Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,981
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,576
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,988
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,769
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,461
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,550
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,506
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,817
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,344
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,445
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,358
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,510
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,584
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,127
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,513
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,555
17 Industrial Provision co., ltd 39,223
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,372
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,297
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,621
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,437
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,851
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,220
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,957
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,581
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,946
28 AVERA CO., LTD. 22,586
29 เลิศบุศย์ 21,682
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,379
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,245
32 แมชชีนเทค 19,892
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,868
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,185
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,137
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,797
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,602
38 SAMWHA THAILAND 18,291
39 วอยก้า จำกัด 17,897
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,476
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,324
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,301
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,236
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,205
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,132
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,066
47 Systems integrator 16,710
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,627
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,453
50 Advanced Technology Equipment 16,442
15/01/2553 22:40 น. , อ่าน 8,883 ครั้ง
Bookmark and Share
พื้นฐานด้านแสงสว่าง : แนวคิดการวัดค่าความสว่างที่ใช้การได้
โดย : Admin

 

 

มี 4 แนวคิดสำหรับการวัดค่าความสว่างที่ใช้การได้

จำนวน
สัญลักษณ์
หน่วย
ฟลักซ์การส่องสว่าง
    f
ลูเมน
ความเข้มการส่องสว่าง
    I
แคนเดลา
ความสว่าง
    E
ลักซ์
ความส่องสว่าง
    L
แคนเดลา ต่อ ตารางเมตร(cd/m2)

 
ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยการส่องสว่างต่าง ๆ :
ความสัมพันธ์ระหว่างฟลักซ์การส่องสว่าง (f) และ ความเข้มการส่องสว่าง (I)
ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มการส่องสว่าง (I) และ ความสว่าง (E)
กฎโคไซน์ & ความสว่างแนวดิ่ง
การวัดค่าความสว่างใช้ตัวแปรไม่เหมือนกันสองตัว :
เมื่อนึกถึงแสงไฟซึ่งเป็นการแผ่พลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าที่มองเห็นได้ เราจะคำนึงถึงพลังงานเรื่องหนึ่ง และความรู้สึกทางตาอีกเรื่องหนึ่งส่วนใหญ่ทั้งสองเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ไม่เหมือนกันจึงทำให้การพูดเรื่องแสงในเชิงปริมาณเป็นสิ่งยากเพื่อแก้ไขปัญหานี้ จึงมีการนำแบบแผนที่เหมาะอย่างยิ่งกับวิธีปฏิบัติทางวิศวกรรมไฟฟ้าแสงสว่างมาใช้  นั่นคือ ผลคูณของพลังงานการแผ่รังสีกับความไวของสายตาดังนั้น ความสว่างจึงหมายถึง รังสีที่แผ่ออกมาซึ่งวัดได้ด้วยความไวตาของมนุษย์
 
 
 
 
วัตต์แสง (The Light Watt) :
ความไวของตาผันแปรไปตามความยาวคลื่นแสงภายใต้การเห็นในภาวะสว่าง (กลางวัน) ความไวสูงสุดอยู่ที่ 555 นาโนเมตรบัดนี้ เราสามารถเลือกกำหนดให้หนึ่งวัตต์ของกำลังไฟฟ้าที่แผ่ออกมาที่ความยาวคลื่น 555นาโนเมตร มีค่าเท่ากับหนึ่ง 'วัตต์แสง' (light-watt)หนึ่งวัตต์ของกำลังไฟฟ้าที่แผ่ออกมาที่ความยาวคลื่นต่างกันภายในพิสัยการมองเห็นจะต้องถูกนำไปคูณกับตัวประกอบความไวตาสัมพัทธ์ ซึ่งกำหนดโดยกราฟความไวตาเชิงสเปกตรัมสำหรับการเห็นในภาวะสว่าง นั่นคือ กราฟเส้นโค้ง V(I)โดยการกระทำเช่นนั้น เราจึงได้ค่าของวัตต์แสงที่ตรงกับความยาวคลื่นนั้นตัวอย่างเช่น การแผ่รังสีที่ความยาวคลื่น 490 นาโนเมตรความไวของตามีเพียง 20% ของการแผ่รังสีที่ความยาวคลื่น 555 นาโนเมตรดังนั้น หนึ่งวัตต์ของกำลังไฟฟ้าที่แผ่ออกมาที่ความยาวคลื่น 490 นาโนเมตร มีค่าเท่ากับ 0.2 วัตต์แสง
ที่ความสว่างระดับต่ำ ความไวของตาเลื่อนไปทางซ้าย (คือ ไปทางความยาวคลื่นที่สั้นลง) ด้วยความไวสูงสุดที่ 507 นาโนเมตร ซึ่งเรียกว่า การเห็นในภาวะมืด

 
แคนเดลา :
โดยการรับเอาวัตต์แสง (light-watt) มาเป็นหน่วยของการแผ่รังสีที่มองเห็นได้สำหรับการแสดงการรับรู้ทางสายตาในเชิงปริมาณ จะทำให้ความคลุมเคลือหายไปโดยสิ้นเชิงอย่างไรก็ตาม แนวคิดนี้ไม่ได้ถูกนำมาใช้ เพราะนานมาแล้วก่อนที่สูตรนี้จะถูกคิดค้นขึ้น มีหน่วยการส่องสว่างที่ได้มาจากหนึ่งในมาตรฐานการส่องสว่างรุ่นแรกที่ถูกนำกลับมาใช้อีกมาตรฐานนี้ คือ 'แรงเทียน'(candle power) ซึ่งกลายมาเป็น (ภายหลังปี ค.ศ. 1948) 'แคนเดลา' (candela)แท้จริงมันคือ หน่วยของความเข้มแสงในทิศทางใดทิศทางหนึ่งแหล่งกำเนิดแสงที่แผ่ความเข้มแสงจำนวนหนึ่งแคนเดลาในทุกทิศทางรวมกันทำให้เกิดปริมาณแสงต่อวินาทีที่กำหนดไว้อย่างดี ซึ่งได้รับการตั้งชื่อว่า 'ลูเมน'สิ่งนี้กลายเป็นมาตรฐานการส่องสว่างสำคัญที่ใช้ในปัจจุบัน

 
ประสิทธิภาพการส่องสว่างเชิงสเปกตรัมสูงสุด
การคำนวณแสดงให้เห็นว่า หนึ่งวัตต์ของกำลังไฟฟ้าที่แผ่ออกมาที่ความยาวคลื่น 555 นาโนเมตร มีค่าเท่ากับ 683 ลูเมนตัวเลขนี้ คือ 'ประสิทธิภาพการส่องสว่างเชิงสเปกตรัมสูงสุด'ด้วยเหตุนี้ หนึ่งวัตต์ของกำลังไฟฟ้าที่แผ่ออกมาที่ความยาวคลื่น 490 นาโนเมตร มีค่าเท่ากับ 0.2 x 683 = 137 ลูเมน
ดังนั้น ลูเมนจึงหมายถึง ปริมาณหนึ่งของพลังงานการแผ่รังสีที่เปล่งออกมาต่อวินาที ถ่วงน้ำหนักกับความไวตามนุษย์เชิงสเปกตรัม
 

========================================================