Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,047
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,629
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,030
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,838
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,512
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,594
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,548
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,845
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,417
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,490
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,402
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,552
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,663
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,186
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,608
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,591
17 Industrial Provision co., ltd 39,267
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,411
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,341
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,666
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,504
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,902
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,261
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,008
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,630
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,553
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,991
28 AVERA CO., LTD. 22,619
29 เลิศบุศย์ 21,718
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,438
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,291
32 แมชชีนเทค 19,928
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,905
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,224
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,186
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,836
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,642
38 SAMWHA THAILAND 18,344
39 วอยก้า จำกัด 17,948
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,517
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,378
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,354
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,286
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,261
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,169
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,126
47 Systems integrator 16,747
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,677
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,501
50 Advanced Technology Equipment 16,486
15/04/2548 19:40 น. , อ่าน 1,979 ครั้ง
Bookmark and Share
UNDER CURRENT MOTOR
Q
15/04/2548
19:40 น.
มอเตอร์กระแสตอน no-load ต่ำถ้านำมาใช้งานจะเกิดปัญหาใดๆบ้างครับ
ความคิดเห็นทั้งหมด 10 รายการ |
ความคิดเห็นที่ 1
Q
16/04/2548
12:44 น.
และตรงกันข้ามถ้ากระแสตอน no-load สูงจะมีผลเช่นใดถ้านำไปใช้งาน
ความคิดเห็นที่ 2
ช่างซ่อมมอเตอร์
16/04/2548
21:20 น.
ก่อนจะแสดงความคิดเห็นต้องขอให้ตีวงคำถามให้แคบสักหน่อย<br>1. คำถามหมายถึงมอเตอร์ปกติหรือผิดปกติ<br>2. มอเตอร์ที่มีการซ่อมมาแล้วหรือยัง<br><br>เพราะถ้าให้เดาความต้องการต้องตอบเยอะมาก และถ้าเป็นไปได้ถ้ามีกรณีหรือปัญหาอยู่ยกทั้งปัญหามาตั้งเป็นคำถามก็ได้ครับ
ความคิดเห็นที่ 3
Q
17/04/2548
19:20 น.
พอดีเพิ่งได้รับมอเตอร์ที่ส่งไปซ่อมกลับมาจากร้านซ่อมแห่งหนึ่ง(ขอไม่กล่าวถึงชื่อและสถานที่)ในกระบวนการซ่อมได้มีการโอเวอร์ฮอลขดลวดและเปลี่ยนตลับลูกปืนตามกระบวนการที่ร้านได้แจ้งมาแต่ล่าสุดเมื่อส่งกลับมาได้มีการเเจ้งมาใน ใบรายงานการซ่อมว่ากระแสตอน เดินตัวเปล่า (Io)ค่อนข้างต่ำถึงต่ำมากประมาณ15%ของกระแสพิกัดเขาแจ้งมาดังนั้นและแนะนำต่อดว้ยว่าต้องทำการตรวจสอบคอนเนคชั่นหรืออาจต้องทำการพันขดลวดใหม่ซึ่งผมก็งงๆเพราะก่อนนี้มอเตอร์ตัวนี้ใช้งานได้อยู่ตามปกติแต่ประวัติการซ่อมก่อนหน้านี้ผมไม่มีจริงๆครับเนื่องจากเป็นคนละแพล้นงานกันกับที่ผมดูแลอยู่บังเอิญมาดูแลแทนช่วงshut-down สงกรานต์อ้อลืมแจ้งไปมอเตอตัวนี้ขนาด 355kw 380d 649amp 2990 rpmกระแสตัวเปล่าตอนเทสมาเขาบอกว่า L1=105,L2=106,L3=105Amp เเรงดัน380,382 381volt ครับตอนนี้เลยเกิดไม่มั่นใจที่จะนำไปใช้งานช่วยเเนะนำหน่อยครับ
ความคิดเห็นที่ 4
ช่างซ่อมมอเตอร์
17/04/2548
21:16 น.
ขอให้ความเห็นตามข้อมูลที่ให้มานะครับ<br>1. มอเตอร์ที่เคยใช้ได้อยู่เมื่อส่งไปโอเวอร์ฮอล์( ปรับปรุงสภาพของฉนวน ) เมื่อส่งกลับมาย่อมใช้ได้แน่นอนครับ ยกเว้นว่าจะต่อวงจรภายนอกผิด ( สตาร์หรือเดลต้า )<br>2. จากค่ากระแสขณะไม่มีโหลดข้างต้น สำหรับมอเตอร์ 2 โปลถือว่าค่อนข้างต่ำครับ เพราะมอเตอร์ 2 โปลค่ากระแสขณะไม่มีโหลดน่าจะอยู่ที่ 20-30 เปอร์เซนต์ของกระแสพิกัด<br>3. ผมติดใจตรงที่ว่าคุณ Q บอกว่าส่งมอเตอร์ไปซ่อมร้านซ่อม ซึ่งน่าจะไม่ใช่โรงซ่อมขนาดใหญ่ จากประสพการณ์แล้ว มอเตอร์ขนาดนี้ ร้านซ่อมจะไม่มี แหล่งจ่ายที่สามารถ สตาร์ทมอเตอร์เพื่อทดสอบมอเตอร์ที่แรงดันพิกัดได้ ยกเว้นจะต่อเป็นสตาร์แล้วทำการสตาร์ทมอเตอร์ ( ขนาดต่อสตาร์แล้วสตาร์ทยังต้องใช้กระแสสตาร์ทประมาณ 2 เท่าของกระแสพิกัด ) ซึ่งเป็นการลดแรงดันในขณะสตาร์ท ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ที่ค่ากระแสที่แสดงอาจจะเป็นค่ากระแสที่เกิดจากการต่อสตาร์ขณะที่จ่ายแรงดันเข้ามอเตอร์ 380 โวลท์ก็เป็นไปได้ <br>
ความคิดเห็นที่ 5
Q
18/04/2548
22:14 น.
ผมอาจบอกผิดไปขออภัยครับ จริงๆแล้วเป็นโรงซ่อมใหญ่พอสมควรเขาเทสมาที่เดลต้าตามพิกัดเลยครับ และถามผู้ที่ดูแลแพล้นนี้อยู่เขาบอกขอ้มูลมาว่ามอเตอร์ตัวนี้มีปัญหาเรื่องความร้อนอยู่ขณะใช้งานขับปั๊มคอมเพรสเซอร์ที่โหลดประมาณ60%ความร้อนที่เฟรมนอกประมาณ80องศาcขณะใช้งานตอ้งมีมอเตอร์พัดลมเป่าอยู่ถึง2ตัวเลยครับกระแสตอนเดินขับโหลดเขาเคยจดไว้อยู่ที่250,230,191ampแรงดันไม่ได้บอกไว้ครับ
ความคิดเห็นที่ 6
ช่างซ่อมมอเตอร์
19/04/2548
11:33 น.
จากข้อมูลที่ให้มาให้ความเห็นอย่างนี้ครับ<br>1. ค่ากระแสขณะขับโหลด 60 เปอร์เซนต์ที่ให้มาน่าจะเป็นกระแสเฟส ไม่ใช่กระแสไลน์ เพราะ 250 x 1.732 =433 /649x100=66 % ฉะนั้นกระแสไลน์ของเฟสไลน์ที่สูงน่าจะอยู่ประมาณ 430 แอมป็<br>2. ค่าของกระแสเฟสมีค่าค่า Unbalance สูงมากและนี่จะเป็นตัวที่ทำให้เกิดความร้อน ปกติไม่ควรเกิน 5 เปอร์เซนต์ แต่ที่ผมคำนวณได้ ประมาณ 11 เปอร์เซนต์ นั่นก็หมายความว่าการใช้งานมอเตอร์ต้องใช้งานให้น้อยกว่าพิกัดแรงม้า มิฉะนั้นมอเตอร์จะร้อนเกินพิกัด<br>3. ถ้าค่ากระแสที่ได้จากโรงซ่อม เป็นค่าที่ได้จากการจ่ายแรงดันตามพิกัด ถ้าเราสมมุติว่าขดลวดสเตเตอร์ปกติ ( เพราะไม่ได้แจ้งว่ามอเตอร์เคยพันมาหรือยัง ) โรเตอร์ของมอเตอร์อาจมีปัญหาเรื่องบาร์แครกก็เป็นไปได้<br>4. สิ่งที่ทำให้กระแสของมอเตอร์เกิดการ Unbalance<br>1. ขดลวดสเตเตอร์ที่พันและต่อไม่สมบูรณ์<br>2. ระบบไฟฟ้าไม่สมดุล ( โดยเฉพาะต่างจังหวัดและอยู่ไกลจาก Power Plant<br>3. เกิดค่า Resistance ที่สูงผิดปกติตามรอยต่อ หรือหน้าคอนแทคต่างๆ<br><br>สรุป<br>1. ถ้าเดิมมอเตอร์เคยใช้ได้มันก็ควรที่จะใช้ได้<br>2. ถ้ามีโอกาสควรตรวจเช็คบาร์โรเตอร์ ว่า แครกหรือไม่ ( ควรส่งโรงซ่อมตรวจ )<br>3.ควรแก้ไขเรื่องการเกิด Unbalance ของกระแสในส่วนที่เกี่ยวข้องกับขดลวดไฟฟ้า และ ค่าความต้านทานที่หน้าคอนแทค เพราะถ้าปัญหาเกิดจากระบบไฟแล้วแก้ไขมักไม่ค่อยได้<br><br>หมายเหตุ<br>- ถ้ามีคำถามเพิ่มเติมอยากให้ผมช่วยแนะนำกรุณาแฟกซ์ เทสรีพอท์และข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาที่ โทรสาร 02-896-0229
ความคิดเห็นที่ 7
Q
19/04/2548
20:16 น.
การแก้ไขเรื่องการเกิด unbalance ของกระแสที่เกี่ยวขอ้งกับขดลวดไฟฟ้าพอจะแนะนำวิธีการที่ถูกตอ้งและไม่ยุ่งยากเพื่อที่จะตรวจสอบเองได้ใหม๋ครับ
ความคิดเห็นที่ 8
ช่างซ่อมมอเตอร์
19/04/2548
22:54 น.
การตรวจสอบขดลวดสเตเตอร์ เพื่อดูความสมดุล ขั้นตอนอย่างน้อยจะต้องทำการตรวจวัด<br>1. ค่าความต้านทานของขดลวดแต่ละเฟส ซึ่งควรจะต้องเท่ากัน หรือมีค่าความแตกต่างไม่เกิน 5 เปอร์เซนต์จากค่าเฉลี่ย<br>2. วัดค่า อินดักแตนซ์ของขดลวด ซึ่งค่าที่ได้ในแต่ละเฟสควรจะต้องเท่ากัน หรือแตกต่างจากค่าเฉลี่ยไม่ควรเกิน 5 เปอร์เซนต์<br><br>โดยปกติค่าอินดักแตนซ์จะเป็นตัวกำหนดค่าของการเกิดความไม่สมดุลของกระแส แต่ค่าอินดักแตนซ์ที่ไม่สมดุลก็ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของขดลวดเพียงอย่างเดียว แต่อาจจะเกิดจากความเสียหายของแกนเหล็กก็ได้<br><br> ดูแล้วก็คงไม่ง่าย เพราะส่วนมากแล้ว โรงงานมักจะไม่ค่อยจะมีเครื่องมือตรวจสอบขดลวด และเนื่องจากเป็นมอเตอร์ขนาดใหญ่เวลาวัดค่าความต้านทานอย่างน้อยต้องใช้ มิลลิโอห์มมิเตอร์ และถ้าเป็นอินดักแตนซ์มิเตอร์ด้วยแล้วคงจะยากใหญ่ เพราะส่วนมากจะมีใช้กันเฉพาะโรงซ่อมเท่านั้น<br><br> แต่สิ่งที่ทำได้ก็คงเพียงการยืนยันว่า การเกิดการไม่สมดุลของกระแสเกิดจากมอเตอร์หรือระบบไฟฟ้า ซึ่งทำได้โดยการย้าย สายไฟที่เข้าแหล่งจ่าย สลับตำแหน่งกันพร้อมกันทั้งสามสาย ( เพื่อป้องกันมอเตอร์กลับทางหมุน ) ถ้ากระแสยังสูงหรือแตกต่างอยู่ที่ไลน์เดิม แสดงว่าเป็นที่ระบบไฟฟ้า แต่ถ้ามีการเปลี่ยนไลน์ตามมอเตอร์ไปด้วย สรุปได้เลยว่าเป็นที่มอเตอร์ ซึ่งก็ควรที่จะส่งโรงซ่อมเพื่อแก้ปัญหาการเกิดความไม่สมดุลของกระแสต่อไป เพราะคงไม่มีเครื่องมือตามที่กล่าวมาแล้ว<br>
ความคิดเห็นที่ 9
Q
21/04/2548
18:47 น.
ขอบคุณครับช่างซ่อมมอเตอร์ที่ให้คำแนะนำ ผมจะลองทำตามคำแนะนำดูได้ผลอย่างไรแล้วจะแจ้งให้ทราบอีกทีครับ
ความคิดเห็นที่ 10
ช่างซ่อมมอเตอร์
09/05/2552
00:45 น.
หาค่ากระแสไฟฟ้าที่ใช้งานของมอเตอร์<br>
ความคิดเห็นทั้งหมด 10 รายการ |
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง: