Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 177,373
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,633
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,953
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,919
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 171,383
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,432
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 169,418
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,775
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,818
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 159,277
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 159,171
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 158,388
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,841
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 63,600
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,623
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,469
17 Industrial Provision co., ltd 40,549
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 39,189
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 37,130
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,459
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 34,367
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,711
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 32,140
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,933
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 28,360
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 27,383
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,760
28 AVERA CO., LTD. 23,490
29 เลิศบุศย์ 22,462
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 21,236
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 21,112
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,791
33 แมชชีนเทค 20,718
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,958
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,945
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,726
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 19,367
38 SAMWHA THAILAND 19,234
39 วอยก้า จำกัด 18,966
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 18,438
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 18,258
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 18,171
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 18,127
44 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 18,118
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 18,011
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,996
47 Systems integrator 17,551
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,532
49 Advanced Technology Equipment 17,335
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 17,322
29/06/2553 09:00 น. , อ่าน 7,541 ครั้ง
Bookmark and Share
แชมป์หุ่นยนต์โลก
โดย : Admin

 

ที่มา: ข่าวสดรายวัน
วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553

 

 


เยาวชนไทยสร้างชื่อในเวทีโลกอีกครั้ง เมื่อคว้ารางวัลชนะเลิศหุ่นยนต์กู้ภัยจากการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับโลก หรือเวิลด์ โรโบคัพ 2010 ที่ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 21-24 มิ.ย.


เป็นสมัยที่ 5 ที่เยาวชนไทยคว้าแชมป์โลกจากการแข่งขันนี้

สมัยที่ 1 ทีมอินดิเพนเดนท์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี คว้าแชมป์จากการแข่งขันที่เมืองเบรเมน เยอรมนี พ.ศ.2549


สมัยที่ 2 ทีมเดียวกันคว้าแชมป์จากการแข่งขันที่เมืองแอตแลนตา สหรัฐอเมริกา พ.ศ.2550

สมัยที่ 3 ทีมพลาสมา อาร์เอ็กซ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คว้าแชมป์จากการแข่งขันที่เมืองซูโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน พ.ศ.2551

สมัยที่ 4 ทีมไอราป_โปร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ คว้าแชมป์จากการแข่งขันที่ เมืองกราซ ประเทศออสเตรีย


ครั้งล่าสุดสมัยที่ 5 ทีมไอราป_โปร ทำผลงานได้ยอดเยี่ยมอีกครั้ง คว้ารางวัลชนะเลิศ จากการแข่งขันที่ประเทศสิงคโปร์

เอาชนะมหาอำนาจทางเทคโนโลยีอย่างญี่ปุ่น เยอรมนี และ สหรัฐอเมริกา ได้อย่างไม่ยากนัก

การแข่งขันหุ่นยนต์ระดับโลก หรือเวิลด์ โรโบคัพ จัดขึ้นเป็นปีที่ 14 เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษา-เทคโนโลยีด้านการพัฒนาหุ่นยนต์อัจฉริยะที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานด้านต่างๆ



เวิลด์ โรโบคัพ 2010 มีผู้เข้าร่วมแข่งขันกว่า 3 พันคน จาก 40 ประเทศ

แบ่งการแข่งขันออกเป็น 4 ประเภท คือ ฟุตบอลหุ่นยนต์ หุ่นยนต์กู้ภัย หุ่นยนต์ทำงานบ้าน และหุ่นยนต์ระดับเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี

ในประเภทหุ่นยนต์กู้ภัย (Robocup Rescue) มีทีมร่วมแข่งขัน 27 ทีมจาก 12 ประเทศ

ได้แก่ ญี่ปุ่น เยอรมนี ออสเตรเลีย อิหร่าน จีน เม็กซิโก มาเลเซีย สิงคโปร์ ปากีสถาน อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และไทย


หุ่นยนต์จากประเทศไทย ประกอบด้วย ทีม Success, RMUTR จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตน โกสินทร์ ศาลายา ทีมบาร์ตแล็บ เรสคิว จากมหาวิทยาลัยมหิดล และทีมไอราป_โปร

ในการแข่งขัน หุ่นยนต์จะต้องเคลื่อนที่ผ่านอุปสรรคต่างๆ เพื่อเข้าไปค้นหา และช่วยเหลือเหยื่อผู้รอดชีวิต

ผลการแข่งปรากฏว่าหุ่นยนต์ไพลินและหุ่นยนต์ไออาร์-พีอี จากทีมไอราป_โปร ตะลุยสนามแข่งขัน ทั้งทางเรียบ พื้นผิวขรุขระ ทางลาดชัน และจุดอับสัญญาณ เพื่อช่วยเหลือเหยื่อ จนได้คะแนนรวมมากที่สุด


รักษาแชมป์ไว้ได้เป็นสมัยที่ 2

ขณะที่ ทีม Success RMUTR และ ทีม บาร์ตแล็บ เรสคิว ทำคะแนนรวมได้เท่ากัน ครองอันดับ 2 ร่วมกันทั้ง 2 ทีม

นอกจากนี้ในการแข่งขันประเภทหุ่นยนต์เตะฟุตบอล ทีม สคูบา จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แชมป์โลกสมัยที่แล้ว ยังเอาชนะทีมซีเอ็ม ดรากอน จากสหรัฐอเมริกา 6 ประตูต่อ 1



เป็นแชมป์โลกหุ่นยนต์เตะฟุตบอลขนาดเล็ก หรือรุ่นสมอลล์ไซซ์ลีก 2 สมัยติดต่อกัน

รวมถึงได้รางวัลเทคนิคยอดเยี่ยมมาครองด้วย

การแข่งขันที่ผ่านมาเป็นการพัฒนาศักยภาพของเยาวชนไทย หลายคนได้ทำงานด้านพลังงานนิวเคลียร์ บางส่วนยังคงพัฒนาหุ่นยนต์ที่ตอบสนองการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ต่อไป

ตัวอย่างสำคัญ คือ "น้องดินสอ" หุ่นยนต์เพื่อบริการมนุษย์ตัวแรกของเมืองไทย

ซึ่งเป็นผลงานของเยาวชนที่เคยคว้ารางวัลจากการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับโลกมาก่อน



 

 ขอขอบคุณทุกๆที่มาของแหล่งข่าว

 

========================================================

 

 

30 April 2025
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD