Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,003
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,596
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,000
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,806
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,474
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,568
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,523
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,834
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,368
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,461
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,376
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,523
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,607
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,151
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,541
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,566
17 Industrial Provision co., ltd 39,238
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,389
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,307
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,635
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,462
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,865
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,230
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,972
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,597
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,527
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,963
28 AVERA CO., LTD. 22,597
29 เลิศบุศย์ 21,699
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,399
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,261
32 แมชชีนเทค 19,905
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,880
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,196
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,151
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,810
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,613
38 SAMWHA THAILAND 18,307
39 วอยก้า จำกัด 17,915
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,490
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,346
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,314
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,254
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,229
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,146
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,082
47 Systems integrator 16,723
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,642
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,468
50 Advanced Technology Equipment 16,456
23/01/2549 13:14 น. , อ่าน 1,756 ครั้ง
Bookmark and Share
ขอข้อมูลหน่อยครับ
ชาน
23/01/2549
13:14 น.
อยากทราบข้อมูล ผลกระทบจากการประหยัดพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรม ว่ามีอะไรบ้างแล้วถ้าจะศึกษาเรื่องนี้จะหาได้ที่ใหนครับ เรียนท่านผู้รู้ช่วยตอบด้วยครับ
ความคิดเห็นทั้งหมด 3 รายการ |
ความคิดเห็นที่ 1
123
25/01/2549
18:25 น.
ส่งผลระดับชาติเลยครับ ช่วยลดการนำเข้าน้ำมัน
ความคิดเห็นที่ 2
เล็ก
01/02/2549
21:17 น.
การประหยัดพลังงานไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม <br>เพ็ญศรี ลี้วารินทร์พาณิช<br><br> ในยุคที่เศรษฐกิจฝึดเคืองเช่นนี้ การบริหารโรงงานอุตสาหกรรมจำเป็นต้องคำนึงถึงการผลิตที่มีค่าใช้จ่าย<br> เป็นต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง หนทางหนึ่งที่จะช่วยลดต้นทุนการผลิต คือการใช้พลังงานทุกประเภทอย่างประหยัดและ<br> มีประสิทธิภาพ<br> <br> การประหยัดพลังงานของโรงงาน หมายถึงการลดใช้พลังงานลงโดยการจัดการใช้พลังงานให้เหมาะสมเพื่อ<br> ให้ได้ประโยชน์สูงสุด โดยไม่ทำให้กระบวนการผลิตลดลงและไม่ทำให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์เปลี่ยนแปลง<br><br> จำเป็นแค่ไหน <br> พลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานที่มีความจำเป็นและการใช้ในการผลิตของทุกโรงงาน ความจำเป็น และความ<br> สำคัญของการประหยัดพลังงานไฟฟ้า จึงไม่ใช่เพียงแต่เอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเพียงเท่านั้น <br> แต่ยังเป็นความจำเป็นและมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศด้วย เนื่องจากการผลิตไฟฟ้าของ<br> ประเทศไทยในปัจจุบัน ยังต้องพึ่งเชื้อเพลิงนำเข้าจากต่างประเทศ และมีแนวโน้มว่าจะต้องมีการนำเข้าเชื้อเพลิง<br> เพิ่มมากขึ้นตามปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ซึ่งเป็น<br> สาขาที่มีความต้องการไฟฟ้าสูงสุด ดังจะเห็นได้จากรายงานสถานการณ์พลังงานในช่วงครึ่งปีแรกของปี พศ. 2543<br> ระบุว่าภาคธุรกิจอุตสาหกรรมยังต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 10.3 <br><br> มีขั้นตอนดำเนินการอย่างไร <br> กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานได้เสนอแนะว่าการประหยัดพลังงานในโรงงาน ควรมีการดำเนินเป็นขั้นตอน<br> โดยเริ่มจากเทคโนโลยีที่ง่ายที่สุด และใช้เงินลงทุนน้อยที่สุดไปจนถึงงานที่ต้องใช้เทคโนโลยีสูง และเงินลงทุน<br> มากได้แก่ <br><br> 1. การบำรุงรักษาและการดูแลเบื้องต้น (House Keeping) การประหยัดพลังงานโดยวิธีนี้ เป็นการปรับแต่ง<br> เครื่อง และการทำงานต่างๆ เช่น การกำหนดให้มีกรรมวิธีดูแลรักษาที่ถูกต้อง วิธีเหล่านี้โดยมากแล้วจะไม่ทำให้ <br> ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น หรือเป้นมาตรการที่เสียค่าใช้จ่ายน้อย แต่มีระยะคืนทุนสั้นๆ คือน้อยกว่า 4 เดือน<br> <br> 2. การปรับปรุงขบวนการเดิมเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงขึ้น หรือทำให้การสูญเสียต่างๆ ลดน้อยลง ซึ่งจะต้อง<br> อาศัยการตรวจวิเคราะห์อย่างละเอียด โดยทั่วไปมาตรการนี้จะต้องการเงินลงทุนปานกลาง โดยมีระยะเวลาคืนทุน<br> 1 - 2 ปี <br> <br> 3. การเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์หรือระบบ (Major Change Equipment) เมื่อการตรวจวิเคราะห์ขั้นต้นชี้ให้เห็นว่า<br> สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้มาก โดยการเปลี่ยนหรือเพิ่มอุปกรณ์ ทั้งนี้จะต้องมีการประเมินผลตอบแทน<br> ทางการเงินที่ได้จากการดำเนินการมาตรการดังกล่าว ถ้าพบว่ามีความสอดคล้องเข้ากับเกณฑ์การลงทุนของฝ่าย<br> บริหาร ก็จะเสนอขอความเห็นชอบ มาตรการนี้จะต้องมีการลงทุนสูงโดยมีระยะเวลาคืนทุน 2-5 ปี<br><br> ทำอย่างไรได้บ้าง<br> การประยัดพลังงานไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม สามารถทำได้หลายวิธี เช่น<br> <br> - การปรับปรุงต้นพลังงานไฟฟ้าต่อหน่วยการผลิต<br> - การปรับปรุง Load Factor ให้สูงขึ้น <br> - การปรับปรุงค่า Power factor <br> - การควบคุมค่ากำลังไฟฟ้าสูงสุดของโรงงาน <br> <br> ซึ่งแต่ละวิธีสามารถทำได้โดยการบริหารจัดการ การปรับปรุงการทำงาน การใช้เครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพ <br> การลดการสูญเสีย การบำรุงรักษา ตลอดจนการใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงานไฟฟ้า<br><br><br> จะเริ่มต้นย่างไร<br> ในการวางแผนจัดการด้านพลังงานให้มีการใช้พลังงานอย่างประหยัด และมีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องมีการ<br> ดำเนินการตรวจสอบ และวิเคราะห์หาสภาพการใช้พลังงานที่เป็นอยู่ในปัจจุบันของโรงงานที่เรียกว่า Energy <br> Audit เสียก่อน การตรวจวิเคราะห์การใช้พลังงานดังกล่าวจะให้ทราบถึงสภาพการใช้พลังงาน และการสูญเสีย<br> พลังงานที่เกิดขึ้น โดยทั่วไปมีการปฏิบัติอยู่ 3 ขั้นตอนคือ<br><br> 1. การตรวจสอบวิเคราะห์การใช้พลังงานเบื้องต้น (Preliminarly Audit) เป็นการตรวจสอบรวบรวมข้อมูลด้านการ<br> ผลิตระบบการใช้พลังงานในปีก่อนๆ ที่ทางโรงงานจดบันทึกไว้เพื่อทราบปริมาณการใช้พลังทุกรูปแบบ ค่าใช้จ่าย<br> ด้านพลังงาน ผลผลิตที่ได้ต่อพลัลงานที่ใช้ ตัวแปรของการใช้พลังงานในแต่ละช่วงตลอดจนรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง<br> <br> 2. การตรวจวิเคราะห์การใช้พลังงานโดยการสำรวจแผนผังโรงงานเพื่อทราบลักษณะทั่วไปของโรงงาน กระบวน<br> การผลิตและเครื่องจักรอุปกรณ์ต่างๆ พิจารณาบริเวณที่มีการใช้พลังงานสูง ระบบการใช้พลังงานในรูปแบบต่างๆ<br> และบริเวณที่เกี่ยวข้อง และในขั้นตอนต่อมาคือ การเข้าสำรวจในโรงงานเพื่อหาสาเหตุการสูญเสียพลังงาน โดยการ<br> สำรวจใช้พลังงานทุกระบบทั้งในช่วงทำการผลิต และช่วงหยุดการผลิต รวมทั้งทำการตรวจวัดโดยใช้เครื่องมือต่างๆ<br> ทำให้ได้ข้อมูลสภาพการใช้พลังงานของโรงงานนั้น<br><br> 3. การตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานอย่างละเอียด (Detailed Audit) ผลการตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้<br> พลังงานเบื้องต้น นำข้อมูลมาสร้างรูปแบบการใช้พลังงานว่าจะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขส่วนใดบ้าง ซึ่งจะต้องทำการ<br> ตรวจสอบและวิเคราะห์อย่างละเอียด โดยการตรวจวัดและบันทึกข้อมูลอย่างต่อเนื่อง หรือเป็นช่วงเวลาอย่างน้อย 1<br> สัปดาห์ เพื่อให้ทราบสภาพการทำงานและวิเคราะห์การสูญเสียพลังงานโดยจัดทำสมดุลพลังงาน เพื่อหาประสิทธิภาพ<br> ของระบบ และของอุปกรณ์ที่สำคัญ และหาแนวทางการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งจะต้องมีการวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐศาสตร์<br> ในแต่ละมาตรการลงทุนเพื่อหามาตรการที่เหมาะสมและเป็นไปได้<br><br> แล้วจะได้ผลแค่ไหน <br> ตัวอย่างการศึกษาวิจัยเพื่อทำการปรับปรุงการใช้พลังงานไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพ และเกิดการประหยัดพลังงาน<br> โดยใช้วิธีการของ Energy Audit ที่จะนำเสนอในบทความนี้ คือการศึกษาศักยภาพการประหยัดพลังงานไฟฟ้า ใน <br> โรงงานอุตสาหกรรมผลิตมิเตอร์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทราบการใช้พลังงานของโรงงาน ประเมินหาศักยภาพใน<br> การประหยัดพลังงาน และเสนอแนวทางการปรับปรุงการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพ โดยโรงงานที่เข้าทำการ<br> ศึกษาคือ บริษัทมหาจักรไฟฟ้าสากล จำกัด ตั่งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ซึ่ง<br> เป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่จัดอยู่ในประเภทขนาดกลาง ตามการจัดแบ่งประเภทกิจการไฟฟ้าในการคิดอัตราค่าไฟฟ้า<br> ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยเข้าทำการสำรวจ ตรวจวัดและวิเคราะห์หาสถาพการใช้พลังงาน และการสูญเสียพลัง<br> งานที่เกิดขึ้นในเครื่องจักรอุปกรณ์ไฟฟ้าของโรงงานได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้า และเครื่องปรับอากาศซึ่ง<br> มีสัดส่วนการใช้พลังงานมากกว่า 90 เปอร์เซนต์ของการใช้ไฟฟ้าทั้งหมดของโรงงาน<br> <br> ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันโรงงานมีการใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละ 1,376,160 kWh โดยมีค่าความต้องการไฟฟ้า<br> สูงสุด 426 kW ค่าตัวประกอบภาระ 0.47 และค่าตัวประกอบกำลัง 0.09 มีสัดส่วนการใช้พลังงานสูงสุดในระบบมอเตอร์<br> ของเครื่องจักรอุปกรณ์ร้อยละ 56..70 รองลงมาคือระบบปรับอากาศร้อยละ 34.71 และระบบแสงสว่างร้อยละ 8.59 อัตรา<br> การใช้พลังงานไฟฟ้าต่อผลผลิตเท่ากับ 3.46 kWh/เครื่อง มีศักยภาพในการประหยัดพลังงานได้ทั้งโดยวิธีที่ไม่มีการ<br> ลงทุน และวิธีการที่ลงทุนรวม 5 แนวทางคือ<br> <br> 1. การยุบภาระหม้อแปลงรวมกันในช่วงที่ไม่ทำการผลิต<br> <br> 2. การสับเปลี่ยนมอเตอร์ให้พิกัดเหมาะสมกับภาระของเคื่องจักร<br> <br> 3. การลดระยะเวลาการใช้งานของเครื่องปรับอากาศลง<br> <br> 4. การเปลี่ยนอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิเป็นแบบอิเลคทรอนิคส์เทอร์โมสตัท<br><br> จากการวิเคราะห์ความเหมาะสมในการดำเนินการ และความคุ้มทุนโดยหาระยะเวลาคืนทุน (Playback Period)<br> และวิธีมูลค่าปัจจุบันสนธิ (Net Present Value) แล้วพบว่า มีแนวทางการประหยัดพลังงานที่สมควรเสนอแนะให้แก่โรง<br> งานในการปรับปรุงการใช้พลังงานของโรงงานเหลือเพียง 3 แนวทางได้แก่ <br> <br> 1. การลดระยะเวลาการใช้เครื่องปรับอากาศลง<br> <br> 2.การปรับตั้งอุณหภูมิที่เหมาะสมให้แก่เครื่องปรับอากาศ <br><br> 3. การเปลี่ยนอุปกรณ์ควบคุมของเครื่องปรับอากาศ <br><br> จึงได้เสนอแนะให้โรงงานใช้แนวประหยัดพลังงานดังกล่าวร่วมกัน เพื่อให้ศักยภาพในการประหยัดพลังงาน <br> ไฟฟ้าของโรงงานสูงสุด โดยสามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ปีละ 14,0001.63 kWh ( หรือลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ <br> ปีละ10.68 เปร์เซนต์) หรือคิดเป็นค่าพลังงานไฟฟ้าที่สามารถประหยัดได้ปีละ 452,765 บาท<br><br> จะเห็นได้ว่าแนวทางการประหยัดพลังงานที่เสนอแนะไว้ในตัวอย่างการศึกษาข้างต้น เป็นแนวทางที่สามารถ <br> ดำเนินการได้โดยใช้เทคโนโลยีง่ายๆ ลงทุนน้อย และไม่ต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานมาดำเนินการอย่างใด จึงมี<br> ความเหมาะสมอย่างยิ่งต่อขโรงงานขนาดกลางลงไป เนื่องจากโรงงานเหล่านี้ส่วนใหญ่ยังไม่ได้ดำเนินการประหยัด <br> พลังงานอย่างจริงจัง อันเนื่องมาจากไม่ได่อยู่ในขอบข่ายที่ต้องปฏิบัติตามกฏหมาย พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์<br> พลังงาน พศ. 2535 และการที่ไม่ได้อยู่ในขอบข่ายการปฏิบัติตามกฏหมายดังกล่าว ทำให้ไม่ได้รับการสนับสนุนทางด้าน<br> การเงินในการดำเนินการประหยัดพลังงานรวมถึงการขาดผู้รับผิดชอบโดยตรงด้านพลังงานประจำโรงงานด้วย <br> <br> ดังนั้น บทความนี้จึงประสงค์จะกระตุ้นและชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของการประหยัดพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรม<br> และธุรกิจขนาดกลางลงไป ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 25,000 แห่งในเขตของภูมิภาค ให้เห็นถึงความจำเป็นและประโยชน์ที่ได้<br> รับจากการประหยัดพลังงาน ซึ่งถ้าหากทุกโรงงานได้ดำเนินการประหยัดพลังงาน และได้ผลลัพธ์อย่างน้อยที่สุด เช่นเดียว<br> กับกรณีตัวอย่างที่ได้ทำการศึกษาแล้วนี้ ย่อมจะสามารถช่วยให้ประเทศชาติประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้มากถึงปีละ 235 <br> เมกกะวัตต์ หรือถ้าคิดเทียบสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าของโรงงานแม่เมาะ ซึ่งมีกำลังผลิตปีละประมาณ 2,625 เมกกะวัตต์ โดย<br> มีความต้องการถ่านหินปีละประมาณ 16 ล้านตัน แล้วเท่ากับสามารถลดค่าใช้ถ่านหินลงไปได้ถึงปีละมากกว่า 1.4 ล้านตัน<br> ดังนั้น การประหยัดพลังงานไฟฟ้าในกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว นอกจากจะช่วยลดต้นทุนการผลิตให้แก่โรงงาน และยังช่วย<br> ลดการใช้เชื้อเพลิงของประเทศแล้ว ยังสามารถช่วยลดมลพิษ และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ไม่น้อยทีเดียว<br><br> กล่าวโดยสรุป การประหยัดพลังงานไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรมมีความจำเป็นมาก สามารถดำเนินการได้โดยอาศัย<br> วิธีการตรวจวิเคราะห์การใช้พลังงานหรือ Energy Audit ซึ่งเป็นแนวทางที่เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันเนื่อง<br> จากช่วยให้สามารถหาแนวทางการประหยัดพลังงานลงได้ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการผลิตของผู้ประกอบการลงได้ และ<br> เป็นผลดีต่อเศรษกิจของประเทศ รวมทั้งช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม<br><br> คัดลอกจาก วารสารสายใจไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พฤษภาคม 2545<br><br> <br>
ความคิดเห็นที่ 3
o
30/03/2549
10:48 น.
พระเจ้าจอช มันยอดมาก โอว.................................
ความคิดเห็นทั้งหมด 3 รายการ |
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง: