Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,987
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,581
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,991
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,785
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,466
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,553
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,510
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,818
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,352
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,450
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,360
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,513
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,589
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,131
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,522
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,555
17 Industrial Provision co., ltd 39,225
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,377
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,298
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,623
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,445
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,853
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,221
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,960
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,584
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,951
28 AVERA CO., LTD. 22,587
29 เลิศบุศย์ 21,685
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,385
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,246
32 แมชชีนเทค 19,893
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,870
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,186
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,140
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,799
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,603
38 SAMWHA THAILAND 18,293
39 วอยก้า จำกัด 17,901
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,480
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,331
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,303
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,241
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,215
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,135
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,069
47 Systems integrator 16,713
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,631
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,456
50 Advanced Technology Equipment 16,444
26/05/2556 19:02 น. , อ่าน 6,575 ครั้ง
Bookmark and Share
ฟ้าผ่า สาเหตุไฟดับทั้งภาคใต้จริงหรือ ?
โดย : Admin
      เหตุการณ์ไฟดับทั้งภาคใต้ 14 จังหวัดเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคมที่ผ่านมา ถูกอธิบายว่าสาเหตุมาจากฟ้าผ่า สายส่งไฟฟ้าแรงสูงของ กฟผ. แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อปะติดปะต่อข้อมูลที่สื่อมวลชนได้นำเสนอในช่วง 3-4 วันมานี้ ดูเหมือนว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟดับ “ทั้งภาคใต้” ครั้งนี้ จะโทษว่าเป็นเหตุสุดวิสัยจากภัยธรรมชาติคงจะไม่ได้เสียทีเดียว


ฟ้าผ่า ไฟไม่ได้ดับในทันที

ตามข้อเท็จจริงที่ กฟผ.ชี้แจง เหตุการณ์ฟ้าผ่าสายส่งเกิดขึ้นในเวลา 17.26 น. แต่ไฟดับเกิดขึ้นในเวลา 18.52 น. คือหลังจากฟ้าผ่าแล้ว 1 ชั่วโมง 26 นาที คำถามก็คือ ช่วงเวลาหนึ่งชั่วโมงครึ่งก่อนที่ไฟจะดับ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้บริหารสถานการณ์ฉุกเฉินนี้อย่างไร และโอกาสที่ภาคใต้จะไม่เกิด blackout หรือไฟดับทั้งภาคนั้น เป็นไปได้หรือไม่ คำตอบคือ เป็นไปได้

 


ทำไมโรงไฟฟ้าในภาคใต้ถึงดับหมด

ประชาชนในภาคใต้ที่อยู่ใกล้โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่เช่นโรงไฟฟ้าจะนะ (สงขลา) หรือโรงไฟฟ้าขนอม (นครศรีธรรมราช) มีข้อสงสัยว่าเมื่อเกิดเหตุขัดข้องที่สายส่งไฟฟ้าจากภาคกลางแล้วทำไมโรง ไฟฟ้าเหล่านี้จึงจ่ายไฟไม่ได้ ทั้งๆ ที่โรงไฟฟ้าไม่ได้เสียหาย เรื่องนี้เป็นธรรมชาติของระบบไฟฟ้า กล่าวคือในการผลิตไฟฟ้านั้น “กำลังการผลิต” จะต้องสมดุลกับ “กำลังไฟฟ้าที่ใช้งาน” หรือโหลดในขณะนั้น หากปริมาณโหลดสูงกว่ากำลังผลิต ระบบผลิตไฟฟ้าทั้งหมดก็จะล่มได้เพราะโรงไฟฟ้าทั้งหลายเชื่อมโยงกันเป็นระบบ เดียว

กรณีที่เกิดขึ้น กฟผ.ระบุว่า โรงไฟฟ้าในภาคใต้เดินเครื่องอยู่ที่กำลังผลิต 1,692 เมกะวัตต์ และรับจากภาคกลางอีก 430 เมกะวัตต์ ในขณะที่มีโหลด 2,242 เมกะวัตต์ เมื่อเกิดเหตุฟ้าผ่าสายส่ง กำลังไฟฟ้าจากภาคกลางไม่ได้หายไปในทันใด เพราะสายส่งมีทั้งสิ้น 4 เส้น แม้จะอยู่ระหว่างซ่อมบำรุง 1 เส้น และถูกฟ้าผ่าไปอีก 1 เส้น (ทั้งสองเส้นนี้มีขนาด 500 kV) ก็ยังเหลืออีก 2 เส้น (แต่เป็นสายขนาด 230 kV) ดังนั้นไฟจึงยังไม่ดับ

ในสถานการณ์ขณะนั้น ปัจจัยที่คาดได้ว่าจะเป็นปัญหาก็คือ พีคโหลดที่กำลังจะเกิดขึ้นในช่วงประมาณ 1-2 ทุ่ม เนื่องจากผู้คนกำลังเลิกงานกลับบ้าน เปิดไฟ ดูโทรทัศน์ ฯลฯ ซึ่งทางการไฟฟ้าทั้งหลายต่างมีข้อมูล load profile อยู่ในมืออยู่แล้ว จึงน่าจะอยู่ในวิสัยที่จะประเมินได้ว่า สายส่ง 230 kV ที่เหลืออยู่มีขนาดไม่เพียงพอที่จะรับโหลดที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ นั่นหมายถึงวิกฤตกำลังรออยู่ในอีก 1-2 ชั่วโมงข้างหน้า



ในสถานการณ์เช่นนี้ ถ้าดูจากข่าววิกฤตไฟฟ้าเมษายนที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า การไฟฟ้าทั้งสามต่างมีแผนหรือแนวปฏิบัติอยู่แล้ว นั่นก็คือ การตัดโหลดบางส่วนออกเพื่อรักษาสมดุลของแรงดันไฟฟ้า ซึ่งหมายถึงการตัดไฟในบางจุด (อย่างมากไม่เกิน 430 เมกะวัตต์ที่ต้องรับจากภาคกลาง) โดยในเรื่องนี้ กระทรวงพลังงานได้เปิดเผยกับเดลินิวส์เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคมที่ผ่านมาว่า หากมีการตัดไฟบางจุด ก็จะมีพื้นที่ที่ไฟฟ้าดับเพียงประมาณ 25% ไม่ใช่ดับทั้งภาคใต้

หากใช้แนวทางดังกล่าว ความเสียหายก็จะไม่กินบริเวณกว้าง นอกจากนี้ การแก้ไขสถานการณ์ก็จะทำได้รวดเร็วกว่า ไม่ต้องใช้เวลามากถึง 3-4 ชั่วโมงดังที่เกิดขึ้น เพราะระบบผลิตไฟฟ้าภาคใต้ไม่ได้ล่มทั้งระบบ

เมื่อพิจารณาจากลำดับเวลาแล้ว กฟผ.มีเวลาชั่วโมงเศษซึ่งมากพอควรที่จะแก้ไขสถานการณ์ไม่ให้ไปสู่ความวิกฤต แต่สุดท้ายก็ปล่อยให้โหลดในภาคใต้เพิ่มสูงขึ้นจนเกินกำลังสายส่ง 230 kV ทำให้กำลังผลิตจากภาคกลางหลุดออกไป และฉุดให้โรงไฟฟ้าทั้งภาคใต้ล่มตามไปด้วย


“โรงไฟฟ้าภาคใต้ไม่พอ” ไม่ใช่ประเด็น

ดังนั้น ที่มีการอธิบายว่ากำลังผลิตไฟฟ้าของภาคใต้ไม่เพียงพอ จำเป็นที่จะต้องมีโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มจึงไม่ใช่ประเด็นในสถานการณ์นี้ เพราะปัญหาใหญ่อยู่ที่ความผิดพลาดในการบริหารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง หาก ทั้งนี้ ที่ควรกล่าวไว้ด้วยในเรื่องกำลังผลิตก็คือ ในปีหน้า (2557) โรงไฟฟ้าจะนะโรงที่ 2 ขนาด 800 เมกะวัตต์ก็จะก่อสร้างเสร็จ และในปี 2559 โรงไฟฟ้าขนอมขนาด 700 เมกะวัตต์ที่หมดอายุก็จะถูกทดแทนด้วยโรงใหม่ขนาด 900 เมกะวัตต์ เท่ากับว่าในอีก 3 ปีข้างหน้า กำลังผลิตในภาคใต้จะมีเพิ่มขึ้นอีก 1,000 เมกะวัตต์เป็นอย่างน้อย แม้จะไม่มีโรงไฟฟ้าถ่านหินเข้ามาเพิ่มก็ตาม

ขณะนี้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) หรือเรคกูเลเตอร์ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเหตุการณ์ไฟดับเพื่อสอบ สวนว่า กฟผ. ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องหรือไม่ และจะต้องมีการชดเชยผู้เสียหายหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม กฟผ.ไม่ใช่หน่วยงานเดียวที่จะต้องรับผิดชอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะ กกพ.เองก็อาจอยู่ในข่ายมีส่วนเป็นต้นเหตุให้เกิดไฟดับครั้งนี้ด้วยเหมือนกัน เมื่อทางด้าน กฟผ.และกระทรวงพลังงานได้ออกมาระบุว่า อำนาจในการสั่งดับไฟของศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าอยู่ที่ กกพ. ทำให้ กฟผ.ไม่กล้าดำเนินการเองเพราะจะเป็นการผิดกฎหมาย


จะสรุปบทเรียนอย่างไร

เหตุการณ์ไฟดับครั้งนี้ การสรุปบทเรียนให้ได้อย่างแท้จริงน่าจะเป็นประโยชน์มากกว่าการไล่เบี้ยหาผู้ บกพร่องมารับผิดชอบจ่ายค่าชดเชย ซึ่งในแง่นี้ เหตุการณ์ไฟดับของเรามีบางอย่างที่สามารถเทียบเคียงได้กับอุบัติเหตุ นิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ที่คนทั่วโลกต่างเข้าใจว่ามีสาเหตุมาจากภัยธรรมชาติทั้งแผ่นดินไหวและสึนามิ แต่การสอบสวนข้อเท็จจริงอย่างเป็นทางการโดยคณะกรรมการอิสระแห่งชาติของ ญี่ปุ่น กลับมีข้อสรุปออกมาว่า

“…อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นที่โรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ แม้จะมีจุดเริ่มต้นมาจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นภัยพิบัติจากธรรมชาติ หากแต่เป็นภัยพิบัติจากการกระทำของมนุษย์ (manmade disaster) ซึ่งสามารถและควรที่จะคาดการณ์และเตรียมการป้องกันได้ รวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นก็สามารถบรรเทาให้น้อยลงได้ด้วยการตอบสนองของ มนุษย์ที่มีประสิทธิภาพมากกว่านี้…”

การสรุปบทเรียนของญี่ปุ่นได้ให้ข้อคิดกับเรา 3 ประการคือ

1. การคาดการณ์และเตรียมการป้องกันเหตุจากภัยธรรมชาตินั้น มนุษย์สามารถทำได้และควรกระทำ (ในกรณีของเรา การวางแผนความมั่นคงไฟฟ้า นอกจากจะคิดเรื่องกำลังผลิตที่เพียงพอแล้ว ในด้านความมั่นคงของสายส่ง ได้มีการวางแผนอย่างรอบคอบแล้วหรือไม่)

2. เมื่อเกิดเหตุขึ้นแล้ว ผลกระทบสามารถบรรเทาให้น้อยลงได้ หากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมีประสิทธิภาพในการตอบสนองต่อเหตุการณ์มากกว่า นี้ (แผนฉุกเฉินและอำนาจในการสั่งตัดไฟเฉพาะจุด ทำไมถึงเกิดปัญหา)

3. การสอบสวนที่ทำให้ได้ข้อสรุปเช่นนี้ มาจากการแต่งตั้งคณะกรรมการอิสระโดยรัฐสภาญี่ปุ่น เพื่อให้มีอำนาจเป็นอิสระจากผู้มีส่วนรับผิดชอบในเหตุการณ์ คือรัฐบาลญี่ปุ่น หน่วยงานกำกับความปลอดภัยนิวเคลียร์ และเจ้าของโรงไฟฟ้า (แต่กรณีของเรา ผู้มีส่วนรับผิดชอบเหตุการณ์เป็นคนสอบสวนเอง)

มาถึงตรงนี้ มีคำถามว่า คณะกรรมการสอบสวนเหตุไฟดับภาคใต้ครั้งนี้ ควรมีที่มาอย่างไรดี ที่จะทำให้เราสามารถเรียนรู้เพื่อปรับปรุงข้อผิดพลาดครั้งนี้ได้อย่างแท้ จริง

 

ที่มา : http://nuclearwatch.blogspot.sg

========================================================