Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 177,372
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,633
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,953
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,919
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 171,383
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,432
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 169,418
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,775
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,818
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 159,277
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 159,171
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 158,388
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,840
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 63,600
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,623
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,468
17 Industrial Provision co., ltd 40,549
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 39,189
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 37,130
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,459
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 34,367
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,711
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 32,140
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,933
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 28,360
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 27,383
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,760
28 AVERA CO., LTD. 23,490
29 เลิศบุศย์ 22,462
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 21,236
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 21,112
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,791
33 แมชชีนเทค 20,718
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,958
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,945
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,726
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 19,367
38 SAMWHA THAILAND 19,234
39 วอยก้า จำกัด 18,966
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 18,438
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 18,258
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 18,171
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 18,127
44 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 18,118
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 18,011
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,996
47 Systems integrator 17,550
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,532
49 Advanced Technology Equipment 17,335
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 17,322
11/06/2555 10:44 น. , อ่าน 3,301 ครั้ง
Bookmark and Share
microcontoller
micro
11/06/2555
10:44 น.
อยากศึกษางานmicrocontroller
จะต้องเริ่มเรียนรู้อย่างไรบ้าง
ความคิดเห็นทั้งหมด 8 รายการ |
ความคิดเห็นที่ 1
เจมส์
16/06/2555
16:15 น.
หาใน google พิมพ์ microcontroller เข้าไป
แล้วเจออะไรก็อ่านๆไปเลย มันจะมีบทสรุปเขียนไว้เยอะมาก เพราะคนถามแบบนี้เยอะมาก
ความคิดเห็นที่ 2
SARDTRA
27/02/2556
15:15 น.
อยากศึกษางาน Microcontroller
- เรียกว่า Embedded System ประกอบด้วยความรู้ ในส่วนต่างๆๆดังนี้
- Electronic ,Digital ต้องเข้าใจหลักการทำงาน ของวงจร ตัวอุปกรณ์ต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น MOSFET, Relay, Resistor, Capacitor, Regulator, Power supply, Gate IC, เลขฐานต่างๆๆ หน่วยต่างๆที่เกี่ยวข้อง
- C Programming for Embedded System
- ให้ดีเราต้องออกแบบวงจร เป็นด้วยครับ PCB Design, Altium, OrCad
- Microcontroller ปัจจุบัน มี 32Bit, 16 bit, 8 bit
ค่ายหลักๆที่นิยมเล่นกัน Atmel,NXP,ST,Microchip PIC, TI ครับ
หาความรู้เพิ่มเติมได้ ที่
www.es.co.th สำหรับศึกษาตัว Component ต่างๆ
www.ett.co.th แผงทดลอง
www.electoday.com ความรู้ต่างๆ
ความคิดเห็นที่ 3

28/03/2562
23:38 น.
สมัยนี้เห็นฮิต Arduino แต่ถ้าจะเล่นให้สนุกควรเรียนรู้ให้เข้าใจถึงสถาปัตยกรรม จะเริ่มจากของบริษัทไหนก็ได้จะกี่บิทก็ได้ แล้วแต่จะหาทูลพัฒนาได้ โดยเริ่มตั้งแต่ภาษา Assembly แล้วค่อยไปภาษา C ถ้าไปแนวนี้คุณจะสามารถวิเคราะห์ไปถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละ clock ที่มันทำงานได้ คุณจะรู้วิธีบริหาร Resource ภายในให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ส่วนอินเตอร์เฟสสมัยนี้มีบอร์ดมีโมดูลให้เลือกใช้หลากหลาย ไม่ค่อยมีปัญหาต้องออกแบบวงจรเองเหมือนสมัยก่อน นอกจากคุณจะต้องการอะไรที่มันพิสดารจากชาวบ้านเขา สมัยก่อนผมทำโปรเจครับส่งข้อมูลแบบไร้สายระหว่างคอมพิวเตอร์สองเครื่อง ต้องทำเครื่องรับส่งเอง ปรับจูนไม่ใช่ง่ายๆ เครื่องมือก็ไม่ค่อยมี สมัยนี้โมดูลรับส่งเยอะแยะ อย่างของ XBee-PRO ส่งได้เป็นกิโลในที่โล่ง แถมยังโยนข้อมูลส่งกันเป็นถอดๆเป็นเครือข่ายได้อีก
ความคิดเห็นที่ 4

29/03/2562
02:44 น.
อีกตัวที่น่าลองเล่นคือ Propeller ของ Parallax สถาปัตยกรรมมันค่อนข้างล้ำในระดับไมโครคอนโทรลเลอร์ด้วยกัน เป็นชิพระดับ 32 บิต 8 ซีพียูในตัวเดียวทำงานร่วมกัน เขียนด้วยภาษาสปิน ผมลองเขียนดูแล้วผมว่ามันเขียนง่ายกว่าภาษา C ภาษา C ไวยากรณ์รกกว่า เหมาะกับโปรแกรมการทำงานที่ไม่ซับซ้อนมาก แต่ถ้าเขียนจริงๆจังๆภาษา C ดีกว่า
ความคิดเห็นที่ 5

01/04/2562
03:31 น.
ความสามารถในการเขียนโปรแกรมแบบ Object ของภาษาสปิน ส่วนตัวผมว่าไม่ค่อยมีประโยชน์สักเท่าไรสำหรับการเขียนโปรแกรมประเภท Embedded ที่ต้องทำงานใกล้ชิดกับฮาร์ดแวร์ ความสามารถในการโปรแกรมแบบ Object เหมาะกับการเขียนโปรแกรมที่ต้องรันบน OS มากกว่า
ความคิดเห็นที่ 6

19/04/2562
10:31 น.
คุณควรมีสิ่งที่อยากจะทำก่อน แล้วกำหนดขอบเขตให้ชัดเจน มันจะทำให้คุณถึงจุดหมายเร็วกว่าเรียนไปแบบไม่มีจุดหมาย เรียนแบบความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด ผมยกตัวอย่างเมื่อประมาณยี่สิบปีที่แล้วมีลูกค้าเจ้าหนึ่งอยากให้ทำวงจรควบคุมความเย็นแบบฟัซซี่ลอจิกให้ ยกเอาแอร์จากต่างประเทศมาเลย ปรากฏมาถึงบ้านเราแอร์ไม่ทำงาน สรุปสาเหตุคือมันเรียนรู้ค่าอุณหภูมิที่ต่างประเทศมาซึ่งต่างจากประเทศไทย พอเจอสภาพอากาศแบบไทยที่มันไม่คุ้นเคยมันเลยไม่ทำงาน ปัญหาแบบนี้บางทีคนเขียนโปรแกรมก็ไม่ได้คิดถึง
ความคิดเห็นที่ 7

03/05/2562
19:11 น.
ที่จริงงานประเภท embedded เหมาะกับงานผลิตสินค้าประเภท mass production คือสามารถผลิตออกมาในจำนวนมากและราคาต่อหน่วยถูก ไม่ใช่งานประเภทเอาของที่ดีที่สุดแพงที่สุดมาทำเป็นผลงานระดับ masterpiece ชิ้นเดียวในโลก เหมือนกับปลากระป๋องทำไมต้องใช้ปลาซาร์ดีนปลาแมคเคอเรลมาทำปลากระป๋อง ไม่ใช่เพราะมันอร่อยที่สุด แต่เพราะมันมีปริมาณมากพอจะผลิตในเชิงอุตสาหกรรมได้อย่างต่อเนื่องและมีราคาถูก งานทั่วไปที่เห็นทำขึ้นมาใช้งานกันในโรงงานที่ไม่เกี่ยวกับตัว product ผมว่าไมโครคอนโทรลเลอร์ระดับ 8 บิต 16 บิต ก็เหลือๆแล้ว ไม่จำเป็นต้อง 32 บิต 64 บิต ส่วนงานที่ต้องประมวลผลหนักๆที่ PLC ไม่สามารถตอบโจทย์ได้ก็ใช้ Industrial PC ไปเลย
ความคิดเห็นที่ 8

31/05/2562
00:35 น.
สมัยนี้ทูลพัฒนาถูก แต่ปัญหาของการออกแบบแผ่น PCB ที่เป็นงาน Prototype สั่งจำนวนน้อยแค่แผ่นสองแผ่นคือ ระยะห่างระหว่างขอบลายวงจรและลายวงจรการันตีงานน้อยสุดแค่ 0.2032 mm และได้แค่ดับเบิ้ลเลเยอร์ แต่อันหลังไม่ใช่ปัญหาใหญ่ ถ้าจะเอางานละเอียดกว่านี้ หรือแม้แต่งานมัลติเลเยอร์เขาก็ทำให้ได้แต่ต้องสั่งเยอะและใช้เครื่องจักรผลิต ซึ่งเขาต้องเซทอัทเครื่องจักร เพราะเขาใช้เครื่องจักรวางอุปกรณ์ อุปกรณ์พวก Surface mount เครื่องมันวางพรืดเดียวเสร็จ ส่งผ่านสายพานลำเลียงไปอบ ไม่ได้ใช้คนบัดกรี แต่ราคาแพง ไม่เหมาะกับงานจำนวนน้อย ถ้าเป็นงาน Prototype สมมุติใช้ PIC32MZ ตัวถัง TQFP-144 ตามสเปคระยะห่างของขอบลายวงจรระหว่างขากำหนดให้ห่างอย่างน้อย 0.2 mm ขนาด Pad ยังไม่พอเลย มันก็ไม่ได้แล้ว แล้วยังเรื่องการบัดกรีอีก ถ้าผิวสัมผัสไม่สะอาดพอก็ฉาบตะกั่วเหลวไม่ติด ใส่ตะกั่วมากไปก็ไหลรวมกันเป็นก้อนตอนบัดกรี ขนาด ATmega128 ตัวถัง TQFP-64 ระยะห่างระหว่างขา 0.8 mm (PIC32MZ ตัวถัง TQFP-144 ระยะห่างระหว่างขา 0.4 mm) ผมยังเคยเป่าลมร้อนใส่จนแผ่น PCB ไหม้ ของเล่นใช้เป็นบอร์ดทดลองมาต่อกันได้ แต่ของใช้งานควรจะทำเป็น PCB
ความคิดเห็นทั้งหมด 8 รายการ |
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง:
30 April 2025
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD