Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,366
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,518
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,935
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,688
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,413
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,491
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,456
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,764
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,251
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,387
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,308
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,450
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,490
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,072
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,421
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,496
17 Industrial Provision co., ltd 39,162
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,320
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,240
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,566
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,384
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,800
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,156
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,904
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,521
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,460
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,890
28 AVERA CO., LTD. 22,535
29 เลิศบุศย์ 21,635
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,318
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,186
32 แมชชีนเทค 19,836
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,804
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,128
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,080
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,742
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,551
38 SAMWHA THAILAND 18,238
39 วอยก้า จำกัด 17,828
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,416
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,277
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,242
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,187
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,140
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,079
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,006
47 Systems integrator 16,656
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,576
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,398
50 Advanced Technology Equipment 16,383
06/10/2556 12:08 น. , อ่าน 4,346 ครั้ง
Bookmark and Share
เด็กประถม ใช้แท็บเล็ตแล้วผลการเรียนดีขึ้น 67%
โดย : Admin

ที่มา:  นสพ. มติชน

 

...... น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.) เปิดเผยเมื่อวันที่ 29 กันยายน ว่า สกศ.ได้สำรวจความคิดเห็นเพื่อติดตามผลนโยบายแจกแท็บเล็ตให้ นักเรียนชั้น ป.1 ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมที่ผ่านมา โดยสำรวจด้วยการโฟกัสกรุ๊ป และการส่งแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่าง 5 กลุ่ม ดังนี้ 1. นักเรียนชั้น ป.1-ป.6 จำนวน 34,257 คน ในจำนวนนี้เป็นนักเรียนที่เคยใช้แท็บเล็ตจำนวน 7,916 คน 2.ครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 7,916 คน 3.ผู้บริการสถานศึกษา 1,424 คน 4.ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา 367 คน และ 5.ผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 25,762 คน

น.ส.ศศิธารา กล่าวต่อว่า ผลการสำรวจพบว่า นักเรียนที่เคยใช้แท็บเล็ตทั้ง 7,916 คนนั้น ส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 90.2 รู้สึกชอบแท็บเล็ตที่ได้รับ โดยนักเรียนจากภาคกลางรู้สึกชอบแท็บเล็ตมากที่สุดถึง ร้อยละ 93.9 ขณะที่นักเรียนภาคเหนือชอบแท็บเล็ต ร้อยละ 87.2 และถ้าแยกตามสังกัด พบว่า นักเรียนมัธยมในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ)

ทั้ง 100% ชอบเท็บเล็ต รองลงมาเป็นนักเรียนของโรงเรียนเอกชน ร้อยละ 98 ส่วนนักเรียนโรงเรียนขององค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) ชอบแท็บเล็ต ร้อยละ 64.3


เลขาฯ สกศ. กล่าวต่อว่า นักเรียนร้อยละ 89.7 ยังรู้สึกว่า แท็บเล็ตที่แจกไปใช้งานง่าย โดยนักเรียนจากภาคกลางรู้สึกว่า แท็บเล็ตใช้งานง่ายมากสุด ร้อยละ 93.1 ส่วนนักเรียนจาก กทม.รู้สึกว่า แท็บเล็ตใช้งานง่ายน้อยที่สุด ร้อยละ 81.7 แยกตามสังกัด พบว่า นักเรียนมัธยมในโรงเรียนสังกัด สพฐ. 100% รู้สึกแท็บเล็ตใช้งานง่าย และนักเรียนจากโรงเรียนสังกัด อบจ. รู้สึกว่าแท็บเล็ตใช้งานง่ายน้อยที่สุด ร้อยละ 69
 


 

     "ผลสำรวจพบด้วยว่า นักเรียนร้อยละ 67.9 ผลการเรียนดีขึ้นหลังใช้แท็บเล็ต เป็นนักเรียนจากภาคกลางมากที่สุด ร้อยละ 76.8 รองลงมาเป็น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 65.2 ภาคเหนือ ร้อยละ 66.4 กรุงเทพฯ ร้อยละ 63.8 และ ภาคใต้ ร้อยละ 61 แยกตามสังกัดพบว่า นักเรียนจากโรงเรียนตระเวนชายแดน(ตชด.) ผลการเรียนดีขึ้นมากที่สุด ร้อยละ 89.3 รองลงมาเป็น ร.ร.เอกชน ร้อยละ 87.1 ร.ร.ประถมศึกษาสังกัด สพฐ. ร้อยละ 66.2 ร.ร.สังกัด กทม.ร้อยละ 64.6 ร.ร.สังกัดเทศบาลนคร ร้อยละ 62.7" เลขาธิการ สกศ. กล่าว


เลขาธิการ สกศ. กล่าวด้วยว่า ส่วนการสำรวจความเห็นจากกลุ่มครู พบว่าการนำแท็บเล็ตมาใช้ในการเรียนการสอน ทำให้พฤติกรรมนักเรียนเปลี่ยนไป มีความกระตือรือร้น ขยันเรียนมากขึ้น ขยันทำการบ้านและมีการช่วยเหลือให้คำแนะนำระหว่างเพื่อนในการใช้แท็บเล็ต ด้วย สอดคล้องกับความเห็นจากกลุ่มผู้ปกครองนักเรียน ซึ่งระบุว่า หลังจากนักเรียนได้ใช้แท็บเล็ตแล้ว ขยันเรียน ขยันทำการบ้านมากขึ้น อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา ระบุว่า มีปัญหาในการดูแลรักษาเครื่องทั้งในเรื่องค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา ไม่มีเจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยีประจำโรงเรียน รวมถึงปัญหาในการส่งเครื่องไปซ่อมแซมจากศูนย์ซ่อมแซมที่ทางราชการจัดไว้ให้

========================================================