Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,990
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,582
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,992
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,787
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,467
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,555
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,512
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,820
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,357
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,451
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,364
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,515
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,595
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,133
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,526
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,557
17 Industrial Provision co., ltd 39,227
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,380
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,298
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,626
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,450
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,854
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,221
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,960
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,585
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,952
28 AVERA CO., LTD. 22,587
29 เลิศบุศย์ 21,688
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,387
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,247
32 แมชชีนเทค 19,896
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,871
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,187
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,142
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,801
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,604
38 SAMWHA THAILAND 18,294
39 วอยก้า จำกัด 17,903
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,481
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,332
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,305
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,242
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,219
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,136
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,070
47 Systems integrator 16,714
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,633
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,458
50 Advanced Technology Equipment 16,445
28/10/2552 08:06 น. , อ่าน 6,615 ครั้ง
Bookmark and Share
ก้าวใหม่ซอฟต์แวร์เอเชีย คนเล็ก...ตลาดใหญ่
โดย : Admin

 

ที่มา:

   

    บทบาทซอฟต์แวร์ที่แทรกซึมผ่านเข้าไปเป็นองค์ประกอบในภาคธุรกิจ การค้า ลงไปถึงสินค้าคอนซูเมอร์ กำลังเปิดประตูสู่ตลาดใหม่ให้กับผู้พัฒนาฝั่งเอเชีย  

 

 

 3 ชาตินำร่องแบรนด์ "เอสเอเอ"


นายไตรรัตน์ ฉัตรแก้ว ซีอีโอ บริษัท เอสเอสซี โซลูชั่น จำกัด ในฐานะประธานกลุ่มพันธมิตรซอฟต์แวร์เอเชีย (เอสเอเอ) กล่าวว่า กลุ่มความร่วมมือดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 7 บริษัทจาก 3 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เตรียมปรับรูปแบบการทำตลาดโดยจะเน้นสร้างชื่อผ่านแบรนด์ "เอสเอเอ" จากก่อนหน้านี้ สมาชิกแต่ละรายจะต่างคนต่

 

ขณะเดียวกัน แนวทางใหม่นี้ ยังสอดคล้องกับเป้าหมายของการจัดตั้งความร่วมมือ ที่มุ่งผลักดันตลาดซอฟต์แวร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้แข็งแกร่งขึ้นางทำตลาด

     

ในส่วนของประเทศไทยปัจจุบันมีเพียง เอสเอสซี ที่เข้าเป็นสมาชิกโดยมองว่าเครือข่ายความร่วมมือนี้จะต่อยอดไปถึงเครือข่ายระดับภูมิภาคทีใหญ่ขึ้นไป เพิ่มโอกาสส่งออกให้กับผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ไทย ที่ยังมีข้อจำกัดโดยเฉพาะการเข้าร่วมโครงการใหญ่ๆโดยปัจจุบันมูลค่าตลาดซอฟต์แวร์ในประเทศไทยราว 6 หมื่นล้านบาทต่อปีนั้น มีสัดส่วนที่เป็นซอฟต์แวร์ในประเทศเพียง 20%

 

ทั้งนี้ เอสเอเอ มีแผนจัดตั้งตัวแทนการตลาดในทุกประเทศเป้าหมาย นอกเหนือจากการใช้ www.softwareasiaalliance.com เป็นช่องทางกลางในการเข้าถึงลูกค้า โดยตัวแทนจะมีบทบาททั้งการทำหน้าที่เวอริไฟลูกค้าที่เข้ามา สนับสนุนข้อมูลเบื้องต้นและเป็นที่ปรึกษาให้กับสมาชิก

 "เรามองว่าต้องมีออฟฟิศ ไม่สามารถทำผ่านเวอร์ช่วล โดยที่ผ่านมาเมื่อมีผู้เข้ามาที่เว็บไซต์และสนใจโปรดักท์ไหน ระบบก็จะส่งผ่านไปยังลิงค์บริษัทเจ้าของโปรดักท์นั้นๆ แต่รูปแบบใหม่นี้ตัวแทนที่อยู่ประเทศต้นทางที่ลูกค้าแอ็คเซสเข้ามา จะมีบทบาทเป็นสำนักงานขายให้เรา และทำหน้าที่       ตรวจสอบข้อมูลว่าบริษัทลูกค้ารายนั้นมีตัวตนจริง"

 

 เบื้องต้น นอกเหนือจาก 3 ประเทศที่เป็นสมาชิกปัจจุบันแล้ว ยังเจรจาเพื่อตั้งตัวแทนการตลาดแล้วในฮ่องกง สิงคโปร์ และไต้หวัน

 นอกจากนี้ การเข้าไปบุกตลาดต่างประเทศนั้น อาจต้องเปลี่ยนเป็นใช้ผู้ประกอบการ หรือพันธมิตรในท้องถิ่นเป็นผู้ออกหน้า ขณะที่ ทางบริษัทที่เป็นผู้พัฒนาจะเป็นผู้ตาม เนื่องจากหลายๆ โครงการจำเป็นต้องอาศัย "ความสัมพันธ์" หรือคอนเนคชั่น

 

 อย่างไรก็ตาม เขายอมรับว่ารูปแบบใหม่นี้ จะต้องมีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมจากสมาชิก กรณีที่มีการส่งผ่านข้อมูลลูกค้าไปยังบริษัทเจ้าของซอฟต์แวร์นั้นๆ ซึ่งถือเป็นค่าบริหารจัดการที่จะสร้างการต่อยอดในเชิงการตลาดได้

 

 "เท่าที่มองอยู่ตอนนี้ ประเทศไทยในส่วนของเอสเอสซี ก็มีจุดเด่นด้านระบบซอฟต์แวร์บริหารจัดการน้ำ ส่วนมาเลเซีย มีจุดแข็งด้านระบบบำรุงรักษาสนามบิน และซอฟต์แวร์การเงิน ขณะที่ อินโดนีเซีย เก่งในเรื่องอีกอฟเวิร์นเมนท์"
 

บรูไนแนะผนึกกำลังสู่ตลาดโลก
 นายยอง ชี ตวน ผู้แทนจากสมาพันธ์อินโฟคอม ประเทศบรูไน กล่าวว่า ปัจจุบันบทบาทของไอทีได้ก้าวเข้าไปครอบคลุมภาคอุตสาหกรรมหลักๆ ถือเป็นโอกาสที่มหาศาลสำหรับการพัฒนาด้านนี้ โดยเฉพาะระหว่างผู้ประกอบการในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งถือว่ายังมีความแข็งแกร่งด้านระบบเศรษฐกิจ ดึงดูดเงินทุนได้
 

 "ปัจจัยข้างต้นทำให้ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาจากภูมิภาคนี้มีความน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะหากเราสร้างความร่วมมือกันให้เกิดขึ้น และร่วมกันฝ่าฟันเรื่องการตลาด แพ็คเกจจิ้ง และอุปสรรคด้านภาษา ซึ่งการพัฒนาโปรดักท์ในระดับภูมิภาคเอเชีย จะช่วยสร้างความโดดเด่นในตลาดโลก และแข่งขันกันในระดับมาตรฐานสากลได้"
 

 นอกจากนี้ โอกาสของตลาดเอาท์ซอร์สในภูมิภาคนี้ยังมีอีกมหาศาล เนื่องจากบางประเทศที่มีขนาดเล็ก หรือประชากรไม่มากนักอย่างเช่น บรูไน ก็ควรมุ่งพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับตลาดเฉพาะด้าน ซึ่งต้องการใช้บุคลากรไม่มากนัก และใช้วิธีการเอาท์ซอร์สแทนในส่วนอื่นๆ
 

 นายสตีเฟ่น เหลา ประธานสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศเอเชียแปซิฟิก (APICTA) กล่าวว่า โอกาสด้านเอาท์ซอร์สซิ่งสำหรับภูมิภาคนี้ยังเติบโตต่อเนื่อง เพราะมีความต้องการสูงมาก และสามารถสร้างผลตอบแทนทางธุรกิจได้ดีกว่า โดยแนวโน้มที่น่าสนใจ ได้แก่ ตลาดเฮลธ์แคร์ การบริหารความเสี่ยงในเรื่องระบบความปลอดภัย แอพพลิเคชั่นเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เป็นต้น
 

ซอฟต์แวร์พาร์คอะไลแอนซ์ "ลุยต่อ"
 นายโรสแลน บาครี ซากาเรีย ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีรายย่อย และขนาดใหญ่ องค์การพัฒนามัลติมีเดีย หรือ MDEC ประเทศมาเลเซีย ในฐานะประธาน เอเชียโอเชียเนีย รีจินัล ซอฟต์แวร์พาร์ค อะไลแอนซ์ กล่าวว่า เรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการต่อปีนี้ในฐานะที่เขาขึ้นมาดำรงตำแหน่งคนใหม่ คือ การสานต่อกระแสการร่วมกลุ่มของซอฟต์แวร์พาร์ค ที่อดีตประธานจากประเทศไทย ได้วางโครงสร้างพื้นฐานการแบ่งปันทั้งข้อมูล และสิ่งอำนวยความสะดวกเอาไว้แล้ว
 

 โดยจะสร้างเวทีให้เกิดการเจรจาการทำธุรกิจซอฟต์แวร์ ภายใต้รูปแบบความร่วมมือระหว่างประเทศในลักษณะ Bilateral Trade หรือการเจรจาแบบสองฝ่ายให้มากขึ้น
 

 รวมทั้ง ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี เว็บ 2.0 ผ่านเว็บไซต์ Social Network ที่มีอยู่แล้ว สำหรับซอฟต์แวร์พาร์คและบริษัทซอฟต์แวร์ที่อยู่ในพาร์คได้ใช้ประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน เพื่อทำให้การพัฒนางานซอฟต์แวร์ไม่เกิดการซ้ำซ้อน และสามารถต่อเชื่อมโซลูชั่นระหว่างกันได้ทันที
 

  ทั้งนี้เพื่อใช้ประโยชน์จากเครือข่ายความร่วมมือระดับภูมิภาค เพื่อเพิ่มช่องทางการ "ส่งออก" ซอฟต์แวร์ไปท้าชนกับมาตรฐานระดับโลก โดยอาศัยข้อได้เปรียบจากจุดต่างด้านราคา


 

 


ขอขอบคุณที่มาของแหล่งข่าว



 

 

========================================================