เปิด 5 พื้นที่ แจ็กพอตขุดน้ำมัน
โดย : Admin

ที่มาของแหล่งข่าว: www.siamturakij.com

 

    กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเผยวันที่ 22 มีนาคมนี้รู้ผลสำรวจปิโตรเลียมเขต ทวีวัฒนาพบน้ำมันหรือไม่ "ทรงภพ" ระบุถ้าพบน้ำมันต้องฝ่า 3 ด่านอรหันต์ และพร้อมย้ายการผลิตให้ห่างไกลบ้านเรือนประชาชน ระทึก! มีอีก 5 พื้นที่อยู่ ในข่ายต้องขุดเจาะหาน้ำมัน "ช่องสะเดา- บางแค-นครปฐม-ชุมชนเล้าหมู-สมุทรปราการ"

ท่ามกลางข่าวอึกทึกครึกโครมกรณีสหรัฐอเมริกาได้คว่ำบาตรสถาบันการเงินที่ทำธุรกิจทางการเงินกับธนาคารกลางของอิหร่าน และสหภาพยุโรป หรืออียู ก็ได้เจริญรอยตาม โดยมีผลบังคับใช้ในทันทีส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น สวนทางกับปัจจัยด้านเศรษฐกิจและวิกฤติหนี้ในอียู สาเหตุที่ตลาดน้ำมันให้ความสนใจกับสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างอิหร่านกับชนชาติตะวันตก เพราะว่าอิหร่านมีน้ำมันและก๊าซธรรมชาติสำรองมากเป็นอันดับ 4 ของโลก และยังเป็นผู้ส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่ของโลก



อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประเทศไทยมีการ นำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่านเพียง 0.1% ของการนำเข้าน้ำมันทั้งหมด เช่นนำเข้าจากประเทศโอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็น ต้น แต่การขนส่งน้ำมันผ่านช่องแคบฮอร์มุซประมาณ 20% ของปริมาณน้ำมันที่ซื้อขายกันทั่วโลก อาจทำให้การนำเข้าน้ำมันดิบจากประเทศตะวันออกกล างที่อยู่เหนือช่อง แคบหยุดชะงักลง และมีการปรับราคาเพิ่มสูง ขึ้นอย่างแน่นอน



ดังนั้น การที่ประเทศไทย โดยกรมเชื้อ เพลิงธรรมชาติได้ดำเนินการสำรวจปิโตร-เลียม เพื่อจัดการพลังงานให้เพียงพอกับความ ต้องการ และเป็นการความมั่นคงทางด้านพลังงานน่าจะได้รับการสนับสนุนประชาชน แต่ล่าสุดกรณีการเจาะสำรวจปิโตรเลียมบริเวณเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร กลับได้รับการต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่อย่างหนัก "สยามธุรกิจ" ได้สัมภาษณ์พิเศษ "ทรงภพ พลจันทร์" อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน เพื่อขอทราบขั้นตอนการทำงานต่อไปจะเป็นอย่างไร โอกาส ที่จะพบบ่อน้ำมันมีมากน้อยแค่ไหน และที่สำคัญยังมีอีก 5 พื้นที่อยู่ในข่ายจะต้องดำเนิน การสำรวจเช่นเดียวกัน



นายทรงภพ เปิดเผยว่า กรมเชื้อเพลิง ธรรมชาติได้ให้สัมปทานการสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมทั่วประเทศมีจำนวน 22 แปลง มูลค่าลงทุนประมาณ 3,200 ล้านบาท มูลค่า ทรัพยากรปิโตรเลียม 0.96 ล้านล้านบาท แบ่ง เป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 11 แปลง ภาค เหนือและภาคกลาง 6 แปลง และกลางอ่าวไทยอีก 5 แปลง แต่ที่มีปัญหาประชาชนคัดค้านเป็นแปลงที่ L45/50 บริเวณเขตทวีวัฒนา บริษัท มิตรา เอ็นเนอร์ยี่ ลิมิเต็ด ได้รับสัมปทานวันที่ 21 มกราคม 2550 รอบที่ 20 พื้นที่เริ่มแรก 3,983 ตารางกิโลเมตร แต่ ได้คืนไป 50% เหลือพื้นที่ไว้สำรวจ 1,987.76 ตารางกิโลเมตร อยู่ในเขตพื้นที่ กรุงเทพฯ สมุทรสาคร นนทบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี



"บริษัท มิตรา เอ็นเนอร์ยี่ ได้สัมปทาน ไปเป็นแปลงที่ 46 และ 45 ต่อมาได้คืนแปลงที่ 46 ที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดสระบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 4,000 ตารางกิโลเมตร เหลือไว้เพียงแปลงที่ 45 พื้นที่ใกล้ๆ กรุงเทพฯ ที่จะต้องอยู่ในข่ายสำรวจขุดเจาะคือ ช่องสะเดา นครปฐม บางแค ชุมชนเล้าหมู และชายทะเลสมุทรปราการ"



นายทรงภพ กล่าวว่า เมื่อปี 2517 บริษัท Gulf Oil ได้สำรวจขุดเจาะน้ำมันที่บริเวณวัดศาลาแดงห่างจากเขตทวีวัฒนาประมาณ 3 กิโลเมตร แต่ไม่พบน้ำมันแต่อย่างใด ตนจึงมั่นใจว่าการขุดเจาะที่บริเวณทวีวัฒนาก็ไม่น่าจะเจอน้ำมันอีก คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 15 วันนับจากวันที่ 8 มีนาคม ที่ผ่าน มา อย่างไรก็ตาม ถ้าหากพบว่ามีน้ำมันก็จะมีปริมาณไม่มากราวๆ 50-200 บาร์เรล เพราะ เป็นพื้นที่อยู่ใกล้กับแหล่งที่เคยขุดเจาะมาแล้ว เช่น กำแพงแสน และสุพรรณบุรี ก็มีปริมาณ น้ำมันไม่มากเช่นกัน



ทั้งนี้ ถ้าหากการสำรวจบริเวณเขตทวีวัฒนาพบว่า มีปิโตรเลียมขั้นตอนต่อไปจะต้องดำเนินการ 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1.ขอพื้นที่เพื่อทำการผลิตเพื่อให้มีสถานะเป็นเชิงพาณิชย์ 2.หารือกรุงเทพมหานคร (กทม.) ว่า ขบวนการผลิตในบริเวณดังกล่าวเข้าข่ายเป็น โรงงานอุตสาหกรรมหรือไม่ เช่น มีคันโยกน้ำมันเหมือนน้ำบาดาลแล้วใช้รถขนส่ง ส่วนวิธีการดำเนินการแยกน้ำมันดิบออกจากกันนั้นเป็นโรงงานไม่สามารถดำเนินการได้อยู่แล้ว 3.ต้องยื่นให้มีการพิจารณา EIA อีกครั้งก่อนการผลิต และรับฟังความคิดเห็นของ ประชาชน 2 ครั้ง



"ถ้าพบว่ามีน้ำมันแล้วกฎหมายกำหนด ไว้ว่า การผลิตจะมีกำไรตีมูลค่าเป็นเชิงพาณิชย์แล้วต้องไม่ต่ำกว่า 10-15% และจะต้องแสดงสมถรรนะเชิงพาณิชย์ด้วยว่าบริษัทได้เท่าไหร่ รัฐบาลได้เท่าไหร่ แต่เรื่องสำคัญผมมองว่าถ้าเจาะแล้วพบน้ำมันก็เป็นเรื่องอ่อนไหวเพราะประชาชนได้รับความเดือดร้อนต้องขยับพื้นที่ขุดเจาะให้ห่างไกลจากชุมชน ซึ่งเทคโนโลยีสมัยใหม่สามารถเชื่อมไปยังจุดที่ขุดพบน้ำมันได้เหมือนเดิม หรืออีกวิธีอาจจะเสนอรัฐบาลยุติการผลิตเลยก็ได้"



อย่างไรก็ตาม กรณีพบน้ำมันแต่อยู่ ในพื้นที่ผังเมืองไม่อนุญาตให้ดำเนินการ รัฐบาลก็ต้องหาวิธีชดเชยให้กับริษัทที่ได้รับสัมปทาน หรือหาวิธีการอื่นที่เหมาะสมมาทดแทน

 

เนื้อหาโดย: 9engineer.com (http://www.9engineer.com/)