Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,012
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,599
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,004
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,809
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,478
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,574
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,528
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,837
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,377
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,464
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,380
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,527
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,615
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,160
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,554
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,573
17 Industrial Provision co., ltd 39,246
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,391
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,311
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,640
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,472
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,871
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,238
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,975
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,602
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,530
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,969
28 AVERA CO., LTD. 22,602
29 เลิศบุศย์ 21,703
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,405
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,266
32 แมชชีนเทค 19,911
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,885
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,201
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,155
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,815
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,617
38 SAMWHA THAILAND 18,313
39 วอยก้า จำกัด 17,922
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,497
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,349
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,318
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,260
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,234
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,150
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,088
47 Systems integrator 16,728
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,650
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,472
50 Advanced Technology Equipment 16,461
01/08/2545 01:08 น. , อ่าน 63,547 ครั้ง
Bookmark and Share
เรียนวิศกรแล้วได้ กว. แล้วเอาไปทำ.......
วิศวกรไฟ
01/08/2545
01:08 น.
เรียนวิศกรแล้วได้ กว. แล้วเอาไปทำอะไร ไม่เห็นได้ใช้เลย เสียเงินตั้งเยอะครับ เสียค่าหน่วยกิจอีก โรงงานที่มีวิศวกร ยั่งมีไฟไหม้อีกก็เยอะ เช่นโรงแรม ก็มีให้เห็นเป็นประจำ วิศวกรที่เรียนมาแล้วมีใบ กว. ตกงานก็มีเยอะ แถมไม่ได้รายได้อะไรจากใบ กว.อีก ผมว่าทาง กว. น่าจะมีกฎหมายอะไรสักอย่างนะครับ ทำให้วิศวกรไทยไม่จำเป็นที่จะต้องทำงานไหนโรงงาน หรือว่า ต้องตั้งบริษัทรับเหมาเอง มันก็น่าคิดนะครับ หรือว่ามีแล้ว ใครรู้ช่วยบอกหน่อยครับ ยกตัวย่างเช่นสาขาบัญชี กฏหมาย ยังมีการรองรับบุคลากรที่เรียนจบมา ในกรณีบุคคลนั้นมีใบอนุญาติ ซึ่งสามารถเซ็นต์รับรองอะไรได้ตั้งเยอะ ใครที่มีความเห็นอื่นๆบ้างก็ยินดีรับฟังนะครับ
ความคิดเห็นทั้งหมด 339 รายการ | «    9  10  11  12  13  14  15  16  17  18    »
ความคิดเห็นที่ 196
นักศึกษาปี1
06/07/2550
11:03 น.
ไม่อยากได้ก็ไม่ต้องเอาสิ ไม่เข้าท่า
ความคิดเห็นที่ 197
อสบไฟฟ้า Kmitnb ,วศม ไฟฟ้าควบคุมเกษตร,วศมKmitl
12/07/2550
15:15 น.
วิศวกรทั้งหลายครับ ผมนั่งอ่านมาแล้ว หลายๆความเห็น ก็มานั่งนึกว่า ทำไมคำถามที่คาใจพวกท่านก็ยังอยู่เพราะคือคำถามที่ทำให้เราๆทั้งหลายมานั่งถกเถียงกันอยู่ในคำว่า<br>วศบ วิศวกรรมศาสตร์ <br>อสบ อุตสาหกรรมศาสตร์<br>คอบ คุรุศาสตร์<br>แต่ที่แน่ๆบุคคลเหล่านี้ที่จบไปก่อนหน้านี้ก็คือ บูรพาจารย์ของท่านทั้งหลายครับ จึงได้กล่าวว่า <br>กว.จะได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับสถาบันที่คุณเรียนมีรายวิชาตรงกับที่ กว. กำหนดไหมครับ <br>และพอได้มาจะรักษา กว .ให้ดีๆอย่างไรครับ<br><br>อย่างผมมีภาคีวิศวกรก็ยังหารายได้พิเศษช่วงวันหยุด วันละ 2500-3000 บาท ทำงานแค่วันละ 4 ชั่วโมง <br>โดยการใช้ความรู้ควาทมสามารถที่คุณสั่งสมประสพการณ์มาเอง แต่ถามว่าเรียนจบมาแล้ว ใครเก่งกว่ากัน เกรดเฉลี่ย และ สถาบัน ไม่สามารถกำหนดความเก่งอะไรได้ ครับ ต้องมาดูที่การทำงานดีกว่าครับ และ ไม่ควรแข่งกับใครหรอกครับ แข่งกับตัวเราเองดีกว่าครับ แล้วจะรู้ว่าเราจะเอาใบกว. ไปใช้ทำอะไรครับ <br>มีใบกว.ดีอย่างไร ผมต่อมา 3 รอบครับ ขึ้นใบที่ 4 ครับ ก็ยังคงต้องต่ออีกเพราะเราคือ วิศวกร I AM ENGINEER<br><br>และมีอะไรที่ไม่ทราบผมเกี่ยวกับรายชื่อ วิชาเรียน กว ว่าเราลองไปยื่นข้อชี้แนะให้คณะ กรรมการกว น่าจะดีกว่านะครับ<br><br><br>ยังจำสิ่งที่เราเป็นได้ไหมครับ ลองทบทวนอ่านกันดูครับ คำว่าจรรยาบรรณ น่าจะมากับเราตั้งแต่เกิดแล้วครับ เพียงแต่ว่าเป็นบทที่เราต้องบังคับเราเองให้กระทำดี สมกับเป็นวิศวกรที่ดีครับ และวันนั้น บริษัทไหนๆก็อยากให้เราทำงานด้วยครับ <br><br><br> ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมและการประพฤติผิด จรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้กำหนดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ดังต่อไปนี้ <br><br>๑. ไม่กระทำการใดๆ อันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ <br><br>บทบัญญัติในข้อนี้เป็นกฎเกณฑ์ที่มีลักษณะกว้างเพื่อให้ครอบคลุมพฤติกรรม หรือลักษณะการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของวิศวกรผู้ได้รับใบอนุญาตให้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความซื่อสัตย์สุจริต ยึดมั่นอยู่ในหลักศีลธรรมอันดี มีความภาคภูมิในในเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพของตนเอง <br> <br><br>๒. ต้องปฏิบัติงานที่ได้รับทำอย่างถูกต้องตามหลักปฏิบัติและวิชาการ <br><br>บทบัญญัติในข้อนี้มีวัตถุประสงค์ในการควบคุมให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมที่ได้รับใบอนุญาตจากสภาวิศวกร ต้องรับผิดชอบในผลการปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามหลักปฏิบัติและ วิชาการ โดยจะต้องศึกษาถึงหลักเกณฑ์ของงานวิศวกรรม และหลักเกณฑ์ของกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพ เช่น กฎหมายควบคุมอาคาร กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมความปลอดภัยในการทำงานสาขาต่างๆ เป็นต้น <br><br>กรณีศึกษา ๑ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๙/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๔๘) <br>กรณีศึกษา ๒ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๖/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘) <br>กรณีศึกษา ๓ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๑๔/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๘) <br>กรณีศึกษา ๔ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๓/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๔๘) <br>กรณีศึกษา ๕ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๑/๒๕๔๖ ลงวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖)<br>กรณีศึกษา ๖ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๔/๒๕๔๖ ลงวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๔๖) <br>กรณีศึกษา ๗ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๑๑/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๗)<br>กรณีศึกษา ๘ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๘/๒๕๔๖ ลงวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๔๖)<br> <br><br>๓. ต้องประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมด้วยความซื่อสัตย์สุจริต <br><br>บทบัญญัติในข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ต้องประกอบวิชาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อเป็นการส่งเสริมมิให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หากเป็นกรณีที่มิใช่เรื่องเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม แต่ผู้ประกอบวิชาชีพได้กระทำการใดๆ อย่างไม่ซื่อสัตย์สุจริตต่อผู้อื่น และไต่สวนแล้วเห็นว่ามีความผิดจริง อาจลงโทษโดยไม่ใช้บทบัญญัตินี้ แต่ไปใช้บทบัญญัติตามข้อ ๑ คือกระทำการใดๆ อันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพแทนได้ <br><br>กรณีศึกษา ๑ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๑/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๔๘) <br>กรณีศึกษา ๒ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๑๒/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๗) <br> <br><br>๔. ไม่ใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่ชอบธรรม หรือใช้อิทธิพล หรือให้ผลประโยชน์แก่บุคคลใดเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับหรือไม่ได้รับงาน <br><br>บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ที่มีอำนาจหน้าที่ในตำแหน่งที่สามารถให้คุณให้โทษแก่ผู้อื่นในด้านต่างๆ ใช้อำนาจหน้าที่อันเป็นการ บีบบังคับ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับงาน หรือบังคับผู้อื่นไม่ให้งานนั้นแก่ฝ่ายตรงกันข้าม ทั้งนี้งานนั้น ไม่จำเป็นจะต้องเป็นงานเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม และบุคคลทั่วไปหากต้องเสียประโยชน์จากการกระทำของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมดังกล่าว ก็ถือว่าเป็นผู้เสียหาย สามารถร้องเรียนกล่าวหาผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมนั้น เพื่อให้คณะกรรมการจรรยาบรรณพิจารณาความผิดทางจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพได้ <br> <br><br>๕. ไม่เรียก รับ หรือยอมรับทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อย่างใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ จากผู้รับเหมา หรือบุคคลใดซึ่งเกี่ยวข้องในงานที่ทำอยู่กับผู้ว่าจ้าง <br><br>บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเมื่อได้รับงานจากผู้ว่าจ้างแล้ว ต้องรักษาผลประโยชน์ของผู้ว่าจ้าง เสมือนกับที่วิญญูชนทั่วไปพึงรักษาผลประโยชน์ของตนเอง จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพในข้อนี้ มีเจตนารมณ์เพื่อควบคุมให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมประกอบวิชาชีพของตนเองด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่รับผลประโยชน์อื่นที่มิควรได้ นอกจากค่าจ้างที่ได้รับทำงานให้กับผู้ว่าจ้าง เพราะหากปล่อยให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม เอารัดเอาเปรียบผู้ว่าจ้างแล้ว ความเสื่อมศรัทธาต่อบุคคลและสถาบันแห่งวิชาชีพจะเกิดขึ้น บทบัญญัติในข้อนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของบุคคลทั่วไปด้วย <br> <br><br>๖. ไม่โฆษณา หรือยอมให้ผู้อื่นโฆษณา ซึ่งการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเกินความเป็นจริง <br><br>บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแข่งขันกันรับงานโดยการโฆษณา ซึ่งอาจก่อให้เกิดการแตกแยก เนื่องจากการแย่งงานกันทำ และส่งผลให้เกิดการแตกความสามัคคีในกลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพเดียวกัน <br><br>กรณีศึกษา ๑ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๑๑/๒๕๔๖ ลงวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๖) <br> <br><br>๗. ไม่ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเกินความสามารถที่ตนเองจะกระทำได้ <br><br>บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมรับงานโดยไม่คำนึงถึงความสามารถที่ตนเองมีอยู่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนและสังคมได้ อนึ่ง การประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเกินความสามารถที่ตนเองจะทำได้นั้น หมายถึงการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเกินความสามารถตามที่กฎหมายกำหนด และรวมถึงความสามารถที่ตนเองจะทำได้ตามความเป็นจริงด้วย <br><br>กรณีศึกษา ๑ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๑๐/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๘) <br>กรณีศึกษา ๒ ( คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๑๓/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๗ ) <br> <br><br>๘. ไม่ละทิ้งงานที่ได้รับทำโดยไม่มีเหตุอันสมควร <br><br>บทบัญญัติในข้อนี้มีวัตถุประสงค์เป็นการควบคุมให้ผู้ประกอบวิชาชีพ เมื่อรับปฏิบัติงานแล้ว ต้องมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับทำ เพราะหากปล่อยให้มีการละทิ้งงาน อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้ อีกทั้งเป็นการป้องกันมิให้มีการประกอบวิชาชีพอันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียแห่งวงการวิชาชีพ <br><br>กรณีศึกษา ๑ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๒/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๔๘) <br>กรณีศึกษา ๒ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๑๐/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๗) <br> <br><br>๙. ไม่ลงลายมือชื่อเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ในงานที่ตนเองไม่ได้รับทำ ตรวจสอบ หรือควบคุมด้วยตนเอง <br><br>บทบัญญัติในข้อนี้มีวัตถุประสงค์มุ่งควบคุมให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมมีความ ซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น หากไม่สามารถรับปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมได้แล้ว ก็ไม่ควรลงลายมือชื่อเป็นผู้รับทำงานนั้น เพราะจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ว่าจ้าง และบุคคลภายนอกได้ <br> <br><br>๑๐. ไม่เปิดเผยความลับของงานที่ตนได้รับทำ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ว่าจ้าง <br><br>บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองวงการของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมให้เป็นที่ไว้วางใจของบุคคลทั่วไป เนื่องจากหากบุคคลทั่วไปไม่เชื่อถือผู้ประกอบวิชาชีพแล้ว ก็จะเกิดความเสื่อมศรัทธาต่อผู้ประกอบวิชาชีพและสถาบันแห่งวิชาชีพได้ ผู้ประกอบวิชาชีพอยู่ในฐานะที่รู้ความลับของ ผู้ว่าจ้าง ซึ่งถือว่าเป็นเอกสิทธิ์และหน้าที่ที่จะไม่เปิดเผยความลับนั้น ถ้าเปิดเผยความลับโดยประการ ที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ว่าจ้างก็ถือว่าเป็นการผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ <br> <br><br>๑๑. ไม่แย่งงานจากผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น <br><br>บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันมิให้เกิดความแตกแยก ไม่มีความสามัคคี โดยมุ่งให้เกิดความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมด้วยกัน <br> <br><br>๑๒. ไม่รับทำงาน หรือตรวจสอบงานชิ้นเดียวกันกับที่ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่นทำอยู่ เว้นแต่เป็นการทำงานหรือตรวจสอบตามหน้าที่ หรือแจ้งให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่นนั้นทราบล่วงหน้าแล้ว <br><br>บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการป้องกันมิให้เกิดความแตกแยกความสามัคคีในกลุ่มของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมด้วยกัน <br><br>กรณีศึกษา ๑ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๗/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๔๗) <br> <br><br>๑๓. ไม่รับดำเนินงานชิ้นเดียวกันให้แก่ผู้ว่าจ้างรายอื่น เพื่อการแข่งขันราคา เว้นแต่ได้แจ้งให้ผู้ว่าจ้างรายแรกทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร หรือได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ว่าจ้างรายแรก และได้แจ้งให้ผู้ว่าจ้างรายอื่นนั้นทราบล่วงหน้าแล้ว <br> <br><br>๑๔. ไม่ใช้หรือคัดลอกแบบ รูป แผนผัง หรือเอกสาร ที่เกี่ยวกับงานของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่นนั้น <br><br>บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมให้มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพเดียวกัน มิให้เอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน เกี่ยวกับรายการคำนวณอันเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม <br> <br><br>๑๕. ไม่กระทำการใดๆ โดยจงใจให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่ชื่อเสียง หรืองานของ ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น <br><br>บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะเสริมสร้างความสามัคคีของกลุ่มผู้มีวิชาชีพเดียวกัน คือต้องมีความซื่อสัตย์ต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพ โดยไม่กระทำการใดๆ ให้เป็นที่เสื่อมเสียชื่อเสียง หรืองานของ ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น <br> <br><br>
ความคิดเห็นที่ 198
อสบไฟฟ้า Kmitnb ,วศม ไฟฟ้าควบคุมเกษตร,วศมKmitl
12/07/2550
15:15 น.
วิศวกรทั้งหลายครับ ผมนั่งอ่านมาแล้ว หลายๆความเห็น ก็มานั่งนึกว่า ทำไมคำถามที่คาใจพวกท่านก็ยังอยู่เพราะคือคำถามที่ทำให้เราๆทั้งหลายมานั่งถกเถียงกันอยู่ในคำว่า<br>วศบ วิศวกรรมศาสตร์ <br>อสบ อุตสาหกรรมศาสตร์<br>คอบ คุรุศาสตร์<br>แต่ที่แน่ๆบุคคลเหล่านี้ที่จบไปก่อนหน้านี้ก็คือ บูรพาจารย์ของท่านทั้งหลายครับ จึงได้กล่าวว่า <br>กว.จะได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับสถาบันที่คุณเรียนมีรายวิชาตรงกับที่ กว. กำหนดไหมครับ <br>และพอได้มาจะรักษา กว .ให้ดีๆอย่างไรครับ<br><br>อย่างผมมีภาคีวิศวกรก็ยังหารายได้พิเศษช่วงวันหยุด วันละ 2500-3000 บาท ทำงานแค่วันละ 4 ชั่วโมง <br>โดยการใช้ความรู้ควาทมสามารถที่คุณสั่งสมประสพการณ์มาเอง แต่ถามว่าเรียนจบมาแล้ว ใครเก่งกว่ากัน เกรดเฉลี่ย และ สถาบัน ไม่สามารถกำหนดความเก่งอะไรได้ ครับ ต้องมาดูที่การทำงานดีกว่าครับ และ ไม่ควรแข่งกับใครหรอกครับ แข่งกับตัวเราเองดีกว่าครับ แล้วจะรู้ว่าเราจะเอาใบกว. ไปใช้ทำอะไรครับ <br>มีใบกว.ดีอย่างไร ผมต่อมา 3 รอบครับ ขึ้นใบที่ 4 ครับ ก็ยังคงต้องต่ออีกเพราะเราคือ วิศวกร I AM ENGINEER<br><br>และมีอะไรที่ไม่ทราบผมเกี่ยวกับรายชื่อ วิชาเรียน กว ว่าเราลองไปยื่นข้อชี้แนะให้คณะ กรรมการกว น่าจะดีกว่านะครับ<br><br><br>ยังจำสิ่งที่เราเป็นได้ไหมครับ ลองทบทวนอ่านกันดูครับ คำว่าจรรยาบรรณ น่าจะมากับเราตั้งแต่เกิดแล้วครับ เพียงแต่ว่าเป็นบทที่เราต้องบังคับเราเองให้กระทำดี สมกับเป็นวิศวกรที่ดีครับ และวันนั้น บริษัทไหนๆก็อยากให้เราทำงานด้วยครับ <br><br><br> ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมและการประพฤติผิด จรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้กำหนดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ดังต่อไปนี้ <br><br>๑. ไม่กระทำการใดๆ อันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ <br><br>บทบัญญัติในข้อนี้เป็นกฎเกณฑ์ที่มีลักษณะกว้างเพื่อให้ครอบคลุมพฤติกรรม หรือลักษณะการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของวิศวกรผู้ได้รับใบอนุญาตให้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความซื่อสัตย์สุจริต ยึดมั่นอยู่ในหลักศีลธรรมอันดี มีความภาคภูมิในในเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพของตนเอง <br> <br><br>๒. ต้องปฏิบัติงานที่ได้รับทำอย่างถูกต้องตามหลักปฏิบัติและวิชาการ <br><br>บทบัญญัติในข้อนี้มีวัตถุประสงค์ในการควบคุมให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมที่ได้รับใบอนุญาตจากสภาวิศวกร ต้องรับผิดชอบในผลการปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามหลักปฏิบัติและ วิชาการ โดยจะต้องศึกษาถึงหลักเกณฑ์ของงานวิศวกรรม และหลักเกณฑ์ของกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพ เช่น กฎหมายควบคุมอาคาร กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมความปลอดภัยในการทำงานสาขาต่างๆ เป็นต้น <br><br>กรณีศึกษา ๑ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๙/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๔๘) <br>กรณีศึกษา ๒ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๖/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘) <br>กรณีศึกษา ๓ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๑๔/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๘) <br>กรณีศึกษา ๔ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๓/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๔๘) <br>กรณีศึกษา ๕ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๑/๒๕๔๖ ลงวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖)<br>กรณีศึกษา ๖ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๔/๒๕๔๖ ลงวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๔๖) <br>กรณีศึกษา ๗ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๑๑/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๗)<br>กรณีศึกษา ๘ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๘/๒๕๔๖ ลงวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๔๖)<br> <br><br>๓. ต้องประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมด้วยความซื่อสัตย์สุจริต <br><br>บทบัญญัติในข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ต้องประกอบวิชาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อเป็นการส่งเสริมมิให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หากเป็นกรณีที่มิใช่เรื่องเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม แต่ผู้ประกอบวิชาชีพได้กระทำการใดๆ อย่างไม่ซื่อสัตย์สุจริตต่อผู้อื่น และไต่สวนแล้วเห็นว่ามีความผิดจริง อาจลงโทษโดยไม่ใช้บทบัญญัตินี้ แต่ไปใช้บทบัญญัติตามข้อ ๑ คือกระทำการใดๆ อันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพแทนได้ <br><br>กรณีศึกษา ๑ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๑/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๔๘) <br>กรณีศึกษา ๒ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๑๒/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๗) <br> <br><br>๔. ไม่ใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่ชอบธรรม หรือใช้อิทธิพล หรือให้ผลประโยชน์แก่บุคคลใดเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับหรือไม่ได้รับงาน <br><br>บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ที่มีอำนาจหน้าที่ในตำแหน่งที่สามารถให้คุณให้โทษแก่ผู้อื่นในด้านต่างๆ ใช้อำนาจหน้าที่อันเป็นการ บีบบังคับ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับงาน หรือบังคับผู้อื่นไม่ให้งานนั้นแก่ฝ่ายตรงกันข้าม ทั้งนี้งานนั้น ไม่จำเป็นจะต้องเป็นงานเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม และบุคคลทั่วไปหากต้องเสียประโยชน์จากการกระทำของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมดังกล่าว ก็ถือว่าเป็นผู้เสียหาย สามารถร้องเรียนกล่าวหาผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมนั้น เพื่อให้คณะกรรมการจรรยาบรรณพิจารณาความผิดทางจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพได้ <br> <br><br>๕. ไม่เรียก รับ หรือยอมรับทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อย่างใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ จากผู้รับเหมา หรือบุคคลใดซึ่งเกี่ยวข้องในงานที่ทำอยู่กับผู้ว่าจ้าง <br><br>บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเมื่อได้รับงานจากผู้ว่าจ้างแล้ว ต้องรักษาผลประโยชน์ของผู้ว่าจ้าง เสมือนกับที่วิญญูชนทั่วไปพึงรักษาผลประโยชน์ของตนเอง จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพในข้อนี้ มีเจตนารมณ์เพื่อควบคุมให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมประกอบวิชาชีพของตนเองด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่รับผลประโยชน์อื่นที่มิควรได้ นอกจากค่าจ้างที่ได้รับทำงานให้กับผู้ว่าจ้าง เพราะหากปล่อยให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม เอารัดเอาเปรียบผู้ว่าจ้างแล้ว ความเสื่อมศรัทธาต่อบุคคลและสถาบันแห่งวิชาชีพจะเกิดขึ้น บทบัญญัติในข้อนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของบุคคลทั่วไปด้วย <br> <br><br>๖. ไม่โฆษณา หรือยอมให้ผู้อื่นโฆษณา ซึ่งการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเกินความเป็นจริง <br><br>บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแข่งขันกันรับงานโดยการโฆษณา ซึ่งอาจก่อให้เกิดการแตกแยก เนื่องจากการแย่งงานกันทำ และส่งผลให้เกิดการแตกความสามัคคีในกลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพเดียวกัน <br><br>กรณีศึกษา ๑ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๑๑/๒๕๔๖ ลงวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๖) <br> <br><br>๗. ไม่ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเกินความสามารถที่ตนเองจะกระทำได้ <br><br>บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมรับงานโดยไม่คำนึงถึงความสามารถที่ตนเองมีอยู่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนและสังคมได้ อนึ่ง การประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเกินความสามารถที่ตนเองจะทำได้นั้น หมายถึงการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเกินความสามารถตามที่กฎหมายกำหนด และรวมถึงความสามารถที่ตนเองจะทำได้ตามความเป็นจริงด้วย <br><br>กรณีศึกษา ๑ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๑๐/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๘) <br>กรณีศึกษา ๒ ( คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๑๓/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๗ ) <br> <br><br>๘. ไม่ละทิ้งงานที่ได้รับทำโดยไม่มีเหตุอันสมควร <br><br>บทบัญญัติในข้อนี้มีวัตถุประสงค์เป็นการควบคุมให้ผู้ประกอบวิชาชีพ เมื่อรับปฏิบัติงานแล้ว ต้องมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับทำ เพราะหากปล่อยให้มีการละทิ้งงาน อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้ อีกทั้งเป็นการป้องกันมิให้มีการประกอบวิชาชีพอันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียแห่งวงการวิชาชีพ <br><br>กรณีศึกษา ๑ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๒/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๔๘) <br>กรณีศึกษา ๒ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๑๐/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๗) <br> <br><br>๙. ไม่ลงลายมือชื่อเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ในงานที่ตนเองไม่ได้รับทำ ตรวจสอบ หรือควบคุมด้วยตนเอง <br><br>บทบัญญัติในข้อนี้มีวัตถุประสงค์มุ่งควบคุมให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมมีความ ซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น หากไม่สามารถรับปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมได้แล้ว ก็ไม่ควรลงลายมือชื่อเป็นผู้รับทำงานนั้น เพราะจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ว่าจ้าง และบุคคลภายนอกได้ <br> <br><br>๑๐. ไม่เปิดเผยความลับของงานที่ตนได้รับทำ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ว่าจ้าง <br><br>บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองวงการของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมให้เป็นที่ไว้วางใจของบุคคลทั่วไป เนื่องจากหากบุคคลทั่วไปไม่เชื่อถือผู้ประกอบวิชาชีพแล้ว ก็จะเกิดความเสื่อมศรัทธาต่อผู้ประกอบวิชาชีพและสถาบันแห่งวิชาชีพได้ ผู้ประกอบวิชาชีพอยู่ในฐานะที่รู้ความลับของ ผู้ว่าจ้าง ซึ่งถือว่าเป็นเอกสิทธิ์และหน้าที่ที่จะไม่เปิดเผยความลับนั้น ถ้าเปิดเผยความลับโดยประการ ที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ว่าจ้างก็ถือว่าเป็นการผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ <br> <br><br>๑๑. ไม่แย่งงานจากผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น <br><br>บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันมิให้เกิดความแตกแยก ไม่มีความสามัคคี โดยมุ่งให้เกิดความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมด้วยกัน <br> <br><br>๑๒. ไม่รับทำงาน หรือตรวจสอบงานชิ้นเดียวกันกับที่ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่นทำอยู่ เว้นแต่เป็นการทำงานหรือตรวจสอบตามหน้าที่ หรือแจ้งให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่นนั้นทราบล่วงหน้าแล้ว <br><br>บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการป้องกันมิให้เกิดความแตกแยกความสามัคคีในกลุ่มของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมด้วยกัน <br><br>กรณีศึกษา ๑ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๗/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๔๗) <br> <br><br>๑๓. ไม่รับดำเนินงานชิ้นเดียวกันให้แก่ผู้ว่าจ้างรายอื่น เพื่อการแข่งขันราคา เว้นแต่ได้แจ้งให้ผู้ว่าจ้างรายแรกทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร หรือได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ว่าจ้างรายแรก และได้แจ้งให้ผู้ว่าจ้างรายอื่นนั้นทราบล่วงหน้าแล้ว <br> <br><br>๑๔. ไม่ใช้หรือคัดลอกแบบ รูป แผนผัง หรือเอกสาร ที่เกี่ยวกับงานของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่นนั้น <br><br>บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมให้มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพเดียวกัน มิให้เอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน เกี่ยวกับรายการคำนวณอันเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม <br> <br><br>๑๕. ไม่กระทำการใดๆ โดยจงใจให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่ชื่อเสียง หรืองานของ ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น <br><br>บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะเสริมสร้างความสามัคคีของกลุ่มผู้มีวิชาชีพเดียวกัน คือต้องมีความซื่อสัตย์ต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพ โดยไม่กระทำการใดๆ ให้เป็นที่เสื่อมเสียชื่อเสียง หรืองานของ ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น <br> <br><br>
ความคิดเห็นที่ 199
ต้น
23/07/2550
22:17 น.
ผมจบ อสม.ไฟฟ้ากำลัง ตอนนี้ยังทำงานเป็นช่างเทคนิคอยู่เลยไปสมัครงานที่ไหนก็ดูแต่เกรดกับสถาบันที่จบประสบการณ์ในทางวิศวกรรมก็ไม่มีเพราะเป็นสมัครที่ไหนก็ไม่รับแล้วยังจะมาถามถึงประสบการณืในสายงานวิศวกรรมแล้วจะเอาไหนมาก็เค้าไม่รับบางที่ยังบอกอีกนะว่า 2.7 ขึ้นไป ทำมัยคนได้ 2.39 มันไม่ดีอย่างไรตั้งใจทำงาน ขยัน ทดทน ถึงอยู่ที่เดิมมา 5 ปีแล้วแล้วอย่างนี้จะต้องให้ทำอย่างไรอีก นี่ถ้าหากไม่มีวุฒิ ปวส ติดตัวมาเห็นทีชาตินี้คงหางานยากแล้วยังจะบอกว่าตัวเราเลือกงานผมว่าบริษัทต่างหากที่เลือกเราคิดดูว่า สมัครกัน 200 คน แต่ไม่ได้ซักคน คิดดุเอาเองแล้วกันว่ามันยุติธรรมมั้ย
ความคิดเห็นที่ 200
บอม
30/07/2550
21:40 น.
15อ่านน่ะ ก่อนเรียนคุณก็เป็นคนเลือกเองแล้วจะมาโวยทำไม ถ้าได้หมดเค้าคงไม่พากันเรียนหรอกวิศวะ คิดถึงความยากง่ายหน่อย ถ้าคิดแค่นี้ไม่ได้ก็ไม่แปลกที่จะไม่ได้ กว. (ไทย-เยอรมัน)
ความคิดเห็นที่ 201
smitty
11/09/2550
14:20 น.
mysiteup.my2gig.com
ความคิดเห็นที่ 202
อ.
20/09/2550
10:25 น.
ตอนนี้ผมอยากได้เบอร์ติดต่อสภาวิศวกรคือใบก.ว.หมดอายุหลายปีแล้วผมจบปี42(อสบ)ถามผู้รุ้ต้องได้สอบไหม ต้องเตรียมหลักฐานอะไรบ้างคือโทรติดต่อสภาก็ไม่มีใครรับ ขอบคุณครับ(ขอเบอร์ติดต่อสภาที่ติดต่อได้ด้วยครับ)
ความคิดเห็นที่ 203
ผู้ที่เห็นค่าใบ กว.
21/09/2550
09:12 น.
ผมต้องถามคุณก่อนว่าใบ กว. คืออะไร ใบ กว. ก็คือใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ถ้าคุณเรียนวิศวะมาแล้วไม่มีใบ กว.แล้วคุณจะเป็นวิศวะได้ไงคุณก็ไม่ต่างจาก คอบ.หรือ อสบ. คุณก็แค่บุคคลธรรมดาเวลาคุณมีกิจการเป็นของตัวเองคุณก็ไม่มีโอกาศที่จะไปประกอบวิชาชีพของคุณถ้าคุรรวยล้นฟ้าผมไม่ว่าเลยแต่ถ้าคุณดิ้นรนเพื่ออนาคตของคุณคุณนั่นแหละจะเสียใจทีหลัง เปรียบเหมือนหมอไม่มีใบประกอบวิชาชีพแพทย์คุณจะเป็นแพทย์ได้อย่างไรเหมือนกันคุณไม่มีใบ กว. คุณจะเป็น " วิศวะ "ได้อย่างไรถึงคุณจะเรียนวิศวะมาแต่ไม่ได้หมายความว่าคุณจะเป็นวิศวะ.หวังว่าคุณคงเห็นค่าของใบ กว. นะครับ
ความคิดเห็นที่ 204
วศบ. โยธา
11/10/2550
09:38 น.
อะไรกันคนที่จบ วศบก็ต้องเก่งกว่าพวก ที่จบ คอบ .อสบ .อะไรพวกนี่อยู่แล้ว วิชาเรียนก็ยากกว่า เยอะวิคำนาณก็เยอะกว่า ผมเองเจอ แคลคูลัส แม่ง 5-6 ตัวแต่ก็จบได้ พวก คอบ .อสบ จบง่ายกว่าเยอะแล้วจะมาร้องเรียนอยากได้ใบ กว.. อะไรกันนักกันหนา อยากได้ก็ไปเรียน วศบ. วิวะ แล้วก็จะรู้ว่ามันไม่เหมือนกัน
ความคิดเห็นที่ 205
อสบ.คับ
16/10/2550
14:04 น.
เห็นด้วยกับความเห็นที่ 15 คับ เสียเปรียบมากมายเลย เรียนก็ใชช่ว่าจะโง่นะพวกเราน่ะ กะอีแค่ อสบ กับ วสบเหอะๆๆๆ
ความคิดเห็นที่ 206
เจ้านายวิศวกร
21/10/2550
19:15 น.
น่าเบื่อ ผมไม่เคยเห็นวิศวกรคนใหนรวยเลย ยังเป็นมนุษย์เงินเดือนทั้งนั้น ทะเลาะกันทำไม เดี๋ยวไล่ไปทำงานเลย ไป ๆๆๆ
ความคิดเห็นที่ 207
กว
26/10/2550
13:30 น.
เอาไป Up เงินเดือนได้ครับ 3000 บาท
ความคิดเห็นที่ 208
เห็นด้วย กับ ใบ กว.
28/10/2550
16:56 น.
เห็นด้วยกับ คห. 195 ผมอยากเสริมอีกว่าวิศวกรโยธาต้องมีใบนี้ทุกคน เพราะคนต้องรับผิดชอบชีวิตคนจำนวนมาก ต้องมีการออกแบบตึกที่ต้องอาศัยการคำนวนอย่างละเอียดผมว่าพวกที่เรียกร้องทำไมไม่เรียน วศ.บ. มาตั้งแต่แรก คอยแต่จะฉวยโอกาสหาช่องว่างของการออก ใบ กว.นี้<br>เอาเปรียบคนอื่นมากเกินไปหรือเปล่า ลองคิดดู<br>
ความคิดเห็นที่ 209
คนผ่านมา
06/11/2550
10:50 น.
กว.คือไปกีดกันวิชาชีพ และหาประโยชน์จากความหวังของผู้ว่างงาน ทำไมกว.ต้องกีดกันด้วยการกำหนดหลักสูตร ในเมื่อคุณตั้งเกณฑ์กว.แล้ว คุณก็ทำการทดสอบและประเมินผู้ขอก็ได้ แต่กว.บอกต้องจบจากหลักสูตรที่กว.รับรอง จึงจะมีสิทธิ์สอบกว. แล้วช่างที่เกือบทั้งชีวิตคลุกอยู่กับไฟฟ้าหาความรู้เองจากตำราและประสบการณ์ตรงละ? คุณให้โอกาศเขาแค่กว.เฉพาะทาง หรือกว.พิเศษที่ไม่สามารถขึ้นสู่ระดับสามัญได้ บัณฑิตใหม่ที่ได้กว.หลายคนต่อวงจรพลาด ต่ออุปกรณ์พลาดจนพัง แต่เขาก็มีกว. จริงอยู่บางคนอาจเลือกได้ที่จะเรียนสายใหน แต่หลายคนมีตัวเลือกน้อยในการเรียนเพราะต้องทำงานไปเรียนไปจึงต้องเลือกที่เรียนไม่ไกลจากที่ทำงานมากนัก และมีอีกนับไม่ถ้วนที่ไม่มีทางเลือกแต่สู้มาจากลูกจ้างจนก้าวมาสู้ผู้รับเหมา จึงอยากสรุปสั้นๆว่า "กว.คือใบกีดกันวิชาชีพ"
ความคิดเห็นที่ 210
God_Engineering
07/11/2550
16:56 น.
เอา กว ไปทำอะไรเหรออยากรู้จริงดิ <br>ก็เพื่อคุณจะได้ไปบอกคนอื่นได้ไงว่าคุณน่ะ<br>คือ" วิศวกร"ที่สามารถเข้าทำงานในตำแหน่ง วิศวกร ของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในประเทศ ได้ไง<br>แต่ใครที่ไปทำงานของเอกชนก็คงไม่ได้ใช้หรอกครับ<br>จบ วิศวกร ไปขายข้าวแกงก็เยอะแย่กไป<br>จงอย่าได้ใส่ใจกับคำว่า วิศวกร แต่จงใส่ใจกับการหาความรู้ใส่หัวไว้จึงเป็นทางที่ดีได้สุด
ความคิดเห็นทั้งหมด 339 รายการ | «    9  10  11  12  13  14  15  16  17  18    »
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง: