Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 177,657
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,844
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 174,233
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 174,139
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 171,568
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,653
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 169,601
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,983
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 162,209
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 159,437
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 159,370
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 158,561
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 69,060
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 63,803
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,865
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,653
17 Industrial Provision co., ltd 40,752
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 39,373
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 37,347
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,661
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 34,561
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,882
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 32,314
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 32,144
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 28,561
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 27,574
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,941
28 AVERA CO., LTD. 23,664
29 เลิศบุศย์ 22,652
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 21,431
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 21,317
32 Electronics Source Co.,Ltd. 21,005
33 แมชชีนเทค 20,930
34 มากิโน (ประเทศไทย) 20,175
35 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 20,118
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,923
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 19,552
38 SAMWHA THAILAND 19,451
39 วอยก้า จำกัด 19,199
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 18,645
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 18,461
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 18,362
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 18,349
44 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 18,314
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 18,188
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 18,166
47 Systems integrator 17,742
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,708
49 Advanced Technology Equipment 17,547
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 17,500
08/09/2552 21:02 น. , อ่าน 74,826 ครั้ง
Bookmark and Share
ความรู้พื้นฐานเรื่องอินเวอร์เตอร์
โดย : Admin



 

 โดย :   สุชิน  เสือช้อย

 

 


What is Inverter ?

      
      ปัจจุบันอินเวอร์เตอร์ได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และมีการใช้งานอย่างแพร่หลาย ในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งหลายท่านได้ใช้ได้เข้าไปเกี่ยวข้องแต่ไม่ทราบว่าอินเวอร์เตอร์คืออะไร และมีพื้นฐานการทำงานอย่างไร  
 ... ดังนั้นวัตถุประสงค์ของเอกสารนี้ จึงเรียบเรียงขึ้นเป็นแนวทางเพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานอินเวอร์เตอร์ ได้เกิดความเข้าใจหลักการพื้นฐานของอินเวอร์เตอร์เพิ่มขึ้น และเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้เกี่ยวกับอินเวอร์เตอร์ในระดับสูงในโอกาสต่อไป

 


  • อินเวอร์เตอร์คืออะไร ?

 อินเวอร์เตอร์ (inverter) หรือเรียกว่า เอซีไดร์ฟ (AC drives) คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้สำหรับควบคุมความเร็วรอบ ของมอเตอร์เหนี่ยวนำหรือเอซีมอเตอร์ (ซึ่งบางครั้งก็ถูกเรียกว่า "อะซิงโครนัส หรือมอเตอร์แบบกรงกระรอก")

  • ความเร็วรอบสามารถควบคุมได้อย่างไร ?
    เนื่องจากความเร็วรอบของอินดัคชั่นมอเตอร์ หรือมอเตอร์เหนี่ยวนำ จะเปลี่ยนแปลงสัมพันธ์กับสมการความเร็วรอบหรือสมการซิงโครนัส-สปีดดังต่อไปนี้     
       

Synchronous speed  (Ns)
 

      = (120 * f ) / P
 

โดยกำหนดให้:

    f = ความถี่กระแสไฟฟ้า
    P = จำนวนขั้วแม่เหล็ก

       จากสมการสมซิงโครนัส-สปีดจะเห็นว่าความเร็วรอบของมอเตอร์สามารถปรับเปลี่ยนได้ 2 เส้นทางคือ
         1.  เปลี่ยนจำนวนขั้วแม่เหล็ก (P) และ
         2. เปลี่ยนแปลงความถี่ของกระแสไฟฟ้าที่จ่ายให้กับมอเตอร์ไฟฟ้า ( f  )

      ดังนั้นหากความถี่กระแสไฟฟ้ามีค่าคงที่คือ 50 Hz. ( หรือ 60 Hz.ในบางประเทศ เช่นอเมริกา ) ความเร็วรอบของมอเตอร์  แต่ละตัวก็จะมีความเร็วรอบที่แตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับจำนวนขั้วแม่เหล็กของมอเตอร์แต่ละตัว ซึ่งสามารถสรุปได้ตามตารางดังนี้             
 

จำนวนขั้วแม่เหล็ก(P)

2

4

6

8

10

12

จำนวนรอบที่ความถี่ 50 Hz.    (RPM)

3,000

1,500

1,000

750

600

500

จำนวนรอบที่ความถี่ 60 Hz.    (RPM)

3,600

1,800

1,200

900

720

600

  
 
จากตารางสรุปความสัมพันธ์ของความเร็วรอบของมอเตอร์ที่มีจำนวนขั้วแม่เหล็กที่แตกต่างกันจะเห็นว่า วิธีการควบคุมความเร็วรอบด้วยการเปลี่ยนจำนวนขั้วแม่เหล็กนั้น ความเร็วจะเปลี่ยนแปลงไปครั้งละมาก ๆ เช่น เปลี่ยนจาก 3000 รอบต่อนาที ไปเป็น 1500 รอบต่อนาที  หรือจาก 1500 รอบต่อนาที ไปเป็น3000 รอบต่อนาที ( กรณีเปลี่ยนจากการต่อแบบ  2 ขั้วแม่เหล็กไปเป็นการต่อแบบ 4 ขั้วแม่เหล็ก หรือจาก 4 ขั้วแม่เหล็กลดลงมาเหลือ 2 ขั้วแม่เหล็ก) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงความเร็วรอบในลักษณะนี้ความเร็วรอบที่เปลี่ยนแปลงจะไม่ละเอียด ,ทำได้เฉพาะในขณะที่ไม่มีโหลด และที่สำคัญคือต้องใช้มอเตอร์ที่ออกแบบพิเศษที่สามารถเปลี่ยนแปลงจำนวนขั้วแม่เหล็กได้เท่านั้น ทำให้ไม่เหมาะสมกับความต้องการของงานในหลาย ๆประเภทที่ต้องการควบคุมความเร็วรอบในขณะมีโหลดเพื่อให้ความเร็วเหมาะสมกับความเร็วของกระบวนการผลิต  ดังนั้นในกระบวนการผลิตทั่วไปจึงนิยมใช้อินเวอร์เตอร์ในการควบคุมความเร็วรอบของมอเตอร์มากกว่าเนื่องจากสามารถควบ คุมให้มอเตอร์ด้วยความเร็วคงที่  ปรับความเร็วรอบไปที่ความเร็วต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและมีความเที่ยงตรงมากกว่า
 

  • อินเวอร์เตอร์ทำงานอย่างไร?
      จากรูปบล็อคไดอะแกรมพื้นฐานอย่างง่ายๆ ของอินเวอร์ จะประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ ๆ และมีการทำงานดังนี้
     



รูปภาพจาก ออมรอน (OMRON)


 

  •  Rectifier  circuit:
      วงจรเรกติไฟเออร์ หรือวงจรเรียงกระแส :  ทำหน้าที่แปลงผันหรือเปลี่ยนจากแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับเป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง วงจรประกอบด้วย เพาเวอร์ไดโอด 4 ตัว กรณีที่อินพุทเป็นแบบเฟสเดียว หรือมีเพาเวอร์ไดโอด 6 ตัว กรณีที่อินพุตเป็นแบบ 3 เฟส ดังรูป ( สำหรับอินเวอร์เตอร์บางประเภทจะใช้ SCR ทำหน้าที่เป็นวงจรเรกติไฟเออร์ซึ่งทำให้สารมารถควบคุมระดับแรงดันในวงจร ดีซีลิ๊งค์ได้)


 

  • DC link :
       ดีซีลิ๊งค์ หรือ วงจรเชื่อมโยงทางดีซี  คือวงจรเชื่อมโยงระหว่างวงจรเรียกกระแสและวงจรอินเวอร์เตอร์ (ซึ่งจะอธิบายในหัวข้อถัดไป) ซึ่งจะประกอบด้วยแคปปาซิเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ พิกัดแรงดัน ไฟฟ้า 400 VDC หรือ 800 VDC โดยขึ้นอยู่กับแรงดันอินพุตว่าเป็นแบบเฟสเดียวหรือ 3 เฟส  ทำหน้าที่กรองแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงที่ได้จากวงจรเรียงเรกติไฟเออร์ให้เรียบยิ่งขึ้น และทำหน้าที่เก็บประจุไฟฟ้า ขณะที่มอเตอร์ทำงานเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในช่วงสั้นเนื่องจาการเบรคหรือมีการลดความเร็วรอบลงอย่างรวดเร็ว (สำหรับกรณีที่ใช้งานกับโหลดที่มีแรงเฉื่อยมาก ๆ และต้องการหยุดอย่างรวดเร็ว จะเกิดแรงดันสูงย้อนกับมาตกคร่อมแคปปาซิเตอร์และทำให้ แคปปาซิเตอร์เสียหาย ได้ ดังนั้นในทางปฏิบัติจะมีวงจรชอปเปอร์โดยต่อค่าความต้านอนุกรมกับทรานซิสเตอร์ และต่อขนานกับแคปปาซิเตอร์ไว้ โดยทรานซิสเตอร์จะทำให้ที่เป็นสวิตซ์ตัดต่อควบคุมให้กระแสไหลผ่านค่าความต้านทานเพื่อลดพลังงานที่เกิดขึ้น
     

  • Inverter circuit :
     วงจรอินเวอร ์ คือส่วนที่ทำหน้าที่แปลงผันจากแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (ที่ผ่านการกรองจากวงจรดีซีลิ๊งค์) เป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ วงจรจะประกอบด้วยเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์กำลัง 6 ชุด (ปัจจุบันส่วนใหญ่จะใช้ IGBT) ทำหน้าที่เป็นสวิตซ์ตัดต่อกระแสไฟฟ้าเพื่อแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ โดยอาศัยเทคนิคที่นิยมใช้กันทั่วไปคือ PWM (Pule width modulation)
     

  • Control circuit :
      วงจรควบคุม จะทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้เช่น รับข้อมูลความเร็วรอบที่ต้องการเข้าไปทำการประมวลผล และส่งนำเอาท์พุทออกไปควบคุมการทำงานของทรานซิสเตอร์เพื่อจ่ายแรงดันและความถี่ให้ได้ความเร็วรอบและแรงบิดตาม ที่ผู้ใช้งานต้องการ   
     

  • ทำไมจึงต้องแปลงผันจาก ดีซีเป็น เอซี และแปลงผันกลับจากดีซีเป็นเอซีอีกครั้ง ?  (คำถามที่พบบ่อย)
        เนื่องจากการแปลงจากเอซีไปเป็นเอซี โดยตรงเลยนั้น ความถึ่ทางด้านเอาท์พุตจะได้สูงสดไม่เกินความถี่ทางด้านอินพุต ทำให้ไม่สามารถควบคุมความเร็วมอเตอร์ให้มีความเร็วมากกว่าความเร็วที่บอกไว้บนแผ่นป้ายของมอเตอร์ แต่การเปลี่ยนจาก เอซี ไปเป็น ดีซี และแปลงกลับมาเป็น เอซี อีกครั้งจะทำให้อินเวอร์เตอร์สามารถสร้างความถี่ได้สูงกว่าความถี่ทางด้านอินพุต 

 


 


 

 

========================================================

 

 

 

12 July 2025
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD