World's first paying jetpack pilots
โดย : Admin

 

มติชนออนไลน์
04 ตุลาคม 53 




มนุษย์กำลังจะบินได้ด้วยเครื่อง "เจ็ทแพ็ค" แค่สะพายและติดเครื่อง(ชมคลิป)



 

 

 

 



 

ชมคลิปทดสอบ




 

 

 

ในอนาคตอันใกล้นี้เราอาจยังไม่ได้มีบ้านอยู่บนดวงจันทร์ หรือ ว่าขับรถที่สามารถเหาะได้แบบในนิยายวิทยาศาสตร์ แต่ว่าเราอาจ "บิน" ไปพร้อมๆกับนกได้อย่างอิสระ หากคุณพ่อ และคุณแม่ทั้งหลายลองหลับตาแล้วนึกภาพว่าเมื่อคุณไปส่งลูกๆของคุณที่โรงเรียนเรียบร้อยแล้ว ต้องไปทำงานโดยต้องฝ่าดงจราจรที่รถติดแบบบรรลัย ภาพเหล่านั้นกำลังจะหมดไปแล้ว


คุณพ่อ คุณแม่ยุคใหม่อาจเดินทางไปด้วยเครื่อง "เจ็ทแพ็ค" ท้อถนนของคุณคือท้องฟ้า ในขณะที่พวกคนขับรถยังขับรถที่ความเร็วจำกัดแค่ 15 ไมล์ต่อชั่วโมง มันอาจฟังดูเป็นเรื่องนิยายวิทยาศาสตร์ไปหน่อย แต่ในความเป็นจริงแล้วไอเจ้าเครื่องเจ็ทแพ็คนี้มีการผลิตขึ้นเพื่อเป็นสินค้าทางการค้าจริงๆ ซึ่งไม่แน่ว่าในอนาคตอันใกล้เราอาจได้ใช้มันเดินทางบนท้องฟ้าจริงๆก็ได้


เครื่องเจ็ทแพ็คที่ว่านี้ถูกผลิตและพัฒนาขึ้นโดยบริษัท "มาร์ติน แอร์คราฟ" ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อ 1998 ต่อมาในปี 2003 บริษัทได้รับทุนจากกลุ่มทุน"เว็นเจอร์" และจัดตั้งคณะกรรมการผู้อำนวยการโดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาบริษัทจากรายได้ของสินค้า "เจ็ทแพ็ค"นี้นั่นเอง


(ไม่น่าเชื่อว่า)ปัจจุบัน บริษัท มาร์ติน แอร์คราฟ ได้เตรียมแผนจัดส่งเครื่องเจ็ทแพ็คกว่า 500 เครื่องตามออเดอร์เพื่อนำมาใช้ในการขนส่งแบบฉุกเฉิน ล่าสุดบริษัทกำลังให้ความสนใจการผลิตเครื่องเจ็ทแพ็คเพื่อขายให้กับรัฐบาลโดยเฉพาะ และกำลังหาทุนเพื่อนำไปใช้สร้างโรงงานสำหรับผลิตเครื่องเจ็มแพ็คให้กับลูกค้าประเภทเงินล้นกระเป๋าทั้งหลายได้ซื้อไปเป็นของเล่น


เครื่องเจทแพ็คของมาร์ติน มี 2 รูปแบบด้วยกันคือ รูปแบบแรกคือแบบที่เราทั้งหลายต่างใฝ่ฝันให้เครื่องนี้เป็นคือ บินไปได้ทั่วทุกสารทิศ แต่คำว่าทุกสารทิศนี้จำกัดระยะทางได้ไม่เกิน 31.5 ไมล์ ซึ่งใช้ความเร็วประมาณ 63 ไมล์ต่อชั่วโมง หากคุณบินล่องลอยบนท้องฟ้าด้วยเครื่องนี้คาดว่าจะใช้เวลา 30 นาที แต่ทางบริษัทเองก็หวังจะพัฒนาให้เครื่องเจ็ทแพ็คนี้มีประสิทธิภาพมากขึ้นไปกว่าแบบเดิมที่มันเป็นอยู่

 



ส่วนรูปแบบที่ 2 คือ เครื่องที่ขึ้นบินได้โดยที่ไม่ต้องใช้คนขับ (Unmanned aerial vehicle) ซึ่งบริษัทจะทำการบินทดสอบโมเดลนี้เริ่มตั้งแต่ปี 2011 เป็นต้นไป ส่วนโมเดลที่ใช้คนขับจะเริ่มทดสอบในปี 2012


เจ้าเครื่องเหาะเหินเดินอากาศนี้ก็ทำงานแบบที่เราๆนึกภาพเอาไว้ตามแบบนิยายวิทยาศาสตร์เลย คือ สะพายเครื่อเจ็ทแพ็คแค่นี้คุณก็ขึ้นบินได้แล้ว หลักการทำงานไม่มีอะไรซับซ้อนมากมาย แต่หากพูดแค่นี้มันก็อาจเป็นการดูถูกเหล่าวิศวกรหรือนักประดิษฐ์สติเฟื่องทั้งหลายเพราะ เราพูดราวกับเครื่องนี้มันทำกันง่ายเหลือเกิน  แต่สำหรับเราแล้วมันก็เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ว่า มันใช้งานง่ายแค่นั้นแหละ ก็แค่ใส่สายสะพาย เราก็บินได้แล้ว ส่วนรายละเอียดนอกเหนือจากนี้มันก็แค่เรื่องปลีกย่อยเท่านั้น


แต่ถ้าคุณเป็นพวกคลั่งสิ่งประดิษฐ์เหล่านี้และต้องการรู้ส่วนประกอบของเจ็ทแพ็ค ก็บอกได้ว่าไอ้เครื่องนี้ใช้เครื่องที่เรียกว่า V4 ขับเคลื่อนด้วยน้ำมัน ความจุ 2 ลิตร จะได้เครื่องยนต์พลังแรงที่ 200 แรงม้า ทั้งนี้ ในความเป็นจริงแล้วชื่อเรียกว่า "เจ็ทแพ็ค" นี้อาจไม่ตรงกับเรื่องจริงมากนัก แต่มันน่าเป็นคำว่า "เอนจินแพ็ค" (หรือแปลว่า เครื่องยนต์)มากกว่า ตัวถังของเครื่องสุดล้ำนี้ทำจาคาร์บอน ไฟเบอร์ หนักประมาณ 250 ปอนด์ (ไม่รวมเครื่องรักษาความปลอดภัยอื่นๆ) และสามารถบรรทุกน้ำหนักได้มากสุดประมาณ 600 ปอนด์

 


ลองมาดูอุปกรณ์ต่างๆของเครื่องนี้บ้าง อุปกรณ์ของเครื่องเจ็ทแพ็คนี้มีเอกลักษณ์ที่ค่อนข้างพิเศษกว่าเครื่องยนต์แบบอื่นๆ หากคุณซื้อรถเฟอร์รารี่ คุณอาจได้หมวกเก๋ หรือ พวงกุญแจน่ารักๆก็ได้ ซึ่งเขาคงไม่ให้หน้าปัดการบินและเครื่องยนต์, สายหนัง, ช่วงล่างของเครื่องยนต์ที่เก็บกักพลังงานเอาไว้ได้ หรือร่มชูชีพที่ใช้จุดระเบิดแต่อุปกรณ์เหล่านี้แถมมากับเครื่องเจ็ทแพ็คด้วย


สำหรับการลงจอดแล้วน่าจะเป็นเรื่องที่ยังเป็นข้อสงสัยของหลายๆคนอยู่ การจะลงจอดเจ้าเจ็ทแพ็คต้องมีพื้นที่กว้างประมาณ 5.5 ฟุต สูง 5 ฟุต ยาว 5 ฟุต รายละเอียดเหล่านี้เป็นมาตรฐานการลงจอดสำหรับเครื่องเจ็ทแพ็คต้นแบบ ส่วนเครื่องโมเดลสำหรับในตลาดทั่วไปก็น่าจะว่ากันอีกเป็นเรื่องหนึ่ง


สเปคส่วนมากของเครื่องเจ็ทแพ็คจะถูกกำหนดโดย FAA (คณะบริหารการบินของสหรัฐอเมริกา)  แต่ทาง FAA ไม่ได้ระบุไว้ว่า"ผู้ใช้" (ซึ่งน่าจะหมายความถึง นักบิน หรือ คนขับเครื่องที่ว่านี้) ต้องส่งแผนการบินก่อนด้วยหรือไม่ หรือประเด็นว่าตำรวจจะจับคนขับที่ไม่ได้ส่งแผนการบินได้อย่างไรก็ยังคงไม่มีความแน่ชัดอยู่ แต่คาดว่าพวกนั้นก็คงหาทางทำได้เองนั่นแหละ


อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเจ้าเจ็ทแพ็คจะถูกนิยามว่าเป็นพาหนะที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ แต่มันยังเป็นของต้องห้ามในน่านฟ้านอกตัวเมือง ซึ่งอาจเป็นปัญหาในอนาคต แต่หากในอนาคตเหล่าส.ส. หรือ ส.ว. ลองบินวนรอบๆเมืองหลวงสักรอบ 2 รอบแล้ว อาจเกิดเปลี่ยนใจ เปลี่ยนกฎก็ได้ ซึ่งสถานการณ์ที่เป็นอยู่นั้นเกิดจากความไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้งพอเกี่ยวกับประสิทธิภาพที่ยอดเยี่ยมของเครื่องเจ็ทแพ็ค แต่ลองว่าคนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนที่สามารถซื้อเครื่องมูลค่ากว่า 1 แสนดอลลาร์ได้แล้วนะ แรงกดดันที่จะเปลี่ยนกฎหมายนี้อาจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วก็ได้


ถ้ามองกันแบบซื่อๆแล้ว เจ้าเครื่องเจ็ทแพ็คนี้คงไม่สามารถไปโผล่ในตลาดของผู้บริโภคทั่วไป เหมือนกับที่คุณคงไม่หวังว่าจะเจอโฆษณาเครื่องเพชร 5 กะรัต ในโฆษณาโทรทัศน์หรอก แต่สำหรับตารางการเติบโตของสินค้าเจ็ทแพ็คนี้ยังคงล่องลอยแบบไร้ทิศทาง เพราะมีปัญหาเรื่องทุน ดังนั้นเราจึงไม่รู้ว่าจะได้ใช้เครื่องนี้จริงๆจังๆในช่วงไหน แต่ระหว่างที่เรากำลังรอจะใช้เครื่องเจ็ทแพ็คนี้  เจ้าแรงดึงดูดสุดโหดร้ายที่กดเราให้อยู่กับพื้นมาตลอดอาจต้งรอรับการลงโทษเมื่อมนุษย์อย่างพวกเราสามารถเอาชนะแรงต้านทานของโลกและออกโบยบินไปบนท้องฟ้าได้

 

 

 

แปลและเรียบเรียงจากบทความของ ไรอัน เฟลมมิ่ง จากเว็บไซต์ Digitaltrends.com

เนื้อหาโดย: 9engineer.com (http://www.9engineer.com/)