Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 177,373
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,633
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,953
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,919
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 171,383
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,432
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 169,418
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,775
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,818
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 159,277
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 159,171
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 158,388
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,841
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 63,600
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,623
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,469
17 Industrial Provision co., ltd 40,549
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 39,189
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 37,130
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,459
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 34,367
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,711
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 32,140
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,933
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 28,360
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 27,383
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,760
28 AVERA CO., LTD. 23,490
29 เลิศบุศย์ 22,462
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 21,236
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 21,112
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,791
33 แมชชีนเทค 20,718
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,958
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,945
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,726
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 19,367
38 SAMWHA THAILAND 19,234
39 วอยก้า จำกัด 18,966
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 18,438
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 18,258
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 18,171
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 18,127
44 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 18,118
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 18,011
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,996
47 Systems integrator 17,551
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,532
49 Advanced Technology Equipment 17,335
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 17,322
21/07/2555 16:45 น. , อ่าน 5,895 ครั้ง
Bookmark and Share
การเสื่อมสภาพของแกนเหล็ก
นานาสาระ
21/07/2555
16:45 น.
ผมต้องการทราบว่ามีวิธีการตรวจสอบได้อย่างไรว่ามอเตอร์ที่ผ่านการพันขดลวดมาแล้ว กี่ครั้ง
ถึงจะหมดสภาพการใช้งาน เนื่องจากการรื้อขดลวดด้วยวิธีการเผา มอเตอร์ตัวนี้ขนาด 22 kW.
แกนเหล็กของมอเตอร์อิ่มตัวหรือไม่ จะทราบได้อย่างไร ขณะ No Load กระแสกี่เปอร์เซ็นต์
แล้วเมื่อนำไปติดตั้งใช้งานจริงจะมีผลกับความร้อนได้หรือไม่ ค่ากระแสการใช้งานกี่เปอร์เซ็นต์
ของเนมเพลท (ก่อนหน้านี้ไม่ราบข้อมูลการซ่อมมาก่อนครับว่าพันขดลวดแล้วกี่ครั้ง)
ความคิดเห็นทั้งหมด 4 รายการ |
ความคิดเห็นที่ 1
ช่างซ่อมมอเตอร์
22/07/2555
08:46 น.

ขอให้ความคิดเห็นอย่างนี้ครับ
การตรวจสอบแกนเหล็กมีว่ามีการเสื่อมสภาพเนื่องจากการซ่อมหรือไม่ จะใช้วิธีการตรวจสอบโดยการทำ Coreloss Test ซึ่งผลที่ได้จะออกมา 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นการหาจุดที่ร้อนแตกต่างจากจุดอื่น ( Hot Spot ) ว่ามีหรือไม่ และอีกส่วนหนึ่งคือ ฉนวนระหว่างแผ่นลามิเนทมีการเสื่อมสภาพหรือไม่ ซึ่งจะใช้ดูอัตราการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิแกนเหล็กทั้งหมดอยางไม่ปกติ (หลังเทส หักลบด้วยก่อนเทส )และจะสอดคล้องกับค่า ลอสที่วัดได้จากการทดสอบก็จะสูงกว่าค่าโดยปกติโดยทั่วๆไป

ผลการทดสอบถ้าปรากฏว่า Hot Spot เกินค่าที่กำหนด โดยส่วนมาก จุดที่เกิด Hot Spot จะเป็นจุดที่ทำให้มอเตอร์ไหม้ เนื่องจากความร้อนจากจุดนี้ไปทำลายฉนวน

ส่วนค่าคอร์ลอสที่มีค่าสูงขึ้นเกินค่าปกติ แน่นอนว่าจะส่งผลต่อเรื่องของอุณหภูมิที่จะสูงขึ้นกว่าเดิม เมื่อเทียบกับการใช้งานก่อนที่จะมีการซ่อมมอเตอร์

ส่วนเรื่องแกนเหล็กมอเตอร์อิ่มตัวเนื่องจากความร้อนที่ใช้ในการเผาแกนเหล็ก เท่าที่ศึกษามายังไม่พบว่าความร้อนจากการเผาจะทำให้คุณสมบัติด้านโครงสร้างของแผ่นเหล็กเปลี่ยน จะมีแต่คุณสมบัติของความเป็นฉนวนระหว่างแผ่นลามิเนท ที่อาจจะทำให้เกิดการช๊อตถึงกัน และเกิดกระแสไหลวน และเป็นเหตุให้เกิดความร้อน ฉะนั้นผมจึงจะสรุปว่าความร้อนเนื่องจากการเผาแกนเหล็กจะไม่ทำให้แกนเหล็กอิ่มตัว

ส่วนเรื่องกระแสขณะไม่ขับโหลด ผมได้แนบ ตารางแสดงตัวเลขคร่าวๆ ของ EASA มาเป็นแนวทางแล้วครับ และเท่าที่ทราบ ไม่มีการกำหนดหรือสแตนดาร์ต ที่กำหนด ค่ากระแสไม่ได้ขับโหลด ต่อค่ากิโลวัตต์ เพราะมีความหลากหลายในการออกแบบ ของแต่ละยี่ห้อ


ความคิดเห็นที่ 2
ความคิดเห็นที่ 3
นานาสาระ
22/07/2555
14:38 น.
ขอบคุณครับ ช่างซ่อมมอเตอร์
ผมขอถามต่ออีกนิดครับ
มอเตอร์ที่ลามิเนตเสื่อมสภาพเนื่องจากการเผาจะมีผลกับการใช้งานมากน้อยเพียงใด เมื่อค่าสูญเสียเพิ่มขึ้น
เป็นไปได้หรือไม่ว่าความสามารถในการขับโหลดเดิมที่ 100% ไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่

ความคิดเห็นที่ 4
ช่างซ่อมมอเตอร์
22/07/2555
19:25 น.

ขอให้ความคิดเ็ห็นอย่างนี้ครับ

เมื่อแกนเหล็กเกิดความเสียหาย วิธีแก้ไขสามารถทำได้โดยการทำรีสแตก การรีสแตกมีขั้นตอนการซ่อมคือ การรื้อแกนเหล็กออกมาเป็นแผ่นๆ ก่อนที่จะมีการสลับจุดที่เกิดความเสียหาย หรือแก้ไขจุดที่มีการช๊อตติดกัน อาจจะทำฉนวนใหม่หรือไม่ก็แล้วแต่กรรมวิธีของโรงซ่อมแต่ละที่ ก่่อนที่จะนำมาอัดรวมกันเข้าที่เดิม

แต่จากประสบการ์ณของผม แผ่นเหล็กที่รื้อออกมาจะไม่สามารถนำไปอัดรวมกัน และดันเข้าที่เดิมได้ความหนาแน่นเท่าเดิม ซึ่งก็จะหมายถึง อัดแกนเหล็กที่รื้อออกมาไม่หมด หรือถ้าอัดเข้าไปได้หมดความยาวแกนเหล็กก็จะมากกว่าเดิม เนื่องจากการรื้อแกนเหล็กออก จะทำให้แผ่นลามิเนทไม่่เรียบเกิดช่องว่างในระหว่างการจัดเรียง

ความหนาแ่น่นของแกนเหล็กที่เปลี่ยนไปจะส่งผลต่อเส้นแรงแม่เหล็กที่ขดลวดสเตเตอร์ผลิตขึ้น และแรงม้าที่มอเตอร์ผลิตได้ในที่สุด

มอเตอร์ที่ผ่านการรีสแตก จะทำให้เกิดกระแสขณะไม่ขับโหลดที่สูงขึ้น ทำให้เกิดกระแสขับโหลดที่น้อยลง (เมื่อเทียบกับค่ากระแสขณะไม่ขับโหลดก่อนการซ่อมแกนเหล็ก )มีผลทำให้มอเตอร์ขับโหลดได้น้อยลง หรือพูดอีกนัยยะหนึ่งว่า ถ้านำไปขับโหลดเดิม มอเตอร์ก็จะกินกระแสเพิ่มมากกว่าเดิม ซึ่งก็อาจจะยังมีค่าน้อยกว่ากระแสพิกัดมอเตอร์ มอเตอร์ก็ยังคงที่จะใช้งานต่อไปได้ ยกเว้นว่าเดิมขับโหลด 100 เปอร์เซนต์อยู่แล้ว มอเตอร์ก็อาจจะทำงานอยู่ในสภาวะโอเวอร์โหลด

ฉะนั้น ตามความเห็น มอเตอร์ที่ผ่านการรีสแตก จะไม่สามารถที่จะขับโหลดได้ 100 เปอร์เซนต์ตามพิกัดเนมเพลท ครับ
ความคิดเห็นทั้งหมด 4 รายการ |
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง:
30 April 2025
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD