Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,972
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,569
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,981
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,756
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,455
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,539
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,501
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,813
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,335
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,440
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,353
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,501
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,572
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,124
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,498
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,548
17 Industrial Provision co., ltd 39,214
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,367
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,290
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,614
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,430
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,846
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,213
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,952
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,576
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,509
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,938
28 AVERA CO., LTD. 22,581
29 เลิศบุศย์ 21,679
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,373
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,240
32 แมชชีนเทค 19,886
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,862
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,179
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,128
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,795
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,597
38 SAMWHA THAILAND 18,285
39 วอยก้า จำกัด 17,887
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,464
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,319
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,291
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,232
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,197
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,126
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,057
47 Systems integrator 16,703
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,623
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,449
50 Advanced Technology Equipment 16,434
23/10/2557 08:50 น. , อ่าน 10,278 ครั้ง
Bookmark and Share
กระแสไฟฟ้า AC กับ DC แบบไหนอัตรายกว่ากัน
TS.EE
23/10/2557
08:50 น.
อยากได้คำตอบแบบเชิงวิชาการและมีแหล่งอ้างอิงหน่อยครับว่า
ระหว่างกระแส AC กับ DC แบบไหนเมื่อโดนแล้วอัตรายมากว่ากันครับ
ความคิดเห็นทั้งหมด 7 รายการ |
ความคิดเห็นที่ 1
พี่เสือ
28/10/2557
08:30 น.
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของกระแสไฟฟ้า AC & DC ดังนี้


AC (Alternating current) กระแสไฟฟ้าจะเปลี่ยนแปลงตามเวลาเป็นแบบ sine wave ... จากบวก-ลบ-บวก และมีการผ่านสุด 0 ซึ่งเรียกว่า Zero Crossing ซึ่งเป็นช่วงที่ค่าของกระแสและแรงดันเป็น 0

DC (Direct current) กระแสไฟฟ้าจะเคลื่อนที่ทิศทางเดียวและมีค่าคงที่



ความคิดเห็นที่ 2
พี่เสือ
28/10/2557
08:55 น.
กระแสไฟฟ้าทั้งสองมีทั้งข้อดีและข้อเสีย

กระแสไฟฟ้า AC จะเปลี่ยนแปลงตามลูกคลื่นชายน์ ( Sine wave) และมีช่วงเวลาที่มีค่าเป็นศูนย์ (0) ซึ่งถือว่าเป็นข้อดีหรือข้อได้เปรียบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการนำไปประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีที่ใช้กำลังไฟฟ้าสูงๆ เช่น เซอร์กิตเบรกเกอร์(circuit breaker) หรือ สวิทช์เกียร์ (switchgear) หรืออุปกรณ์ตัดต่อวงจรไฟฟ้ากำลังต่างๆ ซึ่งก็จะช่วยให้เกิดการอาร์คที่หน้าสัมผัสของอุปกรณ์ลดลง ซึ่งช่วยทำให้เกิดการปลอดภัยมากขึ้นและช่วยลดขนาดของอุปกรณ์ลงได้

แต่อย่างไรก็ตาม AC ก็มีข้อเสียโดยเฉพาะเรื่องการสูญเสียกำลังไฟฟ้าในอุปกรณ์ไฟฟ้าและในระบบส่งกำลังไฟฟ้า (power transmission line ) ซึ่งคงต้องติดตามตอนต่อไป
ความคิดเห็นที่ 3
พี่เสือ
28/10/2557
09:02 น.
กระแสไฟฟ้าที่มีผลต่อร่างกายมนุษย์



ตามปกติแล้วไฟฟ้าจะไหลไปตามเส้นลวดที่เป็นตัวนำไฟฟ้าแล้วจะไหลติดต่อกันไปจนครบวงจร และถ้าหากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายไปแตะหรือสัมผัสเข้ากับวงจรไฟฟ้าทำให้ไฟฟ้าไหลผ่านได้้และร่างกายเราก็จะเป็นส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้า ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายหรือบาดเจ็บถึงชีวิตได้้ ซึ่งกระแสไฟฟ้าเพียงแค่ 10 mA หรือแรงดันไฟฟ้า 25 V ก็อาจทำให้เป็นอันตรายต่อชีวิต ค่าความต้านทานของร่างกายมนุษย์จะมีค่าประมาณ 10,000 โอห์ม ถึง 50,000 โอห์ม

ความคิดเห็นที่ 4
พี่เสือ
28/10/2557
13:12 น.
สำหรับผลกระทบที่มีต่อร่างกาย สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากลิงค์นี้ พร้อมแหล่งอ้างอิงที่อยู่ด้านล่าง


http://www.brighthubengineering.com/power-plants/89792-ac-and-dc-shock-comparison/




ซึ่งก็สามารถเรียบเรียงเป็นภาษาไทยได้ดังนี้


ปัจจัยพี้นฐานที่เป็นตัวกำหนดอันตรายจากกระแสไฟฟ้าที่มีต่อร่างกายมนุษย์มี 3 อย่าง คือ ขนาดของกระแส (amplitude of the current) ช่วงเวลาที่กระแสผ่านร่างกาย (the duration of the current passing through the body) และความถี่ (frequency )

DC จะมีระดับแรงดันคงที่และไม่มีความถี่ แต่อย่างไรก็ตามทั้งสองไม่ว่าจะเป็น AC หรือ DC ก็อันตรายต่อร่างกายเหมือนกัน

แต่ปัจจัยที่มีผลอย่างมากคือเส้นทางของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกาย หากกระแสไหลผ่านจากมือสู่เท้าและไม่มีการไหลผ่านหัวใจ ก็จะไม่ส่งผลร้ายแรงถึงขึ้นรุนแรงหรือเสียชีวิต

กระแสไฟฟ้า DC จะทำให้การหดของกล้ามเนื้อต่อเนี่ยงในทิศทางเดียวเมื่อเทียบกับกระแส AC ซึ่งจะทำให้การหดตัวของกล้ามเนื้อขึ้นอยู่กับความถี่ แต่อย่างไรก็ตามหากพิจารณาถึงระดับกระแสที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตแล้วละก็ DC จะใช้ปริมาณกระแสสูงกว่า AC หากเปรียบเที่ยบที่ระดับแรงดันเท่ากัน


แต่ถ้าเส้นทางของกระแสไหลมือด้านหนึ่งไปยังมืออีกด้านหนึ่ง (ซึ่งมี่การไหลของกระแสไฟฟ้าผ่านกล้ามเนื้อหัวใจ) ก็จะมีผลต่อเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อหัวใจ(fibrillation)ที่ทำหน้าที่เสมือนเป็นปั๊มสูบฉีดเลือดไปเลีัยงสมองและส่วนต่างๆของร่างกาย ซึ่งทำให้เกิดหัวใจวายและเสียชีวิตภายในไม่กี่วินาที

ระดับกระแสไฟฟ้าที่มีผลกระทบต่อเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อหัวใจ... ถ้าเป็น AC ก็ประมาณ 30 mA หรือ 300-500 mA DC


การถูกไฟซ๊อตไม่ว่าจะเป็น AC หรือ DC ก็จะส่งผลทำให้เกิดความรุนแรงและเสียชีวิตได้เหมือนกัน แต่หากเปรียบเที่ยบในระดับความรุนแรงที่เท่ากันแล้วละกี ไฟ DC จะต้องมีระดับกระแสที่สูงกว่า AC หากต้องการให้เกิดผลหรือความรู้สึกที่เท่ากัน

ตัวอย่างเช่น ถ้าใช้ระแสไฟ AC ที่ระดับ 0.5-1.5 มิลลิแอมป์ จะต้องใช้กระแสของไฟ DC ที่ประมาณ 4 mA จึงจะเกิดผลหรือความรู้สึกที่เท่ากัน




*** อันนี้เป็นงานแปล ผิดพลาดประการใดต้องขออภัย หากใครมีความรู้มากกว่านี้ช่วยชี้แนะด้วย



ความคิดเห็นที่ 5
พี่เสือ
28/10/2557
13:36 น.
ในเว็บบอร์ดต่างชาติ ก็ยังมีการถกถุยส์กันในประเด็นนี้เช่นกัน

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ก็ลองเข้าไปอ่านดูนะ


http://physics.stackexchange.com/questions/59359/why-is-ac-more-dangerous-than-dc
ความคิดเห็นที่ 6
TS.EE
30/10/2557
09:19 น.
ขอบคุณมากครับ
เป็นการอธิบายที่อ่านแล้วเข้าใจง่ายมากครับ
ความคิดเห็นที่ 7
Surasak
31/10/2557
08:21 น.
ขอบคุณมากครับสำหรับความรู้่ดีๆครับ
ความคิดเห็นทั้งหมด 7 รายการ |
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง: