Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,990
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,582
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,991
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,786
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,466
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,555
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,512
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,818
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,354
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,451
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,364
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,514
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,595
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,133
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,526
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,557
17 Industrial Provision co., ltd 39,227
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,378
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,298
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,625
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,449
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,854
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,221
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,960
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,585
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,952
28 AVERA CO., LTD. 22,587
29 เลิศบุศย์ 21,686
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,386
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,247
32 แมชชีนเทค 19,896
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,870
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,187
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,141
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,801
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,604
38 SAMWHA THAILAND 18,294
39 วอยก้า จำกัด 17,902
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,481
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,332
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,305
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,242
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,217
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,136
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,070
47 Systems integrator 16,714
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,631
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,458
50 Advanced Technology Equipment 16,445
29/06/2553 09:10 น. , อ่าน 5,942 ครั้ง
Bookmark and Share
"ฉลากสิ่งแวดล้อม" ช่วยอนุรักษ์โลกสีเขียว
โดย : Admin

 

ที่มา: ข่าวสดรายวัน
วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553

 

 

 

 

           ผู้บริโภคหลายๆ ท่าน อาจเคยผ่านตา มองเห็น "ฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อม" เวลาไปเดินจับจ่ายซื้อสินค้าตามร้านค้าทั่ว ไป ล่าสุด ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม จัดงานสัมมนาเผยแพร่ความรู้ในประเด็นดังกล่าว ระบุ ว่า ปัจจุบัน "ฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อม" แบ่งเป็น 3 ประเภท

 

1. ฉลากเขียว มีสีเขียวสมชื่อ ใช้บ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์ยี่ห้อนั้นมีคุณภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีคณะอนุกรรมการจากกระ ทรวงอุตสาหกรรมคอยตรวจรับรองคุณภาพ ตั้งแต่กระบวนการออกแบบ ผลิต ใช้งาน กระทั่งจบสิ้นที่การทิ้งทำลายว่ามีอัตราปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือคาร์บอนไดออกไซด์ มากเกินความจำเป็นหรือไม่


2. ฉลากลดคาร์บอน หรือ ฉลากแสดงการลดระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ลง เมื่อเทียบกับปี 2545 ที่โรงงานเคยปล่อย โดยหากผลประเมินพบว่าสินค้านั้นมีกระบวนการผลิตที่ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยลงร้อยละ 10 จะถือว่าผ่านเกณฑ์


3. ฉลากน้องใหม่ "คาร์บอนฟุตพรินต์" ซึ่งเป็นฉลากแสดงตัวเลขของปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิต ภัณฑ์ที่โรงงานผลิต


กระแสรักษ์โลกเป็นประเด็นที่นานาชาติต่างตื่นตัวกันมานาน แต่สำหรับประเทศไทยนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกลับส่ายหัวกันเป็นทิวแถว เพราะไม่เห็นวี่แววที่น่าชื่นใจ



นางสาวพรรรัตน์ เพชรภักดี ผอ.สถาบันสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ว่า

ตลอดช่วงกว่า 10 ปีแรกทีมงานเน้นกลุ่มเป้าหมายเป็นประชาชนทั่วไป แต่ผลตอบรับกลับไม่เป็นไปตามเป้าเนื่องจากประชาชนไม่เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มองเห็นเป็นเรื่องไกลตัว จึงต้องเปลี่ยนแผนใหม่เป็นการขอความร่วมมือจากภาคอุตสาหกรรม นอกจากนั้น ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เทรนด์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกำลังมาแรงทำให้การทำงานของหน่วยงานง่ายขึ้น

อุตสาหกรรมหลายแห่งเสนอตัวขอรับการตรวจสอบเพื่อให้ได้ "ฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อม" นำไปใช้โฆษณา ส่งเสริมการขาย และเอื้อให้ผลิตภัณฑ์สามารถส่งออกได้



สำหรับภาครัฐในปี 2551 รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างสินค้าที่ได้รับ "ฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อม"

ด้าน ดร.พงษ์วิภา หล่อสมบูรณ์ ผอ.สำนักตลาดคาร์บอน องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ให้ความเห็นว่า เหตุที่ประชาชนไทยยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม เพราะยังขาดความเข้าใจอยู่มาก และมีทัศนคติด้านลบกับสินค้าสีเขียวว่าต้องมีราคาแพง ทั้งๆ ที่ร้อยละ 80-90 ของสินค้ามีราคาปกติเมื่อเทียบกับสินค้าประเภทเดียวกัน

ทางแก้ปัญหา คือ รัฐบาลต้องกำหนดนโย บายการผลิตสินค้าของภาคอุตฯ ให้ชัดเจน และกระตุ้นให้ประชาชนใช้สินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ยิ่งเมื่อกระทรวงทรัพยากรธรรม ชาติฯ เตรียมผลักดันให้ประเทศไทยเป็น "สังคมคาร์บอนต่ำ" โจทย์ใหญ่ที่ยิ่งต้องแก้คือภาคประ ชาชนมีความรู้ความเข้า ใจเพียงพอแล้วหรือยัง



นายวรศาสตร์ อภัยพงษ์ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า แม้ร้อยละ 56 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาจากกระบวนการผลิต แต่โจทย์ใหญ่คือการเปลี่ยนจิตสำนึกของประชาชน เพราะหากมีกำลังซื้อก็ย่อมมีกำลังขาย ดังนั้น จึงเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนเดินหน้าอนุรักษ์ธรรมชาติไปพร้อมๆ กัน ไม่ต้องรอใครอื่น เริ่มจากตัวของเราเอง

หากผู้บริโภคไม่ทราบว่าจะหาซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีตราสัญลักษณ์เพื่อสิ่งแวดล้อมได้ที่ไหน เร็วๆ นี้ห้างสรรพสินค้าคาร์ฟูร์ และร้านสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่น กำลังเตรียมจัดมุมพิเศษสำหรับสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีราคาถูกและคุณภาพทัดเทียมกับสินค้าทั่วไปต่อไป


 

 

 

 

ขอขอบคุณทุกๆที่มาของแหล่งข่าว

 

 

========================================================