Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 177,375
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,636
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,963
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,923
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 171,387
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,436
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 169,419
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,778
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,832
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 159,282
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 159,172
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 158,389
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,847
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 63,601
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,628
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,471
17 Industrial Provision co., ltd 40,550
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 39,193
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 37,130
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,462
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 34,370
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,714
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 32,142
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,934
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 28,361
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 27,384
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,762
28 AVERA CO., LTD. 23,490
29 เลิศบุศย์ 22,464
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 21,244
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 21,113
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,792
33 แมชชีนเทค 20,720
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,960
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,946
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,730
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 19,368
38 SAMWHA THAILAND 19,237
39 วอยก้า จำกัด 18,970
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 18,440
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 18,260
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 18,174
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 18,128
44 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 18,127
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 18,013
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,996
47 Systems integrator 17,552
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,535
49 Advanced Technology Equipment 17,338
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 17,323
09/11/2547 20:40 น. , อ่าน 13,602 ครั้ง
Bookmark and Share
temperature detector.
ขอแจม เพราะอยากรู้
09/11/2547
20:40 น.
ผมอยากทราบขอ้มูลเกี่ยวกับ ตัวตรวจจับอุณภูมิที่ขดลวดของมอเตอร์ว่ามีกี่ชนิด กี่แบบ (บางคนเรียก RTD บางคนเรียก THERMISTER) งง!!!!! ครับ ทำงานแตกต่างกันอย่างไรช่วยชี้แนะดว้ยครับ
ความคิดเห็นทั้งหมด 36 รายการ | 1  2  3    »
ความคิดเห็นที่ 1
ช่างซ่อมมอเตอร์
09/11/2547
21:34 น.
Temperature Detector ( ตัวตรวจจับความร้อน )ที่ใช้ในการตรวจจับความร้อนของมอเตอร์แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท<br>1. ไบเมทอลลิค ( เทอร์โมสตัท )( Bimetallic ( Thermostat )<br>2. เทอร์มิสเตอร์ ( Thermister )<br>3. อาร์ทีดี ( RTD )<br>4. เทอร์โมคัปเปิ้ล ( Thermocouple )<br><br>Bimetallic ทำงานเหมือนเทอร์โมสตัทของเตารีด จะถูกติดตั้งไว้ที่ขดลวดบริเวณปลายคอยล์เนื่องจากมีขนาดค่อนข้างใหญ่ เพราะตัวมันเองจะมีหน้าคอนแทคอยู่ที่ตัวของมันเอง การใช้งานจะนำไปต่อเข้ากับชุดคอนโทรลโดยตรง<br><br>Thermister จะทำงานร่วมกับรีเลย์ ตัวมันเองมีขนาดเล็ก และเป็นตัวตรวจจับความร้อนที่นิยมใช้มากที่สุด แต่มีข้อเสียที่ไม่สามารถวัดอุณหภูมิได้<br><br>RTD มีหลายประเภท ประเภทที่นิยม คือ PT100 โดยที่ PT100 มีความหมายว่า ที่อุณหภูมิ 0 องศาตัว PT100 จะมีค่าความต้านทาน 100 โอห์ม RTD ต้องใช้ร่วมกับรีเลย์เช่นกัน สามารถเซทได้เป็นทั้งชุดป้องกันอุณหภูมิสูง หรือใช้วัดค่าอุณหภูมิได้เลย<br>ข้อเสียมีราคาค่อนข้างแพง เลยมักจะใช้ติดตั้งกับมอเตอร์ที่เป็นมอเตร์ขนาดใหญ่และมีแรงดันเป็นระดับ Medium Volt<br><br>Thermocoulple เป็นตัวตรวจจับทีไม่นิยมใช้ตรวจจับอุณหภูมิของขดลวด เนื่องจากหลักการทำงานตัวมันเองจะผลิตแรงดันออกมา ฉะนั้นเมื่อนำไปติดตั้งในที่มีสนามเเม่เหล็กจะก่อให้เกิดสัญญานรบกวนค่อนข้างมาก จึงมักจะนิยมใช้ติดตั้งเพื่อวัดอุณหภูมิด้านนอกมอเตอร์ จำพวก แบริ่ง นำมันหล่อลื่น<br><br>คงเป็นข้อมูลคร่าวๆถ้าอยากทราบข้อมูลจุดไหนเป็นพิเศษ ก็เขียนมาถามกันได้
ความคิดเห็นที่ 2
ขอแจม เพราะอยากรู้
10/11/2547
11:23 น.
ผมยังสงสัยเกี่ยวกับตัว thermister ตรงที่บอกว่ามีข้อเสียตรงที่ไม่สามารถวัดอุณหภูมิได้อยากขอให้ช่วยขยายความอีกซักหน่อยว่าเพราะเหตุใดครับ
ความคิดเห็นที่ 3
ช่างซ่อมมอเตอร์
10/11/2547
12:32 น.
ดีครับที่สงสัยแล้วไม่ทิ้งความสงสัยไว้ในใจ<br>Bimetallic และ Thermister เป้นอุปกรณ์ตัวจับความร้อนที่ใช้สำหรับป้องกันอุณหภูมิที่สูงเกินกว่าค่าที่กำหนดไว้ที่ตัวเซนเซอร์<br><br>Thermister เกิดจากการโด๊ปสารเซมิคอนดักเตอต์ประเภทหนึ่ง ทำให้มีคุณสมบัติมีค่าความต้านทานเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ<br><br>Thermister มีอยู่สองประเภทคือ NTC และ PTC ชนิดที่ใช้ในวงการมอเตอร์ คือ ชนิด PTC โดยมีหลักการทำงานคือค่าความต้านทานของตัวมันจะแปรผันตรงกับอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น แต่การเพิ่มขึ้นของค่าความต้านทาน จะไม่เป็นเส้นตรง และมีการลดลงในบางช่วงซึ่งเป็นช่วงที่ไม่อยู่ในจุดที่ใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น Thermister 130 องศาถ้าเราให้ความร้อนที่ตัวเซนเซอร์ในช่วงแรกค่าความต้านทานของมันจะลดลงเล็กน้อย ปกติค่าความต้านทานจะอยู่ประมาณ 50 โอห์มที่ 30 องศา แต่เมื่ออุณหภูมิที่ตัวเซนเซอร์ตรวจจับได้มีอุณหภูมิประมาณ 115 องศาค่าความต้านทานของมันจะเพิ่มสูงขึ้นและจะสูงขึ้นเกือบเป็นเส้นตรงเมื่อมีอุณหภูมิที่ตัวจับได้ 125 องศา<br><br>จะเห็นได้ว่าค่าความต้านทานที่เปลี่ยนแปลงที่เป็นแบบไม่คงที่นี้จึงไม่สามารถที่จะนำไปใช้ในการวัดค่าความร้อนได้<br><br>Thermister จะถูกนำไปต่อเข้ากับ Thermister Relay ที่มีหน้าที่คอยตรวจจับค่าความต้านทานของ Thermister ว่ามีความต้านทานตามที่กำหนดไว้หรือยังซื่งปกติจะอยู่ประมาณ 2700 -3500 โอห์ม นั่นก็หมายความว่าThermister 130 ที่อุณหภูมิ 130 องศาตัวมันเองจะมีค่าความต้านทานที่เกินกว่าค่า 2700-3500 โอห์ม นั่นก็หมายความว่าเมื่ออุณหภูมิสูงถึง 130 องศาค่าความต้านทานของ Thermister จะเป็นตัวสั่งให้ Thermister Relay trip วงจรออก <br><br>จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่าหากเราต้องการเปลี่ยนจุดทริปของวงจรควบคุมมอเตอร์ให้สูงขึ้นหรือต่ำลง เราต้องทำการเปลี่ยน ชนิดของเทอร์มิสเตอร์ ไม่ใช่ไปปรับแต่งที่ เทอร์มิสเตอร์รีเลย์<br><br>อ้ออีกนิดหนึ่ง เทอร์มิสเตอร์ประเภท NTC จะมีคุณสมบัติตรงข้ามกับแบบ PTC และให้อัตราการเปลี่ยนแปลงด้านความต้านทานต่ออุณหภูมิที่ค่อนข้างเกือบคงที่กว่า แต่มักจะถูกใช้ในตัวเซอร์ประเภทเครื่องมือวัดอุณหภูมิประเภทมือถือซะเป็นส่วนใหญ่
ความคิดเห็นที่ 4
TingTong
19/11/2547
10:54 น.
เพิ่มเติม RTD PT100 ที่ว่าจะมีความต้านทาน 100 ohm ที่ 0 องศา ตัวเขาจะมีการเปลี่ยนแปลงความต้านทานต่ออุณหภูมิเท่ากับ 0.385 ohm/deg.c นั่นหมายความว่าหากเราวัดได้ความต้านทานได้ 120 ohm [ (120-100)/0.385 -&gt; 31.17 Deg.C ]
ความคิดเห็นที่ 5
ช่างซ่อมมอเตอร์
23/02/2548
10:43 น.
ผมคาดว่าคุณ Ting Tong อาจจะกดเครื่องคิดเลขผิดน่ะ เพราะที่ 120 โอห์ม อุณหภูมิน่าจะเป็น ( 120-100 ) = 20 / 0.385 =51.94 องศา
ความคิดเห็นที่ 6
ช่างเครื่องเย็น
13/11/2548
19:32 น.
ผมอยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับtypeของtermocouppleและการแบ่งชนิดของtermocouppleว่ามีกี่ชนิดอะไรบ้างขอบคุณครับ<br>
ความคิดเห็นที่ 7
ช่างไพพ้า
22/12/2548
09:56 น.
ผมอยากถามเกี่ยวกับโครงสร้างของตัวตรวจจับความร้อน
ความคิดเห็นที่ 8
นักศึกษา
15/02/2549
21:07 น.
อยากทราบthermocoupleที่จำหน่ายมีของบริษัทใดบ้าง
ความคิดเห็นที่ 9
chicket
08/05/2549
10:23 น.
thermocouple มี 7 type มี J ,K,T,E,R,S,B ซึ่งแต่ละtypeจะใช้ลวดโลหะต่างชนิดกัน เนื่องจากthermocouple มีหลักการทำงานคือ เมื่อนำลวดโลหะ2 เส้นที่ทำด้วยโลหะต่างชนิด กันมาเชื่อมปลายทั้งสองเข้าด้วยกันถ้าจุดปลายมีอุณหภูมิต่างกันจะทำให้เกิดกระแสไฟไหลในวงจรเส้นลวด ส่วนใหญ่เรานิยมใช้ type k เพราะย่านในการวัดกว้างสุด
ความคิดเห็นที่ 10
sk
03/06/2549
00:44 น.
type K มีค่าความผิดพลาดในช่วงอุณหภูมิต่างน้อยกว่าเมื่อเทียบกับ type อื่น ๆ แต่อย่าไปเทียบกับ pt100 เพราะ pt100 มีค่าความเป็นลิเนียร์สูงมาก
ความคิดเห็นที่ 11
sk
03/06/2549
00:52 น.
Pt100 ตามตารางเทียบอุณหภูมิ ที่ 30 C = 111.67 โอห์มครับ ถ้า 120 โอห์ม จะได้ 51 C ตามที่คุณช่างซ่อมมอเตอร์ครับ
ความคิดเห็นที่ 12
MTG
05/06/2549
13:09 น.
อยากทราบว่าที่อุณหภูมิ -40 องศาเซลเซียส จะมีค่าเป็นองศาฟาเรนไฮด์เท่าไรครับ???
ความคิดเห็นที่ 13
mtg
10/08/2549
13:04 น.
โครงสร้างthermister
ความคิดเห็นที่ 14
nineHank
19/10/2549
14:51 น.
-40 องศาเซลเซียส <br>คิดดังนี้<br>(-40*9/5)-32 ครับ ได้ = -104 F
ความคิดเห็นที่ 15
nineHank
19/10/2549
15:00 น.
ขอเพิ่มเติมคุณช่างซ่อมมอเตอร์ครับ<br>thermister เป็น สารกึ่งตัวนำ สามารถมองเป็นความต้านทานได้<br>แต่จะขึ้นอยู่กับว่าเขาโด๊ปสารชนิดใด ซึ่งจะทำให้คุณสมบัติต่างกัน นั่นคือ เป็นแบบ PTC หรือ NTC สามานำมาคำนวณหาอุณหภูมิได้นะครับ เพียงแต่มันไม่ลิเนียร์ ลักษณะความสัมพันธ์ของอุณหภูมิกับความต้านทานจะเป็นแบบเอ็กโปเนนเชียล ตามสมการนี้นะครับ<br>Rt=Ro*exp(beta*(1/T-1/To)) ซึ่งมีหลายเบอร์แต่ละเบอร์ก็มีความต้านทานที่อุณหภูมิห้อง(25 C) แตกต่างกันไป ค่า beta ก็ต่างกัน
ความคิดเห็นทั้งหมด 36 รายการ | 1  2  3    »
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง:
2 May 2025
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD