Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,017
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,603
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,011
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,818
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,488
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,578
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,532
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,841
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,393
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,473
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,387
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,533
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,632
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,168
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,573
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,578
17 Industrial Provision co., ltd 39,252
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,394
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,317
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,648
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,481
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,882
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,244
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,984
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,612
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,532
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,976
28 AVERA CO., LTD. 22,606
29 เลิศบุศย์ 21,707
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,414
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,274
32 แมชชีนเทค 19,915
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,890
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,204
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,160
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,821
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,622
38 SAMWHA THAILAND 18,322
39 วอยก้า จำกัด 17,931
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,503
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,358
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,325
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,266
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,241
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,154
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,101
47 Systems integrator 16,731
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,659
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,481
50 Advanced Technology Equipment 16,464
28/10/2549 16:00 น. , อ่าน 12,676 ครั้ง
Bookmark and Share
เครื่องมือวัด ด้านมิติ ต่างๆ
สืบศักฐิ์
28/10/2549
16:00 น.
ลืมไป มัวแต่ตอบปัญหาเรื่อง เครื่อง CNC กับเรื่องการผลิต <br>หากท่านใด สงสัย เกี่ยวกับ เรื่องการวัด คุม ทางด้านมิติ <br>เช่น งาน Dimension Gaging, CMM, Gage Block<br>งานสอบเทียบ ฯลฯ <br><br>ขอเป็นทางด้าน มิติ ขนาด นะครับ งานด้านอื่นไม่ถนัด เดี๋ยวจะยุ่ง <br><br>โพสต์ มาถกกันได้นะ เพราะ ไม่มีห้อง วัดคุม โดยเฉพาะ
ความคิดเห็นทั้งหมด 39 รายการ | 1  2  3    »
ความคิดเห็นที่ 1
parinya
31/10/2549
19:38 น.
ดีครับพี่งานด้านนี้ผมหาคนสอบถามยากมาก พอดีผมมีคำถามคือผมใช้ CMM วัด หลุมรูปโค้งที่มีขนาดประมาณ 20ม.ม.ลึกประมาณ4 ม.ม. ผิวจะเป็นserface ลึกลงไป วัดเป็นPoint ไล่จนทั่วงาน แล้วนำค่าที่ได้ไปปูserface แล้วกัดงานออกมา ปรากฏว่างานที่ได้มิติผิดเพี้ยนไปพอสมควร ผมคิดว่าเงื่อนไขน่าจะเกิดจากการวัดครับ 1.ถ้าเป็นงานลักษณะนี้มีเครื่องมืออื่นที่เหมาะสมกว่าหรือไม่<br>2.ผิวโค้งลาดเอียงมีผลต่อความผิดพลาดหรือไม่ครับแก้ไขหรือมีวิธีการอย่างไรครับ
ความคิดเห็นที่ 2
สืบศักฐิ์
01/11/2549
21:24 น.
ปกติ เครื่อง CMM ทุกตัว มีค่าความคลาดเคลื่อนสูงมาก ( สูงกว่าเครื่อง CNC ) <br>อย่างงครับ ตามมาดูกัน แล้วกลับไปพิจารณาเครื่องของคุณนะ <br><br>1. ค่า Accuracy ของ CMM. แบบ Manual เริ่มจาก 3.5 + 4L/100 มม. หรือ อย่างดีที่สุดที่เคยเห็น 2.5 + 3L/100 mm. <br>มันหมายความว่า เริ่มผิดพลาดคือ 3.5 ไมครอนเข้าไปแล้ว ที่ตำแหน่งจุดเริ่ม หรือ Origin แล้วเมื่อเคลื่อนที่ไปเท่าไร ก็บวกไปตามสูตร ครับ <br>2. Touch Probe และ หัว Touch Sensor ที่คุณใช้ เป็นแบบใด <br>Ranishaw รุ่น TP2 มีค่า accuracy 2 ไมครอน โดยใช้ร่วมกับ ปลายทับทิม (Stylus ) ขนาด 1.0 มม. ก้านยาว 15 มม. <br>หากคุณให้ ปลายที่โตกว่า หรือ ต่อก้านให้ยาวกว่า ค่านี้ก็จะเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว <br>( บางคนเล่นต่อก้าน ยาวเป็น ร้อย แล้วบอกว่าเครื่องมีค่าเที่ยงตรง ไม่เกิน 5 ไมครอน ขอ ขำ ขำ นะ ) <br><br>เอาแค่นี้ก่อนนะ มากกว่านี้ ตั้งประเด็นมา แล้ว จะอธิบายเป็นข้อๆ ไป <br><br>สำหรับ คำถามของผิวลาดเอียง มีผลต่อการวัดไหม <br>ตอบว่า มีครับ <br><br>เป็นผลมาจาก การทำงานของโปรแกรม เครื่องเอง <br>โดยที่ ปกติ CMM จะให้เราทำการ compensate / offset ปลายหัววัด หรือ ตำแหน่ง หัววัด ในแนว 3 มิติ โดยให้คุณไปแตะกับ ตัวบอลกลม บนโต๊ะงาน แล้วจะทำการเก็บค่าเหล่านั้น มาหักลบ กับตอนเวลาคุณวัด <br><br>โปรแกรมทำการคำนวณตำแหน่งที่วัด ในรูปสมการวงกลมสัมผัสกัน ในสามมิติ หรือ บางครั้งหักลบกับ ค่า offset <br>คอนโทรลบางรุ่น ดีขึ้นอีก เล่นคำนวณ ค่าerror เผื่อความเร็วในการเดินเข้าแตะชิ้นงานด้วย <br><br>หากคุณทำได้ดี ขณะทำ offset นั้น และตอนวัดแต่ละจุด แตะได้ดี ค่าที่ได้ก็จะนิ่งหน่อย แต่อย่าลืม ค่า accuracy ของเครื่องด้วยนะ <br><br>กรณีของคุณ เป็นลักษณะ ของการลอกแบบ <br>แนะนำ ให้ใช้ Hard Probe เล็กที่สุดที่จะทำได้ หรือ ปลายแหลม ( Hard Probe คือ ไม่มีหัววัด เป็นแท่งต่อตรงๆ ไปที่คอเครื่อง ซึ่งจะทำได้ต่อเมื่อเป็นเครื่อง CMM Manual เครื่อง Joy stick และ CNC ทำไม่ได้ ) <br>เวลาจะสแกน ให้ล็อค แกนใดแกนหนึ่ง ระหว่าง X กับ Y แล้วเดิน ในแกนที่ไม่ล็อค <br><br>หากเป็นเครื่อง Joy Stick หรือ CNC เลือกใช้ ปลายทับทิม (Stylus ) ที่เล็ก และสั้นที่สุด ที่จะสามารถทำงานได้ <br><br>สุดท้าย อย่าลืมค่า Accuracy ของเครื่อง เพราะ column ของเครื่องลอยอยู่ บนเบาะอากาศ ที่มีความสูง ประมาณ 3 - 5 ไมครอน ขณะที่เครื่องลอยตัว <br>( กระเทือนหน่อยก็ เคลื่อนไป 2 ไมครอน โดยที่คุณไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ เพราะค่าที่หน้าจอไม่ได้บอก ) <br><br>แค่นี้ก่อนนะ
ความคิดเห็นที่ 3
ทวัยชัด
02/11/2549
15:27 น.
แหมจารย์.....กะลังอ่านเพลินเลย นึกจะจบก็ไปซะแล้ว<br>รีบมาสอนต่อเร็วๆนะครับ<br><br>ความรู้ดีดีแบบนี้เอามาบอกน้องๆเยอะๆหน่อยครับ
ความคิดเห็นที่ 4
สืบศักฐิ์
02/11/2549
18:38 น.
นี่ ทวัด ชัย เรื่องงานสอบเทียบ ค่าความคลาดเคลื่อน พิกัดของรูปทรง <br>เรื่องเหล่านี้ สอนกันเป็นปี ถึงจะเข้าใจ บางอย่างต้องฝึก การสัมผัส ความรู้สึกระดับไมครอนเป็นอย่างไร ไม่ใช่ เรียนในห้องอบรม 3 - 8 ชม. ได้ประกาศมาใบหนึ่ง แล้วคิดว่า เจ๋ง <br>อ่านแต่ เอกสารภาษาไทย ไม่รู้ว่า เอกสารจริง ของต่างประเทศ พิมพ์ผิด ก็ไม่รู้ว่า จะบอกอย่างไร <br>( ผิด ตั้งแต่เรียน เคยเห็นไหม ) <br><br>อยากรู้เพิ่ม ก็ตั้งกระทู้มา จะตอบเป็นข้อๆ ไม่อยากเขียนเป็น บทความ เดี๋ยวไม่มีคนอ่าน <br>เฉพาะ เรื่อง ความเรียบผิว อย่างเดียว ไม่มีคนสนใจ <br>มีแต่ โหลด เรื่อง ต่อสาย Link แค่ไม่เกิน 20 คน <br>เอาไว้มีเวลา จะหามาให้ webmaster เขาลงให้ <br>ตอนนี้ เพิ่งไปขอ เรื่องการเลือกใช้หินเจียร มาให้เพิ่ม <br>ส่วน เรื่อง ความเรียบผิว กำลังจะเปลี่ยน Version ขอเวลาแก้ไข เพิ่มเติม เล็กน้อย <br>ส่วน มาตรฐาน ความเรียบ แบบ 3 มิติ ยังไม่ได้อ่าน ไม่มีเวลา ดึงมาเก็บไว้หมดแล้ว ละ <br>
ความคิดเห็นที่ 5
tong
03/11/2549
00:26 น.
ไม่ทราบ ว่า วัด กี่ ตำแหน่ง และ กี่ layer ครับ
ความคิดเห็นที่ 6
ทวัยชัด
03/11/2549
18:27 น.
พี่.....ใน 20 คน นั้นคงมีผมด้วยแหละ<br>( น้อยใจไปได้......ผมโหลดเก็บไว้อ่านทั้งหมดแล้ว อย่างน้อย ความเรียบผิวผมก็อ่านแล้ว)
ความคิดเห็นที่ 7
สืบศักฐิ์
03/11/2549
21:39 น.
เฮ็ ทวัยชัด ไม่ได้น้อยใจ ก็ขอไปแล้วไม่ใช่เหรอ <br><br>คุณ tong <br>ผมไม่แน่ใจ คำถาม แต่ว่า งานของ parinya เหมือนกับทำ reverse engineering โดยการใช้ เครื่อง CMM ทำตัวเหมือน เครื่อง Scanning Machine เพื่อให้ได้ point crown กลุ่มหนึ่ง ก่อนไปปู Surface เพื่อแปลงกลับไปเป็น ทางเดินมีด Tool Path อีกครั้ง <br>หรือ แก้ไขเล็กน้อยก่อน แปลง <br><br>ผมคงกำหนดไม่ได้ว่า ต้องเป็นกี่ตำแหน่ง กี่ Layer เพราะ CAD ของคนใช้ มีฟังชั่น Nurbs, B-Spline ที่สมบูรณ์ หรือ ไม่ประการใด ซึ่งบางทีก็พิสูจน์ยาก <br><br>หากมีข้อแนะนำ ขอทราบด้วย เพราะผมวิเคราะห์ในลักษณะ errror ที่อาจเกิดจากเครือง CMM ตอนเอามาทำ Scan ที่ข้อมูลมีสิทธผิดจากความเป็นจริงมาก ขึ้นอยู่กับ แบบและรุ่น<br>
ความคิดเห็นที่ 8
khing_k2
10/11/2549
10:12 น.
งานสอบเทียบตามมาตรฐานISO 9000มีอะไรบ่างครับ<br>
ความคิดเห็นที่ 9
สืบศักฐิ์
10/11/2549
14:58 น.
งานสอบเทียบตามมาตรฐาน ISO 9000 <br><br>มาตรฐาน คือ มาตรฐาน งานสอบเทียบ ตาม ISO 9000 ต้องพิจารณา <br>1. เครื่องมือที่จะต้อง ทำการสอบเทียบ กำหนดเกณฑ์ตัดสิน <br>2. กำหนด ช่วงเวลาของการสอบเทียบ<br>3. กำหนด ขอบเขตของการตรวจรับ และ เกณฑ์การยอมรับ <br><br>ใน ISO-9000 ไม่ได้บอกว่า เครื่องมือจะสอบเทียบอย่างไร แต่บอกว่า เครื่องมือ ควรมีการสอบเทียบ ปรับเทียบ ตรวจสอบว่ายังวัดได้ถูกต้อง และให้เราเป็นคนกำหนดเกณฑ์ของการสอบเทียบ และช่วงเวลา ที่จะทำให้แน่ใจว่า เครื่องมือวัด หรือ ระบบการวัด ยังเทียบได้กับมาตรฐาน หรือ มาตรฐานที่เทียบต่อกันมา <br><br>ส่วน เกณฑ์ของการตัดสิน การสอบเทียบ ไปอ้างอิงในฉบับอื่น ( จำไม่ได้ ดิ ทำไงดี ไม่ได้เปิดนานแล้ว )<br><br>ผมมี บทความอยู่ตัวหนึ่ง ที่ใช้ ค่าความไม่แน่นอน ของระบบ มาเป็นตัวกำหนด การสอบเทียบ โดยยกตัวอย่าง ไมโครมิเตอร์ และ Ring Gage เป็นตัวอย่าง <br>ลักษณะเป็นการใช้ ค่าความไม่แน่นอนขอบระบบ เพื่อกำหนดเกณฑ์ และค่าความเที่ยงตรง ของ ตัว Standard ที่จะใช้ในการสอบเทียบ สนใจก็เมล์มาละกัน จะแนบไปให้อ่าน <br><br>
ความคิดเห็นที่ 10
นันทกานต์
13/02/2550
11:16 น.
อาจารย์คะ หนูอยากได้บทความจัง<br><a href="mailto:nantakarn@thapt.co.th" Target="_BLANK">nantakarn@thapt.co.th</a>
ความคิดเห็นที่ 11
yojung
09/05/2550
13:54 น.
สวัสดีค่ะทุกๆ ท่าน<br>ตอนนี้กำลังเขียน WI การประเมินค่าความไม่แน่นอนของการสอบเทียบ อยู่ค่ะ ว่าไปก็ยากอยู่เหมือนกันนะค่ะ
ความคิดเห็นที่ 12
Phornchai
20/09/2550
15:03 น.
อาจารย์ครับ..ช่วยแนะนำหน่อยครับ..เท่าที่อาจารย์จะแนะนำได้ครับ<br>ตอนนี้ Mitutoyo ยังไม่สามารถจำหน่ายได้ ถามว่าขณะนี้ เครื่องยี่ห้อไหน ความสามารถในการใช้งานรวมทั้งการ Service ที่ดีบ้างครับ..ขอบคุณมากครับ
ความคิดเห็นที่ 13
Somnuk
26/09/2550
15:40 น.
ถึงคุณ Phornchai<br>ผมอยากแนะนำ ตัว Smartscope ของ OGP. ตอนนี้ผมใช้อยู่ครับ เขียนง่าย แก้ไขโปรแกรมง่ายด้วย แถมมีแสง LED ให้ด้วยนะครับ ผมใช้รุ่น ZIP250 ตัวเล็กครับ. <br>
ความคิดเห็นที่ 14
Somnuk
26/09/2550
15:44 น.
ถึงคุณ Phornchai<br>การ Service ดีครับ ชื่อ Infact Technology System.co.ltd ผมทำงานโรงงานที่ลำพูน แผนก Metrology.นะครับ.
ความคิดเห็นที่ 15
vgagroup@ksc.th.com
26/09/2550
20:51 น.
สวัสดีครับขอแนะนำ Scope check จาก Werth Mestechnik GmbH Germany ที่วี จี เอ เป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่อง 3D เช่นเดียวกันติดต่อที่ผมได้ครับ 02-9657770-3 /965-7990-3 คุณวิรัตน์ หรือ <a href="mailto:vgagroup@ksc.th.com" Target="_BLANK">vgagroup@ksc.th.com</a>
ความคิดเห็นทั้งหมด 39 รายการ | 1  2  3    »
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง: