Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,060
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,638
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,036
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,849
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,521
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,599
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,554
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,850
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,423
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,495
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,407
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,559
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,671
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,199
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,620
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,607
17 Industrial Provision co., ltd 39,271
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,419
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,349
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,671
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,515
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,906
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,272
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,018
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,639
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,565
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,000
28 AVERA CO., LTD. 22,623
29 เลิศบุศย์ 21,724
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,454
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,296
32 แมชชีนเทค 19,945
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,910
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,237
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,192
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,838
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,649
38 SAMWHA THAILAND 18,354
39 วอยก้า จำกัด 17,954
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,525
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,384
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,358
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,296
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,267
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,175
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,134
47 Systems integrator 16,751
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,687
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,521
50 Advanced Technology Equipment 16,497
18/09/2550 21:11 น. , อ่าน 1,616 ครั้ง
Bookmark and Share
ท่านเห็นด้วยกับท่าน ปิยสวัสดิ์หรือไม่?
เว็บมาสเตอร์
18/09/2550
21:11 น.
“ปิยสวัสดิ์”สอนเชิงผู้นำต้องมองการณ์ไกล จวก นโยบายหลังเขา ปชป. [18 ก.ย. 50 - 03:57]<br> <br>นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รมว.พลังงาน เปิดเผยถึงกรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ประกาศว่าหากเป็นพรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาลจะไม่สนับสนุนให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในประเทศไทย ว่า ต้องดูให้ชัดเจนว่าเป็นนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ หรือนโยบายส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ และเห็นว่าพลังงานนิวเคลียร์มีความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องใช้เวลาเตรียมตัวในระยะยาว และทั่วโลกต่างกำลังกลับมาสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อีกครั้ง เพื่อแก้ปัญหาโลกร้อนลดการใช้ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันและถ่านหิน <br><br>“อยากขอฝากถึงพรรคการเมืองทุกพรรคด้วยว่า หากจะมีการกำหนดนโยบายอะไรออกมาขอให้ ดูผลประโยชน์ของประเทศไทยเป็นหลักและต้องดูถึงผลระยะยาวด้วย เพราะเรื่องนิวเคลียร์เป็นเรื่องระยะยาวที่ต้องใช้เวลาเตรียมตัวนานถึง 14 ปี แต่รัฐบาลมีอายุการทำงานเพียง 4 ปีเท่านั้น จึงอยากให้ทบทวนดูอีกทีว่าสมควรหรือไม่ที่จะเอานิวเคลียร์ ออกจากแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าหรือพีดีพี 2007 หรือไม่” <br><br>นายปิยสวัสดิ์กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยต้องการผู้นำรัฐบาลที่มีความกล้าตัดสินใจ และพรรคประชาธิปัตย์ก็ต้องกลับไปทบทวนดูถึงความผิดพลาดของนโยบายด้านพลังงานในอดีตที่เคยบริหารประเทศมาก่อนหน้านี้อีกด้วยว่ามีนโยบายใดที่ผิดพลาด เพื่อที่หากเป็นรัฐบาลจะไม่ได้เกิดความผิดพลาดขึ้นมาอีก <br><br>สำหรับนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ที่จะเน้นในเรื่องการพัฒนาพลังงานชีวมวลนั้น คงไม่ต้องรอให้พรรคการเมืองหลังการเลือกตั้งมากำหนดนโยบายอีก เพราะเป็นนโยบายของกระทรวงพลังงานที่ดำเนินการมาตลอดอยู่แล้วตั้งแต่ก่อตั้งกระทรวงพลังงาน แต่เชื่อว่าในอนาคตคงมีปริมาณไม่มากถึง 4,000 เมกะวัตต์ที่จะสามารถนำมาใช้แทนโรง ไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ ส่วนข้อเสนอของทบวงพลังงานโลก (ไออีเอ) ที่เสนอให้ประเทศไทยเพิ่มมาตรการสำรองน้ำมันเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันมาตรการสำรองน้ำมันของประเทศไทยยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุง เพราะหากกำหนดให้สำรองมากเกินไปก็เป็นภาระต่อประเทศ <br><br>นายไกรสีห์ กรรณสูต ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า กฟผ.คงต้องรับนโยบายของรัฐบาลเป็นหลัก แต่การจะนำเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆมาใช้แทนนิวเคลียร์ หากเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินคงเกิดยากเพราะการต่อต้านจากมวลชนรุนแรง ส่วนก๊าซธรรมชาติก็มีจำกัด ดังนั้น พรรคประชาธิปัตย์ ต้องชัดเจนว่าหากไม่เอาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จริงๆ จะให้ กฟผ.ใช้เชื้อเพลิงชนิดใดเป็นหลัก <br><br> นายอุทัย จันทิมา ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า กนอ.เห็นด้วยกับนโยบายของนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.อุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (สวล.) ที่จะไม่ให้โรงไฟฟ้าเพิ่มเติมในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีข้อจำกัดในด้านปัญหามลพิษอันจะส่งผลให้โรงงานอื่นๆ อาทิ ปิโตรเคมีมีปัญหาไม่สามารถลงทุนโครงการใหม่ได้ เนื่องจากมลพิษที่เกิดขึ้นในพื้นที่จะมากเกินกว่าจะรับมือได้. <br> <br> <br>ที่มา: ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ
ความคิดเห็นทั้งหมด 4 รายการ |
ความคิดเห็นที่ 1
ช่างไฟ
21/09/2550
09:41 น.
ผมเห็นด้วยกับคุณปิยสวัสดิ์ ครับ พลังงานนิวเเคลียร์เป็นความวิตกกังวนของมนุษย์ถึงภัยร้ายแรงของมันก็จริง แต่ผลประโยชน์ของมันก็มีมากเหลือเกิน ดังนั้นการมองอนาคตของประเทศ ก็ควรที่จะศึกษาข้อดี-ข้อเสีย และประโยชน์จะได้รับ อย่างละเอียด อย่าตัดออกจากนโยบายของภาครัฐ ควรจัดทำนโยบายและแผนงานในเรื่องนี้ให้ชัดเจน จะใช้เวลาในการศึกษามากหน่อยก็ไม่เป็นไร ครับ
ความคิดเห็นที่ 2
Aladin26
21/09/2550
09:43 น.
เห็นด้วยครับ <br>โดยทั่วไปขึ้นชื่อว่านิวเคลียร์ใครได้ยินก็มักจะกลัวไว้ก่อน ด้วยเหตุนี้ทำไมเราไม่ศึกษาหรือเรียนรู้กับเจ้านิวเคลียร์นี่ให้มากๆล่ะ ของทุกอย่างถ้าเรารู้จักมันรู้ธรรมชาติของมันรู้วิธีใช้มัน ไม่เห็นจะต้องมานั่งกลัวเลย
ความคิดเห็นที่ 3
s_power
22/09/2550
12:58 น.
มองมุมต่าง<br>ทำไมเรามองแค่การใช้พลังงานเพียงอย่างเดียว แล้วไม่มองการไม่ใช้หรือลดปริมาณลงบ้างล่ะ พลังงานสะอาดก็มีเยอะนะครับเช่นพลังงานลม เป็นต้น ต่างประเทศเขาก็มีกันเยอะแยะ ทั้งที่ลมบ้านเขาไม่แรงเท่าลมบ้านเราด้วยซ้ำไป ผมคิดว่าเป็นอีกทางเลือกนะครับถึงแม้การลงทุนยังสูงอยู่ แต่ในระยะยาวคิดว่าดีนะครับ
ความคิดเห็นที่ 4
สืบศักดิ์
24/09/2550
18:04 น.
เห็นด้วย ที่จะมีการศึกษา หรือ เริ่มโครงการเพื่อสู่การเตรียมตัวในการใช้ นิวเคลีย<br>ในขณะเดียวกัน ทางเลือกอื่น ก็น่าสนใจ แต่การศึกษา และติดตามในบาง ลักษณะ เช่น <br>การใช้ กังหันลม แบบ ใบพัด พบว่า มีนก ถูกใบพัด ตีตายวันละ เป็นร้อย <br>การทำ แหล่งผลิต ในลักษณะ เซลย่อย สามารถครอบคลุม ในเฉพาะ พื้นที่เล็กๆ เช่น ที่กลุ่ม ของ กฟฝ. ส่วนหนึ่งทดลองสร้าง Gen พลังน้ำขนาดเล็ก <br><br>ซึ่งหากมีการ ลอง ผิด ถูก บ้าง วันหนึ่ง น่าจะได้คำตอบ ที่ดี เพราะการใช้ พลังงาน ไฟฟ้า คงลดลงจากปัจจุบัน ได้ยาก จากการที่ประชากรโลก และ ในประเทศ ไม่ลดลงอยู่ในอัตราเพิ่มตลอด ( คนตาย น้อยกว่า คนเกิด ) <br>
ความคิดเห็นทั้งหมด 4 รายการ |
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง: