Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 177,372
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,633
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,953
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,919
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 171,383
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,432
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 169,418
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,775
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,818
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 159,277
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 159,171
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 158,388
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,840
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 63,600
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,623
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,468
17 Industrial Provision co., ltd 40,549
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 39,189
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 37,130
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,459
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 34,367
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,711
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 32,140
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,933
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 28,360
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 27,383
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,760
28 AVERA CO., LTD. 23,490
29 เลิศบุศย์ 22,462
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 21,236
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 21,112
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,791
33 แมชชีนเทค 20,718
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,957
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,945
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,726
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 19,367
38 SAMWHA THAILAND 19,234
39 วอยก้า จำกัด 18,966
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 18,438
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 18,258
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 18,171
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 18,127
44 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 18,118
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 18,011
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,996
47 Systems integrator 17,550
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,532
49 Advanced Technology Equipment 17,335
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 17,322
25/09/2553 15:50 น. , อ่าน 16,208 ครั้ง
Bookmark and Share
คอนเนคเตอร์ Connector
โดย : Admin

คอนเนคเตอร์
Connector
ยุทธพงศ์ ทัพผดุง

                       วิศวกรหรือช่างส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นการบำรุงรักษาอุปกรณ์ที่มีขนาดใหญ่หรือราคาแพงๆเป็นหลัก อุปกรณ์ต่อเชื่อม
                  หรือคอนเนคเตอร์ซึ่งมีราคาถูกเมื่อเทียบกับเครื่องมือและอุปกรณ์อื่นๆของระบบ ถูกละเลยด้านการบำรุงรักษาไป

                คอนเนคเตอร์ที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร
                       คอนเนคเตอร์ที่ดีต้องมีหน้าสัมผัสแท้จริงระหว่างโลหะเป็นจำนวนมากพอ      เพื่อที่จะทนต่อการรับกระแสสูงสุด
                  ซึ่งอาจจะเกิดได้ในระบบ และจะต้องไม่ทำให้คอนเนคเตอร์เองเสียสภาพหรือด้อยคุณภาพไปก่อนที่จะหมดอายุการ
                 ใช้งาน ซึ่งนอกจากจะต้องมีพื้นที่หน้าสัมผัสที่พอเพียงแล้วยังจะต้องป้องกัน  ไม่ให้ออกไซด์กินลึกเข้าไปในจุดสัมผัส
                 ซึ่งจะไปลดพื้นที่สัมผัสที่แท้จริงได้ในการต่อเชื่อมสายนั้นเราจำเป็นที่จะต้องทำให้ความต้านทานของจุดต่อเชื่อมสาย
                 มีค่าน้อยที่สุด นั่นหมายความว่า   จะต้องทำให้พื้นที่หน้าสัมผัส (Electrical Contact Area) สะอาดและเพิ่มขึ้นมากที่สุด
                 ซึ่งมีองค์ประกอบต่อไปนี้
                        -  ความต้านทานผิวหน้าสัมผัสของพื้นผิวที่สะอาดและหยาบจะมีค่าน้อยกว่าหน้าสัมผัสที่มีความสกปรกและละเอียด
                          เนื่องจาก เนินต่างๆของผิวที่หยาบจะช่วยทำให้ออกไซด์แตกออก       และเพิ่มพื้นที่หน้าสัมผัสของโลหะกับโลหะ
                          ให้มากขึ้น
                        - การเตรียมพื้นที่ผิวที่สะอาดและหยาบนั้น สามารถทำได้โดยใช้แปรงโลหะขัดทำความสะอาดพื้นผิวโลหะที่เตรียม
                          ไว้ต้องทำการต่อเชื่อมทันที เนื่องจากถ้าปล่อยทิ้งไว้จะทำให้เกิดออกไซด์ขึ้นอีก


                  ชนิดของคอนเนคเตอร์ในปัจจุบัน

                  การแบ่งชนิดคอนเนคเตอร์โดยแบ่งตามลักษณะวิธีการต่อเชื่อมมี 3 ชนิด คือ
                 
 1. การต่อเชื่อมแบบปฏิกิริยาเคมีความร้อน (Exothermic Welding)
                      คอนเนคเตอร์แบบนี้เป็นการต่อเชื่อมสายไฟฟ้าโดยอาศัยปฏิกริยาเคมีความร้อนทำให้สารผงเคมีที่จะนำมาต่อเชื่อม
                   และสายไฟหลอมเหลวจนติดกัน ดังรูปที่ 1 ปฏิกิริยาความร้อนนี้เกิดจากการเผาผลาญออกไซด์ของ ทองแดงและอลูมินั่ม
                   ซึ่งทำให้เกิดอุณหภูมิถึงประมาณ 980 oC



รูปที่ 1 การต่อเชื่อมแบบปฏิกิริยาเคมีความร้อน

                    การใช้งานคอนเนคเตอร์แบบนี้มักจะใช้กับสายทองแดงในระบบสายดิน (Grounding) เช่นการต่อสายกับหลักดิน
                 (Ground rod) และระบบตาข่ายสายดิน (Ground Grid) ซึ่งมีการใช้ในสถานีจ่ายไฟฟ้าย่อย (Substation) และโรงผลิต
                 กระแสไฟฟ้า (Power Plant & Switch Yard) เป็นต้น

                ข้อเสียของคอนเนคเตอร์แบบนี้
                - การตรวจสอบคุณภาพของรอยต่อเชื่อมไม่สามารถทำได้นอกจากการทำลายหรือผ่ารอยต่อเชื่อมออก
                - การเชื่อมต่อสายไม่สามารถที่จะกระทำในสถานที่เปียกหรือชื้นได้
                - เวลาที่ใช้ในการต่อเชื่อมสายต่อจุดใช้เวลานานประมาณ 30 นาทีต่อจุด
                - พนักงานต่อเชื่อมสายต้องได้รับการอบรมพิเศษหรือเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ
                - ต้องมีการใช้อุปกรณ์พิเศษเฉพาะสำหรับการต่อเชื่อมสาย

                 2. การต่อเชื่อมแบบลวดเชื่อมความร้อน(Brazed)
                การต่อเชื่อมสายแบบนี้เหมือนกับการเชื่อมโลหะด้วยแก๊สทั่วๆไป โดยการใช้เปลวไฟความร้อนที่เกิดจากการ เผาไหม้
              ของแก๊สอ๊อกซิเจนและอะซิทีลีน ซึ่งจะปรับการเผาไหม้ให้เหมาะสมเพื่อที่จะหลอมลวดเชื่อมความร้อนและเชื่อมสายไฟฟ้า
              เข้าด้วยกัน ซึ่งในอดีตมักจะใช้การต่อเชื่อมแบบนี้กับสายทองแดงเป็นหลัก การต่อเชื่อมสายอลูมินั่มนั้นสามารถทำได้แต่
              จะมีปัญหาการทนการรับแรงดึงของรอยต่อ และในปัจจุบันได้เลิกใช้วิธีการต่อเชื่อมแบบนี้แล้ว เนื่องจาก
                - การต่อเชื่อมสายแบบนี้เหมาะกับการต่อเชื่อมแกนเดียว และไม่นิยมใช้กับสายเกลียว
                - ไม่สามารถตรวจสอบคุณภาพรอยต่อภายในได้
                - ผู้ปฏิบัติงานต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญการเชื่อมเฉพาะด้าน
                - การทนต่อการรับแรงดันของรอยต่อไม่ดีเท่ากับการเชื่อมต่อแบบอื่นๆ
                - อุปกรณ์ที่ใช้ไม่สะดวกในการเคลื่อนย้ายเพื่อทำงานในภาคสนาม

                3. การต่อเชื่อมแบบใช้แรงอัด (Pressure Type)
                  การต่อเชื่อมสายไฟฟ้าแบบใช้แรงอัด เป็นการต่อเชื่อมสายไฟฟ้าโดยอาศัยแรงอัดซึ่งเกิดจากการบีบตัวของอุปกรณ์
                ต่อเชื่อม หรือคอนเนคเตอร์โดยใช้ความร้อนในการต่อเชื่อมเหมือนกับ 2 วิธีแรก  ดังที่กล่าวข้างต้น ซึ่งเป็นที่นิยมใช้
                ในภาคสนาม เพราะมีความสะดวกในการบิดตัวมากกว่าและสามารถใช้ได้กับสายเกือบทุกชนิด ซึ่งสามารถแบ่งย่อยออก
                เป็น 3 แบบ
                   3.1 คอนเนคเตอร์แบบเกลียวขัน (Bolt Type Connector)
                 คอนเนคเตอร์แบบเกลียว อาศัยหลักการอัดสายไฟที่จะนำมาต่อเชื่อมด้วยแรงบีบอัดเกิดจากการขันน๊อต หรือ สกรู
                 (Bolt) อุปกรณ์ต่อเชื่อมสายไฟฟ้าแบบนี้  อาจมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปตามลักษณะ การใช้งานเช่นแบบแคลมป์
                 (Hotline Clamp) แบบร่องคู่ หรือ พี.จี. (PG or Parallel Grove) และแบบเกลียวแยก (Split Bolt) ดังรูป




รูปที่ 2 คอนเนคเตอร์แบบเกลียวขัน

                          คอนเนคเตอร์แบบเกลียวขั้น เป็นที่นิยม เพราะคอนเนคเตอร์ติดตั้งง่ายโดยไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษ อีกทั้งยังมีราคาถูก
                     แต่คอนเนคเตอร์แบบเกลียวก็มีข้อเสียดังนี้คือ
                     - ความหนาแน่นของรอยต่อขึ้อนอยู่กับน้ำหนักการขันน๊อตหรือสกรูถ้าขันไม่แน่น จะทำให้เกิดความต้านทานสูง
                       ถ้าขันแน่นเกินไปจะทำให้เกิดปรากฏการณ์คลายตัวของสายไฟ
                     - คุณภาพของจุดต่อเชื่อมขึ้นอยู่กับวินัยของพนักงานต่อเชื่อมสาย
                     - รอยต่อไม่สามารถรับแรงดึง (Tension) ได้สูงเหมือนการต่อเชื่อมสายแบบอื่น
                     - น๊อตหรือสกรูจะคลายตัวตามธรรมชาติ ขึ้นอยู่กันสภาวะอุณหภูมิที่ร้อนๆ เย็น
                     - ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมสูง ทั้งในการเปลี่ยนคอนเนคเตอร์ที่ไหม้และการตรวจสอบจุดต่อเชื่อมสายตามคาบเวลา
                        (Periodic Preventive Maintenance)

                    3.2 คอนเนคเตอร์แบบบีบ (Compression Type Connector)
                          คอนเนคเตอร์แบบบีบอาศัยหลักการอัดสายไฟฟ้าที่จะนำมาต่อเชื่อมด้วยแรงบีบจากเครื่องมือหรือคีมที่ออกแบบมาเป็น
                     พิเศษโดยเฉพาะอุปกรณ์ต่อเชื่อมแบบนี้ มีข้อดีคือสามารถรับแรงดึงสูงได้ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังคงมีขอเสียบางประการ เช่น
                    - การติดตั้งต้องใช้แรงบีบสูงทำให้สายเสียรูปและเกิดแรงดันในสายมาก
                    - ต้องใช้เครื่องมือพิเศษหรือคีมที่ออกแบบมาโดยเฉพาะในการติดตั้ง
                    - หลังจากการติดตั้งคอนเนคเตอร์แบบบีบแล้วจะไม่สามารถถอดประกอบได้เหมือนคอนเนคเตอร์ชนิดอื่นๆ




รูปที่ 3 คอนเนคเตอร์แบบบีบ

                 3.3 คอนเนคเตอร์แบบลิ่ม (Wedge Type Connector)
                 เทคโนโลยีการต่อเชื่อมสายได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องและได้มีการผลิตอุปกรร์ต่อเชื่อมสายหรือคอนเนคเตอร์แบบใหม่ๆ
                ออกสู่ตลาดโดยการเปลี่ยนแปลงจากการต่อเชื่อม  โดยใช้แรงอัดด้วยน๊อตหรือสกรูหรือการบีบโดยใช้คีมมาเป็นการอัด
                ด้วยโลหะดังรูป  ซึ่งมีข้อดีคือ    ไม่ทำให้สายไฟเสียรูปเหมือนการต่อเชื่อมแบบอื่น  มีเครื่องมือช่วยทุ่นแรงในการติดตั้ง
                และคุณภาพของรอยต่อเชื่อมจะดีเท่ากันอย่างสม่ำเสมอ แต่ยังมีข้อเสียอยู่บางประการ คือ คอนเนคเตอร์แบบนี้ยังมีราคา
                ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับคอนเนคเตอร์ชนิดอื่นๆและจะต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการติดตั้งเฉพาะ



รูปที่ 4 คอนเนคเตอร์แบบลิ่ม

                    คอนเนคเตอร์กับการสูญเสียพลังงานไฟฟ้า
               เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ความต้านทานจะทำให้เกิดความร้อนขึ้น ความร้อนนี้เป็นรูปหนึ่งของพลังงานสูญเสียในบรรยากาศ
              ถ้าพลังงานความร้อนเกิดขึ้นมากที่จุดใด   นอกจากจะทำให้เกิดการสูญเสียพลังงานแล้ว  อาจจะทำอันตรายให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า
              ต่างๆ ณ จุดนั้นได้

              สูตรการสูญเสียพลังงาน (Energy Loss) เริ่มต้นจากกำลังไฟฟ้า (Power) ดังสูตรต่อไปนี้
              
               Power = I*I*R วัตต์ (watt)
               โดยที่ Power = กำลังไฟฟ้าที่สูญเสียไป (watt)
                         I = กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านจุดความต้านทานั้น (Amps)
                         R = ความต้านทาน (Ohms.)
                กำลังไฟฟ้าที่สูญเสียตามสูตรนั้นสามารถคำนวณออกมาเป็นตัวเงินได้ จึงจำเป็นต้องปรับสูตรให้อยู่ในรูปแบบของพลังงาน
                 ดังนี้

                โดยที่ Hours = จำนวนชั่วโมงต่อปี
                          L.F. = ช่วงเวลาของการจ่ายไฟ หรือ Load Factor
                          Cost = ค่าการผลิตกระแสไฟฟ้า (บาท/กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง)




รูปที่ 5 การสูญเสียพลังงานในรูปของความร้อนที่จุดต่อของอุปกรณ์ตัดตอนใน
ระบบจำหน่ายไฟฟ้าในประเทศไทย ตรวจสอบโดยกล้องตรวจสอบหาจุดร้อน

 
                 สรุป
                     จากข้อมูลที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น จะเห็นได้ว่าการเลือกใช้คอนเนคเตอร์เพื่อนำมาใช้งานในระบบของคุณนั้นจะต้องมี
                   ข้อพิจารณา อยู่หลายประการ   เพื่อให้เหมาะสมกับงานหรือระบบของคุณให้มากที่สุด แต่สิ่งสำคัญที่จะลืมไม่ได้ คือการ
                   ประมาณจุดคุ้มทุน หรือด้านเศรษฐศาสตร์ เพราะจะทำให้สามารถตัดสินใจเลือกใช้คอนเนคเตอร์ประเภทใด บริเวณ
                   ไหน ลักษณะและประเภทของงาน และคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ เห็นไหมครับว่า  คอนเนคเตอร์เหมือนจะไม่มีความ
                   สำคัญแต่ถ้าพิจารณาให้ดีแล้ว  คอนเนคเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่มีส่วนสำคัญไม่น้อย  และอาจจะส่งผลให้เกิดความสูญเสีย
                   พลังงานไฟฟ้าในระบบของคุณ หรืออาจทำให้ความเชื่อถือของระบบของคุณลดลงเนื่องจาก สายขาดหรือหลุดได้

                  เอกสารอ้างอิง

                  - เอกสารประกอบการฝึกอบรม บริษัท Tyco Electronic เรื่อง AMP คอนเนคเตอร์แบบลิ่ม WEDGE CONECTOR
                    TECNOLOGY
                 - https://oldtimerockandroll.com/
                 - https://exothermicweld.com/
                 - www.ehvpower.com

========================================================

 

 

 

30 April 2025
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD