Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,002
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,593
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,999
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,803
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,473
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,567
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,521
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,833
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,367
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,460
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,375
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,522
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,606
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,149
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,539
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,565
17 Industrial Provision co., ltd 39,237
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,388
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,306
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,633
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,460
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,864
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,228
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,970
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,596
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,525
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,961
28 AVERA CO., LTD. 22,595
29 เลิศบุศย์ 21,697
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,397
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,259
32 แมชชีนเทค 19,903
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,879
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,195
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,150
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,808
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,611
38 SAMWHA THAILAND 18,305
39 วอยก้า จำกัด 17,912
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,488
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,343
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,312
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,252
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,227
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,144
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,080
47 Systems integrator 16,721
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,641
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,467
50 Advanced Technology Equipment 16,455
23/09/2547 22:30 น. , อ่าน 6,364 ครั้ง
Bookmark and Share
Magnatric ชุดMain เกิดการอาร์กอย่างรุนแรง
อัมรินทร์@ee.
23/09/2547
22:30 น.
Magnatric ชุดนี้เป็นชุด Mainซึ่งต่อแบบ Stra /Delta ใช้กับแรงดันไฟฟ้า 380 V ลักษณะงานที่นำไปใช้ ใช้กับ เครื่องสูบน้ำเย็นให้กับ Chiller ซึ่งได้มีการเก็บข้อมูลดังนี้ แรงดันไฟฟ้าขณะเกิดก่อนการเสียหาย 375 V กระแสขณะทำงานก่อนการเสียหาย 60,62,65<br>A เรียงตามลำดับเฟส R,S,Tซึ่งกระแสนี้มีค่าใกล้เคียงFLAที่65 A ซึ่งในวันนั้นไม่มีกระแสไฟฟ้าตกหรือแรงดันเกินแต่อย่างไร ต่อมาเก็บข้อมูลทางกล ได้หมุนเพลามอเตอร์ก็หมุนได้ตามปรกติ เมื่อเทียบกับมอเตอร์ขนาดเดียวกันออกแรงในการใช้หมุนไม่ต่างกันมาก ต่อมาได้วัดค่าความเป็นฉนวนของมอเตอร์และสายpower แรงดันไฟฟ้ากระแสตรง 500Vdc ได้ค่า 100,80,95เมกกะโอห์ม ซึ่งก็ผ่านเกณมาตรฐาน ตอนนี้พบยังไม่พบคำตอบเลย เนื่องจากผลของการเมกปรกติ ในทางกลับกันตัวเพลามอเตอร์ก็ไม่ฝืดจนมอเตอร์ไมสามารถออกตัวได้ ซึ่งพบก็คิดอยู่2ส่วนคือ<br> 1. พิจราณาทางด้านระบบไฟฟ้า<br>1.1 แรงดันไฟฟ้าต่ำหรือสูงกว่าพิกัดก็ตัดอกไปได้เลย<br>1.2 การตั้งค่า Over load ก็ออกแบบมาถูกต้อง<br>1.3 เกิดจากสาย Power หลวมหรือไม่แน่นก็ตัดออกไปได้เนื่องจากผมเป็นคนวิเคราะห์สาเหตุเอง<br>1.4 โหลดสูงเกินพิกัดชั่วขณะจากการเก็บข้อมูลย้อนหลังโหลดกราฟอยู่ในช่วงที่เกินFlow ออกแบบ<br>1.5 หน้าสัมผัสสรกปรกหรือไม่เรียบ อันนี้ที่ผมคิดอยู่ แต่ก็ยังมีข้อแย้งอยู่ ตรงที่ว่า ทำไม่ถึงไม่มีอาการฟ้องมาก่อนเช่นกระแสสูงทั้ง 3 เฟส หรือเฟสใดเฟสหนึ่ง อันเนื่องมาจากค่า คตท. ในระบบกำลังสูงขึ้น จากสมการ I=V/(R+j(S*XL))<br>1.6 การทำงานวงจรControl ผิดปรกติ จากการทดสอบการทำงานของมันก็ปรกติ<br>1.7 สภาพภายในของหน้าสัมผัสชุดMain อาร์กติดทั้ง3ชุด (ไม่ได้อาร์กข้ามเฟสนะครับ)<br>2.พิจารณาทางกล<br>2.1พิจารณาทางด้านโหลดที่ได้กล่าวมาแล้วยังหมุดเพลาได้<br>2.2 แบริ่งเกิดความฝืดก็เป็นไปไม่ได้เนื่องจากหมุนเพลาได้ แต่ข้อนี้ผมยังคิดอยู่อีกทาง คือมันอาจเกิดความฝืดตอนหมุนด้วยความเร็วทำงาน 1440 RPM ก็ได้ทำให้เกิด LRA <br>2.3 เรื่องความสั่นสะเทือนส่งผลให้เกิด LRA ก็ได้<br>ขอคำตอบจากผู้มีประสบการณ์ด้วยครับ
ความคิดเห็นทั้งหมด 9 รายการ |
ความคิดเห็นที่ 1
ช่างซ่อมมอเตอร์
24/09/2547
15:51 น.
ขอข้อมูลเพิ่มเติมครับ<br>1. มอเตอร์ขณะนี้ยังใช้งานอยู่หรือเปล่าเพราะการบอกค่าค่า เมกเกอร์มาอย่างเดียวไม่ได้หมายความว่ามอเตอร์จะยังใช้ได้<br>2. ทราบได้อย่างไรว่าคอนแทคเมนเกิดการอาร์ค มีเหตุการ์ณอื่นเกิดขึ้นก่อนหรือเปล่าเช่น โอเวอร์โหลดทริป หรืออื่น ที่ทำให้เราทราบว่าเกิดสิ่งผิดปรกติเกิดขึ้น
ความคิดเห็นที่ 2
อัมรินทร์@ee.
24/09/2547
20:30 น.
ขอบคุณครับท่านช่างซ่อมมอเตอร์ ข้อมูลเพื่มเติมนะครับ<br>1.ผมได้วัดคตท.ขดลวดมอเตอร์ด้วยโอห์มมิเตอร์ โดยกำหนดตัวแปรในการวัดคือ อุณหภูมิแวดล้อมขณะทำการวัดได้ 28C ,ความชื้น 60 % อุณหภูมิที่ตัวมอเตอร์เท่ากับอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมคือ 28C<br>และได้ค่าคตท เท่ากับมอเตอร์ที่ทำงานปรกติในภาวะแวดล้อมเดียวกัน ซึ่งแสดงว่าสภาพภายในของมอเตอร์ปรกติ ปัจจุบันมอเตอร์ยังหยุดทำงานอยู่ รอสรุปผลการตรวจเช็ค<br>2. การโอเวอร์โหลดซึ่งได้สอบถามทางช่างผู้ปฎิบัติงานทราบว่ามอเตอร์มีการสตาร์ หลายครั้ง และมีการโอเวอร์โหลดทริป 1 ครั้ง <br>ดังนั้นผมจึงสรุปว่า มอเตอร์ทำงานที่ LRA สูงเป็นเวลาติดต่อกันหลายครั้ง ทำให้ หน้าสัมผัสเมน เกิดการอาร์กทั้ง 3 เฟส (หน้าสัมผัสมีรอยอาร์กปริมาณใกล้เคียงกัน)และทนไม่สามารถทนกรกระแสต่อเนื่องสูงสุดที่หน้าสัมผัสออกแบบมาให้ทนได้ คำถามก็มีต่อไปว่าทำไม่โอเวอร์โหลดทริปจึงไมสามารถป้องกันได้ แต่ครั้งแรกมันทริป นั้นแสดงว่าชุดโอเวอร์โหลดทำงานไม่เสถียรภาพ(เสีย) ต่อมาวิเคระห์ต่อไปอีก ความร้อนที่เกิดจากกระแส LRA อาจจะทำให้วานิชที่หุ้มฉนวนเกิดการเสื่อมสภาพกรอบจนในที่สุดอาจทำให้ขดลวดเกิดการ Shot trun ได้ แต่ตรงนี้ผมได้วัด คตท+ค่าเมก เทียบกับมอเตอร์ขนาดเดียวกันที่ทำงานปรกติ มีค่าต่าง ๆ กันเคียงกันมาก <br> ดังนั้นผมจึงสรุปผลการวิเคราะห์ดังนี้<br>1. สภาพของมอเตอร์ยังสามารถทำงานได้ปรกติ(อาจมีความเสี่ยงเรื่องฉนวนเสื่อมอยู่บ้าง)<br>2. สาเหตุที่ทำให้คอนแทคเมนเกิดการอาร์ค<br>2.1 เกิดจากการสตาร์ทติดต่อกันในขณะที่อุณหภูมิในตัวมอเตอร์ยังสูงอยู่จนในที่สุดเกิดการอาร์กที่คอนแทคเมน ซึ่งโดยปรกติแล้วไม่ควรสตาทติดต่อกัน 3 ครั้งในเวลา 1 นาที่ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นกับโหลดที่ต่อกับเพลามอเตอร์ ว่ามีความเฉื่อยเพียงใด<br> ทั้งหมดที่กล่าวมาถ้าผมผิดตรงในหรือมีข้อเสนอแนะหรือมีข้อมูลเพื่มเติม ก็ขอให้ช่วยตอบด้วยครับ หลายๆ ท่านยิ่งดี<br>
ความคิดเห็นที่ 3
ช่างซ่อมมอเตอร์
24/09/2547
21:50 น.
ลองมาฟังความคิดเห็นของผมบ้าง<br>1. การที่มอเตอร์มีการสตาร์ทบ่อยครั้งในเวลาอันสั้นสิ่งที่น่ากลัวมากที่สุดน่าจะเป็นความร้อนที่สะสมเพิ่มมากขึ้นของการสตาร์ทในแต่ละครั้งและนี่เองที่อาจจะทำให้มอเตอร์เกิดความเสียหาย( ไหม้ )<br>2. การที่หน้าคอนแทคโดยเฉพาะตัวเมน เสียหายเท่าๆกันทุกเฟส ทำให้ผมอดคิดไม่ได้ว่า เหมือนการที่เกิด Permanant fault ที่ด้านล่างของคอนแทคเตอร์ นั่นก็หมายความว่า<br> 2.1 มอเตอร์ไหม้และเกิดการชอร์ตติดกันไปแล้ว แต่จากข้อมูลที่แจ้งผลทดสอบมอเตอร์เพิ่มเติมก็อาจจะมีแนวโน้มว่ามอเตอร์อาจจะไม่เสียหาย แต่ ก็อย่าพึ่งไว้ใจได้มากนักเพราะจากวิธีการทดสอบที่กล่าวมาสามารถรับประกันได้ว่ามอเตอร์ใช้ได้ประมาณ 60 เปอร์เซนต์ บ่อยครั้งที่มอเตอร์ไหม้และส่งมาซ่อมสามรถ Test run แบบ ตัวเปล่าได้เนื่องจากผมใช้วิธีสตาร์ทแบบ ค่อยๆปรับแรงดันจ่ายเข้าที่มอเตอร์ ฉะนั้นถ้าเป็นไปได้ควรที่จะทดสอบเพิ่มดังนี้<br> 2.1.1 ติดต่อบริษัทซ่อมมอเตอร์ที่มี Surge Test มาทำการทดสอบ จะสามารถตรวจสอบการชอร์ตรอบของขดลวดได้ 100 เปอร์เซนต์<br> 2.1.2 ถ้าต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายอาจจะใช้วิธีนี้ คือ หา Variac Single Phase ที่สามารถปรับโวลท์ได้ต่ำมาจ่ายเข้าที่แต่ละเฟสของขดลวดมอเตอร์ ขดลวดจะปกติถ้ากระแสที่อ่านได้เกือบเท่ากันทุกเฟสเมื่อมีการปรับโวลท์เตสที่จ่ายให้กับขดลวดเท่ากัน<br>2.2 ลองตรวจสอบดูจังหวะของการเปลี่ยนจากสตาร์เป็นเดลตาร์ว่ามีการหน่วงเวลาบ้างหรือเปล่า เพราะอาจะมีโอกาสทำให้เกิดการแมคเนติดสองตัวทำงานพร้อมกันได้<br>3. เนื่องจากเป็นการสตาร์ทแบบสตาร์เดลตาร์กระแสขณะสตาร์ทก็ไม่สูงมากนัก ฉะนั้นกระแสสตาร์ทไม่น่าจะทำให้เกิดความเสียหายที่น่าคอนแทคเมน <br>4. LRA ย่อมาจาก Lock Rotor Amp ตามความเข้าใจควรจะใช้เรียกกระแสที่เกิดจากการที่มอเตอร์หมุนไปแล้ว และมีเหตุต้องให้มอเตอร์หยุดหมุน ถ้าเข้าใจผิดกรุณาอธิบายให้ผมทราบด้วย<br><br> ถ้าหาสาเหตุเจอแล้วเขียนมาให้ทราบด้วยเป็นกรณีที่น่าศึกษาจริงๆและควรที่นำกระทู้นี้เป็นตัวอย่างในการตั้งกระทู้ เพราะที่ผ่านมาใครอยากรู้อะไรที่เป็นหลักการพื้นฐานมากเกินไปก็ไม่ควรจะนำขึ้นมาตั้งกระทู้เพราะสามารถหาอ่านได้จากหนังสือไฟฟ้าทั่วไป และถึงแม้จะมีผู้ที่พยายามจะตอบอย่างไร ถ้าผู้ตั้งไม่มีพื้นฐานมาก่อนผมมั่นใจเลยว่า ยังไงก็ไม่เข้าใจอยู่ดี<br> ผมมักจะเข้าไปอ่าน Web board ของต่างประเทศบ่อยๆที่เกี่ยวกับมอเตอร์ เขาจะกำหนดไว้เลยว่า จะไม่ให้ Lazy Student ขึ้นมาตั้งกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ผ่านมา
26/09/2547
08:43 น.
จากข้อมูลทั้งหมดผมว่ามอเตอร์ไม่มีปัญหา แต่ที่อยากให้ดูก็คือพิกัดของ Magnetic contactor ว่าใช้ขนาดเหมาะสมหรือเปล่า เพราะจากข้อมูลหน้าคอนแทคอาร์คติดกันทั้งสามชุด เป็นไปได้สูงว่าพิกัดของ Magnetic contactor ต่ำไป อาจจะต้องเปลี่ยนขนาดให้สูงขึ้น ถ้าคุณใช้ของ Tele.. ให้เลือกพิกัด Coordiation 2 ซึ่งจะเหมาะกับงาน Heavy duty และอีกอย่างที่สังเกตุคือหลังจากที่สตาร์ทแล้วใช้เวลานานเท่าไหร่ถึงมีการอาร์ค เวลาใกล้เคียงกับครั้งที่ผ่านมาหรือเปล่า <br> ในขณะที่เดินเครื่องให้เช็คอุณหภูมิของ Magnetic contactor ด้วยว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นหรือเปล่า ถ้ามีแนวโน้มสูงขึ้นเป็นไปได้ว่าพิกัดของ Magnetic contactor ต่ำไป และที่พิจารณาอีกหย่างก็คือ โหลดมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมหรือไม่<br>
ความคิดเห็นที่ 5
corner
12/10/2547
01:31 น.
ผมพิมพ์ได้ไม่ค่อยเร็วขอตอบสั้นนะครับ<br>ผมพอมีประสบการณ์ตอนทำงานอยู่กับMisubishi<br>-การติดตั้งcontactor<br>-แรงแม่เหล็กที่coil<br>-ค่า IC. (KA.)ของหน้าสัมผัสต่ำไป(ไม่ใช่ค่ากระแส)<br>รบกวนท่านช่างซ่อมมอเตอร์ช่วยติดต่อcornerด้วยครับ
ความคิดเห็นที่ 6
X-MEN
16/10/2547
20:46 น.
Agree with no#5<br>Please check IC (K.A.)of the contactor and starting current of motor about 5-7 times of rated<br>
ความคิดเห็นที่ 7
ช่างซ่อมมอเตอร์
18/10/2547
11:43 น.
คุณ อัมรินทร์ครับตอนนี้ Status เป็นอย่างไรบ้างครับ พบอะไรเพิ่มเติมบ้างครับ ช่วยบอกหน่อยก็จะดี
ความคิดเห็นที่ 8
1
25/11/2548
10:59 น.
ใครรู้บ้าง Permanant คือ
ความคิดเห็นที่ 9
ช่างซ่อมมอเตอร์
06/03/2552
14:48 น.
สวัดดีครับ ผมยากทราบว่าเมกเนตริกชนิดที่มีtimerในตัวปัจจุบัน ยังมีใช้อยู่หรือปล่าว ยี่ห้ออะไรครับ
ความคิดเห็นทั้งหมด 9 รายการ |
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง: