Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,978
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,576
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,986
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,767
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,461
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,546
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,506
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,816
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,342
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,445
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,357
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,507
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,582
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,127
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,513
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,554
17 Industrial Provision co., ltd 39,221
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,372
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,296
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,617
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,436
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,851
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,218
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,955
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,580
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,515
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,945
28 AVERA CO., LTD. 22,585
29 เลิศบุศย์ 21,681
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,379
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,244
32 แมชชีนเทค 19,891
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,868
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,183
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,135
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,797
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,601
38 SAMWHA THAILAND 18,291
39 วอยก้า จำกัด 17,894
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,474
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,324
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,299
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,236
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,205
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,130
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,065
47 Systems integrator 16,709
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,627
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,453
50 Advanced Technology Equipment 16,442
31/01/2546 10:34 น. , อ่าน 2,755 ครั้ง
Bookmark and Share
การส่งและรับข้อมูลของ สมาร์ทการ์ด
Jurgen
31/01/2546
10:34 น.
คือผมกำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับสมาร์ทการ์ดอยู่ครับ อยากรู้โครงสร้าง มาตรฐาน การส่งและรับข้อมูลว่ารับยังไงรูปแบบไหนและอื่นๆครับแล้วแต่จะกรุณา ช่วยผมด้วยครับ
ความคิดเห็นทั้งหมด 5 รายการ |
ความคิดเห็นที่ 1
aew0@thaimail.com
22/03/2546
01:51 น.
สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างไร<br><br>ข้อมูลที่อยู่บนสมาร์ทการ์ดนั้นสามารถแบ่งออกได้หลาย ๆ ส่วนดังนี้ <br>ข้อมูลที่อ่านได้เพียงอย่างเดียว <br>ข้อมูลที่เพิ่มได้อย่างเดียว <br>ข้อมูลที่ปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงได้อย่างเดียว <br>ข้อมูลที่ไม่สามารถเข้าไปทำอะไรได้เลย
ความคิดเห็นที่ 2
ผมรู้แค่นี้
09/08/2546
16:57 น.
สมาร์ทการ์ด : บัตรอเนกประสงค์สำหรับวันนี้และอนาคต <br><br><br>เมื่อเอ่ยถึงสมาร์ทการ์ด (Smart card) เชื่อว่าหลายคนคงรู้สึกงงว่ามันคืออะไรกันแน่ แต่ถ้าบอกว่ารู้จักบัตรเอทีเอ็มไหม คราวนี้คงพอเข้าใจได้ แต่ถ้าลองนึกย้อนหลังไปสักสิบปี บัตรเอทีเอ็มก็ยังเป็นของใหม่มาก ในที่นี้จึงขอกล่าวถึงเรื่องราวของสมาร์ทการ์ด ว่ามันเป็นอะไร มีประโยชน์อย่างไร จนผู้เขียนกล่าวว่ามันเป็นบัตรอเนกประสงค์สำหรับวันนี้และอนาคต <br><br>สมาร์ทการ์ดคืออะไร<br>สมาร์ทการ์ด เป็นบัตรชนิดหนึ่งที่มีขนาดพอ ๆ กับบัตรเครดิตหรือบัตรเอทีเอ็มพลาสติก ที่มีการฝังชิพคอมพิวเตอร์ (Computer Chip) ไว้ภายในบัตร โดยที่ตัวชิพดังกล่าวนี้ ภายในบรรจุข้อมูลต่าง ๆ ไว้ในรูปแบบทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วยกรรมวิธีที่มีการรักษาความปลอดภัยอย่างดีเยี่ยม <br><br>สมาร์ทการ์ดสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบใหญ่ ๆ คือ <br><br>1. สมาร์ทการ์ดแบบมีการสัมผัส (Contact smart cards) ซึ่งการใช้งานจำเป็นต้องมีการสอดใส่เข้าไปในเครื่องอ่านสมาร์ทการ์ด (smart card reader) <br>2. สมาร์ทการ์ดแบบไม่มีการสัมผัส (Contactless smart cards) ซึ่งการใช้งานต้องการเพียงให้วางอยู่ใกล้ ๆ กับสายอากาศเท่านั้น <br><br>สมาร์ทการ์ดแบบมีการสัมผัสเป็นบัตรที่มีการผนึกชิพทองขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณครึ่งนิ้ว เอาไว้ที่ด้านหน้าบัตร แทนการใช้แถบแม่เหล็ก (Magnetic stripe) ที่เคยพบเห็นใช้กันมากที่สุดในบัตรเครดิตหรือบัตรเอทีเอ็ม เมื่อผู้ใช้สอดใส่บัตรเข้าไปในเครื่องอ่านบัตรสมาร์ทการ์ดแล้ว มันจะสัมผัสกับหัวต่อหรือคอนเน็กเตอร์ทางไฟฟ้า ซึ่งจะทำการส่งถ่ายข้อมูลเข้าและออกจากชิพ <br>สมาร์ทการ์ดแบบไม่มีการสัมผัส เป็นบัตรที่มองดูรูปร่างภายนอกแล้วคล้ายกับบัตรเครดิตพลาสติกแบบหนึ่ง ที่ภายในมีการผนึกชิพคอมพิวเตอร์และขดลวดสายอากาศไว้ภายใน ซึ่งใช้ในการติดต่อกับเครื่องรับ/เครื่องส่งที่อยู่ในระยะไกล (Remote receiver/transmitter) โดยทั่ว ๆ ไปเรามักใช้บัตรแบบนี้เมื่อต้องมีการดำเนินการทางด้านรายการ (Transactions) อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่นที่ใช้กับการจัดเก็บเงินค่าผ่านทางด่วน <br><br>นอกจากบัตรสมาร์ทการ์ดทั้งสองแบบดังกล่าวแล้ว ปัจจุบันยังมีการผลิตสมาร์ทการ์ดแบบผสมหรือที่เรียกว่า คอมบิการ์ด (Combi Card) ออกมาใช้งานอีกด้วย โดยบัตรแบบนี้เป็นบัตรใบเดียวแต่ทำหน้าที่เป็นทั้งสมาร์ทการ์ดแบบมีการสัมผัส และสมาร์ทการ์ดแบบไม่มีการสัมผัสเพื่อเพิ่มความสะดวกและประโยชน์ในการใช้งานมากขึ้น <br><br>สมาร์ทการ์ดมีข้อดีหลายประการที่ควรกล่าวถึง คือ <br>พิสูจน์แล้วว่ามีความไว้วางใจได้ดีกว่าบัตรที่ใช้แถบแม่เหล็ก <br>สามารถเก็บสะสมข้อมูลได้มากกว่าบัตรที่ใช้แถบแม่เหล็กเป็นร้อย ๆ เท่า <br>ลดโอกาสที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวและป้องกันการปลอมแปลงด้วยระบบป้องกันที่ซับซ้อน <br>สามารถเปลี่ยนมือและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ <br>ทำหน้าที่ต่าง ๆ ได้มากมาย <br>สามารถนำไปใช้ในงานต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง เช่น การขนส่ง ธนาคาร และการรักษาสุขภาพ เป็นต้น <br>สามารถประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาต่าง ๆ ได้ เช่น เครื่องโทรศัพท์และเครื่องคอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้ว <br>ทำงานด้วยเทคโนโลยีเซมิคอนดัคเตอร์ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว <br><br>บัตรพลาสติค (Plastic Card)<br><br>ขนาดของบัตรพลาสติคกำหนดโดยมาตรฐานระหว่างประเทศ คือ ISO 7810 โดยมาตรฐานนี้ยังได้กำหนดถึงคุณลักษณะทางกายภาพของพลาสติคที่นำมาใช้ทำบัตรด้วย เช่น ความคลาดเคลื่อนของอุณหภูมิ และความยืดหยุ่นตัวในการใช้งาน ตำแหน่งของหน้าสัมผัสทางไฟฟ้าและการทำงานของมัน ตลอดจนกำหนดว่าการติดต่อระหว่างวงจรร่วม (Integrated Circuit) หรือ IC กับโลกภายนอกเป็นอย่างไรอีกด้วย <br>มีพลาสติกอยู่หลายชนิดที่นำมาใช้ผลิตสมาร์ทการ์ด แต่ที่นิยมใช้กันมากคือ พีวีซี (PVC - Polyvinyl Chloride) และเอบีเอส (ABS - Acrylonitrile Butadiene Styrene) อย่างไรก็ดี การใช้พีวีซีมีข้อดีคือสามารถพิมพ์ลายนูนได้ แต่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ส่วนเอบีเอสไม่สามารถพิมพ์นูนได้แต่นำกลับมาใช้งานใหม่ได้ <br><br><br><br><br><br>เรดิโอ แท็ก คืออะไร<br><br>ก่อนที่จะกล่าวถึงว่า เรดิโอ แท็ก (Redio Tag) คืออะไรนั้น ขอกล่าวถึงเรื่องของระบบ RFIS (RadioFrequency Identification Systems) ก่อน <br>ระบบ RFIS เป็นระบบตรวจพิสูจน์ด้วยการใช้คลื่นวิทยุ (RF) ประกอบด้วยแท็กวิทยุ (Radio Tag) และเครื่องอ่าน/เครื่องเข้ารหัส (Readers/Encoders) เพื่อใช้ในการเชื่อมต่อระบบข่าวสารข้อมูลเข้าด้วยกัน ตัวแท็กวิทยุประกอบด้วยชิพและสายอากาศ ทั้งนี้สามารถผลิตมันในรูปใด ๆ ก็ได้ที่เหมาะสมกับการใช้งานที่ต้องการ และสามารถนำไปใช้งานรวมเข้ากับเรื่องหรือสิ่งที่ต้องการตรวจพิสูจน์ได้ง่าย <br><br><br><br><br>แท็ก (Tag) จะถูกกระตุ้นให้ทำงานด้วยสัญญาณวิทยุที่มีความถี่ตามที่ได้กำหนดไว้ และส่งสัญญาณชุดหนึ่งตอบกลับมาให้ทราบ เครื่องอ่าน (ซึ่งทำหน้าที่เป็นเครื่องรับ-ส่งวิทยุ) สามารถอ่านหรือเขียนข้อมูลลงบนชิพได้ <br>ดังนั้น read/write radio tag จึงเป็น client ที่เล็กที่สุดของ Client/server information system <br><br>เรดิโอ แท็ก มีประโยชน์อย่างไรบ้าง<br><br>แท็กช่วยทำให้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ สามารถทำการตรวจพิสูจน์ด้านต่าง ๆ ได้ดังนี้ <br>แท็กที่ประกอบอยู่ในระบบตรวจพิสูจน์ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการตรวจสอบความถูกต้องได้ในระยะไกล ดังนั้นจึงสามารถเขียน (บันทึก) หรืออ่านข้อมูลต่าง ๆ ได้โดยไม่จำเป็นต้องสัมผัสตัวบัตร <br>จากการที่ออกแบบผลิตภัณฑ์เสร็จสมบูรณ์ในตัว จึงสามารถนำแท็กไปใช้งานได้โดยไม่มีอะไรขัดขวางหรือทำให้อยู่ในรูปทรงสวยงาม แปลกตา น่าใช้ได้ตามต้องการ <br>สามารถอ่านแท็กได้แม้มองไม่เห็นตัวมัน ตัวอย่างเช่น อาจใส่ไว้ในภาชนะต่าง ๆ หรือแช่อยู่ในของเหลว <br>แท็กสามารถทนต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี ไม่ว่าจะเป็นสภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ความชื้น การสั่นสะเทือน การกระแทกกระทั้นอย่างรุนแรง หรือมีฝุ่นละออง <br>สามารถโปรแกรมได้หลาย ๆ ครั้ง (มากกว่า 100,000 ครั้ง) <br>สามารถอ่านได้ในระยะไกลตั้งแต่ 30 เซนติเมตรหรือมากกว่านั้น <br>มีหน่วยความจำที่สามารถบันทึกข้อมูลเป็นจำนวนมากได้ตั้งแต่ 64 บิต จนถึง 2 กิโลบิต <br>ป้องกันการเข้าถึงข้อมูลภายใน โดยการป้องกันด้วยรหัสพิเศษ <br><br>ทางด้านผู้ผลิตนั้น แท็กจะมีบทบาทในการช่วยให้ผลิตภัณฑ์ของคุณสู่ยุคการแข่งขันได้อย่างมั่นใจดังนี้ <br>ทำให้มันง่ายต่อการผลิตโดยอัตโนมัติ <br>ปรับปรุงวิธีการตรวจจับวัตถุ (object tracking) ให้ดีขึ้น <br>กำหนดตำแหน่งของวัตถุที่ตรวจจับได้ในเวลาที่เป็นจริง <br>ทำให้สามารถแนะนำบริการใหม่ ๆ แก่ลูกค้าได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการรับประกันว่า ข้อมูลที่อยู่ในแท็กจะมีความเที่ยงตรง <br>ป้องกันการปลอมแปลงผลิตภัณฑ์ ปกป้องยี่ห้อและโนว์-ฮาว (Know-how) <br>ส่งเสริมบริการหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ให้กับองค์กรได้อย่างกว้างขวาง <br>แสดงถึงความเป็นผู้นำในวงการอุตสาหกรรม <br><br><br><br><br><br>กลไกในการควบคุมการเข้าถึงและรักษาความปลอดภัย<br><br>บัตรพลาสติกสามารถระบุหรือบ่งบอกเอกลักษณ์เฉพาะตัวได้ เช่น มีชื่อผู้ถือบัตรและรูปถ่าย ส่วนในสมาร์ทการ์ดมีกลไกในการรักษาความปลอดภัยแบบต่าง ๆ หลายแบบ โดยหากเป็นบัตรที่ใช้เก็บข้อมูลอย่างเดียว (memory-only card) แล้วจะมีความซับซ้อนน้อยกว่าที่ใช้กับบัตรไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor card) <br>การเข้าถึงข้อมูลที่บรรจุภายในสมาร์ทการ์ดนั้น ควบคุมได้ 2 แนวทางคือ <br>ใครบ้างที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ (ทุก ๆ คน ผู้ถือบัตร หรือบุคคลที่สามที่ระบุไว้เท่านั้น) <br>สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างไร (อ่านอย่างเดียว เพิ่มข้อมูลได้ ปรับปรุงข้อมูลได้ หรือลบข้อมูลได้) <br><br>ใครบ้างที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้<br>ทุก ๆ คน บัตรสมาร์ทการ์ดบางแบบไม่จำเป็นต้องใช้รหัสผ่าน (Password) ใครก็ตามที่ถือบัตรดังกล่าวสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ เช่น บัตรคนไข้ (Medi Card) ที่มีชื่อคนไข้และกลุ่มเลือด ซึ่งสามารถอ่านได้โดยไม่ต้องใช้รหัสผ่าน <br>เฉพาะผู้ถือบัตร รูปแบบของรหัสผ่านส่วนมากที่ผู้ถือบัตรมีไว้ เรียกว่า พิน หรือ PIN (Personal Identification Number) ซึ่งเป็นเลข 4 หรือ 5 หลัก โดยพิมพ์อยู่บนคีย์แพ็ด (key bad) เพราะฉะนั้นหากมีบุคคลใดที่ไม่ได้รับอนุญาตพยายามใช้บัตร มันจะมีการล็อคภายหลังจากที่พยายามกดหรือใส่รหัสพินไม่สำเร็จ 3 ครั้ง ทั้งนี้ปัจจุบันรหัสผ่านมีการพัฒนารูปแบบที่ทันสมัยมากขึ้น <br>เฉพาะบุคคลที่สาม สมาร์ทการ์ดบางแบบอนุญาตให้เฉพาะบุคคลที่ระบุไว้เท่านั้นที่ใช้มันได้ เช่น บัตรเบิกเงินสด หรือ Electronic purse ที่ธนาคารเจ้าของบัตรเท่านั้นสามารถทำการโหลดข้อมูลใหม่ได้ <br><br>สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างไร<br><br>ข้อมูลที่อยู่บนสมาร์ทการ์ดนั้นสามารถแบ่งออกได้หลาย ๆ ส่วนดังนี้ <br>ข้อมูลที่อ่านได้เพียงอย่างเดียว <br>ข้อมูลที่เพิ่มได้อย่างเดียว <br>ข้อมูลที่ปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงได้อย่างเดียว <br>ข้อมูลที่ไม่สามารถเข้าไปทำอะไรได้เลย <br><br>กรณีที่รหัสผ่านไม่เพียงพอ<br><br>โดยปกติสมาร์ทการ์ดสามารถจำกัดการใช้ข้อมูลกับบุคคลที่ได้รับอนุญาต 1 คน ด้วยรหัสผ่าน 1 ชุด อย่างไรก็ดี หากมีการส่งข้อมูลด้วยวิทยุหรือโทรศัพท์แล้ว จำเป็นต้องมีการป้องกันเพิ่มเติม โดยรูปแบบหนึ่งของการป้องกันคือ การแปลงรหัส (Ciphering) ซึ่งเป็นเสมือนการแปลงข้อมูลให้เป็นภาษาที่ไม่รู้เรื่อง บัตรบางแบบสามารถทำได้ทั้งการแปลงรหัสและการถอดรหัส (Deciphering) ซึ่งเป็นการแปลงกลับมาให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น ดังนั้นจึงสามารถส่งข้อมูลออกไปได้โดยไม่ต้องห่วงเรื่องความลับจะถูกเปิดเผย <br>สมาร์ทการ์ดบางแบบสามารถแปลงรหัสเป็นภาษาต่าง ๆ ได้เป็นล้าน ๆ ภาษา และเลือกภาษาที่แตกต่างกันนั้นมาใช้ 1 ภาษาด้วย วิธีการสุ่มเลือกทุก ๆ ครั้งที่มีการติดต่อกัน <br><br>สมาร์ทการ์ดกับอินเทอร์เน็ต<br><br>เรื่องของอินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากแทบทุกวงการ และมีการพัฒนาตลอดเวลา เช่นการนำไปใช้สนับสนุนทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ คอมเมอร์ซ (Electronic Commerce) โดยได้รับการออกแบบมาให้สามารถทำการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสารด้านบริการและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ แต่ก็มีปัญหาว่าหากบรรดาผู้ซื้อของผ่านทางอินเทอร์เน็ตเห็นผลิตภัณฑ์แล้วต้องการซื้อมันจริง ๆ แล้วจะเป็นอย่างไร <br><br>สมาร์ทการ์ดช่วยสนับสนุนในเรื่องการจับจ่ายผ่านอินเทอร์เน็ตได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายด้วยเงินสดหรือเครดิต อย่างไรก็ดี ผู้ซื้อของผ่านอินเทอร์เน็ตจำเป็นต้องต่อบัตรที่ใช้ในการซื้อหรือชำระค่าบริการเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ของเขา และส่งข้อมูลผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าไปยังอินเทอร์เน็ต <br><br>เครื่องอ่านบัตรสมาร์ทการ์ดเป็นอุปกรณ์ที่มีราคาไม่แพง ใช้กำลังต่ำ ซึ่งสามารถต่อเพิ่มเติมเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ได้ และในอนาคตมีแนวโน้มว่าค่าใช้จ่ายในการเพิ่มอุปกรณ์ดังกล่าวเข้ากับตัวเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเพอริเฟอรัล (Peripherals) จะต่ำลง <br><br>ในปี 2539 ได้มีการแนะนำเครื่องอ่านบัตรสมาร์ทการ์ดพร้อมโมเด็มรวมอยู่ในตัวต่อสาธารณชน ซึ่งเป็นไปได้มากที่เราคงจะได้เห็นว่า บางทีเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคแรกที่ออกจำหน่ายมีความสามารถอ่านสมาร์ทการ์ดได้เป็นเครื่องมาตรฐาน <br><br><br><br><br><br>ในเดือนพฤษภาคม 2539 บริษัทชั้นนำ 5 แห่ง ในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ (ได้แก่ ไอบีเอ็ม แอปเปิ้ล ออราเคิล ซัน และเน็ตสเคป) ได้เปิดตัวมาตรฐานอันหนึ่งสำหรับคอมพิวเตอร์รูปแบบใหม่ที่เรียกว่า เน็ตเวอร์กคอมพิวเตอร์ (Network Computer) ซึ่งมันได้รับการออกแบบมาให้สามารถทำการอินเทอร์เฟส โดยตรงกับอินเทอร์เน็ตและมีความสามารถใช้สมาร์ทการ์ดได้ด้วย นอกจากนี้ในปี 2539 พันธมิตรซึ่งประกอบด้วย ฮิวเล็ตต์แพคการ์ด อินฟอมิคซ์ และเจ็มพลัส ได้เปิดตัวในการพัฒนาและส่งเสริมการใช้สมาร์ทการ์ดในการจ่ายเงินและรักษาความปลอดภัยบนเครือข่ายที่เป็นแบบเปิดทั้งหมดด้วย <br><br>นอกจากการใช้สมาร์ทการ์ดในการจ่ายเงินหรือชำระค่าบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ตแล้ว ยังมีช่องทางอื่น ๆ ที่สามารถทำได้อีก เช่น <br>การนำพาแอดเดรสที่ชื่นชอบของคุณจากเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ไปยังเน็ตเวอร์กคอมพิวเตอร์ของเพื่อนของคุณ <br>สามารถดาวน์โหลดตั๋วโดยสารเครื่องบินและบัตรผ่านขึ้นเครื่องของตัวคุณได้เอง <br><br>สิ่งที่สำคัญเกี่ยวกับสมาร์ทการ์ด คือว่ามันเป็นสิ่งที่อยู่กับเราทุกวัน ซึ่งผู้คนสามารถพกพา ใส่ไว้ในกระเป๋า โดยมันยังคงเก็บรักษาข้อมูลและป้องกันข้อมูลที่เก็บไว้ในรูปแบบทางอิเล็กทรอนิกส์ <br><br>หากพูดถึงความสมาร์ทของสมาร์ทการ์ดแล้ว คงมาจากแผงวงจรรวม (IC) ที่ฝังอยู่ในบัตรพลาสติก ซึ่งเราสามารถที่จะทำให้มันมีการทำงานทางอิเล็กทรอนิกส์ในลักษณะเดียวกันนี้ ด้วยการฝังวงจรรวม (IC) ที่คล้ายคลังกันนี้ในวัตถุอื่น ๆ ที่ใช้งานกันอยู่ทุกวัน เช่น กุญแจรหัส นาฬิกา แว่นตา แหวน หรือต่างหู นอกจากนี้ยังมีการนำ Smart keys ไปใช้กับการเป็นสมาชิกของ เปย์-ทีวี (pay-TV) แล้วด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีของบัตรที่ไม่ต้องมีการสัมผัสก็คือ สิ่งที่เรียกว่า แท็ก (Tags) โดยแท็กทำหน้าที่เป็นเสมือนสมาร์การ์ดที่ไม่มีการสัมผัส แต่อยู่ในรูปของเหรียญ แหวน หรือแม้แต่ป้ายติดกระเป๋า แทนที่จะอยู่ในรูปบัตร โดยทั่ว ๆ ไปมีการนำมันไปติดยึดไว้กับวัตถุ หรือ***ต่าง ๆ เช่น รถยนต์ หรือสุนัข ซึ่งทำให้สามารถควบคุมหรือป้องกันข้อมูลโดยไม่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับวัตถุนั้น ๆ ทำให้สามารถควบคุม ดูแล หรือจัดการกับสิ่งต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับข้อมูลในลักษณะ manual data handling ด้วยระบบจัดการข้อมูล <br><br>นอกจากนี้อีกไม่นานก็จะมีการใช้ไบโอเมทตริค (Biometric) ที่ช่วยให้การตรวจสอบความถูกต้องของบุคคลได้จากมือ ลายนิ้วมือ เยื่อภายในลูกตา หรือเสียงพูด และต่อไปในไม่ช้านี้อาจมีทางเป็นไปได้ที่จะตรวจรับรองการใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในสมาร์ทการ์ดได้ โดยใช้คำพูดหรือมือสัมผัส <br><br>สมาร์ทการ์ดเป็นเทคโนโลยีที่ค่อนข้างใหม่ที่กำลังเข้าไปมีบทบาทต่อวิถีชีวิตของผู้คนนับล้าน ทั้งนี้มันเป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น และจะมีบทบาทอย่างมากกับการใช้งานด้านต่าง ๆ เช่น การจับจ่ายซื้อของ พบแพทย์ ใช้โทรศัพท์ และสรรหาความสุข ความบันเทิง ตลอดจนการพักผ่อนหย่อนใจ <br><br>ในสังคมยุคใหม่เป็นยุคที่ต้องการข้อมูลข่าวสารจำนวนมากมายมหาศาล คอมพิวเตอร์ช่วยให้เราสามารถจัดการกับข่าวสารเหล่านี้ได้ สมาร์ทการ์ดจะช่วยให้เรามีหนทางใหม่ในการจัดการและควบคุมข่าวสารดังกล่าวได้ด้วยตนเอง <br><br>การใช้เทคโนโลยีของสมาร์ทการ์ดทำให้เกิดประโยชน์ต่อตัวเองได้ และยังเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีอีกด้วย <br><br><br>--------------------------------------------------------------------------------<br>เขียนโดย : พันธ์ศักดิ์ ศรีทรัพย์<br>วารสาร ไมโครคอมพิวเตอร์ ฉบับเดือนธันวาคม 2540<br>Last update : 16/07/1999<br>
ความคิดเห็นที่ 3
อยากรู้เพิ่มครับ
15/08/2546
03:08 น.
อัลกอริทึมการเข้ารหัสใช้อะไรครับ ทำอย่างไรครับ ขอบคุณครับ
ความคิดเห็นที่ 4
ขอแนะนำ
23/08/2546
07:22 น.
เชิญที <a href="http:/geocities.com/aon_micro" Target="_BLANK">http:/geocities.com/aon_micro</a> ครับ<br>ตอบคุณได้ทุกอย่างเกี่ยวกับสมาร์ทการ์ด
ความคิดเห็นที่ 5
เอส
24/09/2546
03:42 น.
การพัฒสมาร์ทการ์ด
ความคิดเห็นทั้งหมด 5 รายการ |
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง: