Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,983
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,577
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,988
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,770
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,461
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,550
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,508
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,817
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,344
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,446
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,358
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,510
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,585
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,127
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,516
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,555
17 Industrial Provision co., ltd 39,223
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,373
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,297
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,621
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,439
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,851
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,220
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,957
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,581
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,946
28 AVERA CO., LTD. 22,586
29 เลิศบุศย์ 21,682
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,379
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,245
32 แมชชีนเทค 19,893
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,868
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,185
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,137
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,798
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,602
38 SAMWHA THAILAND 18,291
39 วอยก้า จำกัด 17,897
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,476
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,324
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,301
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,237
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,206
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,132
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,066
47 Systems integrator 16,710
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,627
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,453
50 Advanced Technology Equipment 16,442
14/01/2556 07:17 น. , อ่าน 4,919 ครั้ง
Bookmark and Share
4G สำหรับคนไทย
โดย : Admin

รุจิระ บุนนาค
Rujira_bunnag@yahoo.com
Twitter : @RujiraBunnag

 

 

 

 

 

การเกิดขึ้นของระบบ 3G หรือเทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลทั้งภาพและเสียงผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงในประเทศไทย อันเนื่องมาจากการจัดประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz โดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เมื่อเดือนตุลาคม 2555 ที่ผ่านมา ถือเป็นพัฒนาการขั้นสำคัญอันหนึ่งของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในประเทศไทย ซึ่งนอกจากจะเป็นการยกระดับในทางเทคโนโลยีแล้วยังเป็นการเริ่มต้นของการใช้ระบบใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่มาแทนที่ระบบสัญญาสัมปทานที่ใช้มาอย่างยาวนาน

 

อย่างไรก็ตาม ระบบ 2G อันเป็นเทคโนโลยีที่เน้นการติดต่อสื่อสารด้วยเสียง ซึ่งมีมาก่อนระบบ 3G ก็ยังเป็นระบบการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีผู้ใช้สูงสุดในปัจจุบัน โดยเฉพาะระบบ 2G บนย่านความถี่ 1800 MHz ของบริษัท กสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นั้น ปัจจุบันยังมีผู้ใช้บริการอยู่ถึง 18 ล้านเลขหมาย ภายใต้สัมปทานของบริษัท กสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดย กสท. เป็นผู้ให้บริการประมาณ 200,000 เลขหมาย นอกจากนี้ยังมีผู้ให้บริการอีก 2 ราย ที่ให้บริการภายใต้สัมปทานของ กสท. ซึ่งคลื่นความถี่ 1800 MHz นำไปให้บริการระบบ 2G อีกประมาณ 17 ล้านเลขหมายเศษ ได้แก่ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัท  แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) โดยสัมปทานดังกล่าวจะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน 2556 ทำให้เกิดคำถามว่า หลังจากหมดสัญญาสัมปทานสำหรับคลื่นความถี่ 1800 MHz ที่ใช้กับระบบ 2G แล้ว กสทช. จะดำเนินการจัดสรรคลื่นความถี่ 1800 MHz นี้อย่างไร  โดยไม่เกิดผลกระทบสิทธิของผู้ใช้ประโยชน์ และให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 

นอกจากการให้บริการด้านเสียงด้วยระบบ 2G แล้ว คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ยังสามารถนำไปให้บริการเพื่อส่งผ่านข้อมูลทั้งภาพและเสียงในระบบ 4G (Long Term Evolution หรือ LTE) ได้อีกด้วย โดยคลื่น 1800 MHz ที่จะนำไปให้บริการ 4G นั้น จะต้องมีแถบความถี่ (Bandwidth) ที่กว้างหรือมีจำนวนที่มากพอ คลื่นความถี่ที่ผู้ให้บริการ 2G ในปัจจุบันถือครองอยู่รายละ 12.5 MHz ยังไม่เพียงพอที่จะนำไปจัดสรรโดยวิธีการประมูลเพื่อนำไปให้บริการในระบบ 4G ได้ กสทช. จะจัดการกับปัญหานี้อย่างไรเพื่อให้คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz มีจำนวน Bandwidth ที่มากพอจะนำไปประมูลเพื่อให้บริการ 4G ซึ่งแม้การเรียกคืนคลื่นความถี่จากหน่วยงานที่ครอบครองจะเป็นมาตรการหนึ่งที่สำคัญ แต่ในกรณีของคลื่นความถี่ 1800 MHz กสท. ซึ่งเป็นเจ้าของคลื่นเดิมก็ได้ออกมาแสดงท่าทีที่ชัดเจนแล้วว่าไม่ประสงค์จะคืนคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ให้แก่ กสทช. โดยนำเอากรณีการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานของผู้ให้บริการ 2G ข้างต้นมาเป็นข้ออ้างในการเก็บคลื่น 1800 MHz ไว้กับตนเองต่อไป เพื่อเป็นการปกป้องผลประโยชน์ของผู้ใช้บริการ ทั้งที่ตลอดเวลาที่ผ่านมา กสท. เองไม่เคยมีบทบาทในการเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีผู้ใช้บริการจำนวนมากเช่นนี้มาก่อน
 

ปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการนำคลื่น 1800 MHz ไปทำการจัดสรรโดยวิธีการประมูลก็คือ หากผู้ที่ชนะการประมูลกลายเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายใหม่ แต่ผู้ใช้บริการยังคงต้องการใช้หรือคงสิทธิในเลขหมายเดิม ที่แม้ในปัจจุบันจะมีมาตรการรองรับการขอเปลี่ยนผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยยังคงใช้เลขหมายเดิม (Mobile Number Portability หรือ MNP) แล้วก็ตาม แต่ผู้ให้บริการส่วนใหญ่ก็ยังมีปัญหาไม่สามารถให้บริการคงสิทธิเลขหมายแก่ผู้ใช้บริการได้ตามที่ กสทช. ได้ออกกฎเกณฑ์กำหนดไว้ โดยผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จะสามารถโอนย้ายเลขหมายให้แล้วเสร็จได้ในจำนวน 40,000 เลขหมายต่อวัน ซึ่งในความเป็นจริงขีดความสามารถในการย้ายเลขหมายปัจจุบันอยู่ที่เพียง 4,000 เลขหมายต่อวันเท่านั้น หากยังเป็นเช่นนี้ในกรณีผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนย่านความถี่ 1800 MHz จำนวน 18 ล้านเลขหมาย อาจต้องใช้เวลาถึง 12 ปี ในการเปลี่ยนย้ายเครือข่าย ในขณะที่ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่จะมีอายุเพียง 15 ปี

 

จากหลาย ๆ ปัญหาข้างต้นทำให้เห็นได้ว่าการนำคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz มาจัดสรรโดยวิธีการประมูล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการดังกล่าวอย่าง กสทช. เองก็ยังไม่เคยเปิดเผยให้สังคมได้รับรู้ถึงมาตรการในการป้องกันหรือจัดการกับปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม ทั้ง ๆ ที่สัญญาสัมปทานคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ของผู้ให้บริการ 2 ราย กำลังจะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน 2556 นี้ ทางคณะกรรมาธิการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชนและการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร และคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้เห็นถึงสภาพปัญหาดังกล่าวและความสำคัญที่จะเตรียมความพร้อมของการจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ที่กำลังจะหมดอายุสัมปทานลงเพื่อที่จะเป็นแนวทางสำหรับคลื่นความถี่ย่าน  อื่น ๆ ที่จะทยอยหมดสัญญาสัมปทานในอนาคต ตลอดจนปัญหาที่เกิดจากกฎระเบียบที่ไม่ชัดเจนอันจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนากิจการโทรคมนาคม จึงได้จัดการประชาพิจารณ์ในหัวข้อ “ทิศทางโทรคมนาคมไทย หลังสิ้นสุดระบบสัมปทานเมื่อเข้ายุค 3G และ 4G” ขึ้นในวันอังคารที่ 22 มกราคม 2556 ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ 213-216 อาคารรัฐสภาสอง ตั้งแต่เวลา 09.00 น. จนถึง 13.00 น. โดยมีตัวแทนจากคณะกรรมการ กสทช. ตัวแทนผู้บริโภคและนักวิชาการด้านโทรคมนาคม มาร่วมกันให้ความเห็นและพิจารณาถึงปัญหาดังกล่าว และหาทางออกเพื่อ    มิให้การเปลี่ยนผ่านของการจัดสรรคลื่นความถี่ในระบบสัมปทานไปสู่การออกใบอนุญาตเกิดผลกระทบต่อผู้ใช้บริการ จึงขอเชิญผู้สนใจความเป็นไปในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยทุกท่านเข้าร่วมประชาพิจารณ์ดังกล่าว เพื่อจะได้รับทราบถึงทิศทาง ตลอดจนปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย หลังจากการประมูล 3G ได้ผ่านพ้นไป  เพื่อจะร่วมกันหาทางออกและป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น โดยลงทะเบียนและสำรองที่นั่งได้ที่  thaitelecom3G4G @gmail.com




 

========================================================