Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,984
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,581
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,989
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,778
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,464
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,551
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,509
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,818
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,348
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,448
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,359
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,511
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,585
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,130
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,519
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,555
17 Industrial Provision co., ltd 39,225
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,376
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,297
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,622
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,440
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,852
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,220
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,959
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,583
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,950
28 AVERA CO., LTD. 22,586
29 เลิศบุศย์ 21,685
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,383
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,246
32 แมชชีนเทค 19,893
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,869
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,185
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,140
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,799
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,603
38 SAMWHA THAILAND 18,292
39 วอยก้า จำกัด 17,900
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,478
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,330
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,303
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,241
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,211
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,133
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,068
47 Systems integrator 16,713
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,629
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,455
50 Advanced Technology Equipment 16,443
17/01/2553 15:18 น. , อ่าน 10,419 ครั้ง
Bookmark and Share
การตรวจสอบคาปาซิเตอร์แรงต่ำ
โดย : Admin

  การตรวจสอบคาปาซิเตอร์แรงต่ำ


               เมื่อต้องการตรวจสอบคาปาซิเตอร์ทั้งที่เป็นการตรวจสอบเพื่อการบำรุงรักษาหรือว่าต้องการตรวจสอบเนื่องจากมีปัญหา
            ในการใช้งาน เราอาจมีการตรวจสอบดังนี้


             การตรวจสอบสภาพทั่วไป
                เป็นการตรวจสอบลักษณะภายนอกซึ่งเป็นส่วนประกอบต่างๆของคาปาซิเตอร์ดังนี้
               
               ตัวถัง
                           ถ้าปรากฏว่ามีตัวถังบามหรือแตกและมีรอยไหม้หรือมีสีเปลี่ยนจากเดิม แสดงว่าคาปาซิเตอร์เกิดความผิดปกติขึ้น
                      ภายใน

               ขั้วต่อสาย
                           ตรวจดูขั้วต่อสายซึ่งเป็นจุดต่อว่าหลวมหรือสกปรกหรือไม่ การที่ขั้วหลวมหรือหน้าสัมผัสสกปรกจะทำให้กระแสไหล
                     ผ่านไม่สะดวก เกิดความร้อนสะสมอาจทำให้คาปาซิเตอร์ชำรุดเนื่องจากความร้อนสะสม ถ้าพบกรณีดังกล่าวควรทำสะอาด
                     จุดสัมผัสอาจใช้คอมเปาด์ทาช่วยให้จุดสัมผัสสะอาดและนำกระแสไฟฟ้าได้ดีขึ้น และการขันจุดต่อตรงขั้วสายให้แน่น โดย
                     ใช้แรงบิด (TorQue) ตามข้อแนะนำของบริษัทผู้ผลิต

              การตรวจสอบค่าทางไฟฟ้า
                   
      เป็นการตรวจสอบคุณสมบัติทางไฟฟ้าของคาปาซิเตอร์ ซึ่งมีการตรวจสอบดังนี้

                        1. การตรวจสอบค่าความเป็นฉนวน
                        2. การตรวจสอบค่ากระแสคาปาซิเตอร์
                        3. การตรวจสอบค่าคาปาซิแตนซ์

                  การตรวจสอบค่าความเป็นฉนวน
                        วิธีการตรวจสอบจะต้องทำโดยปลดคาปาซิเตอร์ออกจากระบบ รอเวลาให้คาปาซิเตอร์คายประจุประมาณ 5 นาที แล้ว
                  ทำการตรวจสอบโดยใช้ เมกกะโอมห์ที่แรงดันขนาด    500 VDC แล้วทำการทดสอบระหว่างขั้วของคาปาซิเตอร์กับตัวถัง
                  คาปาซิเตอร์แรงต่ำชนิด SELF HEALING TYPE ควรมีค่าความเป็นฉนวนไม่เกิน 1 เมกกะโอห์ม

                 การตรวจสอบค่ากระแสคาปาซิเตอร์
                       วิธีการตรวจสอบชนิดนี้ทำโดยวัดค่ากระแสคาปาซิเตอร์ขณะใช้งาน โดยแอมป์มิเตอร์ ชนิดแคลมป์มิเตอร์นำไปคล้อง
                   กับสายเฟสของคาปาซิเตอร์ ค่าที่อ่านได้จะเป็นกระแสเฟสของคาปาซิเตอร์ โดยสามารถคำนวณกระแสของคาปาซิเตอร์
                   ปกติได้ เช่น ถ้าเป็นคาปาซิเตอร์แบบ 3 เฟส แรงดัน 400 V จะคำนวณกระแสได้จากสูตร

 

            
                     หรือถ้าเป็นคาปาซิเตอร์แบบ 1เฟส แรงดัน 220 V จะใช้สูตร

 


                      ค่าแรงดันเป็นค่าแรงดันจริงของระบบขณะวัด ส่วนค่า kVAr อ่านได้จากเนมเพลท ค่ากระแสที่อ่านได้จะมีค่าอยู่ในช่วง
                   ระหว่าง -5% ถึง10% ของค่าที่คำนวณได้เป็นคาปาซิเตอร์ใหม่ที่ยังไม่เคยใช้งาน ถ้าค่าที่อ่านได้มีค่าต่ำแสดงว่าคาปาซิเตอร์
                   มีการเสื่อมสภาพมากจนค่า PF ของระบบต่ำกว่าที่ต้องการจึงควรเปลี่ยนใหม่ ถ้าที่ค่าอ่านได้มีค่าสูงกว่าค่าที่คำนวณแสดงว่า
                   เกิดโอเวอร์โหลดที่สามารถทำให้ค่าคาปาซิเตอร์เสื่อมเร็วกว่าปกติได้ ควรหาสาเหตุให้พบแล้วทำการแก้ไข     ตัวอย่างของ
                   สาเหตุที่เกิดการโอเวอร์โหลดคือ มีปัญหาฮาร์มอนิกหรือแรงดันระบบสูงเกินพิกัดของคาปาซิเตอร์

                หมายเหตุ  เนื่องจากการตรวจสอบกระแสจะต้องทำการวัดค่าขณะคาปาซิเตอร์ใช้งานอยู่ ซึ่งต้องระมัดระวังอันตรายจากไฟฟ้า
                   ดูดโดยสวมถุงมือป้องกันไฟทุกครั้ง และวิธีการแคล้มป์มิเตอร์นี้ห้ามใช้กับแรงดันเกินกว่า 600 V   เนื่องจากเครื่องมือโดย
                  ส่วนใหญ่จะทนแรงดันได้ไม่สูงนัก เพื่อเป็นความปลอดภัยในการวัด

                 การตรวจสอบค่าคาปาซิแตนซ์
                     วิธีการวัดค่าคาปาซิเตอรแรงต่ำจะต้องทำการวัดขณะคาปาซิเตอร์ไม่จ่ายไฟและต้องดิสชาสต์คาปาซิเตอร์ไม่ให้มีประจุค้าง
                 เหลืออยู่ในคาปาซิเตอร์ โดยอาจวัดแรงดันที่ค้างอยู่ในคาปาซิเตอร์ซึ่งเป็นแรงดันไฟตรง   ถ้ามีแรงดันค้างอยู่ควรดิสชาร์จ
                 แรงดันทิ้งโดยใช้กราวด์ สำหรับเครื่องมือที่ใช้มักเป็นมิเตอร์ที่อ่านค่าคาปาซิแตนซ์ได้ การวัดจะต้องปลดคาปาซิเตอร์ไม่ให้
                 ต่อร่วมกับวงจรอื่นกรณีคาปาซิเตอร์แบบ 3 เฟส จะต้องวัดค่าเฟสต่อเฟส (Phase to Phase or line to line ) เช่น

 
                รวมทั้ง 3 ค่า ค่าที่อ่านได้จะมีค่าใกล้เคียงกันและมีค่าอยู่ระหว่าง -5% ถึง10% ของค่าพิกัดตามตาราง ตัวอย่าง เมื่อผ่านการใช้
                งาน ค่าคาปาซิแตนซ์นี้จะมีค่าลดลงเรื่อยๆ ถ้าที่อ่านได้มีค่าต่ำมากจนค่า PF ของระบบต่ำกว่าที่ต้องการ จึงควรเปลี่ยนใหม่

ตารางค่ามาตรฐานกระแส , แรงดันและ ค่าคาปาซิแตนซ์
ขนาด kVAr
ค่ากระแส Amp
ค่าแรงดัน Volt
ค่าคาปาซิแตนซ์  Microfarad
15
20.9
400
149.2
20
27.8
400
198.9
30
41.7
400
298.8
50
69.6
400
497.3
75
104.3
400
746.0
หมายเหตุ : ค่าคาปาซิแตนซ์ ที่คำนวณจากคาปาซิเตอร์แบบแรงต่ำที่ต่อวงจรแบบเดลตา

                 ในทางปฏิบัติการจะดูว่าคาปาซิเตอร์เสื่อมมากเพียงใด ควรพิจาราณาถึงค่ากระแสและค่าคาปาซิแตนซ์รวมกัน เพื่อให้แน่ใจ
               ว่าไม่เกิดความผิดพลาดในการวัด       อัตราเสื่อมของคาปาซิเตอร์ขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งาน และคุณภาพของคาปาซิเตอร์เอง
               สำหรับการตัดสินใจว่าควรเปลี่ยนคาปาซิเตอร์เมื่อไร    นอกจากดูค่า PF โดยรวมแล้วยังขึ้นกับสะดวกในการเปลี่ยนแปลงอีก
               ด้วยเช่น หากการดับไฟเพื่อเปลี่ยนทำได้ยาก จึงอาจเปลี่ยนคาปาซิเตอร์ทีละหลายๆตัวพร้อมกัน ทั้งตัวเสื่อมมากและเสื่อมน้อย
               เพื่อให้แน่ใจว่ามีคาปาซิเตอร์เพียงพอตลอดเวลาในอนาคต
 
 
          เอกสารอ้างอิง
               วารสาร คุณภาพไฟฟ้า Vol11 / July - September 2002 ; ABB LIMITED

             (ขอขอบคุณ ชาวสมาชิก 9engineer  คุณมาโนชน์ ที่กรุณาส่งข้อมูลมาเพื่อเป็นความรู้เผยแพร่

========================================================