Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 177,675
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,854
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 174,241
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 174,147
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 171,578
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,659
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 169,610
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,988
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 162,216
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 159,447
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 159,375
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 158,569
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 69,067
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 63,813
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,872
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,659
17 Industrial Provision co., ltd 40,756
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 39,383
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 37,356
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,671
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 34,567
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,889
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 32,321
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 32,153
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 28,567
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 27,582
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,950
28 AVERA CO., LTD. 23,672
29 เลิศบุศย์ 22,660
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 21,437
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 21,325
32 Electronics Source Co.,Ltd. 21,016
33 แมชชีนเทค 20,937
34 มากิโน (ประเทศไทย) 20,183
35 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 20,125
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,932
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 19,559
38 SAMWHA THAILAND 19,459
39 วอยก้า จำกัด 19,204
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 18,655
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 18,468
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 18,369
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 18,358
44 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 18,321
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 18,194
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 18,171
47 Systems integrator 17,749
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,715
49 Advanced Technology Equipment 17,553
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 17,506
17/01/2553 16:21 น. , อ่าน 11,970 ครั้ง
Bookmark and Share
ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างไรให้ปลอดภัยและเกิดประสิทธิภาพ ตอนที่ 2
โดย : Admin


 
แหล่งที่มาของข้อมูล : เอกสารเผยแพร่ความรู้ของเว็บไซต์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค   https://mea.or.th

 

การซื้อตู้เย็นนอกจากจะต้องคำนึงถึงราคาแล้ว ควรจะพิจารณาถึงลักษณะและระบบของตู้เย็น เพื่อประหยัดพลังงาน ดังต่อไปนี้
1 ควรเลือกซื้อตู้เย็นที่มีสลากประหยัดไฟโดยเป็นสติกเกอร์ติดอยู่ที่ตู้เย็น ซึ่งสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ) เป็นผู้ตรวจสอบและรับรองคุณภาพ โดยกำหนดเป็นตัวเลขดังนี้
       
 ตู้เย็นเบอร์ 5
 
เลข 5 ดีมาก
หมายถึง
ประสิทธิภาพสูงสุด
  เลข 4 ดี
หมายถึง
ประสิทธิภาพสูง
  เลข 3 ปานกลาง
หมายถึง
ประสิทธิภาพปานกลาง
  เลข 2 พอใช้
หมายถึง
ประสิทธิภาพพอใช้
  เลข 1 ต่ำ
หมายถึง
ประสิทธิภาพต่ำ
       
2 ควรพิจารณาขนาดให้เหมาะสมกับขนาดครอบครัว ขนาดประมาณ 2.5 ลูกบาศก์ฟุต (คิว) สำหรับสมาชิก 2 คนแรกของครอบครัว แล้วเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1 ลูกบาศก์ฟุต ต่อ 1 คน
3 ควรเลือกตู้เย็นที่มีฉนวนกันความร้อนหนา และเป็นชนิดโฟมอัด เพื่อไม่ให้มีการสูญเสียความเย็นมาก
4 ตู้เย็น 2 ประตูกินไฟมากกว่าตู้เย็นประตูเดียวที่มีขนาดความจุเท่ากัน เนื่องจากใช้ท่อน้ำยาเย็นที่ยาวกว่า แต่ตู้เย็น 2 ประตู จะมีการสูญเสียความเย็นน้อยกว่า
5 ตู้เย็นชนิดที่ไม่น้ำเข็งจับจะกินไฟมากกว่าชนิดที่มีปุ่มกดละลายน้ำแข็ง
6 ควรเลือกซื้อตู้เย็นที่ใช้กับระบบไฟฟ้า 220-230 โวลต์ เท่านั้น ถ้าใช้ชนิด 110-120 โวลต์จะต้องใช้หม้อแปลงลดแรงดัน ทำให้กินไฟมากขึ้น
 
วิธีใช้ตู้เย็นให้ประหยัดพลังงาน
1.ก่อนใช้ควรศึกษาคู่มือการใช้และปฏิบัติตามคำแนะนำ
2.ตั้งไว้ในที่เหมาะสม ควรตั้งตู้เย็นให้ห่างจากผนังอย่างน้อย 15 เซนติเมตร
3.อย่าตั้งใกล้แหล่งความร้อน ไม่ควรตั้งอยู่ใกล้เตาไฟ หรือแหล่งความร้อนอื่น และไม่ควรให้โดนแสงแดด
4.ปรับระดับให้เหมาะสมเวลาตั้งตู้เย็นให้ปรับระดับด้านหน้าของตู้เย็นสูงกว่าด้านหลังเล็กน้อย เพื่อเวลาปิดน้ำหนักของประตูตู้เย็นจะถ่วงให้ประตูปิดเข้าไปเอง
5. หมั่นตรวจสอบยางขอบประตู ไม่ให้มีรอยรั่วหรือเสื่อมสภาพ
6. อย่าเปิดตู้เย็นบ่อย ๆ เมื่อเปิดแล้วก็ต้องรีบปิด
7. ละลายน้ำแข็งสม่ำเสมอ เพื่อให้การทำความเย็นมีประสิทธิภาพสูง
8. ตั้งสวิตซ์ควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมกับชนิดและปริมาณอาหารที่แช่ตู้เย็น
9. ถอดปลั๊ก กรณีไม่อยู่บ้านหลายวันหรือไม่มีอะไรในตู้เย็น


 

คำแนะนำด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับตู้เย็น  
1.ควรติดตั้งระบบสายดินกับตู้เย็นผ่านทางเต้าเสียบ-เต้ารับที่มีสายดิน
2.ใช้ไขควงลองไฟตรวจสอบตัวตู้เย็นว่ามีไฟรั่วหรือไม่ ตู้เย็นที่ไม่มีสายดินนั้นการกลับขั้วที่ปลั๊กอาจทำให้มีไฟรั่วน้อยลงได้
3.ตู้เย็นที่ดีควรจะมีสวิตซ์อัตโนมัติปลดออกและสับเองด้วยการหน่วงเวลาเมื่อมไฟดับ-ตก มิฉะนั้นจะต้องถอดปลั๊กตู้เย็นออกทันทีก่อนที่จะมีไฟเข้ามา และจะเสียบปลั๊กเข้าอีกครั้งเมื่อไฟมาปกติแล้ว 3-5 นาที
4.หลอดไฟในตู้เย็นถ้าขาด ไม่ควรเอาหลอดออกจนกว่าจะเปลี่ยนใหม่
5.อย่าปล่อยให้พื้นบริเวณประตูตู้เย็นเปียก เพราะอาจเป็นสื่อไฟฟ้าอย่างดี ให้ปูด้วยพรมหรือพื้นยางก็ได้ ส่วนบริเวณมือจับก็ควรมีผ้าหรือฉนวนหุ้มด้วย
6.ดูข้อควรปฏิบัติในการใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย
 
 


 

1 ควรเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศที่มีสลากประหยัดไฟ โดยเป็นสติกเกอร์ติดอยู่ที่เครื่องปรับอากาศ ซึ่งสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เป็นผู้ตรวจสอบและรับรองคุณภาพ โดยกำหนดเป็นตัวเลขดังนี้
 แอร์บ้าน
       
  เลข 5 ดีมาก
หมายถึง
ประสิทธิภาพสูงสุด
  เลฃ 4 ดี
หมายถึง
ประสิทธิภาพสูง
  เลข 3 ปานกลาง
หมายถึง
ประสิทธิภาพปานกลาง
  เลข 2 พอใช้
หมายถึง
ประสิทธิภาพพอใช้
  เลข 1 ต่ำ
หมายถึง
ประสิทธิภาพต่ำ
   
 
 
2 ควรเลือกขนาดของเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมกับห้องที่ต้องการติดตั้ง โดยที่ความสูงของห้องไม่เกิน 3 เมตร ควรเลือกขนาดตามตารางต่อไปนี้


 

พื้นที่ห้องตามความสูงไม่เกิน 3 ม.
(ตร.ม.)
ขนาดของเครื่องปรับอากาศ
(บีทียู/ชั่วโมง)
13 - 14
7,000 - 9,000
16 - 17
9,000 - 12,000
20
11,000 - 13,000
23 - 24
13,000 - 16,000
30
18,000 - 20,000
40
24,000


 

3. ชนิดของเครื่องปรับอากาศที่นิยมใช้ในบ้านอยู่อาศัย ในปัจจุบันมีจำหน่ายในท้องตลาด 3 ชนิด คือ
3.1ชนิดติดหน้าต่าง จะเหมาะสมกับห้องที่มีลักษณะที่ติดตั้งวงกบหน้าต่าง ติดกระจกช่องแสงติดตาย บานกระทุ้ง บานเกล็ด เป็นต้น มีขนาดตั้งแต่ 9,000 – 24,000 บีทียู/ชม. มีค่าประสิทธิภาพ (EER=บีทียูต่อชั่วโมง/วัตต์) ตั้งแต่ 7.5 – 10 บีทียู/ชม./วัตต์
3.2 ชนิดแยกส่วนติดฝาผนังหรือแขวน เหมาะสมกับห้องที่มีลักษณะทึบจะติดตั้งได้สวยงาม แต่จะมีราคแพงกว่าเมื่อเปรียบเทียบเครื่องปรับอากาศชนิดต่าง ๆ ที่มีขนาดเท่ากัน (บีทียู/ชม.) เครื่องปรับอากาศชนิดนี้ส่วนใหญ่จะมีประสิทธิภาพสูงกว่า และจะมีสวิตซ์ควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติแบบอิเลกคทรอนิกส์สำหรับควบคุมอุณหภูมิความเย็นของห้อง มีขนาดตั้งแต่ 8,000 – 24,000 บีทียู/ชม. ค่า EER ตั้งแต่ 7.5 – 13 บีทียู/ชม./วัตต์
3.3 เครื่องปรับอากาศชนิดแยกส่วนตั้งพื้น จะเหมาะสมกับห้องที่มีลักษณะห้องที่เป็นกระจกทั้งหมด ผนังทึบซึ่งไม่อาจเจาะ ช่องเพื่อติดตั้งได้ เมื่อเปรียบเทียบเครื่องปรับอากาศชนิดต่าง ๆ ที่มีขนาดเท่ากัน เครื่องปรับอากาศชนิดนี้ส่วนใหญ่จะมีประสิทธิภาพต่ำกว่า มีขนาดตั้งแต่ 12,000 – 36,000 บีทียู/ชม. มีค่า EER ตั้งแต่ 6 – 11 บีทียู/ชม./วัตต์
วิธีใช้เครื่องปรับอากาศให้ประหยัดพลังงาน
1.ติดตั้งในที่เหมาะสม คือต้องสูงจากพื้นพอสมควร สามารถเปิด-ปิดปุ่มต่าง ๆ ได้สะดวก และเพื่อให้ความเย็นเป่าออกจากเครื่องได้หมุนเวียนภายในห้องอย่างทั่วถึง
2.อย่าให้ความเย็นรั่วไหล ควรจะปิดประตูหรือหน้าต่างห้องให้มิดชิด
3.ปรับปุ่มต่าง ๆ ให้เหมาะสมเมื่อเริ่มเปิดเครื่องควรตั้งความเร็วพัดลมไปที่ตำแหน่งสูงสุด เมื่อความเย็นพอเหมาะแล้วให้ตั้งไปที่อุณหภูมิ 26 องศาเซลเซียส
4.หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ อุปกรณ์ในระบบปรับอากาศ และตะแกรง รวมทั้งชุดคอมเดนเซอร ์เพื่อให้อากาศผ่านเข้าออกได้สะดวกจะประหยัดไฟโดยตรง
5.ใช้พัดลมระบายอากาศเท่าที่จำเป็น
6.ควรปิดเครื่องปรับอากาศเมื่อไม่มีความจำเป็นต้องใช้
7.ในฤดูหนาวขณะที่อากาศไม่ร้อนมากเกินไป ไม่ควรเปิดเครื่องปรับอากาศ
8.หมั่นตรวจสอบ ล้าง ทำความสะอาดตามระยะเวลาที่ผู้ผลิตกำหนด
9.หน้าต่างหรือบานกระจกควรป้องกันรังสีความร้อนที่จะเข้ามาดังนี้
- ใช้อุปกรณ์บังแดดภายนอกมิให้กระจกถูกแสงแดด เช่น ผ้าใบ หรือแผงบังแดด หรือร่มเงาจากต้นไม้
- ใช้กระจกหรือติดฟิล์มที่สะท้อนรังสีความร้อน
- ใช้อุปกรณ์บังแดดภายใน เช่น ผ้าม่าน มู่ลี่ (กระจกด้านทิศใต้ให้ใช้ใบอยู่ในแนวนอน กระจกทิศตะวันออก-ตกให้ใช้ใบที่อยู่ในแนวดิ่ง)
10.ผนังหรือเพดานโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านที่มีแสงแดดส่องจะเก็บความร้อนไว้มาก ทำให้มีการสูญเสียพลังงานมาก จึงควรป้องกันดังนี้
 - บุด้วยฉนวนกันความร้อนหรือแผ่นฟิล์มอะลูมิเนียมสะท้อนรังสีความร้อน
 - ทำที่บังแดด/หลังคา/ปลูกต้นไม้ด้านนอก
11.พยายามอย่าใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อนในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ ไฟส่องสว่างก็เป็นตัวให้ความร้อน จึงควรปิดไฟเมื่อไม่มีความจำเป็น
12.ชุดคอนเดนเซอร์ที่ใช้ระบายความร้อนสู่ภายนอก
 - ควรถูกแสงแดดให้น้อยที่สุด
 - ขจัดสิ่งกีดขวางทางลมให้ระบายอากาศได้สะดวก
 - อย่าติดตั้งให้ปะทะกับลมธรรมชาติโดยตรง
คำแนะนำด้านความปลอดภัยของเครื่องปรับอากาศ
1.ควรต่อระบบสายดินกับเครื่องปรับอากาศและทดสอบไฟรั่วด้วยไขควงลองไฟ
2.เครื่องตัดไฟรั่วขนาดไม่เกิน 30 mA. หากป้องกันวงจรของเครื่องปรับอากาศด้วย อาจมีปัญหาเครื่องตัดไฟรั่วทำงานบ่อยขึ้น ควรหลีกเลี่ยงโดยการแยกวงจรออก และใช้ขนาด 100 mA. ป้องกันอีกชั้นหนึ่ง
3.ติดตั้งเบรกเกอร์หรือสวิตซ์อัตโนมัติและควบคุมวงจรโดยเฉพาะ
4.กรณีมีไฟตกหรือไฟดับ ถ้าไม่มีสวิตซ์ปลดสับเองโดยอัตโนมัติต้องรีบปิดเครื่องทันทีก่อนที่จะมีไฟมา และควรรอระยะเวลาประมาณ 3-5 นาที ก่อนที่จะสับสวิตซ์เข้าใหม่
5.หมั่นตรวจสอบขั้วและการเข้าสายของจุดต่อต่าง ๆ อยู่เสมอ
6.ดูข้อควรปฏิบัติในการใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย
 
วิธีใช้พัดลมเพื่อให้ประหยัดพลังงาน

1.ควรใช้พัดลมตั้งพื้นหรือตั้งโต๊ะแทนพัดลมติดเพดานเพราะจะกินไฟน้อยกว่าพัดลมติดเพดานประมาณครึ่งหนึ่ง
2.อย่าเปิดพัดลมทิ้งไว้เมื่อไม่มีคนอยู่
3.เมื่อเลิกใช้แล้วควรปิดพัดลมและถอดปลั๊กออก
4.ปรับระดับความเร็วลมพอสมควร
5.เลือกขนาดให้เหมาะสมกับการใช้งาน
6.ควรเปิดหน้าต่างใช้ลมธรรมชาติแทนถ้าทำได้



พัดลมไฟฟ้า
คำแนะนำด้านความปลอดภัยของพัดลม  
1. ไม่ควรมีวัสดุติดไฟใกล้บริเวณพัดลม เช่น ผ้าม่าน กองกระดาษ หรือหนังสือ
2. ควรเป็นพัดลมชนิดมีฉนวนประเภท 2 มิฉะนั้นต้องมีสายดิน
3. หมั่นตรวจสอบไฟรั่วด้วยไขควงลองไฟเสมอ
4. พัดลมที่เปิดแล้วไม่หมุนหรือหยุดหมุนจะร้อนและเกิดไฟไหม้ได้ให้รีบปิดพัดลมแล้วถอดปลั๊กเพื่อส่งซ่อมต่อไป
5. ตรวจสอบสภาพของสายอ่อนที่ใช้อยู่เสมอ ซึ่งฉนวนมักจะชำรุดได้ง่าย
6. อย่าพยายามเปิดพัดลม เพื่อระบายอากาศในบริเวณที่มีสารระเหยที่ไวไฟ เช่น ก๊าซหุงต้ม ทินเนอร์ หรือไอน้ำมันเชื้อเพลิง
7. ดูข้อควรปฏิบัติในการใช้ไฟฟ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย
 
วิธีใช้เตารีดไฟฟ้าให้ประหยัดพลังงาน  

1.ควรรีดผ้าคราวละมากๆ ติดต่อกันจนเสร็จ และควรเริ่มรีดผ้าบางๆ ก่อนในขณะที่เตารีดยังไม่ร้อน และก่อนรีดเสร็จประมาณ 2-3 นาทีให้ถอดปลั๊กออก
2.เมื่อไม่ได้ใช้งานควรถอดปลั๊กออก และก่อนจะเก็บควรทิ้งให้เตารีดเย็นก่อน

เตารีดผ้า
 
คำแนะนำด้านความปลอดภัยของเตารีด

1.ควรระวังไม่ให้ความร้อนจากเตารีดสัมผัสสายไฟฟ้าเพราะจะทำให้เปลือกสาย(ฉนวน) เสียหายได้
2.สายปลั๊กของเตารีด เปลือกสาย (ฉนวน) ต้องไม่เสื่อมสภาพหรือฉีกขาด
3.ต้องคอยหมั่นตรวจสอบฉนวนยางที่หุ้มสายเข้าเตารีด หากพบว่าเปื่อยหรือฉีกขาดควรรีบเปลี่ยนใหม่โดยช่างผู้มีความรู้ เพราะหากไม่รีบเปลี่ยนสายไฟบริเวณนั้นอาจชำรุดและถูกไฟดูดได้
4.ขณะใช้งาน เมื่อหยุดรีดต้องวางบนวัสดุที่ไม่ติดไฟง่าย
5.เตารีดที่ใช้ควรมีสายดินและต่อลงดินผ่านทางเต้าเสียบ – เต้ารับที่มี
สายดินด้วย และหมั่นตรวจสอบไฟรั่วด้วยไขควงลองไฟเสมอ
6. ดูข้อควรปฏิบัติในการใช้ไฟฟ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย

 
 


 

วิธีใช้เตาไฟฟ้าให้ประหยัดพลังงานและปลอดภัย  
1.ทำกับข้าวต้องมีแผนการประกอบอาหารแต่ละครั้ง ควรเตรียมเครื่องปรุงต่าง ๆ ให้พร้อมเสียก่อน แล้วจึงเปิดสวิตช์เตาไฟฟ้า ตั้งกระทะประกอบอาหารแต่ละอย่างติดต่อกันไปรวดเดียวจนเสร็จ
2.ใช้ภาชนะก้นแบนภาชนะที่ใช้ควรเป็นชนิดก้นแบนพอดีกับเตา ไม่เล็ก ไม่ใหญ่จนเกินไป และใช้ภาชนะที่มีเนื้อโลหะรับความร้อนได้ดี ซึ่งถูกออกแบบให้ใช้กับเตาไฟฟ้า
3.อาหารแช่แข็ง ทำให้หายแข็งก่อนโดยการนำอาหารลงมาแช่ที่ชั้นล่างก่อนการ ประกอบอาหารเป็นเวลานานพอสมควร
4.ในการประกอบอาหารใส่น้ำแต่พอควร
5.ควรใช้เตาชนิดมองไม่เห็นขดลวด เพราะจะไม่มีความร้อนสูญเปล่าและปลอดภัยกว่า
6.อย่าเปิดเตาบ่อย ๆ และขณะใช้งานควรวางบนพื้นที่ทนไฟหรือไม่ติดไฟ
7.

 

========================================================

 

 

 

14 July 2025
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD