Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,991
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,583
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,993
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,789
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,468
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,556
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,513
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,821
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,358
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,452
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,365
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,516
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,596
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,134
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,527
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,558
17 Industrial Provision co., ltd 39,229
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,381
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,299
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,627
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,451
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,855
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,222
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,962
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,586
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,518
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,953
28 AVERA CO., LTD. 22,588
29 เลิศบุศย์ 21,689
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,389
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,248
32 แมชชีนเทค 19,897
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,872
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,188
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,143
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,802
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,605
38 SAMWHA THAILAND 18,296
39 วอยก้า จำกัด 17,904
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,482
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,335
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,306
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,244
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,220
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,137
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,071
47 Systems integrator 16,715
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,634
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,459
50 Advanced Technology Equipment 16,446
02/05/2555 16:12 น. , อ่าน 9,270 ครั้ง
Bookmark and Share
ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์
Pupipo
02/05/2555
16:12 น.
ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ตอนเช้าโรงงานผมอยู่ที่ 0.90 แต่ทำไมตอนบ่ายค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์กลับลดมาที่ 0.65 อยากทราบสาเหตุและวิธีการแก้ไขหน่อยครับ

ตอนนีกำลังประมาณ 500 kW ติดคาปาซิเตอร์ 30 kVar อยู่ 6สเตป ทำงานทุกสเตปและคาปาซิเตอร์ใช้ได้ทุกสเตป เนื่องจากถ้าไม่มีคาปาซิเตอร์ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์จะอยู่ที่ 0.40

ขอบคุณล่วงหน้าครับ
ความคิดเห็นทั้งหมด 13 รายการ |
ความคิดเห็นที่ 1
1
04/05/2555
18:03 น.
ต้องรีบแก้ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ด่วนเลยครับ สบายเลยครับทั้งค่าปรับค่า FT ค่าไฟจ่ายอื้อเลย
คิดง่ายๆติดคาปาซิเตอร์ที่ 30% ของหม้อแปลงหรือเปล่า หากไม่ถึงติดให้ถึง หากติดถึง30% ของหม้อแปลงแต่มีการเพิ่ม load เลยทำให้ PF ต่ำแต่ไงต้องรีบแก้ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ด่วนเลยครับ
เพื่อปรัหยัดค่าไฟฟ้าค่าปรับเพื่อประสิทธิภาพของ Load และอื่นๆอีกมากครับและที่สำคัญครับ ไม่เปลืองสตางค์
ความคิดเห็นที่ 2
Pupipo
06/05/2555
17:28 น.
มันเกี่ยวกับอากาศร้อนไหมครับที่ทำให้ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ต่ำลงเพราะช่วงเช้าค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ปกติ
ความคิดเห็นที่ 3
1
06/05/2555
22:43 น.
เกี่ยวครับแต่น้อยมากๆ แต่ปัญหาที่แท้จริงอยู่ที่ load inductive มากกว่า capacitive เลยทำให้ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ต่ำครับ
ความคิดเห็นที่ 4
acilis
07/05/2555
14:10 น.
ถ้าเป็นอุปกรณ์ไดร์ฟ อย่าไปเปลี่ยนเลยครับ cap.bank ไม่เกิน 2 เดือน ชำรุดเสียหาย
บางครั้ง เบรคเกอร์ทริปอีกต่างหาก เพราะว่าไปเกิดการรีโซแนนท์เข้า ถ้าในกลุ่มมีหม้อแปลงมาก มันจะเฉลี่ย ที่ผมทำงาน มีหม้อแปลง 12 ลูก 500 - 2500 kva ปีหน้าภาคบังคับต้องติดตั้ง sub 115 kv แล้วแต่มุมมองผู้บริหารแต่ละที่ เขาจะมองจุดคุ้มทุนเป็นหลัก อะไรคือหัวข้อวิกฤติที่ยอมรับไม่ได้ อะไรคือหัวข้อที่ยอมรับได้ เช่น โทรศัพท์ไอโฟนของแอปเปิ้ล เขายอมรับในหัวข้อเรื่องแบตเตอรี่ ที่เป็นจุดอ่อน แต่ไปเน้นเรื่องแอพ อันนี้ลองศึกศษเรื่องวิศวกรรมความเชื่อมั่น กับเรื่อง fta นะครับ อันนี้แล้วแต่บุคคล
กลับมาเรื่อง PF เช้าบ่ายไม่เท่ากัน มันขึ้นอยู่กับโหลดครับ
วิธีการที่จะแก้ให้หาย เริ่มต้นที่การเลือกซื้อเครื่องจักร เผอิญผมเข้างานมา เขามีอยู่แล้ว ไม่เป็นไรครับ ต้องไปตรวจสอบPF AND HARMONIC ก่อนนะครับว่าอะไรคือปัญหา จากนั้นจะได้แก้ได้ถูก เลือกออโต้ ดีจูนนิ่งก้อได้ ราคาอยู่ราว 1.4 ล้านบาท ที่หม้อแปลง 22/0.4 kv 800 kva
ปัญหาคือจะพรีเซ้นต์อย่างไรให้ผู้บริหารเข้าใจ และโน้มน้าวเรื่องของผลดี คิดออกมาเป็นตัวเงินและหาจุดคุ้มทุน เงินลงทุนหารผลประหยัด ขอให้โชคดีครับ เป็นการแสดงความคิดเห็นจากประสบการณ์การทำงานและไม่คิดไปขัดแย้ง หักล้างกับทุกๆความคิดนะครับ
ความคิดเห็นที่ 5
1
07/05/2555
15:24 น.
คุณ acilis ครับผมว่าถ้าเป็นอุปกรณ์ไดร์ฟก็ควรแก้ค่า PF น่ะครับ แต่ต้องแก้โดยเพื่ม Reactor เพื่อป้องกัน HARMONIC เรื่องคุมทุนใหมผมว่าคุ้มเพราะว่าใช้ LOAD 500 kW ใน 1 เดือนค่าไฟมากน่ะครับ
ขอบคุณครับที่แรกเปลื่ยนความรู้ให้ชุดคิดเรื่องไดร์ฟและ HARMONIC
ความคิดเห็นที่ 6
Pupipo
07/05/2555
22:11 น.
ขอบคุณพี่ทั้งสองสำหรับน้องใหม่ในวงการอุตสาหกรรมอย่างผมครับ
ความคิดเห็นที่ 7
acilis
08/05/2555
00:19 น.
ถึงคุณ1 ที่เคารพครับ ไม่คุ้มเลยครับ ผมว่าจ้าง abb มาวัดไป 3 ครั้ง เสียเงินไป ครั้งละ 120000 บาท มีการคำนวณค่าไฟให้ด้วยครับ จะเป้นในรูปการสูญเสียมากกว่า อันนี้ข้อมุลจาก บริษัท abb นะครับ รับวัดค่าฮาร์โมนิคก้อพอกินแล้วครับ
ผมนำเสนอตั้งแต่ปี 2008 ไม่ผ่านเลยครับ เปลี่ยนไดร์ฟเป้นซีเมนต์ทั้งคู่แล้ว ค่าไดร์ฟพร้อมเปลี่ยน 1100000 บาท อาร์โมนิคลดลงครับ ในไดร์ฟจะมีโช้คภายในซึ่งป้องกันฮาร์โมนิคเป็นบิ้วอินนะครับ ภายนอกต่อรีแอคเตอร์ ปัจจุบันนี้ เล่นไดร์ฟ abb แบบ direct torque control บางรุ่นใช้ vector control มอเตอร์ขนาด 1500 kw 500 kw and 750 kw
ในภาคส่วนระบบดีจูน จะมีแบบดีจุนเนอร์ รีจุนเนอร์ 6 % 7% 12% อันนี้ต้องไปเลือกอีกครับ เด๊๋ยวว่างๆผมจะส่งใบเสนอราคาใบตรวจวัดให้พิจารณา น่าสนใจนะครับ เรื่องฮาร์โมนิค อย่างน้อยๆ เรา2-3 คนก้อได้แลกเปลี่ยนความรู้กันแล้ว เราๆก้อมีอาชีพเดียวกัน ช่วยๆส่งเสริมกันดีกว่าครับ ผมไม่เคยคิดอวดรู้นะครับ มีแต่จะเล่าสู่กันฟังครับ
ความคิดเห็นที่ 8
1
08/05/2555
07:00 น.
ครับคุณ acilis (ABB แพงน่าดูเลยวัดทีแพงขนาดนี้)ผมว่ามันมีบริษัทที่ไปตรวจเช็คให้ฟรีน่ะเพื่อขาย Reactor เดียวผมจะลองไปเช็คดูว่ามีรึเปล่า ขอบคุณครับสำหรับการแรกเปลื่ยน
ความคิดเห็นที่ 9
acilis
08/05/2555
11:04 น.
คุณ1 คุณPupico มาแลกเปลี่ยนกันครับ
มาดูราคากันนะครับ ราคาไปพร้อมๆคุณภาพ อันนี้เป็นดีจุนเนอร์
***กรณีเวนเดอร์ จำผมได้ อย่าฟ้องร้องผมนะครับ ผมเพียงสนทนา แลกเปลี่ยนกันเท่านั้น ไม่มีวัตถุประสงค์ ด้านการค้า เพราะพี่ๆ ที่เข้ามาตรวจวัดอาร์โมนิคนั้น ผมเคารพทุกๆท่าน***
ความคิดเห็นที่ 10
acilis
08/05/2555
11:27 น.
กรณีเลือกเจ้าใดๆเข้ามาตรวจวัด เครื่องมือไม่แตกต่างกันนัก ต่างกันตรงการวิเคราะห์นี่แหละครับ เหตุที่ใช้บริการabb เพราะ3เจ้าแรกวิเคราะห์ไม่ตรงจุด
ความคิดเห็นที่ 11
acilis
08/05/2555
13:33 น.
และสุดท้าย กราฟของการวัดในรูปกำลังไฟฟ้า
ความคิดเห็นที่ 12
ช่างเหมือนกัน
19/05/2555
09:59 น.
สันนิษฐานว่าเกิดจากอุปกรณ์ประเภท non-linear ส่งผลให้เกิดฮาร์มอนิกในระบบ ซึ่งผลกระทบของฮาร์มอนิกต่อเพาเวอร์แฟคเตอร์นั้นมีแน่นอนครับ ลองอ่านบทความนี้ดูครับ <url>http://users.ece.utexas.edu/~grady/POWERFAC.pdf</url> เขากล่าวถึง "ฮาร์มอนิกแนะผลกระทบของฮาร์มอนิกต่อเพาเวอร์แฟคเตอร์" ทั้งนี้ก็ต้องลองตรวจวัดดูก่อนครับ เจอปัญหาอะไรบ้างก็ต้องมาวิเคราะห์กันครับว่าน่าจะเป็นสาเหตุอะไรเป็นหลักแล้วก็แก้ตามสาเหตุนั้นๆ เท่าที่ผมลอง google ก็มีผู้ให้บริการเกี่ยวกับการตรวจวัดเกี่ยวกับคุณภาพไฟฟ้า (Power Quality Audit:PQ Audit)และแก้ไขปัญหา แต่ถ้าให้แนะนำก็ลองดูที่นี่ครับ www.wellwave-tech.com ผมลองเข้าไปดูแล้ว มีตัวอย่างรายงานและการแนะนำในการเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาให้ดูครับ ส่วนเรื่องราคาในการเข้าไปตรวจวัดไม่เห็นมีบอก ลองโทรไปถามดูครับ อาจจะไม่แพงถึงหลักแสนก็ได้ครับ อิอิ (แค่ตรวจวัดทำไมแพงจัง หลักแสนบาทเลยหรอ)
ความคิดเห็นที่ 13
วิษณุ
23/05/2555
22:00 น.
คุณ Pupipo แก้ไขไปหรือยังครับ ถ้ายังรบกวนติดต่อผมได้ครับจะเข้าไปทำการตรวจเช็คเบื้องต้นให้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายครับ แล้วค่อยเสนอราคาการแก้ไขครับ
โทร 083-238 9651
ความคิดเห็นทั้งหมด 13 รายการ |
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง: