Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,033
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,623
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,021
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,828
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,505
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,589
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,543
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,845
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,407
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,483
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,396
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,545
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,650
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,182
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,594
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,586
17 Industrial Provision co., ltd 39,261
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,407
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,331
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,659
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,494
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,893
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,255
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,999
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,622
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,551
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,987
28 AVERA CO., LTD. 22,616
29 เลิศบุศย์ 21,715
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,424
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,285
32 แมชชีนเทค 19,924
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,899
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,218
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,181
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,832
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,631
38 SAMWHA THAILAND 18,335
39 วอยก้า จำกัด 17,943
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,511
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,372
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,345
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,279
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,253
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,164
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,116
47 Systems integrator 16,740
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,671
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,491
50 Advanced Technology Equipment 16,475
02/10/2549 17:48 น. , อ่าน 3,479 ครั้ง
Bookmark and Share
หลักฯในการใช้เครื่องcnc มีอะไรบ้างครับ
อมร
02/10/2549
17:48 น.
เรียนท่านที่มีความรู้ หลักฯในการใช้เครื่องcnc มีอะไรบ้างครับ อยากจะทำเกี่ยวกับด้านนี้ ขอบคุณนะครับ <a href="mailto:aman_took@yahoo.co.th" Target="_BLANK">aman_took@yahoo.co.th</a>
ความคิดเห็นทั้งหมด 11 รายการ |
ความคิดเห็นที่ 1
สืบศักดิ์
02/10/2549
21:34 น.
ขอรายละเอียดเพิ่มอีกหน่อย ดิ หลักทางด้านไหน ผู้ใช้หน้าเครื่อง <br>ผู้ควบคุมงาน ผู้ลงทุนซื้อ ทำกิจการ
ความคิดเห็นที่ 2
แบงค์
04/10/2549
11:33 น.
คุณสืบศักดิ์ ช่วยตอบหน่อยในกรณีที่เราจะซื้อเครื่อง ต้องตรวจสอบอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใหม่หรือเก่า
ความคิดเห็นที่ 3
สืบศักดิ์
04/10/2549
19:27 น.
ลองดู กระทู้ที่เขียนใหม่ เรื่องอบรมมาตรฐานเครื่องจักร ดูสิ น่าจะได้ทำตอบที่ดีกว่า <br><br>แต่ถ้าจะถามความเห็นผม จะเป็นลักษณะที่อาจไม่เป็นมาตรฐาน ก็ได้ เพราะ ผมจะใช้พื้นฐานจากประสพการณ์ในการทำงาน และลงทุนเป็นเจ้าของกิจการเล็กๆมาตอบ <br><br>การพิจารณา จะเริ่มจาก<br>1. งบประมาณ ในกระเป๋า และความสามารถส่วนตัวในการหมุนเวียนเงินสด มาจ่าย และงานจากลูกค้า <br><br>2. สภาพเครื่อง ในกรณีเครื่องจักรเก่า ตรวจดูในตู้คอนโทรล สภาพความสมบรูณ์ ของบอร์ด คราบหรือรอยต่างๆ การโย้ของตู้ และตัวเครื่องโดยรอบ สภาพของระบบราง บอลสกรู <br><br>3. การทำงานของเครื่อง หากร้านเครื่องเก่า เขาให้ลอง ซึ่งปกติจะต้องลองเครื่องได้ก่อนซื้อ มิฉะนั้น จะซื้อแบบชั่งกิโล โลละ 10 บาท <br>แล้วไปเสี่ยงซ่อมเอาเอง ลองเดินเครื่องฟังเสียงดู ว่าการเคลื่อนที่ต่างๆ เสียงผิดปกติหรือไม่ <br><br>4. เลือกคอนโทรล ที่เรามั่นใจว่าเราคุ้นเคย หรือหาคนทำให้ได้ เช่น Fanuc, ถึงแม้ว่าจะมีช่างซ่อมอยู่มากมาย หากเราพึ่งตัวเองได้ระดับหนึ่ง ก็จะประหยัดงบ และเวลาลงได้มาก ยี่ห้อไม่จำเป็นสูงสุด ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการใช้เครื่องกี่ปี <br><br>5. การรับประกัน และระดับของการรับประกัน ไม่ว่าเก่าใหม่ ตกลงให้ดี และควรเป็นเอกสาร มิฉะนั้น ผู้ขายบางรายอาจไม่สน และต้องระวังก่อนหมดระยะเวลาประกัน <br><br>การจะใช้เครื่องเก่า จำเป็นต้องวางแผนปลดระวางเครื่องทิ้งไว้ด้วย ไม่ควรเกิน 4 ปี ควรจะเปลี่ยนเป็นเครื่องใหม่ให้ได้ แต่ถ้าจำเป็นก็ไม่ต้อง <br><br>ส่วนเครื่องจักรใหม่ ผมจะพิจารณาจาก<br><br>1. ความคุ้นเคย และความสำคัญ ระหว่างตัวเรา กับผู้ขาย (อย่าบอกว่าไม่สำคัญ เพราะผมจะใช้คำว่า เพื่อนในธุรกิจ ย่อมดีกว่าคำว่า ลูกค้าในธุรกิจ ) <br>2. ความสามารถ ความรู้ ประสพการณ์ ของทีมบริการ หัวหน้าทีม หรือ ตัวเจ้าของกิจการ หากเครื่องเกิดอะไรขึ้น คุณทำเองเป็นไหม ช่วยตัวเองได้ในระดับใด <br>3. งบประมาณ ในกระเป๋า อีกเช่นเคยเหมือนข้างบน<br>4. ระดับความเที่ยงตรงของเครื่อง เทียบกับ ค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ ของชิ้นงาน ( ค่า Accuracy ของงานที่เราจะทำ ) เครื่องจักรควรทีค่าที่ดีกว่า <br>5. หากเครื่องนั้นเคยมีขายไปบ้างแล้ว ลองถามเพื่อน หรือ คนใช้งาน คนที่เคยซื้อไปใช้ดู ถามหลายๆคนนะ อย่าใช้คำบอกเล่าจากคนๆเดียวตัดสิน และเราต้องตัดสินใจเอง <br><br>กรณี เครื่องยังไม่เคยจำหน่าย ตัวแรกในประเทศไทย เทคโนโลยีใหม่ เรื่องนี้ควรพิจารณาด้วยตัวเอง โดยส่วนตัวผมไม่กลัว และไม่คิดจะกลัวด้วย เจอมาไม่ต่ำกว่า 3 เช่น ตัวแรกในประเทศ เพิ่มเริ่มทำตลาดในประเทศไทยและเพิ่งเป็นตัวแทนจำหน่าย ( ไม่ขอบอกในนี้ อยากรู้จริงๆ เมล์มาถามส่วนตัว ) <br><br>นี่เป็นความเห็นส่วนบุคคล ซึ่งอาจถูกต้องหรือไม่ กรุณาพิจารณาด้วยตัวท่านเอง <br>หลักใหญ่ๆ ของผม คือ เราควรสามารถ ดูแลจัดการด้วยตัวเองได้ในระดับหนึ่ง พึ่งช่างบริการให้น้อยที่สุด <br>เรื่องไหนที่ยังไม่รู้ หาเอกสารอ่าน ก่อนถามช่าง แม้ว่าต้องหาเป็นภาษาอังกฤษ<br><br>ฝึกไปสักพัก เก็บเกี่ยวไปเรื่อยๆ ก็จะเพิ่มพูนความรู้เองนั่นแหละ และเมื่อรู้ เมื่อเป็นแล้ว ใครจะมาลบไปจากความทรงจำได้ <br>(ยกเว้น ถูกตีที่ท้ายทอย ด้วยของแข็งจนความจำเสื่อม มั้ง )<br><br>
ความคิดเห็นที่ 4
อมร
04/10/2549
23:06 น.
ขอบคุณมากครับ คุณสืบศักดิ์ เรียนถาม คุณสืบศักดิ์อีกอย่างครับ กว่าจะเป็นชิ้นงาน cnc ได้ ขั้นตอนเริ่มต้น ตลอดจนไปเป็นชิ้นงานมีอะไรบ้างครับ ขอคร้าวๆก็ได้ครับ จะได้ไปศึกษาครับ ตอนนี้กำลังหัดเขียน Solidwork ครับ ขอบคุณ คุณสืบศักดิ์ ครับ นับถือ ..อมร
ความคิดเห็นที่ 5
อมร
04/10/2549
23:13 น.
ผู้ใช้หน้าเครื่อง ครับ <br>
ความคิดเห็นที่ 6
สืบศักดิ์
10/10/2549
21:35 น.
การทำงานของพนักงานผู้ใช้เครื่อง CNC <br><br>จะขอแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ <br><br>1. มีความสำคัญน้อย ( ใช้สำหรับการผลิต แบบสายการผลิต/mass production )<br>ผู้ทำงานแบบนี้ จะมีหน้าที่ <br> - ดูแล ป้อนชิ้นงานเข้าเครื่อง / ชุด Jig-fixture และกดปุ่ม Start <br> - ตรวจสอบงานด้วยเครื่องมือพื้นฐาน <br> - เปลี่ยนเม็ดมีด ( เครื่องกลึง )<br> - เปลี่ยน Tool พร้อม Holder ( ที่ Set มาแล้ว ) <br> - ปรับ offset ware <br><br>2. มีความสำคัญปานกลาง ( ใช้กับการผลิต ของ SMEs / เจ้าของคนเดียว มีเครื่องมากกว่า 5 เครื่อง ) <br>ผู้ทำงานแบบนี้ จะมีหน้าที่ <br> - เหมือนด้านบน และเพิ่ม <br> - สามารถ ตั้งแนวระนาบงานเป็น ( เครื่องกัด ) / คว้าน Softjaw / เปลี่ยนแผ่นงาน ยก-ย้าย <br> - ปรับเปลี่ยน หัวจับ ปรับศูนย์ หา Offset Geometry <br> - แก้ไข NC-program ได้บ้าง เล็กน้อย <br> - รู้จักความแตกต่างของ tool, ดอกกัด, เม็ดมีด ที่นำมาใช้ และแก้ไขได้บ้าง <br><br>3. มีความสำคัญมาก ( กรณี มีเครื่องน้อย / เจ้าของคนเดียว ) <br> - พนักงานจะสามารถทำได้หมด ทุกอย่าง ของด้านบน<br> - ถ่ายโอน แก้ไข เขียน NC-program<br> - เขียน CAD/CAM <br> - ปรับเปลี่ยน แก้ไข parameter เป็น ( ความจริงไม่จำเป็น แต่ พนง. จะเป็นเอง ) <br><br>สำหรับ เรื่องวิธีใช้งานเครื่องจักร ปุ่มควบคุม และฟังชั่นการทำงานของเครื่องจักร จะต้องถูกสอน และจำเป็นต้องรู้ เป็นไปตามระดับและหน้าที่ของแต่ละคน<br>แต่ควรมีการอบรม เพื่อเพิ่มระดับความรู้ด้วย ยกเว้นเข็นไม่ขึ้นจริงๆ <br><br><br>
ความคิดเห็นที่ 7
คม
28/03/2552
15:02 น.
หลักการปฎิบัติเพื่อความปลอดภัยเกี่ยวกับเครื่องจักรCNC
ความคิดเห็นที่ 8
คม
28/03/2552
15:05 น.
หลักทางด้านความปลอดภัยของผู้ใช้เครื่อCNC
ความคิดเห็นที่ 9
คม
28/03/2552
15:16 น.
คุณสืบศักดิ์ครับ หลักเเปฎิบัติเพื่อความปลอดภัยเกี่ยวกับเครื่องจักรCNCมีอะไรบางครับ
ความคิดเห็นที่ 10
รฐพล
17/05/2552
14:34 น.
ข้อควรระวังในการใช้เครื่องกัด
ความคิดเห็นที่ 11
11
23/06/2552
11:14 น.
อยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องcncขอแบบละเอียดเลยนะจะเอาไปทำรายงานเอาเป็นแบบโปรแกรมต่างๆนะคับ
ความคิดเห็นทั้งหมด 11 รายการ |
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง: