน ชุมชน  และองค์กรภาคเอกชน แต่ทั้งหมดคงจะต้องรอประกาศจากศาลฯ ว่าท้ายสุดจะออกมาอย่างไรจึงจะทำให้เอกชนสามารถเดินหน้ากิจการได้


ผู้สื่อข่าวรายงานจากบริษัท  ปตท.  จำกัด (มหาชน) ว่า  เครือ  ปตท.มีกิจการที่ถูกระงับ  25  กิจการ  ที่เป็นกิจการของ  ปตท.เอง  โดยไม่ได้ร่วมทุน  3  กิจการ  ซึ่งหากศาลมีคำสั่งชัดเจนก็จะทำให้  3  กิจการ  เดินหน้าได้ทันที  โดย 1 ในกิจการดังกล่าวเป็นโรงแยกก๊าซธรรมชาติแห่งที่ 6 และโครงการควบคุมไอน้ำมัน เป็นต้น


นายพยุงศักดิ์  ชาติสุทธิผล  ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)  กล่าวยอมรับว่า  การทำเอชไอเอยังเป็นของใหม่สำหรับเอกชน  ระยะแรกอาจจะติดขัดบ้าง  อย่างไรก็ตาม  ระยะเวลาดำเนินการหรือการนับระยะเวลาในกระบวนการเช่นรับฟังความเห็น  ฯลฯ  ยังไม่ชัดเจน  และกังวลว่าการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม  (อีไอเอ)  และเอชไอเอ  อาจต้องใช้เวลานานถึง  2  ปี


นางอรรชกา สีบุญเรือง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ กล่าวหลังการปาฐกถาพิเศษเรื่อง "นโยบายส่งเสริมการลงทุนและสภาพแวดล้อมของการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันของไทย" ให้กับนักธุรกิจจากประเทศสมาชิกเอเปคกว่า  150  ราย  ที่เข้าร่วมการประชุมสภาที่ปรึกษาธุรกิจเอเปคครั้งที่ 3 ประจำปี 2010 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพว่า  หลังคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีมติเห็นชอบกำหนด  11  โครงการ  หรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง  จะทำให้ภาพการลงทุนไทยชัดเจนขึ้นอีกระดับหนึ่ง


ทั้งนี้ เวทีดังกล่าวนับเป็นการเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนต่างชาติเกี่ยวกับบรรยากาศทางธุรกิจของไทย รวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลเรื่องโอกาสและลู่ทางการลงทุน โดยในช่วง 7 เดือนแรกปี 53 นักลงทุนจากประเทศสมาชิกเอเปคได้เข้ามาลงทุนในไทยรวมมูลค่ากว่า 70,000 ล้านบาท  คิดเป็นร้อยละ 70 ของการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศในไทย



 

========================================================

 

 

19 July 2025
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD