Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,984
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,581
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,990
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,779
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,466
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,552
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,509
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,818
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,350
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,450
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,359
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,513
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,588
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,131
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,522
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,555
17 Industrial Provision co., ltd 39,225
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,377
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,297
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,622
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,445
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,853
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,220
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,959
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,584
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,951
28 AVERA CO., LTD. 22,586
29 เลิศบุศย์ 21,685
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,384
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,246
32 แมชชีนเทค 19,893
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,870
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,186
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,140
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,799
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,603
38 SAMWHA THAILAND 18,293
39 วอยก้า จำกัด 17,900
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,479
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,330
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,303
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,241
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,213
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,134
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,068
47 Systems integrator 16,713
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,629
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,456
50 Advanced Technology Equipment 16,444
01/07/2553 08:41 น. , อ่าน 5,844 ครั้ง
Bookmark and Share
ปตท.ลงนามใช้แบตเตอรี่แวเนเดียมรีด็อกซ์โฟล
โดย : Admin

โดย : บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)
30 มิถุนายน 2553



 


แบตเตอรี่แวนาเดี ยม รีด็อกซ์ โฟล นวัตกรรมที่คิดค้นโดยคนไทย เป็นเทคโนโลยีสะอาด ใช้กักเก็บและจ่ายพลังงานไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง


 

    ปตท. จับมือ เซลเลนเนียม ร่วมขับเคลื่อนพลังงานหมุนเวียนผลิตกระแสไฟฟ้า เซ็นสัญญา ศึกษาวิจัยและพัฒนาการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีแบตเตอรี่แวนาเดียม รีด็อกซ์ โฟล (Vanadium Redox Flow Battery) นวัตกรรมที่คิดค้นโดยคนไทย 
 

โดยเป็นเทคโนโลยีสะอาด ใช้กักเก็บและจ่ายพลังงานไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง  มุ่งผลักดันเชิงพาณิชย์  เน้นเป็นแหล่งกักเก็บและจ่ายพลังงานไฟฟ้าแบบติดตั้งในโรงงาน และแบบเคลื่อนที่ให้กับภาคอุตสาหกรรมและภาคขนส่ง   ส่งผลดีต่อชาติในการใช้พลังงานหมุนเวียนให้เกิดประโยชน์ สูงสุด
 

 นายส่งเกียรติ ทานสัมฤทธิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่  สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)  ได้ลงนามในสัญญาการเก็บรักษาความลับ (Mutual Nondisclosure Agreement) ร่วมกับนายกฤษฎา กัมปนาทแสนยากร ประธานกรรมการ บริษัท เซลเลนเนียม (ประเทศไทย) จำกัด ในความร่วมมือศึกษาวิจัยและพัฒนาการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีแบตเตอรี่ แวเนเดียม  รีด็อกซ์ โฟล (Vanadium Redox Flow Battery :VRFB )
 

 VRFB เป็นนวัตกรรมเครื่องกักเก็บและจ่ายพลังงานไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อใช้เป็นแหล่งกักเก็บและจ่ายพลังงานไฟฟ้าทั้งแบบติดตั้งในโรง งานและแบบเคลื่อนที่ให้กับภาคอุตสาหกรรมและภาคขนส่ง รวมทั้ง ช่วยขับเคลื่อนการผลิตพลังงานหมุนเวียนที่ได้จาก ลม น้ำ แสงอาทิตย์ และชีวภาพ ฯลฯ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 บริษัท เซลเลนเนียม (ประเทศไทย) จำกัด ได้ทำการจดสิทธิบัตรแบตเตอรี่แวนาเดียม รีด็อกซ์ โฟล (Vanadium  Redox Flow Battery) ในปี 2521
 

  ข้อดีของแบตเตอรี่ชนิดนี้คือ สามารถอัดประจุไฟฟ้าเข้าไปในแบตเตอรี่ได้ใหม่หลายครั้งอย่าง รวดเร็ว ในปริมาณความจุที่ไม่จำกัดของแหล่งกักเก็บ โดยการนำสารละลายอิเล็คโทรไลท์ (electrolyte) ที่ใช้แล้วออกมาจากแบตเตอรี่ แล้วนำสารละลายอิเล็คโทรไลท์ที่อัดประจุไฟฟ้าแล้วเข้าไปแทนที่ ในกรณีที่ไม่มีแหล่งพลังงานสำหรับป้อนเข้าไปในระบบ   ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของแบตเตอรี่ที่ดี เหมาะกับการนำไปประยุกต์ใช้งาน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการผลิตไฟฟ้าขนาดย่อม โดยใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นแหล่งพลังงานในการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการกักเก็บและจ่ายไฟฟ้าได้รวดเร็วมากยิ่ง ขึ้น 

 
 นายส่งเกียรติ ทานสัมฤทธิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่  สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. เปิดเผยว่า การร่วมมือศึกษาวิจัยและพัฒนาศักยภาพ ประเมินผลและปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้งานของแบตเตอรี่ดังกล่าว  เป็นการช่วยขับเคลื่อนการผลิตพลังงานหมุนเวียนอย่างมี ประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยรวมต่อประเทศ  ซึ่งสอดรับกับแผนพลังงานทดแทน 15 ปี (พ.ศ. 2551-2565) ที่รัฐกำหนดให้มีการใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 6.4 ในปี พ.ศ. 2551  เป็นร้อยละ 20 ของพลังงานเชิงพาณิชย์ในปี พ.ศ. 2565  
 

          นายกฤษฎา กัมปนาทแสนยากร ประธานกรรมการ บริษัท เซลเลนเนียม (ประเทศไทย) จำกัด    กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่าง ปตท. และ เซลเลนเนียม ในครั้งนี้ จะก่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาพลังงานของประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจาก หัวใจสำคัญในการขับเคลื่อน คือ เทคโนโลยีของแบตเตอรี่  ซึ่งทำหน้าที่กักเก็บและจ่ายพลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ
 

 ในปัจจุบัน Electric Economy จัดว่าเป็นแนวทางหนึ่งในการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่ง แวดล้อมที่มีประสิทธิภาพยิ่ง อีกทั้งพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จาก เทคโนโลยีดังกล่าว เป็นพลังงานหมุนเวียนตามธรรมชาติ  เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานชีวภาพ เป็นต้น  ซึ่งจะมาแทนที่การใช้พลังงานฟอสซิลที่กำลังจะหมดไปใน อนาคต  


 

========================================================