Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,948
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,315
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,586
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,580
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 171,029
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,139
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 169,115
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,439
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,404
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,924
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,877
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 158,091
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,463
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 63,110
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,271
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,160
17 Industrial Provision co., ltd 40,104
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,909
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,835
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,156
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 34,080
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,429
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,848
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,600
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 28,073
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 27,083
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,458
28 AVERA CO., LTD. 23,213
29 เลิศบุศย์ 22,166
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,922
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,822
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,446
33 แมชชีนเทค 20,419
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,678
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,641
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,419
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 19,076
38 SAMWHA THAILAND 18,872
39 วอยก้า จำกัด 18,553
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 18,106
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,939
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,871
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,829
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,793
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,709
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,709
47 Systems integrator 17,260
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,227
49 Advanced Technology Equipment 17,037
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 17,024
18/09/2552 14:51 น. , อ่าน 95,651 ครั้ง
Bookmark and Share
CNC คืออะไร
โดย : Admin

CNC คืออะไร

 

 

 

                CNC ย่อมาจาก Computer Numerical Control  หมายถึงการควบคุมเชิงตัวเลขด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรกลต่าง ๆ ซึ่งสามารถทำให้ผลิตชิ้นส่วนได้รวดเร็วถูกต้องและเที่ยงตรง   เช่น เครื่องกัดซีเอ็นซี เครื่องกลึงซีเอ็นซี เครื่องเจียระไน เครื่อง EDM  และอื่นๆ


             เครื่องจักรซีเอ็นซีแต่ละแบบแต่ละรุ่นจะมีลักษณะเฉพาะ และการประยุกต์ใช้งานที่ต่างกันออกไป  แต่ก็มีจุดเด่นและข้อดีที่เหมือนๆกันดังนี้

            1)  เครื่องจักรกลซีเอ็นซีทุกเครื่องได้รับการปรับปรุงให้มีการทำงานอัตโนมัติทำให้ลดความวุ่นวายของผู้ควบคุมเครื่องจักรในการผลิตชิ้นงาน เครื่องจักรซีเอ็นซีหลายเครื่องสามารถทำงานโดยที่ผู้ควบคุมไม่ต้องคอยนั่งเฝ้าในระหว่างวัฏจักรการทำงานของเครื่อง (Machining cycle) และผู้ควบคุมสามารถไปทำงานอย่างอื่นได้ สิ่งนี้ทำให้ผู้ใช้เครื่องจักรซีเอ็นซีได้ประโยชน์หลายอย่างรวทั้งลดความเหนื่อยล้าของผู้ปฏิบัติงาน ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากคนมีน้อยมากมีความคงเส้นคงวาในการผลิตและสามารถทำนายเวลาในการผลิตแต่ละชิ้นได้

            2)   เทคโนโลยีซีเอ็นซีคือความคงเส้นคงวาและความถูกต้องแม่นยำของชิ้นงาน ซึ่งหมายความว่าเมื่อโปรแกรมที่เขียนทำงานอย่างถูกต้องแล้ว การผลิตชิ้นส่วน 2 ชิ้น 10 ชิ้น หรือ 1000 ชิ้นให้เหมือนกันทุกประการสามารถทำได้อย่างง่ายดายด้วยความสม่ำเสมอ


            3) ความยืดหยุ่นในการทำงาน เนื่องจากเครื่องจักรกลเหล่านี้ทำงานตามโปรแกรม การทำงานที่ต่างกันก็ง่ายเหมือนกับการโหลดโปรแกรมที่ต่างกัน เมื่อโปรแกรมประมวลผลและทำการผลิตชิ้นงานแล้ว เราสามารถเรียกโปรแกรมนั้นกลับมาใช้ใหม่ในครั้งต่อไปเมื่อต้องทำงานชิ้นนั้นอีก 



           ในตอนเริ่มแรกการควบคุมเครื่องจักรกลซีเอ็นซีใช้โปรแกรมรหัสจีเป็นชุดคำสั่งควบคุมขับเครื่องมือตัดเฉือน (Tool) จากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่ง หรือเปิด-ปิดสารหล่อเย็นหรือเปลี่ยนเครื่องมือตัดเฉือน เราไม่สามารถแยกเครื่องจักรซีเอ็นซีและรหัสจีออกจากกันได้ ถ้าเราต้องการให้เครื่องจักรซีเอ็นซีทำงานเราต้องเรียนรู้รหัสจีเพื่อที่เราจะได้พูดภาษาเดียวกับตัวควบคุมซีเอ็นซีได้ภายหลังโปรแกรม CAD/CAM ได้รับการพัฒนาขึ้นมา การนำ CAD/CAM มาใช้งานร่วมกับ CNC ก็เริ่มขึ้น ความเข้าใจเรื่องการรวม CNC กับ CAD/CAM จะช่วยให้เข้าใจวิธีการโปรแกรมรหัสจีเพื่อให้เครื่องจักรซีเอ็นซีทำงาน

            หลักการของรหัสจีในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาทุกอย่างยังเหมือนเดิมคนส่วนใหญ่ใช้ระบบ CAM สำหรับสร้างรหัสจี แต่ก็ยังคงมีคนอีกจำนวนไม่น้อยยังคงส่งรหัสจีไปยังตัวควบคุม CNC เพื่อให้คนควบคุมเครื่องแก้ไข รหัสจีไม่เพียงแต่มีความยุงยากในการใช้งานเท่านั้น นอกจากนั้นยังไม่สามารถรวมกับระบบ CAD/CAM ได้ หมายความว่าการเปลี่ยนแปลงรหัสจีโดยตัวควบคุมที่เครื่องจักรซีเอ็นซีไม่สามารถส่งกลับไปที่ระบบ CAM ได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เมื่อผู้ควบคุมเครื่องจักรซีเอ็นซีต้องเปลี่ยนแปลงรหัสจีที่ได้รับจากระบบ CAM เพื่อปรับเงื่อนไขการกัดขึ้นรูปให้ถูกต้อง หลังจากนั้นก็ไปใช้โปรแกรมอื่นแล้วกลับมาใช้โปรแกรมเดิม ผู้ควบคุมเครื่องก็ต้องแก้ไขโปรแกรมรหัสจีอีก จะเกิดอะไรขึ้นถ้าผู้ควบคุมเครื่องลืมแก้ไขเงื่อนไขการกัด สิ่งนี้ทำให้เสียเวลาและเงินทองเป็นจำนวนมาก

 

 

 

 

 ขอขอบคุณทุกๆที่มาของแหล่งข่าว
 
 

 

========================================================

 

 

 

16 January 2025
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD