Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 177,374
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,633
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,956
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,919
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 171,383
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,432
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 169,418
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,775
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,818
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 159,277
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 159,171
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 158,388
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,841
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 63,601
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,623
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,469
17 Industrial Provision co., ltd 40,549
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 39,189
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 37,130
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,459
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 34,367
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,711
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 32,140
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,933
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 28,360
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 27,383
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,760
28 AVERA CO., LTD. 23,490
29 เลิศบุศย์ 22,462
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 21,236
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 21,112
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,791
33 แมชชีนเทค 20,718
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,958
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,945
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,726
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 19,367
38 SAMWHA THAILAND 19,235
39 วอยก้า จำกัด 18,966
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 18,438
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 18,258
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 18,171
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 18,127
44 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 18,118
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 18,011
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,996
47 Systems integrator 17,551
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,532
49 Advanced Technology Equipment 17,335
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 17,322
02/04/2556 04:28 น. , อ่าน 67,422 ครั้ง
Bookmark and Share
ระบบควบคุมพีไอดี (PID) คืออะไร
โดย : Admin

ที่มา:  http://th.wikipedia.org

 

 

          PID controller  หัวใจของระบบควบคุมทางอุตสาหกรรม   ซึ่งเป็นอะไรที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับช่างเทคนิคและวิศวกร หรือเปรียบเสมือนอาวุธประจำกายชนิดหนึ่งของวิศวกรหรือช่างเทคนิคที่ทำงานเกี่ยวข้องกับระบบควบคุมอุตสาหกรรม  ดังนั้นหากใครลืม  (หรือคืนอาจารย์ไปหมดแล้ว) ก็ทบทวนหรือรีเฟรชกันใหม่ได้  หรือหากถ้ายังไม่เคยรู้จักหรือเข้าใจมาก่อนก็ติดตามได้ดังต่อไปนี้
 

 

PID controller

 

 

        ระบบควบคุมแบบสัดส่วน-ปริพันธ์-อนุพันธ์ (อังกฤษ: PID controller) เป็นระบบควบคุมแบบป้อนกลับที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง ซึ่งค่าที่นำไปใช้ในการคำนวณเป็นค่าความผิดพลาดที่หามาจากความแตกต่างของตัว แปรในกระบวนการและค่าที่ต้องการ ตัวควบคุมจะพยายามลดค่าผิดพลาดให้เหลือน้อยที่สุดด้วยการปรับค่าสัญญาณขา เข้าของกระบวนการ ค่าตัวแปรของ PID ที่ใช้จะปรับเปลี่ยนตามธรรมชาติของระบบ

 

 


แผนภาพบล็อกของการควบคุมแบบพีไอดี

 

 

 

วิธีคำนวณของ PID ขึ้นอยู่กับสามตัวแปรคือค่าสัดส่วน, ปริพันธ์ และ อนุพันธ์ ค่าสัดส่วนกำหนดจากผลของความผิดพลาดในปัจจุบัน, ค่าปริพันธ์กำหนดจากผลบนพื้นฐานของผลรวมความผิดพลาดที่ซึ่งพึ่งผ่านพ้นไป, และค่าอนุพันธ์กำหนดจากผลบนพื้นฐานของอัตราการเปลี่ยนแปลงของค่าความผิดพลาด น้ำหนักที่เกิดจากการรวมกันของทั้งสามนี้จะใช้ในการปรับกระบวนการ

โดยการปรับค่าคงที่ใน PID ตัวควบคุมสามารถปรับรูปแบบการควบคุมให้เหมาะกับที่กระบวนการต้องการได้ การตอบสนองของตัวควบคุมจะอยู่ในรูปของการไหวตัวของตัวควบคุมจนถึงค่าความผิด พลาด ค่าโอเวอร์ชูต (overshoots) และ ค่าแกว่งของระบบ (oscillation) วิธี PID ไม่รับประกันได้ว่าจะเป็นระบบควบคุมที่เหมาะสมที่สุดหรือสามารถทำให้กระบวน การมีความเสถียรแน่นอน

การประยุกต์ใช้งานบางครั้งอาจใช้เพียงหนึ่งถึงสองรูปแบบ ขึ้นอยู่กับกระบวนการเป็นสำคัญ พีไอดีบางครั้งจะถูกเรียกว่าการควบคุมแบบ PI, PD, P หรือ I ขึ้นอยู่กับว่าใช้รูปแบบใดบ้าง

 

 

การควบคุมแบบ PID ได้ชื่อตามการรวมกันของเทอมของตัวแปรทั้งสามตามสมการ:
     

             MV(t)    =  Pout  + Iout  + Dout

เมื่อ

Pout  , Iout  และ  Dout เป็นผลของสัญญาณขาออกจากระบบควบคุม PID จากแต่ละเทอมซึ่งนิยามตามรายละเอียดด้านล่าง

 

 

สัดส่วน


กราฟ PV ต่อเวลา, Kp กำหนดเป็น 3 ค่า(Ki และ Kd คงที่)
เทอมของสัดส่วน (บางครั้งเรียก อัตราขยาย) จะเปลี่ยนแปลงเป็นสัดส่วนของค่าความผิดพลาด การตอบสนองของสัดส่วนสามารถทำได้โดยการคูณค่าความผิดพลาดด้วยค่าคงที่  Kp, หรือที่เรียกว่าอัตราขยายสัดส่วน

เทอมของสัดส่วนจะเป็นไปตามสมการ:

P_{\mathrm{out}}=K_p\,{e (t)}

 

เมื่อ

Pout : สัญญาณขาออกของเทอมสัดส่วน
Kp: อัตราขยายสัดส่วน, ตัวแปรปรับค่าได้
e : ความผิดพลาด  = SP - PV  .
t :  เวลา

      ผลอัตราขยายสัดส่วนที่สูงค่าความ ผิดพลาดก็จะเปลี่ยนแปลงมากเช่นกัน แต่ถ้าสูงเกินไประบบจะไม่เสถียรได้ ในทางตรงกันข้าม ผลอัตราขยายสัดส่วนที่ต่ำ ระบบควบคุมจะมีผลตอบสนองต่อกระบวนการน้อยตามไปด้วย

 

ปริพันธ์ 


กราฟ PV ต่อเวลา, Ki กำหนดเป็นสามค่า (Kp และ Kd คงที่)
 

      ผลจากเทอมปริพันธ์ (บางครั้งเรียก reset) เป็นสัดส่วนของขนาดความผิดพลาดและระยะเวลาของความผิดพลาด ผลรวมของความผิดพลาดในทุกช่วงเวลา (ปริพันธ์ของความผิดพลาด) จะให้ออฟเซตสะสมที่ควรจะเป็นในก่อนหน้า ความผิดพลาดสะสมจะถูกคูณโดยอัตราขยายปริพันธ์ ขนาดของผลของเทอมปริพันธ์จะกำหนดโดยอัตราขยายปริพันธ์,Ki  

เทอมปริพันธ์จะเป็นไปตามสมการ:
 

I_{\mathrm{out}}=K_{i}\int_{0}^{t}{e (\tau)}\,{d\tau}

เมื่อ

Iout: สัญญาณขาออกของเทอมปริพันธ์
Ki  : อัตราขยายปริพันธ์, ตัวแปรปรับค่าได้
e : ความผิดพลาด  = SP - PV  .
t :  เวลา
\tau: ตัวแปรปริพันธ์หุ่น

 

   เทอมปริพันธ์ (เมื่อรวมกับเทอมสัดส่วน) จะเร่งกระบวนการให้เข้าสู่จุดที่ต้องการและขจัดความผิดพลาดที่เหลืออยู่ที่ เกิดจากการใช้เพียงเทอมสัดส่วน แต่อย่างไรก็ตาม เทอมปริพันธ์เป็นการตอบสนองต่อความผิดพลาดสะสมในอดีต จึงสามารถทำให้เกิดโอเวอร์ชูตได้ (ข้ามจุดที่ต้องการและเกิดการหันเหไปทางทิศทางอื่น)

 

 

 

อนุพันธ์

กราฟ PV ต่อเวลา, สำหรับ Kd 3 ค่า (Kp และ Ki คงที่)

อัตราการเปลี่ยนแปลงของความผิดพลาดจากกระบวนการนั้นคำนวณหาจากความชันของ ความผิดพลาดทุกๆเวลา (นั่นคือ เป็นอนุพันธ์อันดับหนึ่งสัมพันธ์กับเวลา) และคูณด้วยอัตราขยายอนุพันธ์ Kd ขนาดของผลของเทอมอนุพันธ์ (บางครั้งเรียก อัตรา) ขึ้นกับ อัตราขยายอนุพันธ์ Kd

เทอมอนุพันธ์เป็นไปตามสมการ:

D_{\mathrm{out}}=K_d\frac{d}{dt}e (t)

เมื่อ

Dout :  สัญญาณขาออกของเทอมอนุพันธ์
Kd :อัตราขยายอนุพันธ์, ตัวแปรปรับค่าได้
e : ความผิดพลาด  = SP - PV  .
t :  เวลา

      เทอมอนุพันธ์จะชะลออัตราการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณขาออกของระบบควบคุมและ ด้วยผลนี้จะช่วยให้ระบบควบคุมเข้าสู่จุดที่ต้องการ ดังนั้นเทอมอนุพันธ์จะใช้ในการลดขนาดของโอเวอร์ชูตที่เกิดจาเทอมปริพันธ์และ ทำให้เสถียรภาพของการรวมกันของระบบควบคุมดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตามอนุพันธ์ของสัญญาณรบกวนที่ถูกขยายในระบบควบคุมจะไวมากต่อการ รบกวนในเทอมของความผิดพลาดและสามารถทำให้กระบวนการไม่เสถียรได้ถ้าสัญญาณ รบกวนและอัตราขยายอนุพันธ์มีขนาดใหญ่เพียงพอ

 

 

 

ผลรวม

เทอมสัดส่วน, ปริพันธ์, และอนุพันธ์ จะนำมารวมกันเป็นสัญญาณขาออกของการควบคุมแบบ PID กำหนดให้  u(t) เป็นสัญญาณขาออก สมการสุดท้ายของวิธี PID คือ:

\mathrm{u (t)}=\mathrm{MV (t)}=K_p{e (t)} + K_{i}\int_{0}^{t}{e (\tau)}\,{d\tau} + K_{d}\frac{d}{dt}e (t)

 

 

รหัสเทียม

รหัสเทียม (อังกฤษ: pseudocode) ของ ขั้นตอนวิธีระบบควบคุมพีไอดี โดยอยู่บนสมมุติฐานว่าตัวประมวลผลประมวลผลแบบขนานอย่งสมบรูณ์แบบ เป็นดังต่อไปนี้

 

previous_error = setpoint - actual_position
integral = 0
start:
  error = setpoint - actual_position
  integral = integral + (error*dt)
  derivative = (error - previous_error)/dt
  output = (Kp*error) + (Ki*integral) + (Kd*derivative)
  previous_error = error
  wait(dt)
  goto start

 

 
 

การปรับจูน

การปรับจูนด้วยมือ

      ถ้าระบบยังคงทำงาน ขั้นแรกให้ตั้งค่า Ki และ Kd เป็นศูนย์ เพิ่มค่า Kp จนกระทั่งสัญญาณขาออกเกิดการแกว่ง (oscillate) แล้วตั้งค่า Kp ให้เหลือครึ่งหนึ่งของค่าที่ทำให้เกิดการแกว่งสำหรับการตอบสนองชนิด "quarter amplitude decay" แล้วเพิ่ม Ki จนกระทั่งออฟเซตถูกต้องในเวลาที่พอเพียงของกระบวนการ แต่ถ้า Ki มากไปจะทำให้ไม่เสถียร สุดท้ายถ้าต้องการ ให้เพิ่มค่า Kd จนกระทั่งลูปอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ แต่ถ้า Kd มากเกินไปจะเป็นเหตุให้การตอบสนองและโอเวอร์ชูตเกินยอมรับได้ ปกติการปรับจูน PID ถ้าเกิดโอเวอร์ชูตเล็กน้อยจะช่วยให้เข้าสู่จุดที่ต้องการเร็วขึ้น แต่ในบางระบบไม่สามารถยอมให้เกิดโอเวอร์ชูตได้ และถ้าค่า Kp น้อยเกินไปก็จะทำให้เกิดการแกว่ง

 

ผลของการเพิ่มค่าตัวแปรอย่างอิสระ
ตัวแปร ช่วงเวลาขึ้น
(Rise time)
โอเวอร์ชูต
(Overshoot)
เวลาสู่สมดุล
(Settling time)
ความผิดพลาดสถานะคงตัว
(Steady-state error)
เสถียรภาพ
Kp ลด เพิ่ม เปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ลด ลด
Ki ลด เพิ่ม เพิ่ม ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ลด
Kd ลดลงเล็กน้อย ลดลงเล็กน้อย ลดลงเล็กน้อย ตามทฤษฏีไม่มีผล ดีขึ้นถ้า Kd มีค่าน้อย

 

 

วิธีการ Ziegler–Nichols

วิธีการนี้นำเสนอโดย John G. Ziegler และ Nathaniel B. Nichols ในคริสต์ทศวรรษที่ 1940 ขั้นแรกให้ตั้งค่า Ki และ Kd เป็นศูนย์ เพิ่มอัตราขยาย P สูงที่สุด, Ku , จนกระทั่งเริ่มเกิดการแกว่ง นำค่า Ku และค่าช่วงการแกว่ง Pu   มาหาค่าตัวแปรที่เหลือดังตาราง:
 

Ziegler–Nichols method
Control Type Kp Ki Kd
P 0.50Ku - -
PI 0.45Ku 1.2 Kp/Pu -
PID 0.60Ku 2 Kp/Pu. KpPu/8  

 

 

 

 

========================================================

 

 

 

30 April 2025
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD