งานบริการและให้คำปรึกษาโดยสถาบันยานยนต์
โดย : Admin

บริการด้าน ออกแบบผลิตภัณฑ์ งานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี

การให้บริการด้านทดสอบชิ้นส่วนยานยนต์ ทั้งในห้องปฏิบัติการและภาคสนาม โดยมีบุคลากรที่มีความรู้จะความเชี่ยวชาญ ทั้งด้านทดสอบ และด้านวิศวกรรมมีประสบการณ์และเข้าใจในความต้องการของภาคอุตสาหกรรมเป็น อย่างดี หนึ่งในภารกิจหลักสำคัญของสถาบันยานยนต์ โดยมีตัวอย่างการให้บริการที่ดำเนินการเป็นผลสำเร็จแล้ว ดังนี้



1. วิเคราะห์ความเค้นในชิ้นส่วนยานยนต์ด้วยวิธีการทดสอบและการคำนวณโดย Finite Element Analysis
การกระจายตัวของความเค้นในชิ้นส่วนยานยนต์ภายใต้ภาระทางกลเป็นข้อมูลพื้นฐาน ที่สำคัญในการวิเคราะห์ความแข็งแรง (Strength) และความทนทาน (Durability) ของชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการออกแบบ และการปรับปรุงแบบของชิ้นส่วนยานยนต์ รวมไปถึงการทดสอบเพื่อรับรองคุณภาพ



โดยภาระทางกลที่เป็นสาเหตุสำคัญของความเสียหายของชิ้นส่วนยานยนต์ คือการสั่นสะเทือน ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนยากที่จะคาดเดาพฤติกรรมได้อย่างถูกต้อง ด้วยทฤษฎีพื้นฐาน (Classical Theory) การนำเอาเทคโนโลยี สมัยใหม่ด้านการวิเคราะห์ทางทฤษฎี เช่น Finite Element Analysis ผนวกเข้ากับเครื่องมือทดสอบและเครื่องมือวัด จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้ได้ชิ้นส่วนที่มีคุณสมบัติ และคุณภาพตามที่ต้องการด้วยต้นทุนต่ำที่สุด การนำเอาเทคโนโลยีและเครื่องมือต่างๆ มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์จำเป็นต้องดำเนินการโดยบุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ



ภาพตัวอย่างการวัดความเค้นในชิ้นส่วนยานยนต์ด้วยเครื่อง Strain gage



2. วิเคราะห์การตอบสนองต่อการสั่นสะเทือนของชิ้นส่วนยานยนต์ ด้วยวิธีการทดสอบและการคำนวณแบบวิธี Finite Element Analysis


    

3. บริการให้คำปรึกษาการปรับปรุงรูปแบบชิ้นส่วนยานยนต์ และออกแบบการทดสอบเพื่อประเมินผลการออกแบบให้บรรลุวัตถุประสงค์ความต้องการ ของลูกค้า
โดยการบูรณการทรัพยากรการทดสอบของสถาบันฯ ดังนี้



CAD/CAE

CAD Software
  • I-DEAS
  • Solid Work
CAE Software
  • I-DEAS
  • MSC Software: PATARN/NASTRAN/ADAMS

 


เครื่องมือวัด
เครื่องบันทึกและวิเคราะห์สัญญาณสำหรับ Strain gage และหัววัดสัญญาณที่สร้างจาก Strain Gage จำนวน 24 ช่องวัดสัญญาณ

  • Kyowa: EDX-2000A สำหรับการทดสอบในห้องปฏิบัติการและภาคสนาม
  • Kyowa: EDX-100 สำหรับการทดสอบภาคสนามบนยานยนต์ขนาดเล็กหรือมีพื้นที่จำกัด
เครื่องมือทดสอบ
  • เครื่องกำเนิดการสั่นสะเทือนในห้องปฏิบัติการ ความถี่สูงสุด 700 Hz
  • เครื่องทดสอบความทนทานแบบ Hydraulic Actuator ขนาด 16 kN ความถี่สูงสุด 30 Hz

 

Cr: http://www.thaiauto.or.th

 

เนื้อหาโดย: 9engineer.com (http://www.9engineer.com/)