Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 177,373
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,633
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,953
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,919
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 171,383
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,432
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 169,418
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,775
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,818
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 159,277
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 159,171
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 158,388
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,841
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 63,600
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,623
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,469
17 Industrial Provision co., ltd 40,549
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 39,189
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 37,130
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,459
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 34,367
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,711
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 32,140
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,933
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 28,360
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 27,383
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,760
28 AVERA CO., LTD. 23,490
29 เลิศบุศย์ 22,462
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 21,236
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 21,112
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,791
33 แมชชีนเทค 20,718
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,958
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,945
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,726
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 19,367
38 SAMWHA THAILAND 19,234
39 วอยก้า จำกัด 18,966
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 18,438
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 18,258
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 18,171
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 18,127
44 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 18,118
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 18,011
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,996
47 Systems integrator 17,551
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,532
49 Advanced Technology Equipment 17,335
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 17,322
18/06/2555 20:50 น. , อ่าน 8,235 ครั้ง
Bookmark and Share
sensor วัดอุณหภูมิขดลวดมอเตอร์
man u
18/06/2555
20:50 น.
ผมต้องการติดตั้งอุปกรณ์เซนเซอร์วัดอุณหภูมิของขดลวดมอเตอร์เพื่อป้องกันมอเตอร์ไหม้ครับ
ควรใช้ตัวไหนดีครับที่ประหยัดใช้งานง่าย พอดีผมซื้อมอเตอร์ตัวใหม่เป็นของ ABB ทางเซลแนะนำครับมีตัววัดอุณหภูมิติดตั้งมาจากโรงงานเลยแต่ต้องใช้ตัวtrsnsmiterของABBซึ่งราคาก็ไม่เบาเหมือนกันครับ ไม่ทราบว่ามีตัวไหนที่ติดตั้งเพิ่มได้และไม่ต้องใช้ตัวtransmiterแนะนำด้วยครับ ซ่อมมอเตอร์บ่อยมากครับ
ความคิดเห็นทั้งหมด 7 รายการ |
ความคิดเห็นที่ 1
acilis
18/06/2555
21:28 น.
แหม ท่าน man u มีตังค์ออกรถเบนซ์ แต่ไม่เติมน้ำมัน แต่กลับจะเอารถไปติดแก๊ส เสียดาย เสียดายจริง ทรานสดิวเซอร์ของabb ดีนา วัดแรงดันลมได้ด้วยหากแรงลมของการระบายความร้อนไม่เป็นไปตามค่าที่เซ็ทเข้าไว้ ก็จะเดินมอเตอร์ไม่ได้ ตัวเทอร์โมคัพเพิ้ลจะฝังในขดลวดมาแล้วนะครับ ผมคิดว่า อย่าเพิ่งโกรธผมล่ะ ข้อความข้างบนผมแซวท่านนะ
มีทุนน้อยจะกลัวอะไร ลงทุนไม่เกิน 5000 เล่าแบบที่ผมเคยทำนะ ผมเจาะตรงฐานมอเตอร์ลึก ประมาณ 10 มิล ต๊าปเกลียว 3/8 เพื่อฝัง thermo couple type k และลากสายเข้าตัว temperature controller ยี่ห้ออะไรก็ได้ เซ็ทอุณหภุมิไว้ 75 องศา ใช้เอาท์พุทออกไปตัดวงจรคอนโทรลของมอเตอร์ อุณหภูมิที่ฐานมอเตอร์ จะดิฟกับขดลวดราว 5-7 องศา อันนี้ผมใช้วิธีการวัดเอาครับ คือเลือกทดลองเจาะฐานมอเตอร์ตัวที่มีthermo couple ภายใน และเลือก temp.controll กับ thermo couple ให้เหมือนกับตัวที่ติดตั้งมากับเครื่อง ผมจึงจดตัวเลขคร่าวๆ ว่ามันต่างกันอยู่ประมาณ 5-7 องศา ผมเคยทำแบบนี้ ขอเป็นทางเลือกสุดท้ายแล้วกัน เดี๋ยวน่าจะมีผู้เคยใช้งานตัวจริงมาเล่าให้ฟังอีก รอนิดนะครับ
ความคิดเห็นที่ 2
YP TECH
19/06/2555
10:12 น.
ใช้ อินเวอร์ของ ABB ขับมอเตอร์ตัวนี้ด้วยหรือเปล่าครับ ?
ถ้าใช้งานร่วมกับอินเวอร์เตอร์ของ ABB (เฉพาะบางรุ่น) ก็สามารถ ต่อเข้า analog input ของอินเวอร์เตอร์ที่ออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์นี้ได้ แล้วก็ไปเซ็ต parameter ให้มีฟังก์ชัน motor winding over temp ได้ครับ

ถ้าไม่ได้ใช้อินเวอร์เตอร์ขับมอเตอร์ตัวนี้ ก็คงต้องหาซื้อ transmitter ที่รองรับอุปกรณ์เซนเซอร์ชนิดนั้น ถ้าอยากรู้ว่าเซนเชอร์ที่ติดมาเป็นชนิดไหนก็ถามคนขายมอเตอร์ ปกติมอเตอร์ ABB ที่ติดตั้งเซนเชอร์วัดอุณภมูิมาด้วย มักจะมีรหัส(ลับ)เป็นตัวเลขหรือตัวหนังสือ บน name plate เอาไว้บอกชนิดของเซนเชอร์วัดอุณภมูิ อันต้องถามคนขายครับ
ความคิดเห็นที่ 3
ช่างซ่อมมอเตอร์
19/06/2555
10:54 น.
เข้าใจว่าตัวทีทางเซลแนะนำน่าจะเป็นตัวเทอร์มิสเตอร์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ตัวจับความร้อน และป้องกันไม่ให้มอเตอร์เกิดความเสียหายเนื่องจากความร้อน ซึ่งต้องใช้งานร่วมกับ เทอร์มิสเตอร์รีเลย์ (ซึ่งบางคนอาจจะเรียกทราสมิตเตอร์ ) ในทางปฏิบัติไม่จำเป็นที่เราต้องใช้ เทอร์มิสเตอร์ของเอบีบี คู่กับเทอร์มิสเตอร์รีเลย์ของเอบีบี (เพราะจริงๆเอบีบีก็ไม่ได้ผลิตเทอร์มิสเตอร์เอง )และมีหลายยี่ห้อ ซึ่งมีขายในท้องตลาดมากกมาย

วิธีการหนึ่งที่สามารถทำได้นอกเหนือจากที่คุณ acilis แนะนำคือการติดเทอร์มิสเตอร์เพิ่มที่ขดลวดภายในมอเตอร์ กับมอเตอร์ที่ไม่ได้มีติดตั้งมากับโรงงาน อาจจะยุ่งยากหน่อยตรงที่ต้องถอดฝามอเตอร์ออกมาเพื่อที่จะเข้าถึงขดลวด จากนั้นนำเอาหัวเทอร์มิสเตอร์ติดที่ขดลวดในแต่ละเฟส เฟสละตัว ก่อนจะนำมาอนุกรมกัน 3 ตัวและลากสายออกไปที่เทอร์มินอลเป็น 2 สาย

วิธีการนี้จะได้ผลการตรวจจับไปแพ้ เทอร์มิสเตอร์ที่ติดมากับโรงงาน และมีข้อดีกว่าของคุณ Acilic ตรงที่สามารถตรวจจับความร้อนได้ในแต่ละเฟส แต่ของคุณ Acilis จะเป็นการวัดแบบผลรวม ซึ่งมีโอกาสที่เฟสใดเฟสหนึ่งอาจจะไหม้ไปแล้ว

แต่วิธีดังกล่าวเมื่อเทียบกับของคุณ Acilis แล้วยุ่งยากกว่ากันเยอะ ฉะนั้นคงต้องเลือกระหว่างประสิทธิภาพในการตรวจจับ หรือ ความสะดวกในการติดตั้ง

และต้องขอขอบคุณ คุณ Acilis ที่แจ้งว่าอุณหภูมิที่ได้จากการเจาะฐานมอเตอร์แตกต่างจากอุณหภูมิภายในมอเตอรื 5-7 องศา เพราะตัวเลขที่ผมมีคือ อุณหภูมิของผิวเฟรมมอเตอร์ประเภท TEFC ตำกว่าอุณหภูมิภายในขดลวด 20-30 องศา โดยประมาณ และบางครั้งยังมีปัจจัยเรื่องประเภทโครงสร้างมอเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้องอีก ( Drip Proof , TEFC )
ความคิดเห็นที่ 4
acilis
19/06/2555
13:02 น.
เอ คุณ man u เงื่อนไขของคุณคือ
1.ประหยัด ใช้งานง่าย
2.ไม่ต้องใช้ตัว transmister
ผมก็แนะนำในผลรวมของความต้องการของคุณเท่านั้นเอง
การทำลักษณะนี้ เป็นการวัดอุณหภูมิ แบบ overall ประสิทธิภาพมันจะต่ำ แต่ติดตั้งง่าย และเป็นมอเตอร์ที่ไม่ซีเรียสมากนัก ข้อแนะนำอีกอัน คือเวลาเจาะฝังthermo couple เอาแบบโครงสร้างมอเตอร์มาดูก่อน เลือกตรงฐานหรือเฟรมที่ใกล้ขดลวดให้มากที่สุด ถ้าไกลมากอุณหภูมิ มันจะต่างกันมาก การเลือกจุดติดตั้งต่างกัน อุณหภูมิจะต่างกันด้วย
ดังนั้นไม่ว่าอุณหภูมิ จะต่างกันเช่นไร มันอยุ่ที่คุณจะประยุกต์การใช้งาน
แต่หากว่าคุณมีเงินลงทุน คุณก็ทำตามคำแนะนำด้านล่างนะครับ
เพราะสิ่งที่ผมแสดงความคิดเห็นคือ ประหยัด ง่าย แต่คุณภาพต่ำ
ความคิดเห็นที่ 5
man u
21/06/2555
22:32 น.
ขอบคุณทุกคำแนะนำครับ ขอถามเพิ่มเติมครับแล้วโดยทั่วไปอินเวอร์เตอร์มันจะมีที่ต่อพ่วงใช้งานอุปกรณ์เซนเซอร์พวกนี้เลยไหมครับ ส่วนข้อดีของการใช้ไดร์ฟขับมอเตอร์สามารถลดความเสี่ยงของมอเตอร์ไหม้ใช่หรือไม่
ความคิดเห็นที่ 6
ช่างซ่อมมอเตอร์
23/06/2555
08:38 น.

ปัญหาของคุณ man U น่าจะเป็นเรื่องมอเตอร์ไหม้บ่อย ผมว่าน่าจะไปวิเคราะห์ต้นเหตุก่อนนะครับว่าเกิดจากสาเหตุใด จากนั้นค่อยเข้าไแก้ที่ต้นเหตุนั้น เพราะการแก้โดยทางอ้อมบางครั้งอาจจะมีผลกระทบในส่วนอื่นตามมาก็ได้ครับ

ตามความเห็นการใช้ VSD ช่วยทำให้มอเตอร์มีความเสี่ยงน้อยลงหรือไม่ อันนี้ถ้ามองแต่การใช้อินเวอร์เตอร์ในการนำมาช่วยสตาร์ท แน่นอนว่าจะช่วยได้อย่างแน่นอน เพราะอินเวอร์เตอร์จะจำกัดพลังงานที่จ่ายให้กับขดลวดลดลงในขณะสตาร์ท ทำให้ลดการขยับตัวหรือเคลื่อนที่ Stress ที่ขดลวดบริเวณ EndCoil ซึ่งส่งผลให้ลดความเสี่ยงของการเกิดความเสียหายของฉนวน ที่เป็นต้นเหตุที่ทำให้มอเตอร์ไหม้

แต่ในทางกลับกัน การใช้งานมอเตอร์ด้วยอินเวอร์เตอร์ในขณะทำงาน ถือว่าเป็นการใช้งานในสภาวะที่ไม่ปกติ เพราะสัญญาณที่ออกมาจากอินเวอร์เตอร์ไม่ใช่สัญญาณไซน์เวฟที่สมบูรณ์ ฉะนั้นจะต้องมีการดูแลเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในปัจจุับัน อาการของมอเตอร์ที่ ทริปในขณะใช้งานด้วยอินเวอร์เตอร์ แต่สามารถทำงานได้อย่างปกติเมื่อจ่ายด้วยแหล่งจ่ายไฟธรรมดาจะพบมากขึ้นเรื่อยๆ

สรุปว่ามีทั้งข้อดีและข้อเสียครับ แต่ถ้าต้องการใช้สตาร์ทอย่างเดียวผมว่าใช้ซอร์ฟสตาร์ทน่าจะดีกว่าครับ
ความคิดเห็นที่ 7
ORANUN
07/07/2555
17:33 น.
ใช้ EOCR ซิครับ เป็นตัวป้องกันมอเตอร์ไหม้ เข้าไปดูที่ www.thainovation.com
02 7282902,023732734,02 7287582
ความคิดเห็นทั้งหมด 7 รายการ |
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง:
30 April 2025
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD