Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,984
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,581
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,990
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,779
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,466
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,552
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,509
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,818
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,350
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,449
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,359
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,513
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,586
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,131
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,519
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,555
17 Industrial Provision co., ltd 39,225
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,376
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,297
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,622
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,441
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,852
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,220
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,959
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,583
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,951
28 AVERA CO., LTD. 22,586
29 เลิศบุศย์ 21,685
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,383
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,246
32 แมชชีนเทค 19,893
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,870
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,186
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,140
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,799
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,603
38 SAMWHA THAILAND 18,293
39 วอยก้า จำกัด 17,900
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,478
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,330
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,303
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,241
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,212
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,134
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,068
47 Systems integrator 16,713
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,629
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,455
50 Advanced Technology Equipment 16,443
10/03/2553 09:21 น. , อ่าน 6,312 ครั้ง
Bookmark and Share
ค่ายรถชิงเค้ก "ปท.กำลังพัฒนา" ตั้ง "ศูนย์วิศวกรรม" ปั้นโมเดลโลว์คอสต์
โดย : Admin

 ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ 

ที่ผ่านมา ประเทศกำลังพัฒนาอย่าง จีน อินเดีย เวียดนาม ตุรกี เม็กซิโก สามารถสร้าง "ที่ยืน" ในแผนที่อุตสาหกรรมรถยนต์โลกได้อย่างน่าทึ่ง และมีแนวโน้มที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญให้แก่แวดวงรถยนต์ในอนาคตต่อไป

"วอลล์สตรีต เจอร์นัล" รายงานว่า ค่ายรถยักษ์ใหญ่ของโลกหลายแห่งเริ่มปรับโฟกัสประเทศกำลังพัฒนา โดยเปลี่ยนจากการให้ความสำคัญเรื่องต้นทุนการผลิตที่ต่ำเพียงอย่างเดียว มาเป็น การตั้ง "ศูนย์วิศวกรรม" เพื่อพัฒนางานดีไซน์ไปพร้อมกับการใช้ต้นทุนการผลิตในระดับต่ำ ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนโฉมอุตสาหกรรมยานยนต์ของโลกครั้งสำคัญ

หลายปีที่ผ่านมา ผู้ผลิตรถยนต์หลายค่ายต่างก็พยายามลดรายจ่ายในการผลิต ด้วยการตั้ง โรงงานประกอบเครื่องในประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำอย่าง รัสเซีย ตุรกี และเม็กซิโก


แต่ปัจจุบัน บริษัทเหล่านี้เริ่มหันมาตั้งหน่วยงานด้านการออกแบบและวิศวกรรม (design and engineering operations) ที่ต้องใช้ทักษะระดับสูงในประเทศกำลังพัฒนามากขึ้น แทนที่จะไปตั้งในประเทศพัฒนาแล้วอย่าง สหรัฐ เยอรมนี และญี่ปุ่นเหมือนเมื่อก่อน


ยกตัวอย่าง "นิสสัน มอเตอร์" ค่ายรถยนต์จากแดนอาทิตย์อุทัย ซึ่งมองประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นกุญแจสำคัญในยุทธศาสตร์การลดต้นทุนการพัฒนารถยนต์ของบริษัท และแข่งขันกับผู้ผลิตรถยนต์จากประเทศจีนและอินเดียที่เริ่มมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ


ขณะนี้นิสสันกลายเป็นหนึ่งในค่ายรถยนต์ระดับบิ๊กที่ตัดสินใจย้ายงานด้านวิศวกรรมไปยังประเทศกำลังพัฒนา

โดยย้ายไปตั้งศูนย์วิศวกรรมในเมืองฮานอยของเวียดนาม ซึ่งมีทีมงานวิศวกรชาวเวียดนามกว่า 700 คนทำหน้าที่ออกแบบชิ้นส่วนรถยนต์พื้นฐาน ตั้งแต่ท่อส่งน้ำมัน ไปจนถึงท่อไอเสียรถ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานออกแบบในศูนย์วิศวกรรมใหญ่ในญี่ปุ่น


ทั้งนี้ วิศวกรชาวเวียดนามได้รับค่าจ้างราว 200 ดอลลาร์ต่อเดือน ซึ่งคิดเป็น 1 ใน 10 ของวิศวกรที่ทำงานในญี่ปุ่น

ขณะที่ "ฮอนด้า มอเตอร์" ยักษ์รถยนต์จากญี่ปุ่นอีกราย ประกาศเมื่อปีที่แล้วว่า บริษัทมีแผนจะสร้างศูนย์พัฒนา (development center) ในเมืองกวางโจว ประเทศจีน


ส่วนเมื่อเดือนที่แล้ว "ไครสเลอร์" ระบุว่า เตรียมจะย้ายงานด้านการพัฒนามาลงหลักปักฐานในประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำ เช่นเดียวกับ "เจเนอรัล มอเตอร์" (จีเอ็ม) ที่ใช้ทีมงานในจีนออกแบบตกแต่งรถบูอิก (Buicks) ที่จะจำหน่ายในสหรัฐ


"อลัน ทาอับ" ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาของจีเอ็ม กล่าวว่า การลดต้นทุน และความต้องการขายสินค้าในตลาดท้องถิ่น เป็นเรื่องที่ผลักดันให้บริษัทต้องย้ายงานด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปยังประเทศจีน


เพราะบริษัทพบว่า ผู้ใช้รถชาวจีนต้องการรถยนต์ที่มีที่นั่งแบบตั้งตรง เพื่อให้มีพื้นที่ใช้สอยกว้างขวางและสะดวกสบายมากขึ้น เมื่อเทียบกับความต้องการของชาวอเมริกัน เนื่องจากผู้ซื้อรถชาวจีนจำนวนมากมักจะมีโชเฟอร์ขับรถให้


ดังนั้น หากคุณพยายามจะผลิตสินค้านอกพื้นที่ที่จะวางขาย คุณอาจจะมองข้ามจุดนี้ไป

"คาร์ลอส กอส์น" ประธานบริหารของนิสสัน และเรโนลต์กล่าวว่า หากคุณจ้างวิศวกรในฮานอยแทนที่จะจ้างวิศวกรในญี่ปุ่น คุณจะสามารถประหยัดต้นทุนได้มาก


สำหรับรถยนต์แบรนด์ "เรโนลต์" นั้นใช้วิศวกรชาวโรมาเนียในการพัฒนารถยนต์รุ่น "โลแกน" (Logan) ซึ่งเป็นรถขนาดเล็กที่จำหน่ายในยุโรปและเอเชีย โดยรถยนต์รุ่นนี้มีสนนราคาอยู่ที่ประมาณ 13,000-14,500 ดอลลาร์


และเมื่อเร็วๆ นี้ "กอส์น" ก็ตกลงที่จะจับมือกับบริษัทรัสเซียชื่อ "โอเอโอ แอฟโทวาซ" ในการใช้วิศวกรรัสเซียที่มีราว 4,000 คน เพื่อจะลดต้นทุนการพัฒนาของทั้งเรโนลต์และนิสสันลง

นอกจากนี้ยังมีแผนจะตั้งศูนย์วิศวกรรมในเมืองเชนไนของอินเดีย เพื่อจะพัฒนารถยนต์ที่สามารถวางขายในตลาดกำลังพัฒนาที่ระดับราคา 3,000 ดอลลาร์ หรือต่ำกว่านั้น


เช่นเดียวกับศูนย์เทคโนโลยีของนิสสันในเมืองโทลูกาของเม็กซิโกก็กำลังเน้นพัฒนารถยนต์ ขนาดเล็กรุ่น "เวอร์ซา" และ "เซนทรา" ที่จำหน่ายในตลาดสหรัฐ ขณะที่ก่อนหน้านี้ตั้งใจจะตั้งศูนย์ในรัฐมิชิแกนของสหรัฐ

ทั้งนี้ นิสสันสร้างศูนย์พัฒนาในประเทศกำลังพัฒนาที่มีต้นทุนการผลิตต่ำ โดยคัดเลือกจากพื้นที่ที่บริษัทมีโรงงานประกอบเครื่องอยู่แล้ว รวมทั้งมีการทำตลาดในประเทศนั้นๆ ด้วย

น่าสนใจว่า นิสสันพยายามจะปรับเปลี่ยน เพื่อประหยัดรายจ่ายหลายร้อยล้านดอลลาร์ และมองว่านี่เป็นวิธีที่จะทำให้บริษัทอยู่รอดได้ท่ามกลางสมรภูมิที่ราคารถยนต์ในตลาดกำลังพัฒนาลดลงอย่างรวดเร็ว

นั่นเป็นสิ่งที่อธิบายถึงความพยายามของทีมงานในเชนไนที่จะออกแบบรถยนต์ให้สามารถ แข่งขันกับรถยนต์ที่ถูกที่สุดในโลก "ตาต้า นาโน" ของค่ายตาต้า มอเตอร์ส ที่มีราคาเพียง 2,500 ดอลลาร์


"กอส์น" เชื่อว่า การย้ายงานด้านพัฒนาไปยังประเทศที่มีต้นทุนต่ำจะไม่ส่งผลกระทบต่องานในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่นและสหรัฐ

แต่เขาก็ยอมรับว่า จำนวนการจ้างงานด้านวิศวะในประเทศอุตสาหกรรมอาจจะขยายตัวช้ากว่าในอดีต เทียบกับในประเทศกำลังพัฒนาที่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว


นอกจากนี้ ระบบอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายความเร็วสูงจะช่วยเชื่อมโยงการทำงานระหว่างห้องแล็บและวิศวกรที่อยู่ห่างไกลกัน

อย่างไรก็ตาม การปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ของ ค่ายรถยนต์ดังกล่าวก็มีความเสี่ยงเช่นกัน อาทิ กรณีของนิสสันที่ต้องเผชิญกับความท้าทาย จากการขาดประสบการณ์ของบรรดาวิศวกรจบใหม่ในเวียดนามและประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ


"มิตสุฮิโกะ ยามาชิตะ" หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรมและเทคโนโลยีของนิสสัน มองว่า มีความเป็นไปได้ที่บริษัทจะให้วิศวกรจบใหม่ออกแบบรถยนต์ในขั้นก้าวหน้าต่อไป โดยใช้คอมพิวเตอร์มาเป็นเครื่องมือช่วย ซึ่งแม้จะช่วยเติมช่องว่างเรื่องความรู้ให้แก่วิศวกรจบใหม่ได้

แต่การพึ่งพา "วิศวกรรมเสมือน" (virtual engineering) มากเกินไปก็อาจทำให้เกิดปัญหาเรื่องคุณภาพตามมาได้


 

========================================================