Cross Culture Working
โดย : Admin

        โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นคนชาติไหนๆ การส่ายหัวนั้นมักสื่อความหมายว่า ไม่ใช่ หรือ ไม่..... อะไรประมาณนี้ หรือสื่อความหมายแทนคำว่า NO ในภาษาอังกฤษนั่นเอง

 

       แต่หากใครได้มีโอกาสทำงานกับชาวอินเดียหรืออินเดียที่แยกสาขาเช่น บังคลาเทศ ก็จะทราบถึงความแตกต่าง เนื่องจากคนเหล่านี้จะใช้สัญลักษณ์ที่แตกต่างและตรงกันช้ามกับทั่วๆไป กล่าวคือ การแสดงท่าทางสั่นหัวด๊อกแด๊กของชาวอินเดียนั้นจะหมายถึงใช่ หรือ ตกลง (Yes / OK ) ในทางกลับกันการแสดงท่าทางพยักหน้านั้นกลับสื่อความหมายว่า NO

 

 

      จากเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้เกิดเรื่อง อเมริกัน งง อินเดีย ดังนี้

 

      ครั้งหนึ่งนานมาแล้วเมื่อประมาณปี 1991 เหตุเกิดหลังสงครามอิรักบุกยึดคูเวต จากนั้นอเมริกันก็เข้ามาช่วยคูเวตปลดแอกจากการยึดครองของอิรัก หลังจากนั้นคูเวตก็เปิดรับแรงงานเข้าไปทำการฟื้นฟูบูรณะประเทศ ภายใต้การนำของ UN โดยมีอเมริกาเป็นพี่ใหญ่

 

    แรงงานที่มีการนำเข้าไปทำการฟื้นฟูประเทศ รวมแล้วก็มาจาก 27 ประเทศโดยประมาณ  หนึ่งในนั้นก็มีอินเดีย  พี่ไทย  รวมถึงตัวผมซึ่งเป็นหนึ่งในจำนวนแรงงานไทยสองหมื่นกว่าชีวิตในขณะนั้น

   

    โดยปกติความแตกต่างเรื่องภาษาก็เป็นอะไรที่ปวดหัวพอสมควรในการสื่อสารสำหรับการทำงานร่วมกันของคนต่างชาติต่างภาษา หรือ cross culture working แต่ที่สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้กับผู้คนได้มากที่สุดก็คงหนีไม่พ้นอินเดีย

 

   เมื่อความสับสนสะสมได้ที่ และแล้ววันหนึ่งความอดทนก็ถึงวันสิ้นสุด  โดยหัวหน้าชาวอเมริกันคนหนึ่งพูดเชิงขอร้องกับลูกน้องชาวอินเดียว่า

   “i very confused of your action => กรู สับสนกับท่าทางของเอ็งมากๆ “


    พร้อมกับขอร้องว่า “ if you don’t make like this I will give you 100 dollars  , Are you OK ? = > ถ้ายูไม่ทำท่าแบบนี้ (พร้อมกับแสดงการส่ายหัวให้อินเดียดู) กรูจะให้เงินเอ็ง 100 ดอลล่าร์ ตกลงไหม ? “


   เมื่ออินเดียได้ฟังจึงตอบรับด้วยความดีใจพร้อมกับส่ายหัวแล้วพูดว่า  "OK " 

 

    ?: ตลกงคุณคิดว่าอินเดียได้ 100 ดอลล่าร์ ไหม ?

 

 


เหตุผลลึกๆ ทำไมต้องส่ายหัว !!

เนื้อหาโดย: 9engineer.com (http://www.9engineer.com/)