Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,983
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,577
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,988
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,770
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,461
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,550
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,508
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,817
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,344
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,446
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,358
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,510
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,585
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,127
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,516
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,555
17 Industrial Provision co., ltd 39,223
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,373
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,297
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,621
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,439
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,851
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,220
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,957
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,581
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,946
28 AVERA CO., LTD. 22,586
29 เลิศบุศย์ 21,682
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,379
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,245
32 แมชชีนเทค 19,893
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,868
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,185
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,137
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,798
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,602
38 SAMWHA THAILAND 18,291
39 วอยก้า จำกัด 17,897
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,476
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,324
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,301
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,237
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,206
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,132
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,066
47 Systems integrator 16,710
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,627
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,453
50 Advanced Technology Equipment 16,442
16/03/2554 20:55 น. , อ่าน 30,405 ครั้ง
Bookmark and Share
ขอถามเกี่ยวกับไฟฟ้าหน่อยคับ
atthaphon
16/03/2554
20:55 น.
ขอถามเกี่ยวกับไฟฟ้าหน่อยคับ
1. การเซต circuit breaker ในวงจร start motor จากที่ผมทราบมาไม่แน่ใจว่าถูกต้องหรือเปล่าคับ ที่ผมทราบคือให้เซต circuit breaker ไว้ที่
150% ของ เหลดมอเตอร์ใช้ไหมคับ ( ถ้าไม่ถูกต้องช่วยแนะนำด้วยนะคับ มอเตอร์ 3 เฟส 380 v)
2. overload ที่ใช้ในวงจร start motor 3 เฟส 380 v อยากถามว่าการเซต overload จะเซตเท่ากับเหลดของมอเตอร์รึป่าวคับ ( ถ้าไม่ถูกต้อง
ช่วยแนะนำด้วยนะคับ )
3. การคำนวนหาขนาดของสายจ่ายแรงดัน ( จ่ายไปยังมอเตอร์ไฟฟ้า 3 เฟส 380 v ) ถ้า load กินกระแสอยู่ที่ 37 A ( A = แอมป์ ) เราควรเลือก
ใช้สายขนาดเท่าไรและมีวิธีคิดอย่างไรบ้างคับ ( จากที่ทราบไม่แน่ใจว่า 125% ของค่ากระแสโหลดรึป่าวคับ ใช้สาย 1 เส้นกับ load 1 ตัว )
4. หลักการหมุนของมอเตอร์ 3 เฟส AC เป็นอยางไรคับช่วยอธิบายหน่อยคับ ( ถ้าละเอียดยิ่งดีเลยคับ )

5. สูตรการคำนวนหาค่า A ( A = แอมป์ ) เมื่อรู้ค่า kw ใช้กับมอเตอร์ 3 เฟส
6. สูตรการคำนวนหาค่า kw เมื่อรู้ค่า A ( A = แอมป์ ) กับมอเตอร์ 3 เฟส
7. สูตรการคำนวนหาค่า p(กำลังไฟฟ้า หน่วยเป็น วัตต์)
8. คือสูตรการคำนวนหารอบมอเตอร์ไฟฟ้ามีสูตรอยู่ว่า rpm = 120f/p ใช่ไหมคับ สมมุติว่า มอเตอร์ 5.5 kw 2 pole ถ้าคิดตามสูตรเลยจะได้
120*50/2 = 3000 rpm ใช้ไหมคับแต่จาก Name Plate มอเตอร์รอบของมันจะไม่ถึง3000รอบคือ อยากทราบว่ามันมีค่าสูญเสียด้วยใช่ไหม
คับไม่ทราบว่ามันมีอะไรบ้างและคำนวนยังไงบ้างคับ

9. magnetic contactor AC 220 v กับ magnetic contactor DC 48 v คือของ 48v มันเป็นไฟกระแสตรงเมื่อจ่ายไฟให้มัน coil ก็จะดูดติดเลย
แต่ถ้าเป็น 220 v เป็นไฟกระแสสลับเวลาจ่ายไฟให้ coil มันๆทำไมถึงไม่ดูดปล่อยๆอะคับเพราะมัน+ - อยู่ตลอกเวลา(สรุปว่า magnetic
contactor 220 v coil มันเป็นแบบไหนคับหรือว่ามันมีกลไกอะไรบ้างอย่าง



ยังไงก็ขอความรู้หน่อยนะคับ
ขอบคุณขับ
ความคิดเห็นทั้งหมด 27 รายการ | 1  2    »
ความคิดเห็นที่ 1
ช่างวรเดช
16/03/2554
21:37 น.
อิอิ ผมขอจองหนึ่งข้อ เดี๋ยวมา

ไปซื้อนมให้ลูกก่อน เดี๋ยวลอตเก่าหมด อุอุ
ความคิดเห็นที่ 2
Elec_Prew
16/03/2554
23:07 น.
1) ถ้าเอาตามมาตรฐานการติดตั้งเลย ก็ต้องบอกว่า Set ได้ตั้งแต่ 125% ของกระแสพิกัด แต่ไม่เกิน 200 หรือ 250% ขึ้นอยู่กับ Lock Rotor Current ของมอเตอร์ คือจริงๆ CB ไม่ได้ทำหน้าที่หลักในการป้องกัน Overload ของมอเตอร์ แต่ ทำหน้าที่ลดหรือป้องกันความเสียหายในสายจาก Short Circuit มากกว่า ดังนั้นตามหลักการป้องกันจุดที่ปลอดภัยที่สุดคือที่ 125% แต่ที่จุดนี้ CB อาจจะ Trip ได้เนื่องจากกระแส Start ของมอเตอร์มีค่าสูง 6-7 เท่าของกระแสพิกัด ดังนั้นมาตรฐานจึงยอมให้ขยับค่า Setting ของ CB ไปได้อีกจนถึง 200 หรือ 250% ของกระแสพิกัดครับ

แต่ที่เคยเจอมาส่วนใหญ่จะ Set ที่ประมาณ 150-175% ของกระแสพิกัด ซึ่งก็ถือว่าสอดคล้องกับมาตรฐาน
ความคิดเห็นที่ 3
Elec_Prew
16/03/2554
23:10 น.
2) ถ้าไม่ทราบกระแสจริงในการใช้งาน (ในขั้นตอนการออกแบบ)
ถ้ามอเตอร์ SF = 1 สามารถ Set ในช่วง 100%-110% ยิ่งต่ำยิ่งปลอดภัย
ถ้ามอเตอร์ SF = 1.15 สามารถ Set ในช่วง 115%-140% ครับ
ความคิดเห็นที่ 4
Elec_Prew
16/03/2554
23:16 น.
3) ถ้ามอเตอร์เดินต่อเนื่องขนาดสายใช้ 125% ถูกครับ แต่ขนาดสายนั้นต้องพิจารณาจากวิธีการเดินสาย และ พิจารณาจากประเภทของสายด้วยครับ เพราะสายพวก THW หรือ NYY นั้นใช้ฉนวนเป็น PVC ซึ่งมีอุณหภูมิพิกัดอยู่ที่ 70 องศา ในขณะที่สายพวก CV ใช้ฉนวน XLPE มีอุณหภูมิพิกัดอยู่ที่ 90 องศา ก็จะรับกระแสได้ดีกว่า และการเดินสายในท่อร้อยสายเนื่องจากการระบายความร้อนทำได้ยากกว่าเดินลอย ค่าการรับแระแสของสายก็จะต้องน้อยลงครับ สำหรับค่าต่างๆ ได้จากมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าแห่งประเทศไทย ของ วสท.ครับ
ความคิดเห็นที่ 5
Elec_Prew
16/03/2554
23:23 น.
4) เดี๋ยวรอช่างซ่อมมอเตอร์เค้ามาตอบดีกว่า
5/6/7) P = 1.732 * V(line-line) * I(line) * Power Factor
ความคิดเห็นที่ 6
Elec_Prew
16/03/2554
23:28 น.
8) Nsync = 120f/P เป็นสูตรในการหาความเร็วสนามแม่เหล็กหมุนที่เกิดจากการจ่ายแรงดันกระแสสลับ 3 เฟสความถี่ f Hz เข้าไปที่ขดลวด Stator ที่พันเพื่อให้เกิดขั้วแม่เหล็ก P ขั้ว ความเร็วจริงๆของ Rotor จะต้องช้ากว่าความเร็วของความเร็วสนามแม่เหล็กเสมอ และ เรียกค่าความแตกต่างระหว่างสองความเร็วนี้ว่า Slip ซึ่ง Slip นี้มีค่าแปรผันโดยตรงกับแรงบิดโหลดครับ

ถ้าจะถามต่อว่าแล้วทำไมมันต้องช้ากว่า คนที่เค้าตอบข้อ 4 เค้าต้องตอบคำถามนี้ได้ครับ
ความคิดเห็นที่ 7
Elec_Prew
16/03/2554
23:41 น.
9) เคยเล่นแม่เหล็กดูดมั้ยครับ ไม่ว่าเราจะใช้ขั้วเหนือ ขั้วใต้ มันก็จะดูเหล็กได้อยู่ที่ สนามแม่เหล็กที่ได้จาก Fixed Coil AC ของ M/C มันก็เหมือนกันครับ มันจะกลับขั้วตลอดเวลาเหมือนกัน แต่ไม่ว่าจะกลับขั้วเป็นขั้วอะไรมันก็ย่อมจะสร้างแรงดูดบนเหล็ดที่ใช้ทำส่วน Moving Coil ของ M/C อยู่ดี ที่สำคัญการกลับขั้วของมันทำได้อย่างรวดเร็วทุก 10 milli-sec (50 Hz) ครับ เราจึงเห็นว่ามันดูดติดตลอดเวลาครับ
ความคิดเห็นที่ 8
ช่างวรเดช
17/03/2554
03:23 น.
ว้า ท่าน E/P เหมาหมดเลย




อิอิ ถูกทุกข้อ ครับ


แต่ เดี๋ยว ช้า ก่อน ยัง ยังไม่พอ อิอิ


ขอเหจือก หน่อย แก้ข้อ เก้า เป็น 20mS ถ้า 50Hz นะจ๊ะ เธอจ๋า
ความคิดเห็นที่ 9
ช่างวรเดช
17/03/2554
03:38 น.
ตอบคำถาม 9

คอยล์ DC กับ AC ต่างกันที่แกนเหล็ก จ๊ะ


AC มันจะมี copper short ring ที่ปลายแกนเพื่อทำการให้ ฟลักที่เกิดขึ้น

ให้มันมีแรงดูด เหมือนDC

แต่ DC ไม่มีตัวนี้ นะ


ถ้า แงะมันออก นะ มันจะ คราง ยิ่งกว่า นางเอก โดนข่มขืน เจียวแหละ อิอิ



ส่วนเหตุผลทางวิศวกรรม เดี๋ยว ผู้รู้ (ทางนี้) จะมาต่อเรื่องให้ จ๊ะ
ความคิดเห็นที่ 10
ช่างซ่อมมอเตอร์
17/03/2554
12:10 น.
ขอความคิดเห็นอย่างนี้ครับ บางข้อไม่ถนัดจะขอข้ามไปนะครับ โดยจะขอตอบ ข้อ 2 , 4, 5 , 6 ,7 ,8 9
2. overload ที่ใช้ในวงจร start motor 3 เฟส 380 v อยากถามว่าการเซต overload จะเซตเท่ากับเหลดของมอเตอร์รึป่าวคับ ( ถ้าไม่ถูกต้อง
ช่วยแนะนำด้วยนะคับ )

ผมขอลอกกระทู้บางส่วนของ กระทู้ 8122 ที่เคยตอบไว้มาให้อ่านนะครับ

โดยปกติโอเวอร์โหลดที่เป็นแบบเทอร์มอล( ใช้แผ่นความร้อนในการทริปวงจรออก) จะแบ่งออกเป็นคลาสๆได้ 3 คลาส คือ คลาส 10, 20 , 30 แต่ละคลาส จะต่างกันที่ เวลาทริปที่กระแส 7.2 เท่าของกระแสที่ตั้ง เช่น คลาส 10 ก็จะหมายถึง โอเวอร์โหลดคลาสนี้จะทริปภายในเวลา 10 วินาที ที่กระแสไหลผ่าน โอเวอร์โหลด 7.2 เท่าของกระแสที่เซต ถ้าเราเซตค่ากระแสไว้ 100 แอมป์ โอเวอร์โหลดก็จะทริป ภายใน 10 วินาที่ ที่กระแส 7.2x100= 720 แอมป์ไหลผ่าน และในทำนองเดียวกัน คลาส 20 , 30 เวลาก็จะเป็น 20 และ 30 วินาทีตามลำดับ

เวลาที่ใช้ในการทริป กับค่ากระแสทริปของโอเวอร์โหลดไม่เป็นไปตามสัดส่วนของจำนวนเท่าที่กระแสไหลผ่าน โอเวอร์โหลดจะไม่ทริปที่กระแส ไหลผ่าน 1.05 เท่า แต่จะเริ่มทริป ที่กระแสไหลผ่าน 1.2 เท่าของกระแสที่เซต โดยจะทริปภายใน 2 ช.ม แต่เมื่อดูจาก กราฟแสดงคุณสมบัติ (Curve ) แล้ว จะเป็นจุดที่อาจจะทริปหรือไม่ทริปก็ได้ ( ฉะนั้นจากความเข้าใจควรจะต้องเซตไว้ 1.25 เท่าถึงทำให้มีการทริปที่แน่นอนแต่คงบอกไม่ได้ว่าจะทริปที่เวลาเท่าไหร่ เพราะในขณะที่ 1.2 เท่าต้องใช้เวลา 2 ช.มหรือมากกว่า แต่ถ้าเป็น 1.5 เท่าจะใช้เวลาไม่เกิน 4 นาที่สำหรับโอเวอร์โหลดคลาส 10 )

ุอ่านต่อนะครับ
ความคิดเห็นที่ 11
ช่างซ่อมมอเตอร์
17/03/2554
12:12 น.
ข้อ 2 ต่อ

จากคุณสมบัติของโอเวอร์โหลดข้างต้น ถ้าเราสมมุติว่า มีมอเตอร์ตัวหนึ่งขับโหลดที่ฟูลโหลด มีค่า 100 แอมป์

กรณีแรกเราเซตกระแสทริปเป็น 1.15 เท่าของกระแสพิกัดมอเตอร์ ฉะนั้นเราต้องเซตโอเวอร์โหลดที่ 1.15X 100 = 115 แอมป์ และจากเงื่อนไขการทำงานของโอเวอร์โหลด ซึ่งจะเริ่มทำงานที่ 1.2 เท่าของกระแสที่เซตซึ่งก็จะมีค่าเท่ากับ 115 x 1.2 = 138 แอมป์ หรือเพื่อความแน่นอนของการทริป กระแสต้องมากจนไปถึง 1.25 ก็จะมีค่าเท่ากับ 115 x 1.25 = 144 แอมป์ ซึ่งจะทริปเมื่อไหร่เมื่อไหร่ก็ไม่รู้ ( อยู่ระหว่าง 2 ช.ม กับ 4 นาที ) ซึ่งเห็นได้ว่ามอเตอร์ต้องมีการโอเวอร์โหลดไปเกือบ 44 เปอร์เซ็นต์ ตัวโอเวอร์โหลดถึงจะทำงาน

และจะยิ่งเลวร้ายเข้าไปอีกถ้าเราจะเซตไว้ที่ 1.25 ของกระแสพิกัด เพราะจะเท่ากับโอเวอร์โหลดจะทริปชัวร์ที่ 100 x1.25 x1.25 = 156 แอมป์ ซึ่งมอเตอร์ต้องทำงานโอเวอร์โหลดไปถึง 56 เปอร์เซ็นต์

จากเหตุผมดังกล่าว ผมจึงมักแนะนำให้เซตไว้ที่ กระแสพิกัด หรือ 1 เท่าเพราะมอเตอร์จะได้โอเวอร์โหลดแค่ 100 x1.25 = 125 แอมป์ หรือมอเตอร์โอเวอร์โหลดแค่ 25 เปอร์เซ็นต์

แต่ด้วยว่ามอเตอร์ส่วนมากจะมี SF. อยู่ที่ 1.15 และอุณหภูมิใช้งานบ้านเราจะต่ำกว่า Ambient Temp ที่กำหนดอ้างอิง อยู่ประมาณ 10 องศา ( อุณหภูมิใช้งาน 30 องศา อุณหภูมิอ้างอิง 40 องศา ) ซึ่งทำให้มีการชดเชยกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นเนื่องจากกระแสที่สูงขึ้นอีก 10 องศา จึงมีผลทำให้อุณหภูมิของขดลวดอยู่ในสภาวะทำงานที่ใช้แค่ Service Factor ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมีค่ามากกว่าอุณหภูมิในสภาวะขับโหลดที่พิกัด ซึ่งจะทำให้ต้องแลกกับอายุฉนวนของมอเตอร์ครึ่งหนึ่ง ( ทุกๆ 10 องศาที่อุณหภูมิใช้งานเพิ่มขึ้นอายุฉนวนจะลดลงครึ่งหนึ่ง )

อุณหภูมิที่กล่าวมาเป็นค่าที่เกิดจากมอเตอร์มีการระบายความร้อนในสภาวะปกติ ( มอเตอร์ใหม่ ) ถ้ามอเตอร์มีฝุ่นจับ หรือมีสิ่งสกปรกต่างๆที่ขัดขวางการระบายความร้อน เนื่องจากการใช้งาน ซึ่งแน่นอนว่ามอเตอร์จะคงต้องมีอุณหภูมิสูงขึ้นไปอีกทั้งๆที่กระแสไม่สูง อายุของฉนวนก็จะยิ่งลดลงไปอีก

สรุปว่าจากกระทู้ที่ถามมา ก็ไม่แน่ใจว่า การเซตค่าโอเวอร์โหลดที่ 1.25 ของกระแสพิกัด กับโอเวอร์โหลดเริ่มทำงาน ที่ค่า 1.25 ของกระแสที่เซต จะเป็นตัวเลขเดียวกันหรือเปล่า แต่จะเห็นว่าความหมายต่างกันเยอะมาก
ความคิดเห็นที่ 12
ช่างซ่อมมอเตอร์
17/03/2554
12:49 น.

5. สูตรการคำนวนหาค่า A ( A = แอมป์ ) เมื่อรู้ค่า kw ใช้กับมอเตอร์ 3 เฟส
6. สูตรการคำนวนหาค่า kw เมื่อรู้ค่า A ( A = แอมป์ ) กับมอเตอร์ 3 เฟส
7. สูตรการคำนวนหาค่า p(กำลังไฟฟ้า หน่วยเป็น วัตต์)ข้อที่ 5 ,6, 7

การหาค่ากำลังไฟฟ้าที่มอเตอร์ต้องใช้ (Input ) ที่มอเตอร์ทำงานเต็มพิกัด

Power = Vline x Iline x 1.732 x Cos 0

เมื่อ Vline = พิกัดแรงดันที่เนมเพลท
Iline = พิกัดกระแสที่เนมเพลท
Cos o = พิกัดเพาวเวอร์แฟกเตอร์

และเมื่อมอเตอร์ไม่ได้ทำงานเต็มพิกัดค่ากระแส และ CosO ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย

การหาค่ากำลังเพาว์เวอร์ที่ขับโหลด ( Out Put ) ทางกล

Power = Power Input x Eff.

และแน่นอนว่าถ้ามอเตอร์ไม่ได้ขับโหลดเต็มพิกัด ตัวแปรที่จะเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นคือ EFF ที่เปลี่ยนแปลงตามสภาวะโหลดหรือกระแส

และคนส่วนมากยังเข้าใจว่า คำว่า KW. ที่ติดอยู่ที่เนมเพลทเป็น Input ซึ่งจริงๆ และเป็นค่า Output ครับ

ไม่รู้ว่าตอบตรงคำถามหรือเปล่า

ความคิดเห็นที่ 13
ช่างซ่อมมอเตอร์
17/03/2554
13:05 น.

ข้อ 9 ขอเสริมช่างวรเดชนิดนึงครับ โครงสร้างของหน้าแกนเหล็กที่ทำให้เกิดการดูดติดกัน ของ เอซีแมคเนติกคอยล์ ที่แตกต่างจาก ดีซี ก็คือจะมีวงแหวนทองแดง (Shaded Ring ) ฝังอยู่บนพื้นที่บางส่วนของหน้าสัมผัสเพิ่มขึ้นมา หน้าที่หลัก คือการเสริมและหักล้างสนามแม่เหล็ก (ตัวเองถูกสร้างสนามแม่เหล็กเกิดจากการที่ฟลักไหลผ่าน ) ทำให้เกิดความต่อเนื่องของการดูด และเนื่องจากตัวมันเองต้องครบวงจร ไม่ต้องถึงขนาด แงะออกหรอกครับ แค่รอยเชื่อมขาด ก็จะแสดงอาการเหมือนกับที่ช่างวรเดช จินตนาการให้ฟังไปแล้ว

ฉะนั้นคอยล์เอซีที่ต้องการ การสั่นสะเทือน หรือกระพือ เป็นหลักการทำงาน เช่น ออด หรือกระดิ่ง ก็จะเป็นคอยล์เอซีที่ไม่มี วงแหวนทองแดงแบบนี้
ความคิดเห็นที่ 14
ช่างซ่อมมอเตอร์
17/03/2554
13:51 น.
ข้อ 4 และข้อ 8 เกี่ยวข้องกันและเป็นเรื่องที่อธิบายยาก เพราะต้องใช้รูปประกอบเยอะ และขอบคุณ ท่าน Elec Prew ที่ให้เกียรติผมอธิบายเรื่องนี้

สนามแม่เหล็กหมุน

เนืองจากโครงสร้างมอเตอร์ 3 เฟสจะถูกออกแบบให่้มีการวางขดลวด สอดคล้องกับระบบไฟ 3 เฟสที่จ่ายเข้าที่ขดลวด จะทำให้เกิดการกระเพื่อมของค่าเส้นแรงแม่เหล็ก อย่างเป็นจังหวะอย่างต่อเนื่อง การกะเพื่อมเกิดจากกระแสไฟเอซี จ่ายเข้ากับขดลวดย่อมจะสร้างเส้นแรงแม่เหล็กที่กลับไปกลับมา การกระเืพื่อมเมื่อนำมาจัดวางอย่างได้จังหวะ จะทำให้เกิดค่าผลรวมของเส้นแรงแม่เหล็กที่ขึ้นในแต่ละเฟสของขดลวด เกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะเคลื่อนที่ (คล้ายกับหลอดไฟนีออนที่หมุนได้ตามงานวัด )การเปลี่ยนแปลงแบบเคลื่อนที่นี้เราเรียกว่า สนามแม่เหล็กหมุน ซึ่งคำนวณได้ตามสูตรที่ได้มีผู้กล่าวไปแล้ว

และเมื่อนำโรเตอร์ที่มีลักษณะเป็นกรงกระรอก (Squirrel Cage ) คือมีซี่บาร์และถูกช๊อตหัวท้าย เข้าไปในสนามแม่เหล็กหมนดังกล่าว ก็จะทำให้เกิดการเหนี่ยวนำและเกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้า ขึ้นที่ซี่บาร์ แต่เนื่องด้วยซี่บาร์ถูกช๊อตเข้าด้วยกันหัวท้ายจึงทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลขึ้นในซึ่บาร์ เมื่อไหร่ก็แล้วแต่ที่ีมีกระแสไหลผ่่านลวดตัวนำ ก็ย่อมที่จะทำให้เกิดเส้นแรงแม่เหล็กขึ้นรอบๆ ลวดตัวนำนั้น เส้นแรงที่เกิดจะผลักกันกับเส้นแร่งแม่เหล็กหมุนทำให้เกิดแรงบิดหมุนตัวมันเอง โดยมีทิศทางเดียวกันกับสนามแม่เหลํกหมุน

ซึ่งจะเห็นว่าหลักการทำงานของมอเตอร์ กรงกระรอกนี้ ต้องใช้การเหนี่ยวนำ ซึ่งจะต้องเิกิดจากการที่สนามแม่เหล็กหมุน หมุนตัดกับตัวนำโรเตอร์ ฉะนั้นจะไม่มีโอกาสเลยที่มอเตอร์ประเภทนี้ความเร็วโรเตอร์จะมีความเร็วเท่ากับสนามแม่เหล็กหมุน เพราะจะทำให้ไม่เกิดการเหนี่ยวนำ

และการเหนี่ยวนำจะเพิ่มขึ้นเมื่อความเร็วรอบโรเตอร์ห่างจากความเร็วรอบสนามแม่เหล็กหมุน ซึ่งนักออกแบบต้องคำนวณว่าต้องการให้มอเตอร์ทำงานที่จุดไหน (ต้องลองหากราฟ แีรงบิด กับวความเร็วรอบมาประกอบ ) ซึ่งจุดนี้คือจุดพิกัดความเร็วรอบ ซึ่งแน่นอนว่าเป็นจุดที่ทำให้มอเตอร์ทำงานได้ตามค่าต่างๆในเนมเพลท และต้องเข้าใจอีกว่า ทุกค่าที่อยู่ในเนทเพลทเป็นค่าที่อยู่ในสภาวะมอเตอร์ทำงานเต็มพิกัด เช่น กระแส เพาวเวอร์แฟกเตอร์ ประสิทธิภาพ

ถ้าอยากเข้าใจเพิ่มมากขึ้นต้องลองนำกราฟ แรงบิด กับความเร็วรอบมอเตอร์กรงกระรอก มาพิจารณษดูครับ และลองตั้งคำถามจากกราฟนั้น จะทำให้เข้าใจมอเตอร์ประเภทนี้ได้ดียิ่งขึ้นครับ

ท่านใดมีอะไรเสริมเพิ่มเติม ยินดีนะครับ เผื่อจะทำให้น้องเขาเข้าใจมากขึ้น
ความคิดเห็นที่ 15
Elec_Prew
18/03/2554
03:21 น.
ขอเสริมเรื่อง Shaded/Shading Ring นะครับ ตามรูปนะครับ จะถูกติดไว้ที่ปลายแกนเหล็ก ตามที่บอกไปแล้วว่า แกนเหล็กจะมีการกลับขั้วทุกครึ่งไซเคิลทางไฟฟ้า แม้ว่าจะยังสามารถดูดเหล็กได้อยู่ แต่เนื่องจากจะมีจุดที่สนามแม่เหล็กเป็นศูนย์ซึ่งตรงจุดนี้ความเป็นแม่เหล็กจะหายไป พอขั้วถูกเปลี่ยนก็จะถูกดูดติดอีกที แต่เนื่องจากมันเกิดขึ้นรวดเร็วมากเราจึงไม่เห็นมันหลุดจากกัน แต่จะได้ยินเป็นเสียงดังคล้ายๆโลหะกระทบกัน (Chattering)

Shading Ring จะเป็นวงแหวนที่เมื่อมีเส้นแรงแม่เหล็กไหลผ่าน และเส้นแรงแม่เหล็กมีการเปลี่ยนแปลง (Sine Wave) ก็จะเหนี่ยวนำให้มีกระแสไหลในวงแหวน ซึ่งกระแสที่ไหลนี้จะไปสร้างเส้นแรงแม่เหล็กในทิศที่ต้านการไหล (Out of Phase) ของเส้นแรงแม่เหล็กหลักในแกนเหล็ก แต่เส้นแรงแม่เหล็กที่ต้านการไหลนี้จะเกิดขึ้นช้ากว่าเส้นแรงแม่เหล็กหลักเล็กน้อย ทำให้ในจุดที่สนามแม่เหล็กหลักในแกนเหล็กเป็นศูนย์ หรือ จุดที่กลับขั้วของแม่เหล็ก ยังมีเส้นแรงแม่เหล็กเหนี่ยวนำที่เกิดขึ้นจาก Shading Ring อยู่ในแกนเหล็ก ทำให้ความเป็นแม่เหล็กจะยังคงอยู่ และ ทำให้เราไม่ได้ยินเสียงโลหะกระทบกันอีก เพราะมันไม่หลุดจากกันแล้ว

ดูเหมือนจะลงลึกไปนิดนะครับ ตอนแรกอยากจะอธิบายเฉพาะว่าทำไม AC มันถึงดูดติด คิดว่าท่านจขกท.จะไม่เบื่อซะก่อนนะครับ
ความคิดเห็นทั้งหมด 27 รายการ | 1  2    »
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง: