Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 177,372
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,633
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,953
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,919
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 171,383
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,432
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 169,418
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,775
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,818
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 159,277
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 159,171
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 158,388
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,840
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 63,600
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,623
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,468
17 Industrial Provision co., ltd 40,549
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 39,189
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 37,130
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,459
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 34,367
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,711
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 32,140
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,933
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 28,360
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 27,383
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,760
28 AVERA CO., LTD. 23,490
29 เลิศบุศย์ 22,462
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 21,236
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 21,112
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,791
33 แมชชีนเทค 20,718
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,957
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,945
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,726
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 19,367
38 SAMWHA THAILAND 19,234
39 วอยก้า จำกัด 18,966
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 18,438
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 18,258
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 18,171
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 18,127
44 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 18,118
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 18,011
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,996
47 Systems integrator 17,550
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,532
49 Advanced Technology Equipment 17,335
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 17,322
05/09/2553 11:44 น. , อ่าน 58,246 ครั้ง
Bookmark and Share
Power Resistor (ตัวต้านทานเบรก) คืออะไร ?
โดย : Admin

โดย: สมาชิกนายเอ็นจิเนียร์  "Pkk" 
(ส่งบทความร่วมเผยแพร่ผ่านแบบฟอร์มรับข่าวสารของเว็บ)



 

ตัวต้านทานเบรก คืออะไร?

 
     ตัวต้านทานเบรก คือตัวต้านทานที่ค่าวัตต์สูง ใช้เพื่อช่วยมอเตอร์ ให้หยุดอย่างรวดเร็ว เรียกขบวนการนี้ ว่า ไดนามิค เบรก (Dynamic Braking) ซึ่งการใช้งานจะมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน สำหรับติดตั้งตัวต้านทานเบรก สำหรับ มอเตอร์กระแสตรง (DC) และ มอเตอร์กระแสสลับ (AC Motor)




มอเตอร์กระแสตรง (DC Motor)
       มอเตอร์กระแสสลับ (AC Motor) ต่างกับมอเตอร์กระแสตรง (DC Motor) คือ เมื่อเราหยุดจ่ายไฟเข้า มอเตอร์จะทำงานคล้ายตัวผลิตกระแสไฟ (Generator) เนื่องด้วยแม่เหล็กถาวรภายใน (Permanent Magnet) ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงใช้วิธีการหยุดโดยการตัดแหล่งจ่ายไฟแล้วสลับต่อสายมอเตอร์เข้ากับตัวต้านทานเบรก ขณะมอเตอร์ยังคงหมุนอยู่ด้วยแรงเฉื่อย จะผลิตแรงดันไฟย้อนกลับเข้าไปยังตัวต้านเบรกเพื่อทำลายทิ้งในรูปแบบความร้อน จึงทำให้หยุดได้เร็วขึ้น

เหตุผลเพิ่มเติมของการหยุดอย่างรวดเร็ว นี้ก็คือ การหยุดแบบสามารถนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่ (Regenerative Braking) ซึ่งอาจใช้ประจุไฟให้กับแบตเตอร์รี (Batter)เพื่อใช้งานในด้านต่างๆ ได้ เช่น สำหรับสตาร์ทมอเตอร์ หรือถ้ามีจำนวนมากพอสำหรับขายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ซึ่งดีกว่าที่จะสูญเสียไปในรูปแบบพลังงานความร้อน

 
 
 
มอเตอร์กระแสสลับ (AC Motor)
      มอเตอร์กระแสสลับจะไม่มีการสร้างแรงดันไฟออกมาเมื่อเราตัดแหล่งจ่ายไฟ การใช้การเบรกทางไฟฟ้าเพื่อต้องการให้หยุด ต้องใช้ทั้ง การฉีดกระแสไฟตรง (DC Injection Braking) และ การลดความถี่ลง (Variable Frequency Drive : VSD) หรือ ที่เรียกว่าอินเวอร์เตอร์ (Inverter)การฉีดกระแสไฟตรงเพื่อหยุดทำได้ด้วยการจ่ายไฟกระแสตรงไปที่ส่วนตัวของขดลวดมอเตอร์ (Stator) ทั้งสองวิธีนี้ไม่ซับซ้อน ซึ่งไม่ต้องใช้ตัวต้านทานเบรก แต่อาจไม่สามารถทำใด้ในกรณี และอาจมีผลทำให้มอเตอร์เสียหายได้
      การหยุดอย่างรวดเร็วของมอเตอร์กระแสสลับทำโดยการลดความถี่และแรงดันไฟ กว่าที่ทำงานปกติ ยกตัวอย่างเช่น มอเตอร์ โฟล (Pole) ความถี่ 60 เฮิร์ต (Hertz)ความเร็ว 3600 รอบต่อนาที (PRM) ขณะกำลังวิ่งด้วยความเร็วปกติ ทำให้หยุดโดยลดแรงดันไฟและความถี่ เพื่อลดสนามแม่เหล็กและความเร็วที่ขดลวดของมอเตอร์ทำให้ทุ่นของมอเตอร์ (Rotor) ลดความเร็วลงเรื่อยๆ จนหยุด
      ถึงแม้ว่ามอเตอร์กระแสสลับ (AC Motor) ทุ่น (Rotor) จะไม่ได้ทำด้วยแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnet) ซึ่งไม่มีการสร้างสนามแม่เหล็ก (Magnetic Field) ในส่วนของทุ่น แต่ยังคงมีการสร้างสนามแม่เหล็กในส่วนของขดลวดมอเตอร์ (Stator) พลังงานที่สูญเสียจากการลดความเร็วในส่วนของขดลวดมอเตอร์และทุ่นจะย้อนกลับเข้าไปใน VSD และเพิ่มแรงดันไฟตรงในภาคกระแสตรง (DC Bus) ใน VSD คือ หากแรงดันไฟฟ้าที่ย้อนกลับเข้าด้านเอาท์พุทของ VSD สูงมากเท่าไหร่ ก็จะย้อนกลับเข้าไปใน VSD มากเท่านั้น ดังนั้น หากต้องการหยุดเร็วเท่าไหร่ แรงดันไฟใน VSD ก็จะสูงขึ้นมากด้วย และจะทำให้ VSD เกิดความเสียหายได้ แต่ VSD รุ่นใหม่ก็จะมีฟังก์ชั่นสำหรับป้องกันความเสียหาย โดยจะหยุดการทำงาน (Trip) และให้มอเตอร์หยุดตามแรงเฉื่อยของตัวมันเอง
 
       ทั้งหมดนี้ คือที่มาของตัวต้านทานเบรก เรานำเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวรับภาระในภาคไฟกระแสตรง (DC Bus) ของ VSD ให้แรงดันไฟไม่สูงเกินกว่าปกติ ขนาดของตัวต้านทานเบรกต้องเลือกให้เหมาะสม เพื่อให้แน่ใจว่ามอเตอร์สามารถหยุดได้และไม่เสียหายต่อ VSD  
       สำหรับปัจจุบัน จะมี VSD รุ่นใหม่ออกมาที่สามารถทำการหยุดแบบนำพลังงานกลับ (Regenerative Braking) โดยไม่ต้องใช้ตัวต้านทานเบรก เนื่องด้วย สูญเสียพลังงานในรูปความร้อน ใช้พื้นที่ในการติดตั้ง และที่ทำคัญคือทำให้เกิดฮาร์โมนิกในระบบไฟฟ้า (Harmonics) แต่ยังคงมีราคาสูง และ เหมาะกับมอเตอร์ขนาดใหญ่ หรือ มอเตอร์จำนวนมากโรงงานอุตสาหกรรม




ที่มา   https://synergyproducts.net/   ผู้แทนจำหน่าย Power Resistor "Yeso" (ประเทศไทย)
ติดต่อเรา  081-3432729, 081-5524195

 

 

 

========================================================

 

 

 

30 April 2025
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD