Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,976
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,573
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,984
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,765
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,459
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,543
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,504
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,815
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,338
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,442
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,355
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,506
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,579
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,126
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,508
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,552
17 Industrial Provision co., ltd 39,219
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,371
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,294
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,616
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,435
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,849
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,216
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,954
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,578
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,514
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,942
28 AVERA CO., LTD. 22,584
29 เลิศบุศย์ 21,680
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,377
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,242
32 แมชชีนเทค 19,890
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,867
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,182
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,134
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,796
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,600
38 SAMWHA THAILAND 18,289
39 วอยก้า จำกัด 17,892
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,472
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,322
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,297
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,234
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,203
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,128
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,064
47 Systems integrator 16,708
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,625
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,452
50 Advanced Technology Equipment 16,440
26/05/2556 20:23 น. , อ่าน 7,367 ครั้ง
Bookmark and Share
จะเอาไฟดับหรือเอาไฟแพง" เอาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์?
โดย : Admin

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/ก.พ. 255

 

สถานการณ์ทางด้านพลังงานของประเทศกำลังเกิดความตึงเครียดขึ้นมาทันที เมื่อก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นเชื้อเพลิงสำคัญของโรงไฟฟ้าที่มาจากแหล่งผลิตในเมียนมาร์ 2 แหล่ง คือแหล่งยาดานา กับแหล่งเยตากุน ถึงกำหนดที่จะต้องปิดซ่อมแท่นขุดเจาะ ส่งผลให้กำลังผลิตไฟฟ้าในระบบของประเทศหายไปทันทีถึง 6,000 MW โดยที่ไม่มีแหล่งเชื้อเพลิงภายในประเทศแหล่งใดที่มีต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าเทียบเท่ากับก๊าซธรรมชาติที่สามารถนำมาทดแทนได้

วิกฤตการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในเดือนเมษายนนี้ทำให้ผู้คนในประเทศเริ่มย้อนกลับมาถามหาความมั่นคงทางด้านระบบไฟฟ้าที่ว่า ประเทศไทยควรจะมีโรงไฟฟ้าประเภทใดในอนาคตระหว่างโรงไฟฟ้าชีวมวล โรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้าก๊าซ และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ท่ามกลางข้อถกเถียงระหว่าง "ความกลัว" ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยของประชาชน กับราคาค่าไฟฟ้าที่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังเติบโตขึ้นในอีก 10-20 ปีข้างหน้า

 

 



"ประชาชาติธุรกิจ" สัมภาษณ์ นายรัตนชัย นามวงศ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการวิศวกรรมโรงไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ถึงอนาคตของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย



- ความคืบหน้าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์


ก่อนเกิดเหตุการณ์โรงไฟฟ้า นิวเคลียร์ฟูกูชิมาระเบิดในเดือนมีนาคม2554กฟผ.ได้ดำเนินการเตรียมความพร้อม ที่จะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มาพักหนึ่งแล้ว โดยให้ IEA มาสัมภาษณ์ว่า ประเทศไทยเหมาะสม

อะไร ตอนนั้นพบว่ามีอยู่หลายเรื่องที่ต้องดำเนินการ ทั้งการศึกษาความเหมาะสมในการมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ รวมไปถึงความไม่เรียบร้อยทางด้านกฎหมายภายในประเทศ ต้องแก้ไขปรับปรุงกฎหมายใหม่ ซึ่งสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กำลังดำเนินการปรับปรุงกฎหมายและอนุสัญญาหรือการเป็นภาคีกับต่างประเทศให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ตอนนี้กฎหมายอยู่ในขั้นตอนของกฤษฎีกา ทาง กฟผ.และกระทรวงพลังงานได้เข้าไปช่วยให้ความเห็นด้วย

การมีหรือไม่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ตอนนี้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ใช่จู่ ๆ จะสร้างขึ้นมาเลย มันไม่ได้ ต้องผ่านการประเมินของ IEA ว่า ประเทศไทยมีความพร้อมมีศักยภาพหรือไม่ ถ้ารัฐบาลมีนโยบายให้ทำต่อ กฟผ.ก็พร้อมดำเนินการ แต่ว่าจะถึงขั้นให้เดินหน้าเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์คงต้องฟังเสียงประชาชนทั้งหมด ต้องใช้เวลา



- โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในแผน PDP

โรงแรก 2026 โรงถัดมา 2027 รวมกัน 2,000 เมกะวัตต์ โรงละ 1,000 เมกะวัตต์ แผน PDP ไปหยุดอยู่แค่นั้น เท่ากับเรามีเวลาอีก 13 ปี การแบ่งตามขั้นตอนประเมินของ IEA มี 4 ขั้น คือ ขั้นแรก เตรียมการและปรับปรุงกฎหมาย ขั้นที่ 2 สำรวจและเตรียมความพร้อมทุกอย่าง ขั้นที่ 3 ประมูล ขั้นที่ 4 ก่อสร้าง ตอนนี้เราอยู่ในปลายขั้นที่ 1 ถ้าเราผ่านเรื่องกฎหมายก็ผ่านไปขั้นที่ 2 ได้ ทุกขั้นตอนต้องผ่านการตรวจสอบของ IEA ทั้งหมด

- IEA ประเมินครั้งหนึ่งแล้วไม่ผ่าน

เราไม่ชัดเจน ความปลอดภัยในแง่ของ กฟผ.เราผ่านหมดแล้ว ในแง่ของกฎหมายที่สำนักปรมาณูเพื่อสันติรับผิดชอบก็ติดอยู่ เขายังไม่ได้เขียนเรื่องความปลอดภัยให้ชัดเจน เรื่องอนุสัญญาตอนนี้แค่ไม่ได้

ลงนามก็เท่านั้นเอง ถ้าชัดเจนก็ดำเนินการลงนามได้ ไม่น่าเป็นปัญหา เป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ กฎหมายก็ยังอยู่ในขั้นกฤษฎีกา ทั้งหมดรวมทั้งกฎหมายจะจบภายในปีนี้ กฤษฎีกาเขาช่วยดูก็เป็นเรื่องที่ดีทำให้รัดกุม

- ใครเป็นคนบอกว่าเราจะไปขั้นที่ 2

รัฐบาลต้องสั่งมาให้ดำเนินการ ตอนนี้กระทรวงพลังงานเป็นคนดูเพราะแผน PDP ปรับปรุงทุกปี เรื่องอยู่ที่กระทรวงพลังงานมีทีมงานดูอยู่ เนื่องจากว่าโครงการนี้ยังไม่ได้ตัดสินใจ

- แล้วจะทันตามแผน PDP หรือไม่

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะต้องใช้เวลาการก่อสร้าง 12 ปี ตึง ๆ มือปัจจุบันนี้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ก่อสร้างแบบใหม่เอี่ยมน่าจะประมาน 5 ปีอย่างต่ำ ประมูลหรือเจรจาอีกประมาณ 3 ปี สำรวจและทำความเข้าใจกับประชาชนก็น่าจะประมาณไม่ต่ำกว่า 3 ปี รวมทั้งหมดก็ 11 ปี แต่อย่างที่บอกประเทศไทยตัดสินใจยากเพราะมีรายละเอียดเยอะ คือต้องเรียนว่าโรงไฟฟ้าโรงหนึ่ง ไม่ใช่ว่าพอเห็นด้วยแล้วอีก 1 เดือนทำได้ ต้องอีก 5 ปีอย่างต่ำกว่าจะทำเรื่องความเข้าใจชุมชน กว่าจะทำ IEA ได้

- เรื่องเงินลงทุนต้องประเมินใหม่


แผนการลงทุนที่เคยประเมินไว้ก็ใช้ไม่ได้แล้วเพราะเวลามันเลื่อนออกไปทุกปี ถ้าทำขึ้นมาจริง ๆ ก็ต้องมาปรับปรุงอีกทีว่าจะเป็นอย่างไร ต้องมาดูอีกทีว่าเหมาะสมเป็นเท่าไร ถ้าประเมินอีกก็ต้องทำให้รอบคอบว่า แพงเกินไปหรือเปล่า ถ้าแพงเกินไปทำอย่างไรถึงจะเหมาะสม ถ้าจำเป็นต้องสร้างจะสร้างอย่างไร ต่อให้เทคโนโลยีเหมาะสมแต่พอกลับไปดูแล้วแพงมหาศาล บางทีมันก็จ่ายไม่ไหว มูลค่าตอนนั้นประมาณ 85,000 ล้านบาทต่อ 1,000 เมกะวัตต์ถือว่าถูก ตอนนี้ไม่ได้แล้ว



- เทคโนโลยีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อยู่ขั้นไหน


ปัจจุบันอยู่ที่ขั้น 3.5 ถ้าเทียบกับโรงไฟฟ้าฟูกูชิมาอยู่ระดับ 1.5 ที่เราวางแผนจะก่อสร้างอยู่ขั้น 3.5 แม้ตอนนี้กำลังมีการพัฒนาเป็นขั้นที่ 4 แล้ว แต่ว่าเทคโนโลยีของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ต้องให้ Regulator เป็นคนให้คำรับรองก่อนว่าผ่านหรือเปล่าเพื่อจะขายต่อ ระดับรุ่นที่ 4 กำลังพัฒนาอยู่แต่ยังไม่ได้รับการรับรอง



- สถานที่ตั้งยังเป็น 5 แห่งใช่หรือไม่ (กาฬสินธุ์-นครสวรรค์-ตราด-ชุมพร-นครศรีธรรมราช)

ใช่ครับ บริเวณริมทะเลกับตัวแผ่นดิน ความจริงต้องอยู่ริมทะเล แต่เลือกไม่ได้ เมืองไทยจะว่าโชคดีก็โชคดี โชคไม่ดีคือ พื้นที่สร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ลำบาก ไม่ใช่จะหากันง่าย ๆ อย่างฝั่งอันดามันเป็นแหล่งท่องเที่ยวสร้างไม่ได้ ขณะที่เรามีที่น้อย โอกาสไม่ง่ายนัก โรงไฟฟ้าโรงหนึ่งต้องใช้พื้นที่ประมาน 600-700 ไร่ แต่ขณะนี้ยังไม่ได้ตัดสินใจเลือกว่าจะก่อสร้างที่ไหน



- ถ้าไม่มีนิวเคลียร์


ต้องหาโรงไฟฟ้าอื่นเข้ามาแทน แต่ไม่ว่าจะเป็นโรงไฟฟ้าประเภทใดไม่ง่าย เพราะกว่าจะเปลี่ยนจากทุ่งนาเป็นโรงไฟฟ้า
โรงหนึ่งต้องใช้เวลา โรงไฟฟ้าในอนาคตจะต้องเป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซ แต่ปัญหาคือ ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยกำลังจะหมดไปอีก 10 ปี เหลือก๊าซ LNG ซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาแพงกว่าก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยเป็น 2 เท่าหมายถึง ต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยจะแพงขึ้นต้องเลือกว่า ตกลงจะเอาไฟดับหรือจะเอาไฟแพง ตรงนี้จะกลายเป็นวิกฤตพลังงานของประเทศไทย เราจึงต้องนำเสนอนิวเคลียร์เพราะเราไม่มีพลังงานใช้ในอนาคต

========================================================