Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,363
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,515
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,932
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,687
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,412
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,490
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,455
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,763
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,248
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,386
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,304
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,449
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,488
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,071
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,419
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,495
17 Industrial Provision co., ltd 39,160
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,319
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,239
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,566
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,383
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,799
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,155
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,902
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,520
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,459
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,888
28 AVERA CO., LTD. 22,534
29 เลิศบุศย์ 21,634
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,317
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,185
32 แมชชีนเทค 19,832
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,802
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,127
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,079
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,742
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,548
38 SAMWHA THAILAND 18,237
39 วอยก้า จำกัด 17,827
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,415
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,277
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,241
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,185
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,137
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,078
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,004
47 Systems integrator 16,655
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,575
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,397
50 Advanced Technology Equipment 16,380
07/01/2553 18:46 น. , อ่าน 6,534 ครั้ง
Bookmark and Share
จับกระแสแทบเล็ตในไทย
โดย : Admin

 

ที่มา : 
 วันที่ 7 มกราคม 2553

 

 

ปฏิเสธไม่ได้ว่า "อินเทอร์เน็ต แทบเล็ต" ที่เป็นลูกผสมระหว่าง"สมาร์ทโฟน"และ"แล็ปทอป"กำลังเป็นเทคโนฯที่คนทั่ววงการไอทีต่างจับตาความเคลื่อนไหว

 ทั้งนี้เพราะกระแสแรงมาจากงาน "คอนซูเมอร์ อิเล็กทรอนิกส์ โชว์" หรือซีอีเอส ที่จัดขึ้น ณ เมืองการพนันระดับโลกอย่างลาสเวกัส สหรัฐอเมริกา ขนาดเจ้าของพื้นที่จัดงาน ยังออกมาบอกว่า โซนร้อนแรงของงานครั้งนี้ อยู่ในกลุ่มอุปกรณ์ประเภท "อีบุ๊ค" และ "อินเทอร์เน็ต แทบเล็ต"
 นักวิเคราะห์หลายราย ยังเชื่อตรงกันด้วยว่า ปีนี้ "แทบเล็ต" จะกลายมาเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ เพราะมีแรงกระตุ้นจากการปริมาณการใช้โมบาย คอนเทนท์ที่เพิ่มขึ้นมหาศาล การขยายตัวของเครือข่ายไร้สาย และความสามารถการเป็นเจ้าของอุปกรณ์ทัชสกรีน และประสิทธิภาพการประมวลผลของชิพ ประเมินกันว่า ภายในปีนี้แทบเล็ตจะทำเงินได้ถึง 3.5 พันล้านดอลลาร์

 เมื่อข้ามฟากกลับมาที่ประเทศไทย ก่อนหน้านี้ "แทบเล็ต พีซี" เคยเปิดตัวมาแล้ว แต่ด้วยเทคโนโลยีสมัยนั้น ทำให้ยังมีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก ไม่ได้รับการตอบรับจากตลาด จากนั้นเมื่อโน้ตบุ๊คพัฒนาขึ้นมาให้มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ราคาถูกลง จึงทำให้คนให้มาสนใจกับโน้ตบุ๊คขนาดเล็กมากขึ้น

 
ปฏิบัติการปลุกชีพแทบเล็ต

 นายสมชัย สิทธิชัยเชื้อชาติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ อุปกรณ์ "แทบเล็ต" มีความพยายามที่จะทำตลาดทั่วโลกมาแล้วหลายครั้ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จเลย แม้กระทั่ง "บิล เกตส์" ในครั้งที่เป็นยังเป็นซีอีโอ ไมโครซอฟท์ ได้เป็นคนใช้แทบเล็ตคนแรกๆ ด้วยตัวเอง และพยายามผลักดันอย่างเต็มที่ เกิดกระแสอยู่สักพัก แต่พอมาสู่กลุ่มผู้บริโภคทั่วไป กลับไม่เกิดอย่างที่หลายคนคาดหวังเอาไว้
 
 "ผมมองว่า ตัวแทบเล็ตเอง ถ้าจะมาฮิตในช่วงนี้ น่าจะเป็นแทบเล็ตที่ใช้งานเฉพาะด้าน หรือเฉพาะกิจเท่านั้น แต่ถ้าจะให้ลงมาถึงกลุ่มผู้บริโภคโดยทั่วไป ผมว่ามันตายไปนานแล้ว"
 
 แต่หากแทบเล็ตจะเกิดในตลาด คาดว่าน่าจะมาจากการพัฒนาของสมาร์ทโฟนตัวเล็ก ก็พัฒนาให้มีขนาดใหญ่ขึ้น หรือการเพิ่มฟังก์ชันให้เป็นอีบุ๊คด้วย เพราะอีบุ๊คในอเมริกานั้นได้รับความนิยมมาก
 
 ทั้งนี้ กระแสอีบุ๊คในต่างประเทศ โดยเฉพาะอเมริกา รุนแรงมาก เพราะ "ฝรั่ง" อ่านหนังสือมาก เครื่องราคาไม่แพง เพียงใส่ซิมในอีบุ๊ค ก็สามารถโหลดหนังสือเข้ามาอ่านได้
 
 "และหากแอ๊ปเปิ๊ล ที่เตรียมจะออกแทบเล็ตมาชิมลางในตลาด ทำได้ และดึงคอนเทนท์ อาทิเช่น สำนักพิมพ์ต่างๆ มีเดียต่างๆ เข้ามาในแทบเล็ตของตัวเอง ขณะที่ผู้ผลิตหลายๆ รายกล้าลงมาเล่น แอพพลิเคชั่นบนแทบเล็ตก็จะมีเพิ่ม ถึงตรงนั้น ก็อาจจะจุดกระแสให้แทบเล็ตได้รับความนิยมเพิ่มก็ได้"

 
ในไทยแค่ "สีสัน" แต่ไม่ฮิต  

 กระนั้นก็ตาม เขาเชื่อว่า แทบเล็ต ยังคงไม่ใช่คู่แข่งของโน้ตบุ๊ค หรือมินิโน้ตบุ๊ค (เน็ตบุ๊ค) เพราะการดีไซน์แทบเล็ตที่ไม่มีคีย์บอร์ด ไม่น่าจะทำตลาดตอบรับได้ หรืออาจมีคีย์บอร์ดติดอยู่ แต่เครื่องก็จะหนามาก ยกเว้นว่า ถ้าแอ๊ปเปิ๊ล ทำเป็นคีย์บอร์ดอยู่ในจอ และวางนิ้วได้ พิมพ์ได้ แทบเล็ตก็อาจจะมีอนาคตดีขึ้น
 
 "สำหรับตลาดไทย ผมไม่เชื่อว่าตลาดแทบเล็ตจะใหญ่ ยิ่งเป็นแทบเล็ตแบบอีบุ๊คด้วยแล้ว สำคัญอยู่ที่คอนเทนท์ ถ้าเข้ามาทำตลาดคอนเทนท์ต้องพร้อม ขณะที่ภาษาก็สำคัญ เพราะอีบุ๊คถูกพัฒนาขึ้นมาให้รองรับภาษาอังกฤษ หากทำตลาดในไทยก็ต้องทำเป็นภาษาไทย อาจต้องใช้เวลาในการพัฒนา หากเป็นแทบเล็ตในเชิงคอมพิวติ้ง ก็จะติดปัญหาเรื่องการดีไซน์ อย่างพวกคีย์บอร์ด ซึ่งผมว่าซื้อโน้ตบุ๊คยังเวิร์คกว่า"
 ด้าน นายพรเทพ วัชระอำนวย กรรมการผู้จัดการ บริษัท อัสซุสเทค คอมพิวเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ขณะนี้ ตลาดไทยมีความเคลื่อนไหวของอินเทอร์เน็ต แทบเล็ตพอสมควร คาดว่า ไตรมาส 2 ของปีนี้ น่าจะมีกระแสแรงขึ้น แต่ก็อาจเป็นช่วงทดสอบทำตลาดเท่านั้น เพราะคงใช้เวลาเอ็ดดูเคทพอสมควร
 
 "แทบเล็ต ถือเป็นเทคโนโลยีทางเลือก แม้จะเริ่มได้รับความนิยมจากต่างประเทศ แต่ในไทยก็ต้องดูว่า พื้นฐานการใช้งานของคนไทย จะใช้อะไรบ้าง คิดว่า ช่วงแรกน่าจะอยู่ในช่วงของการทดสอบตลาดมากกว่า"  อย่างไรก็ตาม เขาเชื่อว่าหากแทบเล็ตเข้ามาจำหน่ายในไทย น่าจะมีระดับราคาไม่เกิน 20,000 บาท
 

 

โน้ตบุ๊คใส่ซิมยังแรง

 ขณะที่นายสมชัย ประเมินว่า ตลาดแทบเล็ตในไทย ยังไม่น่าจะเป็นจุดเปลี่ยนของตลาดโน้ตบุ๊ค เมื่อเทียบกับโน้ตบุ๊คใส่ซิม (3 จี) ที่คาดว่าจะมาแรง และเป็นน่าจับตามองมากกว่า แม้ปัจจุบันจะจำหน่ายอยู่ในตลาดแล้ว หากแต่ยังไม่สามารถใช้เครือข่ายได้ เพราะยังไม่ได้ประกาศไลเซ่นออกมา
 
 "โน้ตบุ๊คใส่ซิมมาแน่ ตามเครือข่าย 3 จี ปัจจุบันตลาดโน้ตบุ๊คใส่ซิมยังเล็กมากมีส่วนแบ่งไม่ถึง 5% ต้องรอโครงสร้างพื้นฐานหลายอย่างๆ รวมถึงราคาของแอร์การ์ด ซึ่งยิ่งราคาลงมาต่ำเท่าไร ก็จะยิ่งสร้างโอกาสในตลาดนี้เพิ่มมากขึ้น"
 ที่ผ่านมา อัสซุสได้หันมาจับตลาดเน็ตบุ๊คใส่ซิมได้ระยะหนึ่งแล้ว โดยนำเข้ามาทำตลาดในไทยช่วงกลางปี 2552 ตลาดยังไม่ค่อยหวือหวา แต่คาดว่าปีนี้หน้าจะมีทิศทางที่ดีขึ้น
 
 ทั้งนี้ ในต่างประเทศโน้ตบุ๊คใส่ซิมถือเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมมาก โดยจุดเด่นที่ทำมาเพื่อรองรับเครือข่าย 3 จี ความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งในรุ่นที่อัสซุสมานำเข้ามาทำตลาดไทย สามารถรองรับได้ทั้งคลื่น 850 และ 900 เมกะเฮิรตซ์ ได้ด้วย ซึ่งปีที่ผ่านมา อัสซุส มียอดขายเน็ตบุ๊คใส่ซิมราวหลัก 1,000 ตัว

 
เอเซอร์เตรียมทำตลาด มี.ค.
 ส่วน นายบุญชัย เงาวิศิษฏ์กุล รองผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์คอมซูเมอร์ บริษัท เอเซอร์ คอมพิวเตอร์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทเตรียมนำเข้ามาทำตลาดในไทยเดือน มี.ค.ที่จะถึงนี้ โดยวางไว้ในกลุ่มโปรดักท์ "ทัชสกรีน โน้ตบุ๊ค" เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าให้ครอบคลุมมากที่สุด แต่เชื่อว่าแทบเล็ตในตลาดไทย จะไม่ได้มากเท่าต่างประเทศ เพราะส่วนใหญ่ฟังก์ชันที่สนับสนุนจะทำขึ้นเพื่อรองรับภาษาอังกฤษเป็นหลัก
 นายสมชัย ยังทิ้งท้ายด้วยว่า เร็วๆ นี้ จะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นในเน็ตบุ๊ค และจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ คือ เน็ตบุ๊คของค่ายกูเกิล บนระบบปฏิบัติโครม (Chrome)
 
 ขณะนี้ กูเกิลเริ่มคุยกับผู้ผลิตคอมพิวเตอร์บ้างแล้ว อาจจะใช้ชิพประมวลผลราคาไม่แพง ไม่กินทรัพยากรเครื่องมาก ไม่ต้องมีสตอเรจ สามารถใช้แอพพลิเคชั่นของกูเกิลได้ทั้งหมด ราคาเครื่องอาจอยู่ในระดับ 5-6 พันบาท โดยคาดว่าน่าจะเปิดตัวออกมาในตลาดอเมริการาวไตรมาสที่ 3 ของปีนี้
 
 
 

ขอขอบคุณที่มาของแหล่งข่าว



 

========================================================