Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,972
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,569
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,981
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,756
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,455
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,539
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,501
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,813
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,335
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,440
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,353
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,501
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,572
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,124
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,498
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,548
17 Industrial Provision co., ltd 39,214
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,367
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,290
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,614
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,430
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,846
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,213
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,952
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,576
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,509
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,938
28 AVERA CO., LTD. 22,581
29 เลิศบุศย์ 21,679
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,373
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,240
32 แมชชีนเทค 19,885
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,862
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,179
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,128
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,795
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,596
38 SAMWHA THAILAND 18,285
39 วอยก้า จำกัด 17,887
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,464
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,319
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,291
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,232
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,197
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,126
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,057
47 Systems integrator 16,703
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,623
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,449
50 Advanced Technology Equipment 16,434
22/02/2554 23:32 น. , อ่าน 202,446 ครั้ง
Bookmark and Share
ขอวงจรควบคุมมอเตอร์ 3 เฟส สตาร์ เดลตา ครับ
เอ็มการ
22/02/2554
23:32 น.
รบกวนขอวงจรควบคุมมอเตอร์ สตาร์เดลต้า 3 เฟส
ต้องใช้แมกเนติก โอเวอร์โหลดรีเลย์ อะไรบ้างครับ

ขอเป็นวงจร + อุปกรณ์ที่ต้องใช้ ขอบคุณมากครับ
ความคิดเห็นทั้งหมด 15 รายการ |
ความคิดเห็นที่ 1
ช่างวรเดช
23/02/2554
04:56 น.
อูย...ตั้งคำถามยากจังเลย. คุณเอ็ม ยังไม่ได้บอกว่าจะใช้กับมอเตอร์กี่แรงครับ
จะได้กำหนดSize ของอุปกรณ์ต่างๆให้ได้ครับ
แต่หากเป็นแค่รูปแบบวงจรดูใน คต ข้างล่างครับ
ความคิดเห็นที่ 2
ช่างวรเดช
23/02/2554
05:22 น.
เอาไปประยุกต์ดูนะ

ความคิดเห็นที่ 3
ช่างวรเดช
23/02/2554
05:26 น.
ทำรูปสวยๆไม่เป็น ถ้าจะเอาแบบสมบูรณ์ เมล์มาที่
mr.worradej@hotmail.com
ความคิดเห็นที่ 4
ช่างซ่อมมอเตอร์
23/02/2554
09:46 น.

โอ้โห.... ช่างวรเดช ตื่นเช้าจังครับ ตื่นปั๊บ ก็ตอบกระทู้เลย น่าปลื้มใจแทนเวปมาสเตอร์นะครับ

ช่างวรเดช ครับ ผมว่าวงจร คอนโทรล และเพาว์เวอร์ของพี่ไม่น่าจะสอดคล้องกันนะครับ หรือว่าผมอาจจะไล่วงจรผิด

และก็ดีใจครับที่มีคนคอยตอบและแลกเปลี่ยนความรู้ครับ
ความคิดเห็นที่ 5
ช่างวรเดช
24/02/2554
10:27 น.
ขอบคุณ ท่านช่างซ่อมมอเตอร์ครับ
จริงๆผมตอบก่อนเข้านอนครับ อิอิ นอนดึกไปนิดนึง แฮ่่.....

มีอะไรพอรู้ก้อมาแลกแลกกันครับ คนหากินแนวเดียวกันทั้งนั้น

วงจรที่ผิด แก้ให้แล้วครับ ตามรูป

ขอบคุณท่านมากครับที่ช่ายตรวจทาน

ไว้มีโอกาสจะตอบแทนสักหนึ่งจอก อิอิ
ความคิดเห็นที่ 6
ช่างวรเดช
24/02/2554
12:42 น.
ขอแก้อีกครั้งครับ
สรุป
ในคต 5 ผิดครับ
แบบที่ คต 2 ถูก อยู่แล้ว ผมก็เขว ตามท่านพี่


โปรดให้อภัยข้า ด้วย


อิอิ


ความคิดเห็นที่ 7
ช่างวรเดช
24/02/2554
12:44 น.
เอาละนะ แก้อีกที
ความคิดเห็นที่ 8
ช่างวรเดช
24/02/2554
12:52 น.
และก้อ อีกทีวงจรเพาเวอร์ ที่ ถูก ครับ


เห้อ จบ.....
ความคิดเห็นที่ 9
ช่างซ่อมมอเตอร์
25/02/2554
17:56 น.
ขอให้ความคิดเห็นอย่างนี้ครับ

ผมขอวิจาร์ณวงจรของ ช่างวรเดช หน่อยนะครับ จริงๆ แล้วการที่ผมไปเจอความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เป็นเพราะ วงจรเพาว์เวอร์ สตาร์-เดลต้า เป็นวงจรที่ผมมักจะใช้บรรยาย เรื่องการสตาร์ทมอเตอร์เป็นหลัก และมักจะพบว่าการออกแบบ จะมีอยู่ 2 ลักษณะคือ แบบแรกคือ ให้ตัวเมนทำงานก่อน ตัวสตาร์ทำงานตามมา และแบบที่สองคือ ตัวสตาร์ ทำงานก่อน แต่ตัวเมนทำงานตามมาอีกที ซึ่งเป็นแบบช่างวรเดชโพสขึ้นมา ซึ่งจากการสอบถามผู้เข้าฟังบรรยาย มีอยู่ไม่น้อยที่ออกแบบเป็นแบบแรก จึงเป็นต้นเหตุที่ทำให้ผมสนใจการออกแบบของช่างวรเดช

คำถามคือแบบแรกกับแบบที่สองต่างกันอย่างไร คำตอบก็คือไม่แตกต่าง ถ้าขนาดแมกเนติกของตัวสตาร์ ขนาดเท่ากับตัวเมน แต่ส่วนมากเรามักออกแบบให้ตัวสตาร์มีขนาดเล็กกว่า ฉะนั้นถ้าออกแบบเป็นแบบแรกกระแสสตาร์ทมอเตอร์จะไปกระทำที่แมกเนติกของตัวสตาร์ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายได้เร็วกว่าปกติ ทำให้การออกแบบวงจรคงจะต้องมีการพิจารณาเหมือนกัน

และสิ่งที่ผมมักแนะนำกับผู้ฟังบรรยายก็คือ การกำหนดตัวเลขของแมกเนติกก็ควรที่จะกำหนดตาม ลำดับขั้นการทำงานของวงจร อย่างเช่น ตัวสตาร์ กำหนดเป็น K1 , ตัวเมนกำหนดเป็น K2 และ ตัวเดลต้า กำหนด เป็น K3 เพื่อป้องกันการสับสนของการทำงานในแต่ละสภาวะ(เหมือนกับวงจรต่างประเทศ)

ผมให้ความคิดเห็นอย่างนี้คิดว่าคงจะไม่โกรธกันนะครับ และดีใจครับที่เห็นช่างวรเดช กล้าขึ้นมาโพส ซึ่งเพื่อนสมาชิกหลายคนไม่กล้า เพราะอาจจะดูเหมือนเป็นเรื่องง่าย ๆ แต่จากประสพการณ์ของผมเชื่อหรือไม่ว่า เรื่องการสตาร์ืท สตาร์-เดลต้า เป็นเรื่องที่ผมใช้เวลาในการบรรยายมากที่สุดและเมื่อมีคำถาม ถามกับไปหาผู้ฟังกลับตอบได้น้อยมาก สาเหตุก็อาจจะเิกิดจากการมองข้ามสิ่งเหล่านี้ไป

พอดีผมอยู่แถวพระราม 2 ไปไกลจากที่พัก ช่างวรเดช เท่าไหร่ รบกวนทิ้งเบอร์ไว้ที่ เมล changmotor@gmail.com ด้วยครับ ถ้ามีโอกาสจะนัดไปแลกเปลี่ยนความรุ้กันครับ
ความคิดเห็นที่ 10
ช่างวรเดช
26/02/2554
07:41 น.
thanks หลายๆครับท่านพี่ช่างซ่อมมอเตอร์
อะ อะ เจอปรมาจารย์ แห่งสำนักก้อนเหล็กหมุนได้ ตัวจริงแล้ว ดีใจจัง

ยินดีแลกเปลี่ยนได้เกือบทุกอย่างครับ

(อิอิ เว้นไว้บางอย่าง)

จากประสบการณ์ จริง ที่ไม่ใช่สถาบันใดๆรับรอง ราวๆสัก15ปี มานี่เอง
การออกตัวของมอเตอร์ที่มีขนาดใหญ่เช่น200HPด้วยสตาร์ เดลต้า ในการมั่วๆของผม ยังมีอีกหลายแบบ
(เป็นการลองศึกษาของผมเองครับ ไม่ใช่ความรู้ใหม่และไม่ใช่มาตรฐานทางวิศวกรรมใดๆ)
เช่น

1แช่Timer
2ตัดTimer
3Main+star on ,main+star off , main+delta on
4uvw direct supply, zxy starclose and star open,zxy delta close
5 manual control ไม่ใช้Timer
ุ6ไม่ใช้ แมกเนติก ฟังเสียง/ดูรอบ แทนtimer
ใช้ยก สะพานไฟ(cutout,Isolator) แบบ โหดๆ ซาดิส
5.....ฯล

สรุป

นี่เป็นความเห็นส่วนตัวครับโปรดใช้วิจารณญาณ
เด็กอายุต่ำกว่า13ปีควรได้รับการแนะนำ อิอิ.....


ความคิดเห็นที่ 11
โจนิว
27/02/2554
18:38 น.
เทพทั้งสองคนครับ กระผมขอถามหน่อยน่ะครับ....การสตาร์ท Star-Delta นั้นกระผมสงสัยข้อนี้มากเลยครับ คือ ผมออกแบบวงจรสตาร์-เดลต้ามาหนึ่งวงจร แล้วผมจะคิดอย่างไรดีครับ
ว่าจะตั้ง Timer ไว้ที่เท่าไรดีครับ มีสูตรคำนวณหรือป่าวครับ หรือมีหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง
ในการ ปรับตั้ง Timer ( สมมุติกระผมมีมอเตอร์ 30 HP. สตาร์ท สตาร์-เดลต้า กระผม
จะปรับตั้ง Timer ไว้กี่ sec.ดีครับตอน Run สตาร์อยู่ ) ใครรู้ช่วยตอบหน่อยน่ะครับ
.......ขอบคุณครับ
ความคิดเห็นที่ 12
ช่างซ่อมมอเตอร์
27/02/2554
21:15 น.
ขอลอกกระทู้เก่าที่เคยตอบและนำมาเพิ่มเติมมาให้อ่านครับ

การสตาร์ทโดยใช้ชุด สตาร์-เดลต้า เป็นการสตาร์ทเพื่อลดกระแสขณะสตาร์ทโดยใช้ หลักการนำอุปกรณ์ภายนอกมาเปลี่ยนวงจรขดลวดเพื่อให้มีแรงดันที่ป้อนให้กับขดลวดต่อเฟส ลดลงจากเดิม ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องให้กระแสลดลงเป็นสัดส่วนกับแรงดัน แต่ แรงบิดจะลดลงเป็นสัดส่วนกำลังสอง

การเปลี่ยนสภาวะจากสตาร์ เป็นเดลต้า ควรจะเป็นจังหวะที่แรงบิดของมอเตอร์ที่มอเตอร์ผลิตได้ ยังคงมีค่ามากแรงบิดของโหลดที่เพิ่มขึ้น และเป็นจังหวะที่มอเตอร์มีความเร็วรอบมากที่สุดเพราะจะทำให้เกิดกระแสกระชากของการเปลี่ยนจาก สตาร์ เป็น เดลต้า น้อยที่สุด จากข้อความข้างต้นก็จะหมายถึง เวลาที่ใช้ในการเปลี่ยนจะแยกออกเป็น 2 กรณี คือ
1. กรณีที่ไม่มีโหลดต่อยู่ เวลาที่เหมาะสมคือ เมื่อความเร็วของมอเตอร์เข้าใกล้ ความเร็วของสนามแม่เหล็กหมุน หรือความเร็วขณะไม่มีโหลด เพราะในสภาวะนี้ แรงบิดของมอเตอร์ที่ผลิตได้ถึงแม้จะมีการลดแรงดันลงมา ยังไงก็ยังคงสามารถเอาชนะความสูญเสียของมอเตอร์ได้ และเมื่อความเร็วของมอเตอร์เป็นความเร็วขณะไม่มีโหลดกระแสกระชากขณะเปลี่ยนจากสตาร์ เป็น เดลต้า จะมีค่าน้อยมาก เวลาที่มอเตอร์จากหยุดหมุน ไปจนถึงความเร็วพิกัด จะขึ้นอยู่กับจำนวนโปลมอเตอร์ ซึ่งมอเตอร์ 2 โปลจะใช้เวลามากที่สุด ซึ่งไม่น่าจะเกิน 3 วินาที
2. กรณีที่มีโหลด คงจะลำบากมากที่จะต้อง คำนวณหาจุดที่มีความเร็วมากที่สุด และแรงบิดของมอเตอร์ยังคงมากกว่าแรงบิดของโหลด ถ้ามอเตอร์ไม่ใหญ่มากนักอาจจะต้องทดสอบลองรันสตาร์ดู และจับเวลาตั้งแต่เริ่มสตาร์ทว่าจุดที่แรงบิดของมอเตอร์เริ่มตก และมีค่าไม่เพียงพอที่จะเร่งรอบของโหลดขึ้น( มอเตอร์จะมีกระแสตีกลับขึ้นหลังจากการลดลง ) มีค่าเท่าไหร่ จากนั้นก็กำหนดเวลาในการเปลี่ยนจากสตาร์ เป็นเดลต้าให้เร็วกว่าสัก 1-2 วินาที

แต่ถ้าไม่อยากจะพิจารณาอะไรมาก เวลาการเปลี่ยนก็จะอยู่ที่ 3-7 วินาที โดยอ้างอิงจาก หนังสือ Practical Aspects of electric Motor Controls ( Telemecanique ) และจากประสบการ์ณที่เข้าไปให้บริการลูกค้า มีไม่มากที่สตาร์ทมอเตอร์ในขณะที่มีโหลดต่ออยู่

ขอบคุณครับที่ยกย่องให้เป็นเทพ ถ้าผมเป็นเทพ ในห้องนี้จะมีเทพเยอะครับเพราะมีคนมีความรู้ความสามารถมาช่วยตอบเยอะครับ
ความคิดเห็นที่ 13
worldair
02/10/2554
06:34 น.
ผมขอออกความเห็น การเขียนแบบคอนโทรล ตาม คห9 เห็นด้วย ที่ให้เลข K1-3 ตามสำดับ sequence
การเขียนสวิทช์ ผมเรียนมาก็เขียนเหมือนท่าน แต่เมื่อทำงานจริงผมชอบเขียน สวิทช์/คอนแทค หันลง(เหมือน overload) เวลาเดินสาย wiring, ก็ไล่ตั้งแต่คอมมอน common ลงมาเลย ดูวงจรในเว็บนี้...
http://www.lpc.rmutl.ac.th/elcen/elearning/motorcontrol/module12/star_delta.html
ดูที่โอเวอร์โหลด สามารถสวิงคอนแท็คไปทางขวาได้เลย
ก็ทำไมเราไม่เขียนสวิทช์ต่างๆ ให้เหมือน Overload ไปเลยจะดีกว่ามั้ย
ผมต้องขออนุญาต อจ.บุญมี KMITNB ด้วยนะครับ ครูผู้สอนผมให้สามารถทำมาหากินได้จนบัดนี้
---worldair-kmitnb
ความคิดเห็นที่ 14
ravana
17/02/2555
10:51 น.
วงจรตามลิ้งค์ของ ความเห็นที่13 น่าจะผิดเล็กน้อยนะครับเพราะในตำแหน่ง สตาร์ V1ถูกเชื่อมกลับไปหา V2 ซึ่งเป็นขดเดียวกัน ซึ่งไม่น่าจะใช่นะครับ
ความคิดเห็นที่ 15
Somey1
27/10/2559
19:20 น.
ผมขอถามหน่อยครับ ผมมีมอเตอร์20hp ต่อวงจรสตาร์ เดลต้า ต้องใช้โอเวอร์โหลดขนาดเท่าไรครับ ผมอ่านเนมเพลท 29.4A ถ้าใช้โอเวอร์โหลดเท่ากับมอเตอร์ได้ไหมครับ มันจะไหม้ใหมครับ แล้วเขาคิดโหลดยังไงครับ ช่วยอธิบายให้รู้หน่อยครับ
ความคิดเห็นทั้งหมด 15 รายการ |
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง: