หัววัดค่าความเป็นกรด-ด่าง
โดย : Admin

ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

 

 

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมการวัดค่าความเป็นกรด-ด่างของทั้งน้ำและดิน เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเพาะปลูก การพัฒนาอุปกรณ์หัววัดอิเล็กทรนิกส์สำหรับวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง ให้ใช้งานง่าย มีการตอบสนองได้รวดเร็ว ทำความสะอาดและเก็บรักษาง่ายนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง

acidbase_1

รูปที่ 1 : ชุดทดสอบ

หัววัดที่มีลักษณะโครงสร้างแบบ ion-sensitive field effect transistor (ISFET) มีข้อได้เปรียบกว่าหัววัดค่ากรด-ด่างแบบกระเปาะแก้ว คือ มีขนาดเล็ก ตอบนสอบต่อปริมาณ ไฮโดรเจนไอออนได้รวดเร็ว สามารถผลิตได้ในปริมาณมาก เพราะมีซิลิกอนไนไตรด์  เป็น  Sensing Membrane มีค่าการตอบสนองความเป็นกรด-ด่าง อยู่ในช่วง 40-50 mV/pH และมีค่าความเป็นเชิงเส้นในช่วงค่า pH4-pH10 ค่าความละเอียดของ pH เท่ากับ  0.1
เซ็นเซอร์วัดความเป็นกรด-ด่าง

acidbase_2

รูปที่ 2 : เซ็นเซอร์วัดความเป็นกรด-ด่าง

หลักการทำงานเหมือนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป โดยใช้สัญญาณการนำไฟฟ้ามาแสดงผล เพียงนำอุปกรณ์ไปจุ่มในสารละลาย ในน้ำ หรือสิ่งที่ต้องการวัดค่า ความเป็นกรด-ด่าง  เมื่อมีค่าต่างกัน อุปกรณ์จะแสดงสัญญาณไฟฟ้า โดยสัญญาณไฟฟ้าจะแสดงแรงดันไฟฟ้าแตกต่างกัน เช่น หากสารที่วัดได้มีค่าความกรดค่าสัญญาณไฟฟ้าจะแสดงออกมามากกว่า 1 โวลต์ ถ้าน้อยกว่า 1 โวลต์ แสดงว่าเป็นด่าง  เป็นต้น หัววัดอิเล็กทรอนิกส์สำหรับวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง จึงเป็นตัวช่วยสำคัญสำหรับเกษตรกร ด้วยการแสดงค่าการวัดความเป็นกรด-ด่างที่แม่นยำ สะดวกในการใช้งาน    และทนทานต่ออุณหภูมิสูงขนาดจุดเดือดได้อีกด้วย

acidbase_3

รูปที่ 3 : ผลการวัด

ในขณะนี้ ได้นำมาทดสอบค่าpHในงานเกษตรกรรมและสิ่งแวดล้อม ได้แก่การวัดคุณภาพน้ำในแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ เช่น ในบ่อเลี้ยงกุ้ง ที่ต้องวัดค่าความเป็นกรด-ด่างที่พอเหมาะ หากมากหรือน้อยเกินไป จะทำให้กุ้งตายหรือเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ ดังนั้นเกษตรกรจึงต้องหมั่นตรวจวัดค่าความเป็นกรด-ด่างในบ่อเลี้ยงกุ้งอยู่เสมอๆเพื่อจะได้ทราบว่าควรเพิ่มหรือลดความเป็นกรด-ด่างในบ่อเลี้ยงให้กุ้งปลอดภัยและมีคุณภาพดี นอกจากนี้ อุปกรณ์ชุดนี้สามารถนำไปประยุกต์สำหรับใช้วัดค่าความเป็นกรดในอุตสาหกรรมอาหาร อย่างเช่น การผลิตโยเกิร์ต นมเปรี้ยว เต้าเจี้ยวได้อีกด้วย

 

วิจัยและพัฒนาโดย ดร.อัมพร โพธิ์ใย  นายชาญเดช หรูอนันต์   และนายวิน บรรจงปรุ ศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

 

เนื้อหาโดย: 9engineer.com (http://www.9engineer.com/)