Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 177,378
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,638
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,966
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,926
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 171,388
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,440
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 169,421
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,783
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,841
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 159,285
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 159,176
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 158,391
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,848
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 63,605
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,633
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,474
17 Industrial Provision co., ltd 40,558
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 39,196
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 37,132
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,463
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 34,371
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,716
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 32,145
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,936
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 28,365
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 27,386
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,763
28 AVERA CO., LTD. 23,491
29 เลิศบุศย์ 22,465
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 21,253
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 21,115
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,794
33 แมชชีนเทค 20,728
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,963
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,950
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,731
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 19,369
38 SAMWHA THAILAND 19,239
39 วอยก้า จำกัด 18,978
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 18,447
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 18,261
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 18,176
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 18,129
44 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 18,128
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 18,014
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,998
47 Systems integrator 17,553
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,536
49 Advanced Technology Equipment 17,339
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 17,324
30/06/2550 16:56 น. , อ่าน 57,079 ครั้ง
Bookmark and Share
ช่วยอธิบายคำว่า ช๊อตเทริน ช๊อตเฟส ช๊อตลงกราวด์
สิงลำพอง
30/06/2550
16:56 น.
ช่วยอธิบายคำว่า ช๊อตเทริน ช๊อตเฟส ช๊อตลงกราวด์ ให้กระจ่างหน่อยครับ ผมไม่เข้าใจครับ ขอบคุณครับ
ความคิดเห็นทั้งหมด 7 รายการ |
ความคิดเห็นที่ 1
พี่เสือ
30/06/2550
20:33 น.
คำศัพท์ในมอเตอร์มาจากคำว่า short turn<br>turn แปลว่า จำนวนรอบของขดลวดในแต่ละเฟส <br>short แปลว่า สั้น หรือ อาการที่ทำให้วงจรนั้นสั้นลง<br> ดังนั้นคำว่า ช๊อตเทริน (short turn) ก็คือปัญหาหรืออาการเสียของมอเตอร์ชนิดหนึ่ง ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากฉนวนของขดลวดเสียหายหรือเสื่อมสภาพ แล้วทำให้รอบของขดลวดภายในเฟสเดียวกันต่อถึงกันและทำให้วงจรของขดลวดในเฟสนั้นๆสั้นลง รวมถึงทำให้ ค่าความต้านทานขดลวดลดต่ำลงด้วย จากปัญหาดังกล่าวเมื่อมีการจ่ายไฟเข้าไปที่ขดก็จะทำให้เกิดกระแสสูง ( I=V/Z ) สนามแม่เหล็กต่ำและใช้งานไม่ได้<br><br>ช๊อตเฟส ก็คือขดลวดในแต่ละเฟสต่อหรือซ๊อตถึงกัน มอเตอร์ก็ใช้งานไม่ได้เหมือนกัน<br><br>ช๊อตลงกราวด์ ก็คืออาการของขดลวด ขดใดขดหนึ่ง หรือทั้งสามเฟส ก็เป็นไปได้ ต่อถึงโครงของมอเตอร์
ความคิดเห็นที่ 2
ช่างซ่อมมอเตอร์
03/07/2550
18:09 น.
ขอให้ความคิดเห็นอย่างนี้ครับ<br><br>มอเตอร์ไฟฟ้า ในส่วนที่เป็นขดลวด จะมีระบบฉนวนอยู่ด้วยกัน 3 ส่วน คือ 1. ฉนวนของเส้นลวด 2. ฉนวนที่ใช้กั้นระหว่างคอยล์และเฟสของขดลวด 3. ฉนวนที่กั้นระหว่างขดลวดกับแกนเหล็ก ( ฉนวนในร่องสล๊อต )<br><br>การช๊อตเทิร์น ของขดลวดจะเกิดจากการที่ฉนวนของเส้นลวดที่ใช้พันมอเตอร์ในคอยล์ชุดเดียวกัน เกิดการแตะถึงกัน อันเนื่องจากการลงขดลวดหรือสาเหตุอื่นๆ อันมีผลทำให้เกิดการบายพาส และส่งผลทำให้เกิดค่ากระแสสูงขึ้นกว่าปกติ โดยปกติจุดที่เกิดการช๊อตจะมีค่าความต้านทาน ( เพราะมีโอกาสน้อยมากที่จะช๊อตเทิร์นแบบถาวร ) ประกอบกับมีค่ากระแสสูงไหลผ่าน จุดช๊อตนี้จะเกิดความร้อนขึ้นอย่างผิดปกติ ความร้อนที่เกิดขึ้นจะไปมีผลทำลายฉนวน ในส่วนอื่นๆ ต่อไป มีผลทำให้เกิดการช๊อตเฟส หรือ ช๊อตลงกราวด์ ในอันดับต่อไป<br><br>การช๊อตเฟส จะเกิดจากฉนวนที่ใช้กันคอยล์ และเฟสของขดลวดเกิดความเสียหาย อันมีผลมาจากการช๊อตเทิร์น หรือสาเหตุอื่นๆเช่น การกั้นเฟสในขณะพันมอเตอร์ไม่ดี และสาเหตุอื่นๆ การช๊อตเฟสเมื่อเกิดขึ้นขดลวดมอเตอร์มักจะเกิดความเสียหายขึ้นอย่างมาก เพราะจะเกิดระเบิดลุกไหม้ระหว่างฉนวนที่กั้นเฟส ซึ่งเป็นจุดที่ต้องรับค่าแรงดันตกคร่อมสูงที่สุด ตามความคิดเห็นมอเตอร์ส่วนมาก มักจะเสียหายในแบบนี้มากที่สุดเพราะจุดที่เกิดความเสียหายแบบช๊อตเฟสมักจะเกิดขึ้นบริเวณปลายคอยล์ที่ยื่นออกมาจากสล๊อต และทุกครั้งที่มีการจ่ายไฟเข้าในขณะสตาร์ท จะเป็นส่วนที่มีการขยับเคลื่อนที่มากที่สุด<br><br>การช๊อตลงกราวด์กีคือ การที่ฉนวนกั้นระหว่างขดลวดและแกนเหล็ก เกิดความเสียหาย อันเป็นผลเนื่องมาจาก การช๊อตเทิร์น หรือ การช๊อตเฟส และอืนๆด้วยเหมือนกันเช่นกระดาษรองสล๊อตเกิดการฉีกขาด
ความคิดเห็นที่ 3
สิงลำพอง
14/07/2550
17:03 น.
ขอขอบคุณพี่เสือและช่างซ่อมมอเตอร์มากๆเลยครับขอบคุณครับ
ความคิดเห็นที่ 4
ช่างซ่อมมอเตอร์
02/05/2551
21:14 น.
มอเตอร์ช๊อต
ความคิดเห็นที่ 5
นภัทร
02/05/2551
21:18 น.
มอเตอร์ลงกราวด์
ความคิดเห็นที่ 6
ช่างซ่อมมอเตอร์
02/05/2551
21:34 น.
มอเตอร์ลงกราวด์เกิดจากสาเหตุใดบ้าง
ความคิดเห็นที่ 7
วิศวกรมไฟฟ้า
02/05/2551
21:40 น.
มอเตอร์ลงกราวด์เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง
ความคิดเห็นทั้งหมด 7 รายการ |
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง:
3 May 2025
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD