Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,987
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,581
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,991
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,785
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,466
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,553
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,510
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,818
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,352
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,450
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,360
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,513
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,589
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,131
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,522
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,555
17 Industrial Provision co., ltd 39,225
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,377
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,298
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,623
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,445
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,853
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,221
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,960
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,584
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,951
28 AVERA CO., LTD. 22,587
29 เลิศบุศย์ 21,685
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,385
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,246
32 แมชชีนเทค 19,893
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,870
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,186
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,140
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,799
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,603
38 SAMWHA THAILAND 18,293
39 วอยก้า จำกัด 17,901
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,479
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,331
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,303
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,241
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,215
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,135
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,069
47 Systems integrator 16,713
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,631
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,456
50 Advanced Technology Equipment 16,444
14/04/2559 11:59 น. , อ่าน 5,753 ครั้ง
Bookmark and Share
สวีเดนคิดค้น"ไม้โปร่งแสง"สำเร็จ
โดย : Admin

Cr: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 13 เม.ย 2559

 

 

ลาร์ส เบิร์กลุนด์ นักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีหลวงเคทีเอช แห่งสวีเดน ประสบความสำเร็จในการคิดค้นวัสดุสังเคราะห์แบบใหม่ที่ยังคงมีคุณสมบัติสำคัญ ของไม้ทุกประการ แต่โปร่งแสง สำหรับนำไปใช้ทดแทนพลาสติกหรือกระจกได้ในอนาคต เพราะแข็งแกร่งกว่า และยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าพลาสติกและกระจก

 

 ศ.เบิร์กลุนด์ ซึ่งมีประสบการณ์ในการคิดค้นวัสดุใหม่ๆ มาแล้วหลายอย่าง อาทิ คาร์บอนไฟเบอร์ที่มีน้ำหนักเบาเป็นพิเศษ แต่แข็งแรงเป็นพิเศษ สำหรับนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการบินของสวีเดนเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา ในระหว่างนั้นเองที่ศาสตราจารย์ผู้นี้ได้แนวคิดเกี่ยวกับเปลี่ยนแปลง คุณสมบัติของไม้ อันเป็นที่มาของการคิดค้นไม้โปร่งแสงได้ในเวลาต่อมานั่นเอง

 

 ทั้งนี้สิ่งที่นักวิจัยผู้นี้คิดค้นขึ้นมานั้นก็คือ วิธีการที่ใช้ในการแยกชั้นเนื้อไม้บางๆ ออกจากกันด้วยกระบวนการทำนองเดียวกันกับการแยกเยื่อไม้สำหรับผลิตกระดาษด้วย เคมี จากนั้นก็นำเอาแถบลิกนิน ซึ่งเป็นสารที่นำให้เนื้อไม้มีสีน้ำตาลออกมาจากชิ้นไม้ แล้วแทนที่ด้วยโพลีเมอร์หนา 1 มม. ซึ่งคิดค้นขึ้นมาเป็นพิเศษให้มีความโปร่งแสง 85% โดยเบิร์กลุนด์เชื่อว่าความโปร่งแสงดังกล่าวนี้สามารถพัฒนาให้สูงขึ้นได้อีก ในอนาคต ผลลัพธ์ที่ได้จากกระบวนการนี้ก็คือ แผ่นไม้ที่มีคุณสมบัติของไม้แต่มีความโปร่งใสนั่นเอง

 

 ไม้โปร่งใสที่ผลิตขึ้นตามกระบวนการของ ลาร์ส เบิร์กลุนด์ นี้มีความแข็งแกร่งของไม้อยู่เหมือนเดิม แต่สามารถปล่อยให้แสงสว่างลอดผ่านตัวมันเข้ามาได้ ทำให้เบิร์กลุนด์เชื่อว่าไม้โปร่งแสงที่คิดค้นขึ้นมาใหม่นี้สามารถนำไปใช้ สร้างสรรค์หลายสิ่งหลายอย่างได้ตามความต้องการของสถาปนิกหรือวิศวกร ตั้งแต่โครงสร้างไม้ที่โปร่งแสง เรื่อยไปจนถึงหน้าต่างแข็งแรงที่ไม่ปริร้าวหรือแตก แต่ยังมีคุณสมบัติใสเหมือนกระจก

 

 “เราได้รับความสนใจ จากสถาปนิกเป็นจำนวนมาก สถาปนิกเหล่านี้ต้องการให้อาคารที่พวกเขาสร้างมีแสงสว่างของธรรมชาติลอดเข้า มามากขึ้น เพื่อประหยัดพลังงาน” เบิร์กลุนด์กล่าว

 

 นอกจากนั้น ไม้โปร่งแสงของเบิร์กลุนด์ยังคงคุณสมบัติสำคัญคือย่อยสลายตามธรรมชาติได้ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกันกับไม้ทั่วๆ ไป ซึ่งส่งผลให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างแหล่งพลังงานทางเลือกอื่นๆ เพื่อลดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมลงไปได้อีก อาทิ ใช้ในการผลิตแผงโซลาร์เซลล์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะทำจากไม้แทนที่จะเป็นกระจกซึ่งผ่านกระบวนการผลิตทางเคมีและไม่เน่า เปื่อยสลายตัวในธรรมชาติ เป็นต้น

 

 อย่างไรก็ตาม เบิร์กลุนด์ยอมรับว่ายังคงมีอีกหลายอย่างที่ต้องพัฒนาให้ดีขึ้นก่อนที่จะ สามารถผลิตให้สามารถนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้อย่างแท้จริง และไม่แน่ใจนักว่า เทคนิคการผลิตที่ใช้อยู่ในเวลานี้สามารถขยายออกไปสู่การผลิตในระดับ อุตสาหกรรมได้หรือไม่

 

 แต่ความสำเร็จเบื้องต้นนี้ก็สร้างความตื่นเต้นให้กับวงการนักออกแบบและสถาปนิกทั้งหลายไม่น้อยแล้วในเวลานี้

========================================================