Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,828
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,198
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,486
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,479
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,939
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,054
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 169,030
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,337
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,182
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,847
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,797
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 158,002
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,352
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,878
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,187
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,075
17 Industrial Provision co., ltd 39,904
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,824
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,741
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,068
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,999
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,345
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,768
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,499
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 28,000
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,994
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,371
28 AVERA CO., LTD. 23,125
29 เลิศบุศย์ 22,089
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,841
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,736
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,355
33 แมชชีนเทค 20,340
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,599
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,570
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,317
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,985
38 SAMWHA THAILAND 18,768
39 วอยก้า จำกัด 18,440
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 18,009
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,848
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,794
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,750
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,695
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,627
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,623
47 Systems integrator 17,184
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,133
49 Advanced Technology Equipment 16,963
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,925
24/03/2553 09:43 น. , อ่าน 11,886 ครั้ง
Bookmark and Share
FORCE
โดย : Admin

 

แรง    ในทางฟิสิกส์คือการกระทำจากภายนอกที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบทางกายภาพ โดยแรงเป็นผลมาจากการใช้พลังงาน เช่น คนที่จูงสุนัขอยู่ด้วยเชือกล่าม ก็จะได้รับแรงจากเชือกที่มือ ซึ่งทำให้เกิดแรงดึงไปข้างหน้า ถ้าแรงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางจลนศาสตร์ตามกฎข้อที่สองของนิวตันคือ เกิดความเร่ง ถ้าไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางจลนศาสตร์ก็อาจก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ได้เช่นกัน หน่วยเอสไอของแรงคือ นิวตัน

 

 

แนวความคิดพื้นฐาน

ในนิยามเบื้องต้นของแรงอาจกล่าวได้ว่า แรงคือ สิ่งที่ก่อให้เกิดความเร่ง เมื่อกระทำเดี่ยวๆ ในความหมายเชิงปฏิบัติ แรงสามารถแบ่งได้เป็นสองกลุ่ม คือแรงปะทะ และแรงสนาม แรงปะทะจะต้องมีการปะทะทางกายภาพของสองวัตถุ เช่นค้อนตีตะปู หรือแรงที่เกิดจากก๊าซใต้ความกดดัน ก๊าซที่เกิดจากการระเบิดของดินปืนทำให้ลูกกระสุนปืนใหญ่พุ่งออกจากปืนใหญ่ ในทางกลับกัน แรงสนามไม่ต้องการการสัมผัสกันของสื่อกลางทางกายภาพ แรงโน้มถ่วง และ แม่เหล็กเป็นตัวอย่างของแรงชนิดนี้ อย่างไรก็ตาม โดยพื้นฐานแล้วทุกแรงเป็นแรงสนาม แรงที่ค้อนตีตะปูในตัวอย่างก่อนหน้านี้ ที่จริงแล้วเป็นการปะทะกันของแรงไฟฟ้าจากทั้งค้อนและตะปู แต่ทว่าในบางกรณีก็เป็นการเหมาะสมที่เราจะแบ่งแรงเป็นสองชนิดแบบนี้เพื่อง่ายต่อความเข้าใจ

นิยามเชิงปริมาณ

ในแบบจำลองทางฟิสิกส์ เราใช้ระบบเป็นจุด กล่าวคือเราแทนวัตถุด้วยจุดหนึ่งมิติที่ศูนย์กลางมวลของมัน การเปลี่ยนแปลงเพียงชนิดเดียวที่เกิดขึ้นได้กับวัตถุก็คือการเปลี่ยนแปลงโมเมนตัม (อัตราเร็ว) ของมัน ตั้งแต่มีการเสนอทฤษฎีอะตอมขึ้น ระบบทางฟิสิกส์ใดๆ จะถูกมองในวิชาฟิสิกส์คลาสสิกว่าประกอบขึ้นจากระบบเป็นจุดมากมายที่เรียกว่าอะตอมหรือโมเลกุล เพราะฉะนั้น แรงต่างๆ สามารถนิยามได้ว่าเป็นผลกระทบของมัน นั่นก็คือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการเคลื่อนที่ที่มันได้รับบนระบบเป็นจุด การเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่นั้นสามารถระบุจำนวนได้โดยความเร่ง (อนุพันธ์ของความเร็ว) การค้นพบของไอแซก นิวตันที่ว่าแรงจะทำให้เกิดความเร่งโดยแปรผกผันกับปริมาณที่เรียกว่ามวล ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับอัตราเร็วของระบบ เรียกว่ากฎข้อที่สองของนิวตัน กฎนี้ทำให้เราสามารถทำนายผลกระทบของแรงต่อระบบเป็นจุดใดๆ ที่เราทราบมวล กฎนั้นมักจะเขียนดังนี้

F = dp/dt = d (m·v) /dt = m·a (ในกรณีที่ m ไม่ขึ้นกับ t)

เมื่อ

F คือแรง (ปริมาณเวกเตอร์)
p คือโมเมนตัม
t คือเวลา
v คือความเร็ว
m คือมวล และ
a=d²x/dt² คือความเร่ง อนุพันธ์อันดับสองของเวกเตอร์ตำแหน่ง x เมื่อเทียบกับ t

ถ้ามวล m วัดในหน่วยกิโลกรัม และความเร่ง a วัดในหน่วย เมตรต่อวินาทีกำลังสอง แล้วหน่วยของแรงคือ กิโลกรัม-เมตร/วินาทีกำลังสอง เราเรียกหน่วยนี้ว่า นิวตัน: 1 N = 1 kg x 1 m/s²

สมการนี้เป็นระบบของสมการอนุพันธ์อันดับสอง สามสมการ เทียบกับเวกเตอร์บอกตำแหน่งสามมิติ ซึ่งเป็นฟังก์ชันกับเวลา เราสามารถแก้สมการนี้ได้ถ้าเราทราบฟังก์ชัน F ของ x และอนุพันธ์ของมัน และถ้าเราทราบมวล m นอกจากนี้ก็ต้องทราบเงื่อนไขขอบเขต เช่นค่าของเวกเตอร์บอกตำแหน่ง และ x และความเร็ว v ที่เวลาเริ่มต้น t=0
 

สูตรนี้จะใช้ได้เมื่อทราบค่าเป็นตัวเลขของ F และ m เท่านั้น นิยามข้างต้นนั้นเป็นนิยามโดยปริยายซึ่งจะได้มาเมื่อ มีการกำหนดระบบอ้างอิง (น้ำหนึ่งลิตร) และแรงอ้างอิง (แรงโน้มถ่วงของโลกกระทำต่อมันที่ระดับความสูงของปารีส) ยอมรับกฏข้อที่สองของนิวตัน (เชื่อว่าสมมติฐานเป็นจริง) และวัดความเร่งที่เกิดจากแรงอ้างอิงกระทำต่อระบบอ้างอิง เราจะได้หน่วยของมวล (1 kg) และหน่วยของแรง (หน่วยเดิมเป็น 1 แรงกิโลกรัม = 9.81 N) เมื่อเสร็จสิ้น เราจะสามารถวัดแรงใดๆ โดยความเร่งที่มันก่อให้เกิดบนระบบอ้างอิง และวัดมวลของระบบใดๆ โดยการวัดความเร่งที่เกิดบนระบบนี้โดยแรงอ้างอิง
 

แรงมักจะไปรับการพิจารณาว่าเป็นปริมาณพื้นฐานทางฟิสิกส์ แต่ก็ยังมีปริมาณที่เป็นพื้นฐานกว่านั้นอีก เช่นโมเมนตัม (p = มวล m x ความเร่ง v) พลังงาน มีหน่วยเป็น จูล นั้นเป็นพื้นฐานน้อยกว่าแรงและโมเมนตัม เพราะมันนิยามขึ้นจากงาน และงานนิยามจากแรง ทฤษฎีพื้นฐานที่สุดในธรรมชาติ ทฤษฎีกลศาสตร์ไฟฟ้าควอนตัม และ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ไม่มีแนวคิดเรื่องแรงรวมอยู่ด้วยเลย

ถึงแม้แรงไม่ใช่ปริมาณที่เป็นพื้นฐานที่สุดในฟิสิกส์ มันก็เป็นแนวคิดพื้นฐานที่แรวคิดอื่นๆ เช่น งาน และ ความดัน (หน่วย ปาสกาล) นำไปใช้ แรงในบางครั้งใช้สับสนกับความเค้น


ชนิดของแรง

มีแรงพื้นฐานในธรรมชาติที่รู้จักอยู่สี่ชนิด

  • แรงนิวเคลียร์อย่างเข้ม กระทำระหว่างอนุภาคระดับเล็กกว่าอะตอม
  • แรงแม่เหล็กไฟฟ้า ระหว่างประจุไฟฟ้า
  • แรงนิวเคลียร์อย่างอ่อน เกิดจากการสลายตัวของกัมมันตภาพรังสี
  • แรงโน้มถ่วงระหว่างมวล

ทฤษฎีสนามควอนตัมจำลองแรงพื้นฐานสามชนิดแรกได้อย่างแม่นยำ แต่ไม่ได้จำลองแรงโน้มถ่วงควอนตัมเอาไว้ อย่างไรก็ตาม แรงโน้มถ่วงควอนตัมบริเวณกว้างสามารถอธิบายได้ด้วย ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป

แรงพื้นฐานทั้งสี่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ที่สังเกตได้ทั้งหมด รวมถึงแรงอื่นๆ ที่สังเกตได้เช่น แรงคูลอมบ์ (แรงระหว่างประจุไฟฟ้า) แรงโน้มถ่วง (แรงระหว่างมวล) แรงแม่เหล็ก แรงเสียดทาน แรงสู่ศูนย์กลาง แรงหนีศูนย์กลาง แรงปะทะ และ แรงสปริง เป็นต้น

แรงต่างๆ ยังสามารถแบ่งออกเป็น แรงอนุรักษ์ และแรงไม่อนุรักษ์ แรงอนุรักษ์จะเท่ากับความชันของพลังงานศักย์ เช่น แรงโน้มถ่วง แรงแม่เหล็กไฟฟ้า และแรงสปริง แรงไม่อนุรักษ์เช่น แรงเสียดทาน และแรงต้าน

 

ผลจากแรง

 

เมื่อแรงถูกกระทำกับวัตถุหนึ่ง วัตถุนั้นสามารถได้รับผลกระทบ 4 ประเภท ดังนี้

  1. วัตถุที่อยู่นิ่งอาจเริ่มเคลื่อนที่
  2. ความเร็วของวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่อยู่เปลี่ยนแปลงไป
  3. ทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุอาจเปลี่ยนแปลงไป
  4. รูปร่าง ขนาดของวัตถุอาจเปลี่ยนแปลงไป

 

 

 

» FORCE  
  N kp p oz lbf
N 1 1.019x10-1 101.972 3.59694 2.248x10-1
kp 9.80665 1 1000 35.274 2.20462
p 9.806x10-3 10-3 1 3.5274x10-2 2.204x10-3
oz 2.780x10-1 2.835x10-2 28.3495 1 6.25x10-2
lbf 4.44822 4.536x10-1 453.592 16 1

 

 

» FORCE AND WEIGHT

SI unit - Newton (N)
to convert from : to: multiply by:
tonf (ton wt) N 9964
lbf (lb wt) N 4.448
poundal N 0.1383
ozf (oz wt) N 0.2780
kp N 9.807
p N 9.81x10-2
kgf (kg wt) N 9.807
gf (g wt) N 9.81x10-2
dyn N 10-5

 

4 December 2024
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD