Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 177,372
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,633
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,953
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,919
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 171,383
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,432
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 169,418
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,775
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,818
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 159,277
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 159,171
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 158,388
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,840
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 63,600
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,623
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,468
17 Industrial Provision co., ltd 40,549
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 39,189
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 37,130
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,459
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 34,367
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,711
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 32,140
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,933
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 28,360
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 27,383
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,760
28 AVERA CO., LTD. 23,490
29 เลิศบุศย์ 22,462
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 21,236
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 21,112
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,791
33 แมชชีนเทค 20,718
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,957
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,945
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,726
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 19,367
38 SAMWHA THAILAND 19,234
39 วอยก้า จำกัด 18,966
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 18,438
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 18,258
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 18,171
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 18,127
44 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 18,118
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 18,011
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,996
47 Systems integrator 17,550
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,532
49 Advanced Technology Equipment 17,335
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 17,322
28/07/2555 23:34 น. , อ่าน 64,687 ครั้ง
Bookmark and Share
หางปลา (Cable Lugs)
โดย : Admin

หางปลา (Cable Lugs)

       ในการต่อสายเข้ากับอุปกรณ์ไฟฟ้าสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกันคือ

1. การบัดกรี   โดยใช้ความร้อนและตะกั่วบัดกรีให้ตัวนำและอุปกรณ์ประสานเข้าด้วยกัน
2. การต่อเชื่อม   โดยอาศัยปฏิกิริยาทางเคมีเช่น Thermoweld, Exothermic weld เป็นต้น
3. การใช้สกรูขันยึดสายไฟเข้ากับอุปกรณ์
4. การต่อโดยใช้แรงบีบ   เช่นหางปลาเป็นต้น

สำหรับการต่อสายโดยใช้หางปลานั้นต้องอาศัยเครื่องมือบีบเข้าช่วย และมักพบว่า 10 - 30% ของการเข้าหัวสาย มักมีปัญหาความร้อนเกิดขึ้นขณะใช้งาน ซึ่งเกือบทั้งหมดเกิดจากการย้ำหัวสายไม่แน่นและหางปลาไม่ได้ขนาด การย้ำหัวสายไม่แน่น ก่อให้เกิดปัญหามากมายเช่น หัวสายร้อน, หัวสายไหม้, เบรคเกอร์ทริปหรือบางครั้ง อาจทำให้เบรคเกอร์ไหม้ได้



การเข้าหัวสายที่ดีและปลอดภัย   ต้องพิจารณาองค์ประกอบดังต่อไปนี้

1. วัสดุที่นำมาใช้ทำหางปลา (ทองแดง) 

ชนิดของทองแดง
มาตรฐาน DIN 1787 ได้แบ่งทองแดงเป็นหลายชนิดตามคุณสมบัติและการใช้งาน แต่ที่เกี่ยวข้องกับงานไฟฟ้าและมีความสำคัญ มี 4 ชนิดคือ

OF - CU คือทองแดงที่มีความบริสุทธิ์ 99.95% มีความนำไฟฟ้าสูง ราคาแพงมาก เหมาะสำหรับใช้ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เช่นใช้ผลิต IC เป็นต้น

E - CU คือทองแดงที่มีความบริสุทธิ์ 99.9% เป็นชนิดที่มาตรฐานกำหนดให้ใช้ในวงจรไฟฟ้า ราคาค่อนข้างแพง ใช้ทำหัวต่อสาย, เทอร์มินอล เป็นต้น

SE - CU มีคุณสมบัติและการใช้งานเหมือนกับ E - CU เช่นใช้ทำหม้อแปลงไฟฟ้า

SF - CU คือทองแดงที่มีความบริสุทธิ์ 99.9% เป็นชนิดที่มาตรฐานกำหนดให้ใช้สำหรับ ระบบท่อน้ำขนส่ง (Water Transport) ระบบทำความเย็น, ระบบทำความร้อนหรือการก่อสร้าง และไม่ยอมให้ใช้ในงานไฟฟ้าเพราะมีค่าความนำไฟฟ้า ต่ำที่สุด แต่มีข้อดีในการต่อเชื่อมกันเนื่องจากมีส่วนผสมของสารฟอสเฟอร์สูงช่วยให้เชื่อมประสานได้ดี

หมายเหตุ    การใช้วัสดุทำหางปลาราคาถูกในงานไฟฟ้าอาจก่อให้เกิดปัญหารุนแรงตามมาในภายหลัง 

      


2. ชนิดของหางปลาที่ใช้งาน
 

1. Solderless Terminal
คือหางปลาที่ทำจากแผ่นทองแดงตัดเป็นรูปหางปลาพับขึ้นรูป แล้วเชื่อมตรงรอยต่อนั้น บางครั้งเรียกว่า "หางปลาทรงญี่ปุ่น"
เหมาะกับงานที่ใช้กระแสไม่สูงมาก ใช้กับสายตีเกลียวหรือสายฝอย ไม่เหมาะกับสายทองแดงตัน (Solid) การย้ำหางปลาจะใช้แบบกด

2. Tubular Cable Lug
คือหางปลาที่ทำขึ้นจากท่อทองแดงตัดตามขนาดแล้วทำการกดเปลี่ยนรูปทรง (Forming) ให้ได้ตามแบบที่ต้องการ บางครั้งเรียกว่า "หางปลาทรงยุโรป" 

เหมาะกับงานที่ใช้กระแสสูงๆ ใช้ได้กับสายไฟทุกชนิด สามารถย้ำได้ทั้งแบบกด (Indent Crimping) และแบบหกเหลี่ยม (Hexagon Crimping)
 

3. DIN Terminal
คือหางปลาชนิด Tubular Cable Lug ที่ผลิตขึ้นตามมาตรฐานของ DIN ซึ่งต้องผลิตตามข้อกำหนดดังนี้

วัสดุที่ใช้ต้องเป็น E - CU เท่านั้น
ขนาดและรูปร่างต้องได้ตามมาตรฐาน
การย้ำต้องเป็นแบบหกเหลี่ยมเท่านั้น

หางปลาแบบนี้คล้ายแบบ Tubular ต่างกันที่มีขนาดใหญ่และหนากว่าและมีจุด Mark ไว้ให้สะดวกในการกำหนดรอยย้ำ
หางปลาแบบ DIN นิยมใช้กับงานที่ต้องการกระแสสูงๆ และมีความแน่นอนของระบบเช่น วงจรไฟฟ้าหลัก, โรงจักรไฟฟ้า ฯลฯ

 

 
3. เครื่องมือ - แบบของการย้ำหางปลา




4. คุณสมบัติทางกลของหางปลา   มาตรฐาน VDE 0220 ได้กำหนดคุณสมบัติของหางปลาที่มีความสามารถในการทนแรงดึง (Tensile Strength) ดังนี้

   1. หางปลาที่ทำด้วยทองแดง ต้องทนแรงดึงไม่น้อยกว่า 60 N/sq.mm
   2. หางปลาที่ทำด้วยอลูมิเนียม ต้องทนแรงดึงไม่น้อยกว่า 40 N/sq.mm

หมายเหตุ    ค่าที่กำหนดในมาตรฐานเป็นค่าอย่างต่ำที่สามารถทนได้ ซึ่งในความเป็นจริงอาจมีค่าสูงกว่าที่กำหนดมาก


5. ขั้นตอนการย้ำหางปลา 
 

1. ปอกสายไฟให้ได้ความยาวของทองแดงเท่ากับ A บวกอีก 10% ของ A ดังรูป

หมายเหตุ      ทั้งนี้เพราะความยาวของหางปลาจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยหลังจากย้ำแล้ว

2. หลังจากปอกสายแล้ว ต้องทำความสะอาดตัวนำด้วยผ้าหรือแปรงให้สะอาดก่อนทำการย้ำ
3. สวมตัวนำเข้ากับหางปลา
4. ทำการย้ำโดยเลือกเครื่องมือให้ถูกต้อง เหมาะสม และกดบีบให้แน่น

 

       หมายเหตุ หากจุดที่ทำการย้ำสกปรกและ/หรือไม่แน่น จะเกิด bad contact ที่หน้าสัมผัสของหางปลาและทำให้ร้อนกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาร์กและสายไหม้ได้

ที่มา: www.nectec.or.th

========================================================

 

 

 

30 April 2025
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD