Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,011
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,599
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,002
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,808
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,477
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,570
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,527
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,835
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,370
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,462
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,378
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,526
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,609
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,155
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,547
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,569
17 Industrial Provision co., ltd 39,240
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,390
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,310
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,637
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,466
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,868
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,235
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,975
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,600
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,529
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,967
28 AVERA CO., LTD. 22,600
29 เลิศบุศย์ 21,701
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,401
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,264
32 แมชชีนเทค 19,906
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,881
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,198
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,153
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,813
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,616
38 SAMWHA THAILAND 18,310
39 วอยก้า จำกัด 17,917
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,493
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,347
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,317
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,256
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,232
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,149
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,088
47 Systems integrator 16,725
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,644
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,469
50 Advanced Technology Equipment 16,460
03/12/2553 21:12 น. , อ่าน 14,606 ครั้ง
Bookmark and Share
เซนเซอร์เช็คความร้อนขดลวดในมอเตอร์
man u
03/12/2553
21:12 น.
เซนเซอร์เช็คความร้อนขดลวดในมอเตอร์ มีวิธีการต่อใช้งานได้อย่างไรบ้างครับ
ความคิดเห็นทั้งหมด 1 รายการ |
ความคิดเห็นที่ 1
ช่างซ่อมมอเตอร์
04/12/2553
10:30 น.
ต้องทราบก่อนครับว่าเป็น เซนเซอร์ประเภทอะไร ลองอ่านเนื้อหาด้านล่างดูครับ ผมได้คัดลอกกระทู้เก่ามาให้อ่าน

Temperature Detector ( ตัวตรวจจับความร้อน ) ที่ใช้ในการตรวจจับความร้อนของมอเตอร์แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทคือ
1. ไบเมทอลลิค หรือ เทอร์โมสตัท ( Bimetallic / Thermostat )
2. เทอร์มิสเตอร์ ( Thermister )
3. อาร์ทีดี ( RTD )
4. . เทอร์โมคัปเปิ้ล ( Thermocouple )

1. ไบเมทอลลิค หรือ เทอร์โมสตัท ( Bimetallic / Thermostat ) เป็นอุปกรณ์ตัวจับความร้อนที่ใช้สำหรับป้องกันอุณหภูมิที่สูงเกินกว่าค่าที่กำหนดไว้ที่ตัวเซนเซอร์ Bimetallic ทำงานเหมือนเทอร์โมสตัทของเตารีด จะถูกติดตั้งไว้ที่ขดลวดบริเวณปลายคอยล์เนื่องจากมีขนาดค่อนข้างใหญ่ เพราะตัวมันเองจะมีหน้าสัมผัสอยู่แล้ว การใช้งานจะนำไปต่อเข้ากับชุดคอนโทรลโดยตรง (ต่ออนุกรมเข้ากับคอยล์แมกเนติก)

2. เทอร์มิสเตอร์ ( Thermister ) เป็นอุปกรณ์ตัวจับความร้อนที่ใช้สำหรับป้องกันอุณหภูมิที่สูงเกินกว่าค่าที่กำหนดไว้ที่ตัวเซนเซอร์ จะทำงานร่วมกับรีเลย์ ตัวมันเองมีขนาดเล็ก และเป็นตัวตรวจจับความร้อนที่นิยมใช้มากที่สุด Thermister ผลิตจากการโด๊ปสารเซมิคอนดักเตอร์ประเภทหนึ่ง ทำให้มีคุณสมบัติมีค่าความต้านทานเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ Thermister มีอยู่สองประเภทคือ NTC และ PTC ชนิดที่ใช้ในวงการมอเตอร์ คือ ชนิด PTC โดยมีหลักการทำงานคือค่าความต้านทานของตัวมันจะแปรผันตรงกับอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น แต่การเพิ่มขึ้นของค่าความต้านทาน จะไม่เป็นเส้นตรง และมีการลดลงในบางช่วงซึ่งเป็นช่วงที่ไม่อยู่ในจุดที่ใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น Thermister PTC 150 ถ้าเราให้ความร้อนที่ตัวเซนเซอร์ในช่วงแรกค่าความต้านทานของมันจะลดลงเล็กน้อย ปกติค่าความต้านทานจะอยู่ประมาณ 50 โอห์มที่ 30 องศา แต่เมื่ออุณหภูมิที่ตัวเซนเซอร์ตรวจจับได้มีอุณหภูมิประมาณ 130 องศาค่าความต้านทานของมันจะเพิ่มสูงขึ้นและจะสูงชันขึ้นเกือบเป็นมุมฉาก เมื่อมีอุณหภูมิที่ตัวจับได้ 145 องศา Thermister จะถูกนำไปต่อเข้ากับ Thermister Relay ที่มีหน้าที่คอยตรวจจับค่าความต้านทานของ Thermister ว่ามีความต้านทานตามที่กำหนดไว้หรือยัง ซึ่งปกติจะอยู่ประมาณ 2700 -3500 โอห์ม นั่นก็หมายความว่า Thermister PTC 150 ที่อุณหภูมิ 150 องศา ตัวมันเองจะมีค่าความต้านทานที่เกินกว่าค่า 2700-3500 โอห์ม นั่นก็หมายความว่าเมื่ออุณหภูมิสูงถึง 150 องศาค่าความต้านทานของ Thermister จะเป็นตัวสั่งให้ Thermister Relay ทริปวงจรออก จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่าหากเราต้องการเปลี่ยนจุดทริปของวงจรควบคุมมอเตอร์ให้สูงขึ้นหรือต่ำลง เราต้องทำการเปลี่ยนชนิดของเทอร์มิสเตอร์ ไม่ใช่ไปปรับแต่งที่ เทอร์มิสเตอร์รีเลย์ ส่วนเทอร์มิสเตอร์ประเภท วิธีการใช้งานจะนำเอาหน้าคอนแทคของเทอร์มิสเตอร์รีเลย์ ไปใช้งาน

3.RTD มีหลายประเภท ประเภทที่นิยม คือ PT100 โดยที่ PT100 มีความหมายว่า ที่อุณหภูมิ 0 องศาตัว PT100 จะมีค่าความต้านทาน 100 โอห์ม RTD ต้องใช้ร่วมกับรีเลย์เช่นกัน สามารถเซ็ทได้เป็นทั้งชุดป้องกันอุณหภูมิสูง หรือใช้วัดค่าอุณหภูมิได้เลย ข้อเสียมีราคาค่อนข้างแพง เลยมักจะใช้ติดตั้งกับมอเตอร์ที่เป็นมอเตอร์ขนาดใหญ่และมีแรงดันเป็นระดับ Medium Volt

4.Thermocoulple เป็นตัวตรวจจับที่ไม่นิยมใช้ตรวจจับอุณหภูมิของขดลวด เนื่องจากหลักการทำงานตัวมันเองจะผลิตแรงดันออกมา ฉะนั้นเมื่อนำไปติดตั้งในที่มีสนามเเม่เหล็กจะก่อให้เกิดสัญญาณรบกวนค่อนข้างมาก จึงมักจะนิยมใช้ติดตั้งเพื่อวัดอุณหภูมิด้านนอกมอเตอร์ จำพวก แบริ่ง น้ำมันหล่อลื่น
ความคิดเห็นทั้งหมด 1 รายการ |
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง: