KMITL ผุดหลักสูตร ป.ตรีวิศวะขนส่งทางราง-รับลูก'รถไฟฟ้าความเร็วสูง'
โดย : Admin
 การ ประกาศนโยบายโครงการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล 10 สาย รวมถึงรถไฟความเร็วสูงและรถไฟรางคู่ของรัฐบาล เพื่อเปลี่ยนประเทศที่เป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่ง รองรับการเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ที่กำลังจะเริ่มขึ้นในปี 2558



สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง (ไทยเอสที) ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ( สวทน.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ประสานความร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอม เกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) พร้อมทั้งบริษัทเอกชน ได้ร่วมกันจัดหลัก สูตรปริญญาตรีวิศวกรรมขนส่งทางราง (Rail Transportation Engineering) ขึ้นเป็นหลักสูตรแรกและหลักสูตรเดียวในประเทศไทย เพื่อผลิตบุคลากรผู้เชี่ยวชาญตอบรับความต้องการของโครงการปฏิรูปการขนส่งทาง รางของไทย

 


     ศ.ดร.วัลลภ สุระกำพลธร ผอ.ไทยเอสที กล่าวว่า ภารกิจหลักคือการมอบหมายให้ทางมหาวิทยาลัยต่างๆ ไปสร้างหลักสูตรที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ โดยในปี 2556 นี้จะเริ่มที่ 4 หลักสูตรก่อน หลักสูตรแรกที่พร้อมเปิดในเดือนมิ.ย.นี้ นอกจากเรื่องของหลักสูตรแล้ว ยังมีส่วนสนับสนุนในเรื่องของทุนการศึกษาจำนวนหนึ่งเพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้ ได้เด็กที่สนใจในด้านนี้จริงๆ เข้ามาศึกษา





ด้าน ดร.ณัฐวุฒิ หลิ่วพิริยะวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวถึงหลักสูตรวิศวกรรมขนส่งทางรางว่า จะมุ่งเน้นเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถเพื่อให้เข้าทำงานกับภาคเอกชน และเน้นฝึกให้เด็กมีความสามารถในการวิเคราะห์ และมีความรู้ทางด้านวิศวกรรมที่หลากหลาย ซึ่งตรงนี้จะทำให้นักศึกษามีความต่างจากนักศึกษาในหลักสูตรวิศวกรรมอื่นๆ ที่ไม่ได้เจาะจงโดยตรง และต่างจากระดับอาชีวศึกษา ที่เน้นในเรื่องการปฏิบัติ โดยแนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตรจะเน้นที่ปริญญาตรีก่อน เพื่อเน้นการป้อนบุคลากรเข้าสู่ภาคเอกชน จากนั้นจึงขยายหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษาเพื่อรองรับการวิจัยและพัฒนาใน อนาคต



"อยากฝากไว้ว่าอุตสาหกรรมการคมนาคมขนส่งทางรางนั้น กำลังเจริญก้าวหน้า ตอนนี้รัฐบาลกำลังลงทุนด้านนี้อย่างจริงจัง ไทยจะมีรถไฟมากมายหลากหลายรูปแบบ หากใครที่กำลังพิจารณาสายการเรียนอยู่ อยากให้พิจารณาสาขาวิศวกรรมขนส่งทางรางซึ่งเป็นหลักสูตรที่จะได้ใช้ในชีวิต การทำงานภายภาคหน้าอย่างแน่นอน และยังจะได้ภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของ ประเทศในอนาคตด้วย" ดร.ณัฐวุฒิกล่าว

 

ที่มา: นสพ.ข่าวสด /31 พฤษภาคม 56

เนื้อหาโดย: 9engineer.com (http://www.9engineer.com/)