Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 177,373
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,633
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,953
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,919
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 171,383
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,432
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 169,418
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,775
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,818
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 159,277
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 159,171
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 158,388
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,841
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 63,600
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,623
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,469
17 Industrial Provision co., ltd 40,549
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 39,189
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 37,130
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,459
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 34,367
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,711
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 32,140
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,933
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 28,360
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 27,383
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,760
28 AVERA CO., LTD. 23,490
29 เลิศบุศย์ 22,462
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 21,236
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 21,112
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,791
33 แมชชีนเทค 20,718
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,958
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,945
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,726
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 19,367
38 SAMWHA THAILAND 19,234
39 วอยก้า จำกัด 18,966
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 18,438
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 18,258
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 18,171
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 18,127
44 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 18,118
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 18,011
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,996
47 Systems integrator 17,551
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,532
49 Advanced Technology Equipment 17,335
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 17,322
19/11/2558 10:57 น. , อ่าน 3,717 ครั้ง
Bookmark and Share
ถามเรื่องคอยล์โช๊คมอเตอร์
ArchOfLife
19/11/2558
10:57 น.
ทำไมต้องมีจุดต่อถึง3ชุดด้วยครับ และหลักการทำงานเป็นยังไง ขอให้พี่ๆ ช่วยตอบทีนะครับ
ความคิดเห็นทั้งหมด 6 รายการ |
ความคิดเห็นที่ 1
ช่างซ่อมมอเตอร์
20/11/2558
09:34 น.

ขอให้ความเห็นอย่างนี้ครับ

ดูจากในรูปเป็นได้ทั้งสองแบบคือ Reactor และ Auto Transformer ซึ่งทั้งสองชนิดก็เป็นอุปกรณ์ช่วยในการสตาร์ทเหมือนกัน แต่ในที่นี้คงจะพูดถึงเฉพาะ Reactor (โช๊ค)

ถามว่ามันทำงานอย่างไร ต้องกลับไปดูจุดประสงค์ของการสตาร์ทมอเตอร์ก่อน ถ้าเราไม่สนใจอะไรเลย ก็ง่ายนิดเดียวต่อไฟต่อตรง หรือสตาร์ท Direct online ไปเลยแน่นอนว่าวิธีนี้มอเตอร์ขณะสตาร์ทให้แรงบิดสูงสุด มอเตอร์กินกระแสไฟสูงสุด

แต่เมื่อมาดูโหลด จะมีโหลดอยู่ไม่กี่ประเภทที่ต้องการแรงบิดขณะออกตัวสูง ส่วนมากแล้วเริ่มจากศูนย์และค่อยๆเพิ่มขึ้นตามความเร็วรอบเกือบทั้งนั้น

ฉะนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่เราต้องออกแบบมอเตอร์ให้สตาร์ทที่ให้แรงบิดสูงสุด ซึ่งมีผลข้างเคียงที่ตามมาก็คือกระแสสูงสุดไปด้วย และด้วยคุณสมบัติของมอเตอร์อินดักชั่นมอเตอร์ ที่แรงบิดของมอเตอร์ ไม่ว่าจะอยู่ในสภาวะสตาร์ท หรือขณะใช้งาน แปรผันตรงกับแรงดันที่ป้อน ฉะนั้นถ้าเรากำหนดแรงดันที่ป้อนให้กับมอเตอร์ได้ เราก็จะสามารถกำหนดแรงบิดของมอเตอร์ได้

การสตาร์ท สตาร์-เดลต้า ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ใช้อุปกรณ์ภายนอก มาต่อวงจรภายในของขดลวด ที่จากเดิม รับแรงดัน 380 V.ต่อเฟส มาเป็น 220 V. ต่อเฟส (ในสภาวะสตาร์ท) การลดแรงดันที่ป้อนให้กับขดลวดมอเตอร์ แรงบิดจะลดลงในทุกสภาวะ เป็น กำลังสองของผลหารที่เหลือ เช่นมอเตอร์ตัวหนึ่งมีแรงบิดพิกัด 100 (หน่วยอะไรก็แล้วแต่) ถ้าเป็นการสตาร์ทแบบต่อตรงคือป้อนแรงดันเข้าขดลวด 380 V. แรงบิดสตาร์จะอยู่ประมาณ 1.5 เท่าของแรงบิดพิกัด หรือ 100x1.5 =150 แต่ถ้าเปลี่ยนมาใช้ สตาร์ทสตาร์-เดลต้า ขณะสตาร์ท จะมีแรงดันตกคร่อมขดลวดต่อเฟสเหลือ 220 V. แรงบิดมอเตอร์ขณะสตาร์ทจะเหลือ (220/380)2 x100 = 33 จะเห็นได้ว่าเปลี่ยนแรงดันสตาร์ทจาก 380 เป็น 220 แรงบิดสตาร์ทเปลี่ยนจาก 150 มาเหลือ 33
ผลที่ตามมาอีกอย่างหนึ่งก็คือกระแสมอเตอร์จะลดเป็นสัดส่วนกับแรงดันที่ป้อน เพราะตัวที่ควบคุมกระแสสตาร์ทก็คือ อิมพีแดนซ์ของขดลวดมอเตอร์ เมื่ออิมพีแดนซ์คงที่แรงดันลดลงย่อมทำให้กระแสลดลงเป็นสัดส่วนกับแรงดัน สมมุติว่ามอเตอร์ขณะสตาร์ทกินกระแส 6 เท่าของกระแสพิกัด(หาดูได้จากคู่มือมอเตอร์) ถ้ามอเตอร์มีค่ากระแสพิกัด 100 A. มอเตอร์จะกินกระแสขณะสตาร์ทเมื่อป้อนไฟ 380 V. =100x6=600 A. แต่ถ้าป้อนแรงดัน 220 V. กระแสสตาร์ทก็จะเหลือ 220/380x600=347 A. ฉะนั้นจะเห็นว่ายิ่งป้อนแรงดันให้กับมอเตอร์น้อยเท่าไหร่ มอเตอร์จะกินกระแสขณะสตาร์ทน้อยเท่านั้น แต่จะขึ้นอยู่กับว่าเมื่อลดแรงดันลงมาแล้ว ยังจะพอที่พาโหลดเร่งรอบขึ้นไปได้หรือเปล่า อันนี้จะขึ้นอยู่กับประเภทของโหลด
ความคิดเห็นที่ 2
ช่างซ่อมมอเตอร์
20/11/2558
10:06 น.

มาเข้าเรื่องโช๊คบ้าง โช๊คหรือ Reactor สตาร์ทก็เป็นอีกอุปกรณ์หนึ่งที่ดูจากรูป ซึ่งจะเห็นว่า Reactor จะมี 3 เฟส แต่ละเฟสก็จะนำไปต่ออนุกรมเข้ากับขดลวดแต่ละเฟสของมอเตอร์ จะทำให้เกิดแรงดันตกคร่อม Reactor บางส่วนและไปตกคร่องมอเตอร์บางส่วน ทำให้สภาวะนี้ แรงดันตกคร่อมมอเตอร์ขณะสตาร์ทลดลง คุณสมบัติต่างๆของมอเตอร์เมื่อมีการลดแรงดันก็จะเป็นไปตามที่ได้กล่าวไปแล้ว

Reactor โดยปกติจะออกแบบมาให้มี 4 ขั้วต่อเฟส คือ 50-65-80 และ Com โดยจะเป็นการเลือกว่าขณะสตาร์ทต้องการให้กระแสเป็นกี่เปอร์เซนต์ของการสตาร์ทแบบต่อตรง ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นการเลือกกระแสและแรงบิดขณะสตาร์ได้

ส่วนในรูปของเจ้าของกระทู้เข้าใจว่าน่าจะเป็น Tap 50-65- Com

บางคนอาจจะสงสัยว่าไปใช้ Reactor ทำไมให้ยุ่งยาก ใช้สตาร์ท สตาร์-เดลต้าไม่ดีกว่าเหรอ ขอตอบว่า : ข้อเสียอย่างหนึ่งของการสตาร์ท สตาร์-เดลต้า ที่ไม่สามารถกำหนดแรงบิดหรือกระแสสตาร์ทได้แล้ว ยังต้องเป็นมอเตอร์ที่ต้องมีขั้วสาย 6 ขั้ว U-V-W, X-Y-Z. เข้าไปต่อกับตู้ควบคุม ซึ่งแน่นอนว่ามอเตอร์แรงต่ำ(LV) ซึ่งมีค่าแรงดันพิกัดต่ำกว่า 1000 V.ไม่น่าจะมีปัญหา แต่ถ้าเป็นมอเตอร์ แรงดันปานกลาง(MV) มอเตอร์มักจะออกแบบมาให้ 3 สาย จึงเป็นเหตุผลที่ไม่สามารถใช้วิธีสตาร์ทแบบ สตาร์-เดลต้าได้ จึงต้องใช้ Reactor หรือ Auto Transformer สตาร์ท เป็นทางเลือก

เข้าใจว่าคำอธิบายเหล่านี้น่าจะตรงกับที่เจ้าของกระทู้ต้องการนะครับ
ความคิดเห็นที่ 3
ArchOfLife
21/11/2558
13:30 น.
ขอบคุณสำหรับความรู้มากๆ เลยครับ
ความคิดเห็นที่ 4
ArchOfLife
21/11/2558
13:36 น.
แล้วถ้าต้องการเมกฯ โช๊ค สมมติถ้าผมถอดสายร่วมขาคอมออกเพื่อเมกฯ ที่ละก้อน ผมสามารถเมกฯ ที่ขั้วคอมได้เลยหรือต้องไปเมกฯที่ขั้วลดกระแสที่ใช้ หรือสามารถวัดได้ทั้ง2ขั้วครับ
ความคิดเห็นที่ 5
ช่างซ่อมมอเตอร์
21/11/2558
13:59 น.

ขอแก้ไขข้อความหน่อยครับ
ข้อความเดิม
ขณะสตาร์ทจะเหลือ (220/380)2 x100 = 33 จะเห็นได้ว่าเปลี่ยนแรงดันสตาร์ทจาก 380 เป็น 220 แรงบิดสตาร์ทเปลี่ยนจาก 150 มาเหลือ 33
ที่ถูกต้องควรจะเป็น
ขณะสตาร์ทจะเหลือ (220/380)2 x150 = 50 จะเห็นได้ว่าเปลี่ยนแรงดันสตาร์ทจาก 380 เป็น 220 แรงบิดสตาร์ทเปลี่ยนจาก 150 มาเหลือ 50

ความคิดเห็นที่ 6
ช่างซ่อมมอเตอร์
21/11/2558
14:00 น.

ถ้าพิจารณาให้ดีจะเห็นว่ามีขั้วต่อออกไปใช้งานพร้อมกัน 3 เฟส 6 ขั้วเหมือนกับ มอเตอร์ที่ออกไป 6 ขั้ว ก็ควรที่จะ เมกเหมือนมอเตอร์ 6 ขั้วครับ U50 -V50 , U50-W50 , V50-W50 และ U50-G , V50-G , W50 G. จำนวน 6 ค่า

แต่ในความคิดเห็นส่วนตัวเนื่องจาก ทั้งสามขดลวดแยกจากกันอย่างเด็ดขาด วัด U50-G , V50-G , W50 G. แค่ 3 ค่าก็น่าจะพอ

และที่ถามมา ใช่ครับวัดที่ขั้ว Com หรือที่ขั้วที่เหลือก็มีค่าเหมือนกัน เพราะเป็นขดลวดเดียวกัน
ความคิดเห็นทั้งหมด 6 รายการ |
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง:
30 April 2025
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD