รถไฟความเร็วสูง ของประเทศไทย
โดย : Admin


ผมคิดว่าในอนาคตรถไฟความเร็วสูงในไทยเกิดขึ้นแน่นอนไม่เกิน 5 ปี เพราะว่าภูมิรัฐศาสตร์ของไทยคือ

หัวใจเชื่อมต่ออาเซียน และจีนย่อมจะไม่ปล่อยให้เกิด Missing Links ที่จะต่อท่อนำคนและสินค้าออกสู่
ทะเลแน่นอน แผนแรกคือการเข้าที่หนองคาย ลงสู่กรุงเทพฯ-ภาคใต้ แผนที่สองจีนทะลุพม่าเข้าที่
กาญจนบุรี ลงสู่ใต้ และแผนที่สามที่น่าจะเกิดขึ้นคือผ่านทางภาคเหนือของไทยเพื่อไปสู่ Hub ที่
หัวลำโพงก่อนที่จะแตกสายไปสู่ภาคใต้ สู่ตลาดอาเซียน หรือไปทาง ตะวันออก หรือข้ามไปกัมพูชา ,
เวียดนาม

ผมคิดว่าในอนาคตรถไฟความเร็วสูงในไทยเกิดขึ้นแน่นอนไม่เกิน 5 ปี เพราะว่าภูมิรัฐศาสตร์ของไทยคือ
หัวใจเชื่อมต่ออาเซียน และจีนย่อมจะไม่ปล่อยให้เกิด Missing Links ที่จะต่อท่อนำคนและสินค้าออกสู่
ทะเลแน่นอน แผนแรกคือการเข้าที่หนองคาย ลงสู่กรุงเทพฯ-ภาคใต้ แผนที่สองจีนทะลุพม่าเข้าที่
กาญจนบุรี ลงสู่ใต้ และแผนที่สามที่น่าจะเกิดขึ้นคือผ่านทางภาคเหนือของไทยเพื่อไปสู่ Hub ที่
หัวลำโพงก่อนที่จะแตกสายไปสู่ภาคใต้ สู่ตลาดอาเซียน หรือไปทาง ตะวันออก หรือข้ามไปกัมพูชา ,
เวียดนาม

ล่าสุดทางดร. จุฬา สุขมานพ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะทำงานย่อย
เพื่อดำเนินการจัดทำร่างบันทึกข้อตกลงร่วม (เอ็มโอยู) ระหว่างไทย-จีน ฝ่ายไทยเปิดเผยว่า ทาง
ประเทศจีนขอใช้สัญญาสัมปทานจำนวน 50 ปี ซึ่งขัดกับข้อกฎหมายไทยที่กำหนดให้สัมปทานสูงสุด
เพียง 30 ปีเท่านั้น รวมทั้งต้องพิจารณาเกี่ยวกับการแบ่งสัดส่วนการลงทุนด้วยว่าจะใช้รูปแบบใด 
สัดส่วนการลงทุนจะเป็น 50% หรือ 51 ต่อ 49% หรือไม่ เพราะโครงการดังกล่าวไม่ใช่แค่เดินรถ
ระหว่างประเทศเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีการเดินทางภายในประเทศด้วย   ทั้งนี้จะได้ร่างเอ็มโอยูใหม่
ในปลายปีนี้ก่อนที่จะหาข้อสรุปในต้นปี 2554 ก่อนสรุปรายละเอียดก่อนจัดทำเอ็มโอยูฉบับสมบูรณ์
เสนอไปยังที่ประชุมรัฐสภาพิจารณาเห็นชอบ จากนั้นจึงมีการลงนามกับจีนต่อไป

 

 

ขณะที่ช่วงต้นปีหน้าเหมือนกันที่ทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ จะส่งผลรายงาน
สรุปหลังจากทดสอบความสนใจภาคเอกชนในการลงทุน ( Market Sounding) ในโครงการรถไฟฟ้า
ความเร็วสูง 2 เส้นทาง มูลค่ากว่า 3 แสนล้านบาท ในเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง 221 กิโลเมตร 
และกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 754 กิโลเมตร เพื่อเสนอให้คณะกรรมการเพื่อพิจารณาแนวทาง
การเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในรูปแบบพีพีพี ชุดที่นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรีเป็น
ประธานภายในเดือนธันวาคมนี้เพื่อเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีได้ในช่วงเดือนมกราคม 2554

ซึ่งเบื้องต้นพบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ให้ความสนใจลงทุนในเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่มากกว่า 
เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง เนื่องจากมองว่าเส้นระยองมีระยะทางสั้นเกินไป โดยเฉพาะนักลงทุน
จากญี่ปุ่น   ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะประเทศจีนให้ความสนใจลงทุนเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย 
ตอนนี้พูดง่าย ๆ คือรถไฟความเร็วสูงใช้ไทยเป็นเวทีต่อรอง และคานอำนาจทางเศรษฐกิจไปเสียแล้ว
ระหว่าง จีน และญี่ปุ่น

อย่างไรก็ตามทาง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ได้ร่างกำหนดค่าโดยสาร + เวลาเดินทาง
สำหรับเครือข่ายไฮสปีดเทรน ไว้แล้วและคาดหวังไว้ว่าราคาน่าจะลดลงอีก

สายเหนือ:  
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - นครสวรรค์ (หนองปลิง) เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 12 นาที 0 วินาที ค่าโดยสาร 384 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - พิษณุโลก เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 54 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 611 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - เด่นชัย เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 38 นาที 24 วินาที ค่าโดยสาร 845 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - เชียงใหม่ เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 43 นาที 48 วินาที ค่าโดยสาร 1,190 บาท

สายตะวันออกเฉียงเหนือ:
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - นครราชสีมา เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 16 นาที 48 วินาที ค่าโดยสาร 410 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - ขอนแก่น เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 13 นาที 12 วินาที ค่าโดยสาร 709 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - หนองคาย เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 4 นาที 48 วินาที ค่าโดยสาร 984 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - สุรินทร์ เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 3 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 661 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - อุบลราชธานี เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 51 นาที 0 วินาที ค่าโดยสาร 912 บาท

สายใต้:  
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - หิวหิน เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 6 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 360 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - แม่กลอง - หิวหิน เวลาเดินทาง 0 ชั่วโมง 55 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 295 บาท    
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - สุราษฎร์ธานี เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 14 นาที 24 วินาที ค่าโดยสาร 1,037 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - หาดใหญ่ เวลาเดินทาง 4 ชั่วโมง 41 นาที 24 วินาที ค่าโดยสาร 1,499 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - ปาดังเบซาร์ เวลาเดินทาง 4 ชั่วโมง 54 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 1,571 บาท

สายตะวันออก:  
กรุงเทพ (สถานีกลางมักกะสัน) - ฉะเชิงเทรา - ระยอง เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 6 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 350 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางมักกะสัน) - บางปะกง - ระยอง เวลาเดินทาง 0 ชั่วโมง 58 นาที 12 วินาที ค่าโดยสาร 305 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางมักกะสัน) - ฉะเชิงเทรา - จันทร์บุรี เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 39 นาที 0 วินาที ค่าโดยสาร 530 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางมักกะสัน) - ฉะเชิงเทรา - อรัญประเทศ เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 15 นาที 0 วินาที ค่าโดยสาร 400 บาท    

ถ้าราคาเป็นอย่างนี้จริงผมคิดว่าในอนาคตสายการบินโลว์คอสต์อาจจะต้องกระอัก เพราะราคาน่าสนเฉพาะ
เส้นทางเชียงใหม่ 4 ชั่วโมงราคาพันนิด ๆ   ตอนนี้ก็อยากให้เกิดขึ้นดีกว่า และสายการบินในไทยจะต้อง
ปรับตัวครั้งใหญ่อีกระลอก แต่ต้องย้ำอีกครั้งว่าต้องกำกับตรวจสอบโครงการอย่างเข้มงวดเพราะวงเงินสูง
เหลือเกินตัดเปอร์เซนต์ 20-30% ก็ไม่เบาเหมือนกันครับ!

 

เนื้อหาโดย: 9engineer.com (http://www.9engineer.com/)