Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,058
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,638
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,035
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,848
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,521
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,599
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,554
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,850
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,423
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,494
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,407
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,557
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,670
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,199
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,619
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,607
17 Industrial Provision co., ltd 39,271
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,419
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,349
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,670
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,515
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,906
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,270
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,016
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,637
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,565
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,999
28 AVERA CO., LTD. 22,623
29 เลิศบุศย์ 21,724
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,454
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,296
32 แมชชีนเทค 19,945
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,910
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,237
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,192
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,838
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,649
38 SAMWHA THAILAND 18,352
39 วอยก้า จำกัด 17,954
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,524
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,384
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,358
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,295
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,267
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,173
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,133
47 Systems integrator 16,751
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,687
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,519
50 Advanced Technology Equipment 16,496
29/05/2548 17:34 น. , อ่าน 9,839 ครั้ง
Bookmark and Share
อยากจักวีพีไอ อย่างละเอียด
กี้
29/05/2548
17:34 น.
ขอถามเรื่องการ วีพีไอ<br> <br>อยากทราบ ว่า วีพีไอ คืออะไร <br>อยากทราบว่า มอเตอร์ที่ผ่านการใช้งานมาแล้วมีความจำเป็นแค่ไหน ที่จะต้องทำการ วีพีไอ เพราะปกติมอเตอร์ที่มีการผลิตขึ้นมาใหม่ หรือมอเตอร์ที่มีการพันขดลวดใหม่ จะมีการทำวีพีไออยู่แล้ว ถ้าหากว่าเราจะโอเวอร์ฮอล มอเตอร์แล้วต้องทำการ วีพีไอ จะส่งผลเสียต่อระบบฉนวน หรือไม่<br><br>
ความคิดเห็นทั้งหมด 21 รายการ | 1  2    »
ความคิดเห็นที่ 1
ช่างซ่อมมอเตอร์
30/05/2548
15:36 น.
VPI มีชื่อเต็มๆว่า Vacuum Pressure Impregnet เป็นขบวนการที่มีขั้นตอนดังนี้ครับ<br>1. ชิ้นงาน(มอเตอร์) จะถูกใส่ลงไปในถังชิ้นงาน จากนั้นจะถังจะถูกปิดและถูกดูดอากาศออกเพื่อทำให้เป็นสูญยากาศ ( Vaccuum )<br>2. จากนั้นจะมีการปล่อยน้ำยาเข้าไปท่วมชิ้นงาน น้ำยาก็จะไหลเข้าไปตามซอกซอยต่างๆได้ง่ายเนื่องจากรูเล็กต่างๆไม่มีอากาศเป็นตัวกั้น<br>3. ขั้นตอนต่อไปก็ทำการปิดวาล์วน้ำยาและเพิ่มแรงดันเข้าไปในถัง ( Pressure )เพื่อกดน้ำยาให้เข้าไปตามรูเล็กๆเต่างๆ ที่เข้าไม่ได้เนื่องจากความหนืดของน้ำยา การใช้แรงดันสูงจะทำให้น้ำยาสามารถเข้าถึงได้ มีผลทำให้น้ำยาสามารถเข้าไปทุกจุดของระบบฉนวน<br>4. ใช้ระยะเวลาในการอัดแรงดันสักระยะหนึ่ง ก่อนที่จะปรับแรงดันให้กลับสู่สภาวะปกติ และนำชิ้นงานไปอบ ( Impregnet )<br><br>มอเตอร์ที่เหมาะสมกับการทำ VPI ควรจะเป็นมอเตอร์พันใหม่<br><br>มอเตอร์ที่ใช้งานมาแล้ว ถามว่ามีความจำเป็นแค่ไหนที่จะทำ VPI ในความคิดเห็นส่วนตัวไม่เหมาะครับ โดยเฉพาะถ้าระบบฉนวนเดิมที่ไม่ได้เป็น VPI มาก่อน เพราะแรงดันที่อัดเข้าไปในขณะทำ มีโอกาสทำให้เกิดความเสียหายให้กับระบบฉนวนเดิม ซึ่งอาจจะเริ่มมีปัญหาอยู่ก่อน แรงดันที่อัดเข้าไปจะเป็นตัวกระตุ้นทำให้ความเสียหายเพิ่มขึ้น<br><br>แต่การทำ VPI จะช่วยในเรื่องของการระบายความร้อนได้ดี
ความคิดเห็นที่ 2
Q
30/05/2548
20:52 น.
น้ำยา vpi เป็นยเเบบใหนครับ.
ความคิดเห็นที่ 3
กี้
30/05/2548
21:48 น.
แล้วน้ำยาที่ใช้เป็นน้ำ ชนิดไหน <br>เหมือนหรือต่างกับน้ำยา ที่ไม่ใช้วีพีไอ<br><br>แล้วระยะเวลาในแต่ละขั้นตอน มากน้อยแค่ไหน<br>แล้วมอเตอร์ชนิดไหน จำเป็นที่จะต้องใช้วีพีไอ<br>
ความคิดเห็นที่ 4
กี้
30/05/2548
21:54 น.
สังสัยจากกระทู้ 3676<br><br>คุณช่างซ่อมมอเตอร์ ช่วยอธิบายการเกิดความต่างศักย์ของ บาร์โรเตอร์ กับแกนเหล็ก อีกทีซิ ยังไม่ค่อยเข้าใจ <br>ถ้าเกิดการหลวม จะทำให้เกิดความต่างศักย์ ได้อย่างไร<br>เพราะเคย เจอกรณี มอเตอร์ต้องเปลี่ยนบาร์โรเตอร์ ก้อไปดูขั้นตอนการเปลี่ยนบาร์โรเตอร์ เขาทำเพียงทำแท่งอลูมีเนียมใส่เข้าไปในร่อง ผมลองส่องดูก้อเห็ฯว่ามีช่องว่าง มองทะลุไปอีกด้านได้ ไม่ทราบว่าอย่างนี้จะทำให้ปัญหาแบบที่บอกหรือไม่
ความคิดเห็นที่ 5
กี้
30/05/2548
22:07 น.
ขอถามอีกซักข้อ<br><br>วานิช สีแดง ที่เขาเอามาพ่นมอเตอร์ที่โอเวอร์ฮออล์ พ่นเพื่ออะไร<br>แล้ววานิชสีแดงมีคุณสมบัติอย่างไร หาซื้อได้ที่ไหน<br>เราสามารถทำเองได้หรือไม่ โดยไม่ต้องส่งบริษัทซ่อมมอเตอร์ มีขั้นอย่างไร บ้าง ต้องเตรียมมอเตอร์ อย่างงั้ยมั่ง<br><br>ขอขอบคุณครับ
ความคิดเห็นที่ 6
ช่างซ่อมมอเตอร์
31/05/2548
13:07 น.
ขอตอบเรื่องน้ำยา VPI<br><br>น้ำยา VPI ที่ใช้อยู่ในบ้านเราจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภทคือ Epoxy และ Polyester ส่วนรายละเอียดความแตกต่าง และข้อดีข้อเสีย ผมจำไม่ได้ครับ แต่เท่าที่จำได้ไม่แตกต่างกันมากนัก<br><br>น้ำยาทั้งสองตัวที่กล่างข้างต้นจะต่างกับวานิชที่เราใช้จุ่มตรงที่เป็นสารชนิดเดียวที่จะต้องไม่มีตัวทำละลายเป็นส่วนประกอบ เพราะในชณะปล่อยน้ำยาเข้าไปในขณะ เป็นสูญญากาศ ตัวทำละลายจะระเหยได้เร็ว จะทำให้น้ำยาที่มีตัวทำละลายเป็นส่วนประกอบแข็งตัว ฉะนั้นน้ำยาที่ใช้ในการทำวีพีไอ ต้องเป็นสารชนิดเดียวไม่มีตัวทำละลายเป็นส่วนประกอบ<br><br>มอเตอร์ที่พันใหม่ทุกประเภท เหมาะกับการทำ วีพีไอ เพราะจะช่วยทำให้ระบบฉนวนดีขึ้นกว่าการจุ่มวานิช ธรรมดา และที่สำคัญช่วยในการระบายความร้อนได้ดีครับ<br><br>ส่วนเรื่องระยะเวลาการทำแต่ละขั้นตอน ผมไม่ทราบครับ เพราะไม่เคยคุม เครื่อง วีพีไอ แต่เท่าที่ทราบระยะเวลา แรงดัน และ ความเป็นสูญญากาศ จะแปรผัน ตาม ประเภทมอเตอร์ ( เอซี หรือ ดีซี ) แรงดันพิกัด และระบบฉนวน
ความคิดเห็นที่ 7
ช่างซ่อมมอเตอร์
31/05/2548
13:37 น.
ขอตอบเรื่องศักย์ของบาร์โรเตอร์<br><br>ในกระทู้ที่3676 ผมอาจจะตอบแบบย่อเกินไป ผมขออธิบายเพิ่มเติมดังนี้ครับ<br><br>ความต่างศักย์ของบาร์โรเตอร์จะมีค่าสูงที่สุดในขณะมอเตอร์สตาร์ท เพราะในขณะนั้น โรเตอร์จะมีกระแสไหล 6-8 เท่าของกระแสขณะมอเตอร์ทำงานเต็มพิกัด และ ค่า อิมพีแดนซ์ของโรเตอร์มีค่าสูงสุด<br><br>ค่าอิมพีแดนซ์ของโรเตอร์ เมื่อไปวิเคราะห์วงจรของมอเตอร์แล้ว จะเห็นว่า จะแปรผันตามค่า สลิป ค่าสลิปยิ่งมาก ค่าอิมพีแดนซ์ของมอเตอร์ก็จะยิ่งมาก และในขณะที่โรเตอร์หยุดนิ่ง มอเตอร์จะมีค่าสลิปเป็น 1 ซึ่งเป็นค่าที่มากที่สุด<br><br>ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าในขณะสตาร์ทมอเตอร์ กระแสสูงสุด x ค่าอิมพีแดนซ์สูงสุดจะทำให้เกิดค่าแรงดันสูงสุด จึงทำให้ มอเตอร์บางตัวจะมีการสปาร์คที่โรเตอร์ในขณะสตาร์ทในช่วงแรก และจะหายไปเมื่อมอเตอร์หมุนออกตัวไป<br><br>สาเหตุที่ทำให้เกิดการสปาร์คเพราะเนื่องด้วยแกนเหล็กจะเป็นทางผ่านหนึ่งของค่าความแตกต่าง และถ้าแกนเหล้กแนบสนิทกับกับบาร์โรเตอร์ก็จะไม่ทำให้เกิดความค่างศักย์เกิดขึ้น แต่ถ้ามีการหลวมจะทำให้เกิดค่าความต้านทานขึ้นที่บริเวณรอยต่อระหว่าง บาร์โรเตอร์และแกนเหล็ก จึงทำให้เกิดค่าความต่างศักย์ขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการสปาร์ค เพราะถ้าแกนเหล็กแนบสนิทกับบาร์โรเตอร์กระแสก็จะไหลผ่านแกนเหล็กไปได้ด้วยดีโดยไม่ทำให้เกิดการสปาร์ค
ความคิดเห็นที่ 8
ช่างซ่อมมอเตอร์
31/05/2548
14:01 น.
ขอตอบเรื่องวานิชแดง<br><br>ในความเข้าใจของผม การพ่นวานิชแดงเป็นเพียงการเคลือบผิวฉนวนบางๆให้กับขดลวด แต่จะเป็นการเคลือบป้องกันสนิมให้กับแกนเหล็ก วิธีการพ่นวานิชแดง จะเหมาะกับขดลวดที่มีสภาวะแวดล้อมของมอเตอร์ดี สะอาด ไม่มีความชื้น และมีสภาพฉนวนที่ดี ถ้ามอเตอร์อยู่ในสภาวะที่แย่ ค่าความเป็นฉนวนมีค่าต่ำ จะต้องทำการล้างอบให้ค่าความเป็นฉนวนมีค่าสูงก่อนจากนั้นจะนำเอาไปจุ่มวานิช เพื่อที่จะให้วานิชเข้าไปซ่อมฉนวนที่เกิดความเสียหายและไปเคลือบผิวของขดลวดเพื่อรักษาค่าความเป็นฉนวนให้มีค่าสูง<br><br>ถ้าฉนวนอยู่ในสภาพดี( ค่าความเป็นฉนวนสูง ) การพ่นวานิชแดงใครๆก็ทำได้ แต่ ถ้าขดลวดมีสิ่งสกปรกมากๆ ค่าความเป็นฉนวนต่ำ การล้างอบเป็นสิงที่จำเป็น และต้องมีการจุ่มวานิช อาจจะต้องส่งให้โรงซ่อมมอเตอร์ เพราะจะมีการทดสอบในส่วนอื่นไปด้วย เช่น การทดสอบทางกล เช่น เรื่องของ ความสั่นสะเทือน และแบริ่ง
ความคิดเห็นที่ 9
กี้
31/05/2548
23:10 น.
ครับ ขอบคุณครับ
ความคิดเห็นที่ 10
อยากเก่งเหมือนช่าง
06/06/2548
16:04 น.
ผมมีปัญหามอเตอร์ที่ต้องทำงานใกล้กับพื้นที่ที่มีละอองน้ำและความชื้นมาก แต่ไม่สามารถเปลี่ยนมอเตอร์ใหม่ทั้งหมดได้ เนื่องจากมีเป็นร้อยตัว (IP56) ถ้าจะเอไปทำ VPI จะช่วยยืดอายุของมอเตอร์ได้ไหมครับ แล้วถ้านำมอเตอร์ไปหล่อด้วยเรซินจะมีผลเรื่องการถ่ายเทความร้อยไหมครับ
ความคิดเห็นที่ 11
aj ,mahachai
06/06/2548
19:06 น.
มอเตอร์ของคุณที่ว่านี้มีอายุการใช้งานมานานมากนอ้ยแค่ใหนครับเพราะอย่างที่บอกแล้วว่าการทำ vpi ไม่ได้ให้ผลดีเสมอไปโดยเฉพาะกับมอเตอร์เก่าครับลองย้อนกลับไปดูคำตอบที่1ของซ่างซ่อมมอเตอร์นะครับ.
ความคิดเห็นที่ 12
ช่างซ่อมมอเตอร์
06/06/2548
20:56 น.
ขอให้ความเห็นเกี่ยวกับคำถามของคำตอบที่ 10 ดังนี้ครับ<br><br>VPI จะช่วยป้องกันความชื้นที่เกิดขึ้นจากขบวนการผลิดของอากาศโดยรอบ ได้ดีขึ้น และเหมาะสม ถ้าเป็นมอเตอร์ที่จะพันใหม่ แต่ถ้าเป็นมอเตอร์เก่าคงต้องอยู่ในความเสี่ยงเหมือนกันถ้าต้องการที่จะไปทำ VPI<br><br>การนำเอาเรซินมาพอก ตามความเห็นจะมีผลต่อการระบายความร้อน เพราะเรซินจะเป็นเหมือน Buffer ที่กั้นระหว่างอากาศที่ใช้ระบายความร้อนกับขดลวด แต่ก็จะช่วยในการทนการกัดกร่อนได้ดี คงต้องพิจารณาว่า ตอนนี้มอเตอร์มีปัญหาอะไร เช่นมีการกัดกร่อน หรือมีปัญหาเรื่องความชื้นเพียงอย่างเดียว ถ้ามีปัญหาเรื่องความชื้นการพอกด้วยเรซิน จะไม่สามารถทำได้ทั่งถึงเท่ากับขบวนการ VPI
ความคิดเห็นที่ 13
saneh
14/07/2550
15:06 น.
ขอเสริมเรื่อง VPI นิดนึงครับเนื่องจากมีโรงซ่อมเอาจุดนี้ไปขายกันมากโดยที่ไม่ได้พูดถึงโดยรวมทั้งหมด (แต่ก็ทำให้หลายคนมีความเชื่ออย่างฝังรากลึกว่าระบบนี้เป็นระบบที่ดีที่สุด) ข้อดีที่เห็นชัดเจนมากคือเรื่องความแข็งแรงทางกล เพราะมีการแทรกซึมของ เรซิ่น (ไม่ใช่วานิชนะครับ) เรซิ่นที่ว่าจะเป็นเพียวเรซิ่นมีค่าความหนืดต่ำมาก เพื่อให้สามารถแทรกซึมได้ง่าและทั่วถึง ทั้งนี้การนำฉนวนมาใช้จะต้องเลือกแบที่เหมาะกับกระบวนการ VPI ดังกล่าวด้วย<br> ถ้าเป็น HV. Motor ก็ไม่เหมาะกับการทำ VPI สาเหตุเพราะ การลงขดลวด จะต้องมีการพัน Corona เทปในช่วงที่อยู่ในร่อง Slot เสมอ เพื่อป้องกันการเกิด Partial Discharge (PD) ในการเกิด PD แต่ละครั้งจะมีการทำลายฉนวน ทำให้ค่าความเป็นฉนวนต่ำลงส่งผลให้เกิด ลงกราวนด์ในที่สุด<br> PD เกิดจากการที่มีฟองอากาศปนอยู่ในฉนวน<br> อากาศที่ปนอยู่ในฉนวน มาจากการที่ กระบวนการ VPI ไม่สมบูรณ์ อาจเนื่องมาจาก ขั้นตอนการ Vacumm ไม่สมบูรณ์ ระยะเวลาไม่เพียงพอ, นำฉนวนที่เป็นอุปสรรคกับกับแทรกซึมของเรซิ่นมาใช้, ขั้นตอนการ Pressure ไม่เหมาะสม, นำวานิชทั่วไปมาใช้แทนเรซิ่น ฯลฯ<br>
ความคิดเห็นที่ 14
saneh
14/07/2550
15:07 น.
ค่าเรซิ่นยังแพงมากๆเมื่อเทียบกับงานซ่อม อาจมีคนแย้งว่าจากโรงงานผลิตก็มีการทำ VPI กับ HV. Motor แน่นอนว่าการควบคุมกระบวนต่างๆ ในสายพานการผลิตแตกต่างกันกับการซ่อม การผลิตแต่ละครั้งอาจผลิตเป็นร้อยตัว แต่การซ่อมเราทำแค่ตัวเดียวจะไม่คุ้มการลงทุน ณ ขณะนี้ราคาเรซิ่น อยู่ที่ประมาณ 100,000,- หนึ่งแสนบาท ต่อ 200 ลิตร เนื่องจากการทำ VPI จำเป็นต้องให้เรซิ่นท่วมขดลวด ยกตัวอย่าง ถ้าถัง 1.2 เมตร ต้องการให้ท่วมชิ้นงานที่ความสูง 1 เมตร จะต้องใช้เรซิ่นถึง 3.14/2 x 1.2 x 1.2 x 1 = 2.26 ลูกบาศก์เมตร 2260 ลิตร = 11 x 100,000.- = 1,100,000.- เป็นอย่างต่ำ ถ้าเสนอราคาเปลี่ยนขดลวดมาที่ 800,000 แล้วบอกว่า VPI มันจะเป็นไปได้หรือ? แล้วถ้าถังใหญ่กว่านี้ล่ะ?<br>อาจมีการทำภาชนะลดขนาดให้ใกล้เคียงกับชิ้นงานแต่ก็ยังไม่คุ้มอยู่ดี<br>
ความคิดเห็นที่ 15
saneh
14/07/2550
15:18 น.
ยังมีระบบ
ความคิดเห็นทั้งหมด 21 รายการ | 1  2    »
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง: