Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,362
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,515
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,929
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,685
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,411
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,489
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,454
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,763
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,244
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,386
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,302
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,448
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,486
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,071
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,417
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,495
17 Industrial Provision co., ltd 39,160
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,319
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,239
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,566
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,383
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,799
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,155
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,901
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,520
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,459
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,888
28 AVERA CO., LTD. 22,534
29 เลิศบุศย์ 21,634
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,316
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,184
32 แมชชีนเทค 19,832
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,802
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,127
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,079
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,742
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,548
38 SAMWHA THAILAND 18,236
39 วอยก้า จำกัด 17,827
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,415
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,277
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,241
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,185
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,137
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,078
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,003
47 Systems integrator 16,655
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,575
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,397
50 Advanced Technology Equipment 16,380
16/01/2553 12:42 น. , อ่าน 20,002 ครั้ง
Bookmark and Share
ระบบควบคุมเครื่องกัดอัตโนมัติ (CNC Controller for Milling Machine)
โดย : Admin

ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

 

ในปัจจุบันการใช้งานเครื่องจักรกลซีเอ็นซี (CNC  Computer Numerical Control ) ในการอุตสาหกรรมภายในประเทศมีเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากข้อดีของเครื่องจักรกลซีเอ็นซีคือ สามารถประหยัดเวลา แรงงานคน และทำให้คุณภาพของชิ้นงานที่ได้มีความแม่นยำสูง ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตภายนอกประเทศได้  เครื่องจักรกลซีเอ็นซีที่ใช้งานในประเทศส่วนใหญ่ได้แก่  เครื่องกลึง เครื่องกัด เครื่องเจียร และเครื่องเจาะ  ซึ่งเครื่องจักรส่วนใหญ่ไม่สามารถผลิตได้ภายในประเทศ จากการสำรวจประเทศไทยมีการนำเข้าเครื่องจักรกลซีเอ็นซีเป็นมูลค่ากว่า 50,000 ล้านบาทต่อปี ในส่วนนี้มีทั้งเครื่องจักรเก่าและเครื่องจักรใหม่  ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี จากข้อมูลดังกล่าวเห็นได้ว่าประเทศต้องนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศในราคาที่แพง อีกทั้งอายุการใช้งานปกติของเครื่องจักรกลซีเอ็นซีจะมีอายุประมาณ 5-10 ปี เมื่อเครื่องจักรชำรุด จำเป็นต้องมีการปรับปรุง ที่เรียกกันว่าการรีโทรฟิต(Retrofit)  จากการสำรวจในประเทศมีเครื่องจักรชำรุดประมาณ 80,000 เครื่อง ในจำนวนนี้สามารถรีโทรฟิตได้ประมาณ 40,000 เครื่อง ส่วนที่เหลือไม่สามารถรีโทรฟิตได้ ต้องนำไปหลอมเป็นเหล็กเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่

การรีโทรฟิตเครื่องจักรมีส่วนประกอบสำคัญที่จะต้องพิจารณาเปลี่ยนอยู่ 3 ส่วนคือ ส่วนระบบควบคุม(CNC Controller) ส่วนมอเตอร์และวงจรขับ(Motor &Driver) และส่วนของเครื่องกล เช่นบอลล์สกรู ลีเนียร์ไกด์ เป็นต้น การรีโทรฟิตเครื่องจักรอาจไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนทั้งหมด แต่ทำการเปลี่ยนเฉพาะส่วนประกอบที่เสีย ซึ่งส่วนประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้เป็นราคาส่วนใหญ่ของระบบ โดยทั้ง 3 ส่วนนี้ยังไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ  ในปัจจุบันมีผู้ประกอบการประมาณ 5 ถึง 10 รายมีความเชี่ยวชาญทางด้านเครื่องกล ที่สามารถทำการรีโทรฟิตเครื่องจักกลซีเอ็นซีได้ แต่ยังต้องนำเข้าระบบควบคุม วงจรขับ และมอเตอร์จากต่างประเทศ ซึ่งในส่วนของระบบควบคุมที่นำเข้ามาจากต่างประเทศมีราคาตั้งแต่ 100,000-300,000 บาท ตามความสามารถของระบบควบคุม แนวคิดการพัฒนาระบบควบคุมเครื่องจักรกลซีเอ็นซีจึงเกิดขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน

cnc_1cnc_2

ระบบควบคุมซีเอ็นซีที่ติดตั้งในเครื่องกัดอัตโนมัติที่วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม

ข้อมูลงานวิจัย

ลักษณะเด่นของงานวิจัย

การสร้างระบบควบคุมเครื่องกัดอัตโนมัติทีมวิจัยเนคเทคได้ทำการพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ส่วนใหญ่ขึ้นมาเอง เป็นแบบสถาปัตยกรรมเปิด ซึ่งมีข้อดีคือสามารถหาฮาร์ดแวร์ต่างๆได้ในท้องตลาด เมื่อระบบควบคุมเสียไม่จำเป็นต้องซื้อใหม่ทั้งชุด ผู้ใช้สามารถเลือกเปลี่ยนเฉพาะส่วนที่เสียเท่านั้น ฮาร์ดแวร์ที่สำคัญของระบบได้แก่ คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม การ์ด Motion Control และ I/O Module ถ้าส่วนใดเสียผู้ใช้สามารถเลือกเปลี่ยนเป็นส่วนได้ อีกทั้งเนื่องจากทางทีมวิจัยได้พัฒนาซอฟท์แวร์ขึ้นมาเอง เมื่อฮาร์ดแวร์ใดในตลาดเลิกผลิตไปแล้ว ทางทีมวิจัยสามารถนำเอาซอฟท์แวร์ไปปรับปรุงเพื่อใช้งานในฮาร์ดแวร์ใหม่ได้ง่าย ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ใช้ได้

การประยุกต์ใช้งาน

เนื่องจากพื้นฐานของเครื่องจักรกลซีเอ็นซีแต่ละชนิดมีพื้นฐานคล้ายคลึงกัน สามารถนำความรู้ที่ได้จากการพัฒนาระบบควบคุมเครื่องกัดอัตโนมัติ ไปพัฒนาระบบควบคุมเครื่องจักรอื่นเช่น เครื่องกลึง เครื่องเจียระไน หรือเครื่องตัดเลเซอร์ได้ รวมทั้งเป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนาในเครื่องจักรที่มีความซับซ้อนเช่นเครื่องซีเอ็นซีแบบ 5 แกน หรือ Robot Arm ต่อไปในอนาคต

ลักษณะของการใช้งาน

การนำระบบควบคุมไปติดตั้งกับเครื่องจักรสามารถทำได้ง่าย เหมือนระบบควบคุมที่ซื้อจากต่างประเทศ  สามารถนำไปติดตั้งได้ทั้งเครื่องจักรใหม่และเครื่องจักรเก่า ภายในตัวชุดควบคุมมีหน้าจอแสดงผล (Man Machine Interface) สำหรับแสดงผลการทำงานของเครื่องจักร และแผงคีย์บอร์ดควบคุม ชุดควบคุมจะมีสัญญาณควบคุมมอเตอร์ด้วยสัญญาณอนาล๊อก (+/- 10 V) และรับสัญญาณ Encoderจากมอเตอร์ ในชุดควบคุมจะมีส่วนติดต่อกับ I/O ภายนอก เช่นลิมิตสวิตซ์ สปินเดิล หรือส่วนน้ำหล่อเย็น เป็นต้น

พันธมิตรที่เกี่ยวข้อง (ร่วมวิจัย/รับการถ่ายทอด)

  • สถาบันไทย-เยอรมัน (TGI)
  • สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.)

ประโยชน์ที่ได้รับ

  • ช่วยลดการนำเข้าชุดเครื่องจักรกลซีเอ็นซี ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศ
  • เป็นการนำเครื่องจักรเครื่องจักรกลซีเอ็นซีที่เสื่อมสภาพมาซ่อมแซมเพื่อนำกลับมาใช้อีก แทนที่การทิ้งเครื่อง
  • เนื่องจากพื้นฐานของเครื่องจักรกลซีเอ็นซีแต่ละชนิดมีพื้นฐานคล้ายคลึงกัน สามารถนำความรู้ที่ได้จากการพัฒนาระบบ ควบคุมเครื่องกัดอัตโนมัติ ไปพัฒนาระบบควบคุมเครื่องจักรอื่นเช่น เครื่องกลึง เครื่องเจียระไน หรือเครื่องตัดได้ในอนาคต รวมทั้งเป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนาในเครื่องจักรที่มีความซับซ้อนเช่นเครื่องซีเอ็นซีแบบ 5 แกน หรือ Robot Arm ต่อไป
  • ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยี ให้กับเอกชนไทย เพื่อประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมต่อไป

cnc_3

โครงสร้างของระบบควบคุมซีเอ็นซีสำหรับเครื่องกัดอัตโนมัติ

 

 

วิจัยและพัฒนาโดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยพัฒนาการควบคุมและระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

========================================================